ไวสาขี
เวสาขี, พิสาขี, วิสาขี ปัญจาบ: ਵਿਸਾਖੀ | |
---|---|
นักดนตรีในขบวน Bhangra (การเต้นพื้นเมืองของปัญจาบ) กำลังเฉลิมฉลองวันเวสาขี | |
ชื่ออื่น | วิสาข, ไวสาข, พิสาข, ไพสาข |
จัดขึ้นโดย | ซิกข์ |
ประเภท | เกี่ยวกับศาสนาและวัฒนธรรม |
ความสำคัญ | วันขึ้นปีใหม่ของศาสนาซิกข์และชาวปัญจาบ[1], เทศกาลเฉลิทฉลองการเก็บเกี่ยว, การถือกำเนิดของขาลสา |
การเฉลิมฉลอง | การเดินขบวน เทศกาล งานรื่นเริง พิธีอมฤตสัญชรเพื่อรับขาลสาใหม่ |
การถือปฏิบัติ | การสวดมนตร์ การชักธงนิศานสาหิบขึ้นสู่ยอดเสา |
เวสาขี (ชื่ออื่น ๆ เช่น วิสาขี, พิสาขี, ไวสาขี, วสาขี, วิสาข) เป็นเทศกาลที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อและประวัติศาสตร์ของศาสนาซิกข์ โดยทั่วไปมีการเฉลิมฉลองในวันที่ 13 หรือ 14 เมษายนของทุกปี ถือเป็นเทศกาลสำคัญหนึ่งของศาสนาซิกข์[2][3][4] ชาวปัญจาบในตอนเหนือของอนุทวีปอินเดียถือให้วันเวสาขีเป็นวันขึ้นปีใหม่[5] และยังเป็นวันขึ้นปีใหม่ของชาวซิกข์ เพราะถือเป็นการขึ้น "ยุคสมัยของขาลสา"[6][7][1][8][9] นอกจากนี้ยังเป็นเทศกาลที่เฉลิมฉลองการเก็บเกี่ยวผลผลิตของชาวซิกข์และปัญจาบอีกด้วย[8]
เวสาขีเป็นเทศกาลที่มีความเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์ของภูมิภาคปัญจาบในอนุทวีปอินเดียตอนเหนือ[10][11] ตามประวัติศาสนาซิกข์แล้ว วันเวสาขีนั้นเป็นวันก่อตั้งกองทัพซิกข์ขาลสา และเป็นวันที่จักรพรรดิออรังเซพแห่งจักรวรรดิโมกุลสั่งประหารชีวิตคุรุเตฆหบดูร์ หลังปฏิเสธที่จะเปลี่ยนศาสนาเป็นอิสลาม เหตุการณ์นี้ทำให้คุรุโควินทสิงห์ขึ้นดำรงตำแหน่งคุรุซิกข์ต่อ และตัดสินใจที่จะก่อตั้งกองทัพเพื่อปกป้องศาสนิกชนทั้งของซิกข์และศาสนาอื่น ๆ จากการคุกคาม อันนำมาสู่แนวคิดของขาลสา ชาวซิกข์จะรำลึกถึงทั้งสองเหตุการณ์ดังกล่าวซึ่งเกิดขึ้นตรงกันในวันเวสาขี[12][13][14] นอกจากนี้ ในสมัยบริติชราช วันเวสาขียังเป็นวันที่เกิดการสังหารหมู่ที่จัลเลียนวลาบาฆ โดยเจ้าหน้าที่ของอาณานิคมอังกฤษที่ปกครองอินเดียในเวลานั้น[10]
ในวันเวสาขี คุรุทวาราจะปรับตกแต่งอย่างสวยงาม และจัดดนตรีกิรทาน (Kirtan) ชาวซิกข์จะร่วมกันเดินทางไปเยี่ยมคุรุทวาราใกล้บ้าน ร่วมงานเทศกาลชุมชนรวมถึงจัด "Nagar Kirtan" และร่วมนั่งรับประทานอาหารและแบ่งปันอาหารกัน[3][10][15] ในศาสนาฮินดู ศาสนิกชนบางส่วนถือให้วันเวสาขีนี้เป็นวันปีใหม่ตามปฏิธินสุริยะ (Solar New Year) และเฉลิมฉลองเทศกาลเก็บเกี่ยวผลผลิต ศาสนิกชนจะถือโอกาสนี้เพื่อลงอาบน้ำในแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ เช่น แม่น้ำคงคา เข้าโบสถ์พราหมณ์เพื่อประกอบพิธีต่าง ๆ และพบปะกับเพื่อนฝูง ครอบครัว เพื่อรับประทานอาหารร่วมกัน เทศกาลนี้มีชื่ออีกหลายชื่อตามท้องถิ่นต่าง ๆ กัน[16]
วันที่
