มะลาละห์ ยูซัฟซัย
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
มะลาละห์ ยูซัฟซัย | |
---|---|
ملاله یوسفزۍ | |
ยูซาฟไซ ในปี ค.ศ. 2019 | |
เกิด | มินโกร่า, เขตสวาท, ประเทศปากีสถาน | 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1997
สัญชาติ | ปากีสถาน |
พลเมือง | ปากีสถานและแคนาดา (พลเมืองกิตตมศักดิ์) |
การศึกษา |
|
อาชีพ | นักเคลื่อนไหวเพื่อการศึกษาสตรี, อดีตบล็อกเกอร์ของบีบีซีอูรดู และนักศึกษา |
มีชื่อเสียงจาก | นักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิในการศึกษา โดยเฉพาะการศึกษาสตรี |
รางวัล |
|
เว็บไซต์ | www |
มะลาละห์ ยูซัฟซัย (ปาทาน: ملاله یوسفزۍ Malālah Yūsafzay, เกิด 12 กรกฎาคม 2540)[1] เป็นเด็กนักเรียนจากเมืองมินโกราในเขตสวาท (Swat District) แคว้นแคบาร์ปัคตูนควา ประเทศปากีสถาน เธอเป็นที่รู้จักในการศึกษาและการเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิสตรีของเธอในหุบเขาสวัด ซึ่งตอลิบานบางครั้งห้ามเด็กหญิงมิให้เข้าศึกษาในโรงเรียน[2][3] ต้นปี 2552 ขณะอายุได้ 11 ปี ยูซาฟไซกลายมาเป็นที่รู้จักผ่านบล็อกที่เธอเขียนให้แก่บีบีซีโดยรายละเอียดกล่าวถึงชีวิตของเธอภายใต้ระบอบฏอลิบาน ความพยายามของฏอลิบานในการเข้าควบคุมหุบเขา และมุมมองของเธอต่อการสนับสนุนการศึกษาแก่เด็กหญิง[4] ฤดูร้อนปีต่อมา มีการถ่ายทำสารคดีของนิวยอร์กไทมส์[3] เกี่ยวกับชีวิตของเธอขณะที่กองทัพปากีสถานเข้าแทรกแซงในภูมิภาค[5] ยูซาฟไซเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น ให้สัมภาษณ์ในสื่อสิ่งพิมพ์และทางโทรทัศน์[6] และรับตำแหน่งประธานสภาเด็กเขตสวัด (District Child Assembly Swat)[7] นับแต่นั้น เธอได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลสันติภาพเด็กระหว่างประเทศโดยเดสมอนด์ ตูตู[8] และได้รับรางวัลสันติภาพเยาวชนแห่งชาติเป็นคนแรกของปากีสถาน[2]
วันที่ 9 ตุลาคม 2555 มะลาละห์ ยูซาฟซัยถูกยิงที่ศีรษะและคอในความพยายามลอบสังหารโดยมือปืนขณะกำลังกลับบ้านบนรถโดยสารประจำทางโรงเรียน[9] หลายวันหลังจากนั้น เธอยังหมดสติและอยู่ในภาวะวิกฤต[10] และจนถึงวันที่ 15 ตุลาคม เธอถูกส่งตัวไปยังสหราชอาณาจักรเพื่อรับการรักษาเพิ่มเติม
ในวันที่ 10 ตุลาคม 2557 มูลนิธิโนเบลได้ประกาศให้เธอได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ร่วมกับไกลาศ สัตยาธี จากการต่อสู้ของเด็กเพื่อความถูกต้องของการศึกษาในเด็กทั้งหมด ถือเป็นผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลที่อายุน้อยที่สุด[11] ด้วยวัย 17 ปี
ชีวิตในวัยเด็ก
[แก้]วัยเด็ก
