ไดอะมิกไทต์
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ไดอะมิกไทต์ (อังกฤษ: diamictite) คือ หินกรวดมน หรือหินกรวดเหลี่ยม (หินตะกอนชนิดหนึ่ง) ที่มีการคัดขนาดของตะกอนที่แย่มาก หรือไม่มีเลย โดยมีขนาดของเม็ดตะกอนที่หลากหลาย ซึ่ง 25% ของหินชนิดนี้เป็นเม็ดตะกอนขนาดกรวด (gravel sized; ใหญ่กว่า 2 มม.) ไดอะมิกไทต์ประกอบไปด้วยเศษหิน หรือเม็ดตะกอนขนาดใหญ่ (clast) ที่มีความหยาบ หรือกลมมนก็ได้ และเศษหินใหญ่เหล่านี้จะถูกรองรับ พยุงด้วยเศษหิน หรือเม็ดตะกอนที่เล็กกว่า (matrix) โดยที่เศษหินเหล่านี้เป็นได้ทั้งหินตะกอน หินอัคนี และหินแปร
ศัพท์คำนี้ถูกบัญญัติขึ้นในปี ค.ศ. 1960 โดย ฟลินท์ (Flint) ซึ่งได้อธิบายไว้อย่างชัดเจนว่าเป็นหินตะกอนที่มีการคัดขนาดของเม็ดตะกอนที่ต่ำ (poorly sorted) และไม่สามารถบอกแหล่งต้นกำเนิดที่แน่นอนได้
ส่วนใหญ่แล้ว ไดอะมิกไทต์ จะถูกเข้าใจ หรือตีความว่าเป็นหินที่เกิดจากผลของธารน้ำแข็ง แต่โดยแท้จริงแล้วหินชนิดนี้สามารถเกิดได้จากหลายกระบวนการ คือ ธารน้ำแข็ง, ภูเขาไฟระเบิด, กระบวนการใต้ทะเล, ธรณีแปรสัณฐาน, การกัดกร่อนผุพัง และการพุ่งชนโลกของหินอุกกาบาต
หนังสืออ่านเพิ่ม
[แก้]- Deynoux, M., et al. (Editors) (2004) Earth's Glacial Record, Cambridge University Press, pp. 34–39 ISBN 0-521-54803-9