[แก้]วันเวสาขีตรงกับวันที่ 13 หรือ 14 เมษายน ของทุกปี[3] เทศกาลเวสาขีเป็นเทศกาลสำคัญของทั้งชาวฮินดูและซิกข์[9] เทศกาลนี้ตรงกับเทศกาลปีใหม่ท้องถิ่นในภูมิภาคอื่น ๆ บางแห่งทั่วอนุทวีปอินเดีย[17][18] และในบางบริเวณนอกอินเดียที่ได้รับอิทธิพลฮินดู เช่น บนเกาะบาหลี และ เทศกาลสงกรานต์ ในประเทศบนคาบสมุทรอินโดจีน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อColeSambhi1995p63
- ↑ Harjinder Singh. Vaisakhi. Akaal Publishers. p. 2.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 K.R. Gupta; Amita Gupta (2006). Concise Encyclopaedia of India. Atlantic Publishers. p. 998. ISBN 978-81-269-0639-0.
- ↑ "Chicago Tribune". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-20.
- ↑ Fieldhouse, Paul (2017) Food, Feasts, and Faith: An Encyclopedia of Food Culture in World Religions [2 volumes]. ABC-CLIO[1]
- ↑ Singh, Harbans (1998) The Encyclopaedia of Sikhism: S-Z. Publications Bureau [2]
- ↑ Cath Senker (2007). My Sikh Year. The Rosen Publishing Group. p. 10. ISBN 978-1-4042-3733-9., Quote: "Vaisakhi is the most important mela. It marks the Sikh New Year. At Vaisakhi, Sikhs remember how their community, the Khalsa, first began."
- ↑ 8.0 8.1 BBC Religions (2009), Vaisakhi and the Khalsa
- ↑ 9.0 9.1 Knut A. Jacobsen (2008). South Asian Religions on Display: Religious Processions in South Asia and in the Diaspora. Routledge. p. 192. ISBN 978-1-134-07459-4., Quote: "Baisakhi is also a Hindu festival, but for the Sikhs, it celebrates the foundation of the Khalsa in 1699."
- ↑ 10.0 10.1 10.2 S. R. Bakshi, Sita Ram Sharma, S. Gajnani (1998) Parkash Singh Badal: Chief Minister of Punjab. APH Publishing pages 208–209
- ↑ William Owen Cole; Piara Singh Sambhi (1995). The Sikhs: Their Religious Beliefs and Practices. Sussex Academic Press. pp. 135–136. ISBN 978-1-898723-13-4.
- ↑ Seiple, Chris (2013). The Routledge handbook of religion and security. New York: Routledge. p. 96. ISBN 978-0-415-66744-9.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อpashaura236
- ↑ Harkirat S. Hansra (2007). Liberty at Stake, Sikhs: the Most Visible. iUniverse. pp. 28–29. ISBN 978-0-595-43222-6.
- ↑ Jonathan H. X. Lee; Kathleen M. Nadeau (2011). Encyclopedia of Asian American Folklore and Folklife. ABC-CLIO. pp. 1012–1013. ISBN 978-0-313-35066-5.
- ↑ Christian Roy (2005). Traditional Festivals: A Multicultural Encyclopedia. ABC-CLIO. pp. 479–480. ISBN 978-1-57607-089-5.
- ↑ Crump, William D. (2014), Encyclopedia of New Year's Holidays Worldwide, MacFarland, page 114
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อPechilisRaj2013p48