[แก้]ยูซาฟไซ เกิดเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1997 ใน เขตสวาท ทางตะวันตกเฉียงเหนือของปากีสถาน ในแคว้นแคบาร์ปัคตูนควาเธอเกิดในครอบครัวชนชั้นกลาง[12] และเป็นลูกสาวของนายไซอุดดิน ยูซาฟไซ และ Tor Pekai Yousafzai[13] ครอบครัวของเธอมีเชื้อสายปาทาน และนับถือศาสนาอิสลาม นิกายซุนนี[14] ครอบครัวของเธอไม่มีเงินเพียงพอสำหรับการคลอดที่โรงพยาบาลและทำให้ยูซาฟไซเกิดที่บ้านด้วยความช่วยเหลือจากเพื่อนบ้าน[15] ชื่อแรกของเธอมะลาละห์ (หมายถึง "ความเศร้าโศกเสียใจ")[16] ถูกตั้งตาม มาลาไล แห่งไมวันด์ (Malalai of Maiwand) ซึ่งเป็นกวีชาวปาทานผู้มีชื่อเสียงจากและเป็นนักรบหญิงจากทางใต้ของอัฟกานิสถาน[17] ส่วนนามสกุลของเธอคือ ยูซาฟไซ ซึ่งเป็นกลุ่มชนเผ่าปาทาน (Pashtun) ขนาดใหญ่ในหุบเขาสวาทของปากีสถาน มาลาละห์อาศัยอยู่ที่บ้านของเธอในเมืองมินโกร่ากับน้องชายสองคนของเธอ (Khushal และ Atal) พ่อแม่ของเธอ และไก่สองตัว
ยูซาฟไซสามารถพูด ภาษาปาทาน ภาษาอูรดู และภาษาอังกฤษได้อย่างคล่องแคล่ว โดยพ่อของเธอซึ่งเป็นทั้งกวี เจ้าของโรงเรียน และนักเคลื่อนไหวด้านการศึกษา เป็นคนสอนหนังสือให้เธอ
ในการให้สัมภาษณ์ยูซาฟไซ เคยกล่าวไว้ว่าเธอปรารถนาที่จะเป็นหมอ แต่ต่อมาพ่อของเธอสนับสนุนให้เธอกลายเป็นนักการเมืองแทน[18] โดยนายไซอุดดินพูดถึงลูกสาวของเขาว่า เธอเป็นคนที่พิเศษ เพราะสามารถพูดคุยเรื่องการเมืองได้ทั้งคืน หลังจากที่พี่ชายทั้งสองคนเข้านอนแล้ว[19]
ยูซาฟไซเริ่มพูดเกี่ยวกับสิทธิทางการศึกษาตั้งแต่ต้นเดือนกันยายน 2008 หลังจากได้รับแรงบันดาลใจจากมูฮัมหมัด อาลี จินนาห์ และ นายกรัฐมนตรีเบนาซีร์ บุตโต เมื่อพ่อของเธอพาเธอไปเมืองเปศวาร์ เพื่อพูดที่ชมรมสื่อท้องถิ่น[20] เธอกล่าวว่า "ตอลิบานกล้าเอาสิทธิการศึกษาขั้นพื้นฐานของฉันไปได้อย่างไร" ซึ่งคำพูดของเธอถูกเผยแพร่ในหนังสือพิมพ์และช่องโทรทัศน์ทั่วทั้งภูมิภาค[21]
ในปี 2009 ยูซาฟไซเริ่มต้นจากการเป็นผู้ฝึกหัดและเป็นนักการศึกษาใน สถาบันการรายงานสงครามและสันติภาพ ของโครงการเยาวชนเปิดใจของปากีสถานในโรงเรียนในภูมิภาคเพื่อช่วยให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการอภิปรายเชิงสร้างสรรค์เกี่ยวกับประเด็นทางสังคมผ่านสื่อ การอภิปรายสาธารณะ และการสนทนา[22]
การเป็นบล็อกเกอร์ของ BBC
[แก้]ในช่วงปลายปี 2008 Aamer Ahmed Khan จากเว็บไซต์ บีบีซีอูรดู และเพื่อนร่วมงานของเขาได้คิดค้นวิธีใหม่ในทำข่าวของกลุ่มตอลิบานในเมืองสวาท ซึ่งมีอิทธิพลมากขึ้น โดยในขณะนั้น มุลลาห์ ฟาซลุลลาห์ เป็นผู้นำกลุ่มก่อการร้ายตอลิบาน ได้ยึดครองหุบเขาสวาท และออกคำสั่งห้ามการดูโทรทัศน์ การฟังเพลง การศึกษาของเด็กผู้หญิง[23] และการไปออกไปซื้อของของผู้หญิง[24]
นักข่าวจากบีบีซีจึงตัดสินใจขอให้เด็กนักเรียนหญิงทำบล็อกเกี่ยวกับชืวิตของเธอโดยไม่ระบุชื่อ อับดุล ไห่ คาการ์ ผู้สื่อข่าวในเปศวาร์ ติดต่อกับ ไซอุดดิน ยูซาฟไซ ซึ่งเป็นครูโรงเรียนในท้องถิ่น แต่ไม่สามารถหานักเรียนที่เต็มใจทำเช่นนั้น แม้ว่าในตอนแรกเด็กสาวชื่อไอชา ตกลงที่จะเขียนไดอารี่ แต่หพ่อแม่ของเธอห้ามไม่ให้ทำเพราะกลัวการตอบโต้ของตอลิบาน จนสุดท้าย ไซอุดดิน แนะนำมะลาละห์ ลูกสาวของเขา ซึ่งในขณะนั้นอายุ 11 ปี[25] และเรียนอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1[26]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Memmot, Mark (9 October 2012). "Taliban Say They Shot Teenaged Pakistani Girl Who Exposed Their Cruelty". NPR. สืบค้นเมื่อ 15 October 2012.
