แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล
ก่อตั้ง | กรกฎาคม 1961 สหราชอาณาจักร |
---|---|
ผู้ก่อตั้ง | ปีเตอร์ เบเน็นสัน, อีริค เบเกอร์ |
ประเภท | ไม่แสวงหากำไร องค์การนอกภาครัฐนานาชาติ |
สํานักงานใหญ่ | ลอนดอน, WC1 สหราชอาณาจักร |
ที่ตั้ง |
|
บริการ | ป้องกันสิทธิมนุษยชน |
สาขาวิชา | การสนับสนุนทางกฎหมาย, ความสนใจของสื่อ, การรณรงค์อุทธรณ์โดยตรง, การวิจัย, การวิ่งเต้น |
สมาชิก | สมาชิกและผู้สนับสนุนมากกว่า 7 ล้านคน[1] |
เลขาธิการ | แอกเนส กาลามาร์ด[2] |
เว็บไซต์ | www |
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล หรือ องค์การนิรโทษกรรมสากล[3] (อังกฤษ: Amnesty International หรือ Amnesty หรือ AI) เป็นองค์การพัฒนาเอกชนที่มีจุดประสงค์ "ในการค้นคว้าและดำเนินการป้องกันและยุติการทำร้ายสิทธิมนุษยชน และเพื่อแสวงหาความยุติธรรมสำหรับผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิ"[4]
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพสำหรับการรณรงค์ต่อต้านการทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐ[5] และรางวัลองค์การสหประชาชาติสาขาสิทธิมนุษยชน (United Nations Prize in the Field of Human Rights) ในปี ค.ศ. 1978[6] ทุกวันนี้ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล มีสมาชิกและผู้สนับสนุนมากกว่า 10 ล้านคนในกว่า 150 ประเทศและดินแดน ซึ่งทุกคนได้รวมพลังกันเพื่อที่จะทำให้โลกนี้เป็นสถานที่ซึ่งทุกคนมีสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ยังมีกลุ่มคนในท้องถิ่น กลุ่มเยาวชนและนักเรียนนักศึกษา กลุ่มผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ สมาชิกรายบุคคล และผู้ประสานงานอีกหลายพันกลุ่ม อยู่ในกว่า 100 ประเทศและเขตการปกครองนอกจากนี้ยังมีสำนักงาน (Section/Structure) ที่จัดตั้งในระดับชาติขึ้นในพื้นที่มากกว่า 70 ประเทศ และในประเทศต่างๆ อีกกว่า 20 ประเทศยังมีการจัดตั้งองค์กรประสานงานอื่นๆ (coordinating structures) อีกด้วย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลยังเป็นองค์กรที่ได้รับการยอมรับและให้ความเชื่อถือ โดยองค์กรฯ จัดส่งผู้แทนไปพบรัฐบาลและองค์กรระหว่างประเทศ เช่น องค์การสหประชาชาติ และมีส่วนร่วมในการอภิปรายในประเด็นสิทธิมนุษยชนระดับนานาชาติ
การถูกคุกคามโดยรัฐ
[แก้]องค์กรแอมเนสตี้ มีส่วนในการช่วยเหลือด้านสิทธิมนุษยชน แต่มักจะมีอุปสรรคต่อการทำงาน โดยเฉพาะประเทศที่ปกครองระบอบเผด็จการแบบคอมมิวนิสต์ ฟาสซิสต์ และประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่ไม่เสรีที่แทรกแซงโดยกลุ่มคณาธิปไตยและกลุ่มอำนาจนิยมเบ็ดเสร็จ และมักจะถูกคุกคามและกดดันโดยรัฐเสมอ โดยเฉพาะในจีน ฮ่องกง[7] พม่า
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Who we are". Amnesty International. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2015.
- ↑ "Dr Agnès Callamard appointed as Secretary General of Amnesty International". amnesty.org. 29 มีนาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 4 เมษายน 2021.
- ↑ องค์การนิรโทษกรรม จาก หนังสืออธิบายศัพท์การทูตและการเมืองระหว่างประเทศ โดย ฯพณฯเอกอัครราชทูตกลศ วิเศษสุรการสากล[1] เก็บถาวร 2009-02-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "About Amnesty International". Amnesty International. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 ธันวาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2008.
- ↑ Amnesty International - The Nobel Peace Prize 1977
- ↑ United Nations Prize in the field of Human Rights
- ↑ "แอมเนสตี้เตรียมปิดสำนักงานในฮ่องกงภายในสิ้นปีนี้ หลังเผชิญกฎหมายความมั่นคงฉบับใหม่จากรัฐบาลจีน". THE STANDARD. 26 ตุลาคม 2021.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Ganzfried, Miriam (2021). Amnesty International and Women's Rights Feminist Strategies, Leadership Commitment and Internal Resistances. trancript Verlag. ISBN 978-3-8376-6008-1.
- Clark, Anne Marie (2001). Diplomacy of Conscience: Amnesty International and Changing Human Rights Norms. Princeton University Press. ISBN 978-0-691-05743-9.
- Girot, Marc (2011). Amnesty International, Enquête sur une organisation génétiquement modifiée. Editions du Cygne. ISBN 9782849242469..
- Habibe, K. A. R. A. "Human Rights in China In The Xi Jinping Era: From The Perspective of Human Rights Watch and Amnesty International." Doğu Asya Araştırmaları Dergisi 2.1: 66-96. online
- Hopgood, Stephen (2006). Keepers of the Flame: Understanding Amnesty International. Cornell University Press. ISBN 978-0-8014-4402-9.
- Neier, Aryeh. "Amnesty International." in The International Human Rights Movement (Princeton UP, 2020) pp. 186–203.
- Power, Jonathan (1981). Amnesty International: The Human Rights Story. McGraw-Hill. ISBN 978-0-08-028902-1.
- Sellars, Kirsten (เมษายน 2002). The Rise and Rise of Human Rights. Sutton Publishing Ltd. ISBN 978-0-7509-2755-0.
- Savelsberg, Joachim J. "Global Human Rights Organizations and National Patterns: Amnesty International’s Responses to Darfur." Societies Without Borders 12.2 (2021): 13+. online
- Srivastava, Swati. 2021. "Navigating NGO–Government Relations in Human Rights: New Archival Evidence from Amnesty International, 1961–1986." International Studies Quarterly.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ภาษาอังกฤษ
- แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย
- Is Amnesty International Biased?, 2002 discussion by Dennis Bernstein and Dr. Francis Boyle
- Catalogue of the Amnesty International archives, held at the Modern Records Centre, University of Warwick
- Amnesty International Head Irene Khan on The Unheard Truth: Poverty and Human Rights – video by Democracy Now!
- Amnesty International Promotion to Eliminate the Death Penalty – video by TBWA/Paris and Pleix for Amnesty International France
- Amnesty International Poster Collection at the International Institute of Social History