- ↑ 2.0 2.1 "Malala Yousafzai: Portrait of the girl blogger". BBC News. 10 October 2012. สืบค้นเมื่อ 11 October 2012.
- ↑ 3.0 3.1 Adam B. Ellick (2009). Class Dismissed (documentary). The New York Times. สืบค้นเมื่อ 11 October 2012.
- ↑ "Diary of a Pakistani schoolgirl". BBC News. 19 January 2009. สืบค้นเมื่อ 11 October 2012.
- ↑ "Pakistani girl, 13, praised for blog under Taliban". BBC News. 24 November 2011. สืบค้นเมื่อ 11 October 2012.
- ↑ "Young Journalist Inspires Fellow Students". Institute for War & Peace Reporting. 9 December 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-10. สืบค้นเมื่อ 15 October 2012.
- ↑ "Child Assembly ensures a voice for youth affected by crises in Swat, Pakistan".
- ↑ "Desmond Tutu announces nominees Children's Peace Prize 2011".
- ↑ Richard Leiby; Michele Langevine Leiby (10 October 2012). "Taliban says it shot Pakistani teen for advocating girls' rights". Washington Post. สืบค้นเมื่อ 11 October 2012.
- ↑ Nasir Habib; Reza Sayah (11 October 2012). "Official: Pakistani teen blogger's shooting a 'wake-up call' to 'clear ... danger'". CNN. สืบค้นเมื่อ 11 October 2012.
- ↑ [1]
- ↑ Rowell, Rebecca (1 September 2014). Malala Yousafzai: Education Activist. ABDO. p. 45. ISBN 978-1-61783-897-2. สืบค้นเมื่อ 18 August 2017.
- ↑ Thomas, Rebecca (6 พฤศจิกายน 2015). "Malala Yousafzai: Her father's daughter". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 เมษายน 2017.
- ↑ Adam B. Ellick (2009). Class Dismissed. The New York Times (documentary). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 ตุลาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2012.
- ↑ Throp, Claire (2015). Malala Yousafzai. Heinemann Raintree. p. 12. ISBN 978-1-4846-2469-2. สืบค้นเมื่อ 19 August 2017.
- ↑ "Diary of a Pakistani schoolgirl". BBC News. 19 มกราคม 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 ตุลาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2012.
- ↑ "Bacha Khan's philosophy of non-violence and Benazir Bhutto's charisma inspires Malala". The Express Tribune. 16 มกราคม 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 ตุลาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2012.
- ↑ Adam B. Ellick (2009). Class Dismissed. The New York Times (documentary). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 ตุลาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2012.
- ↑ Adam B. Ellick (9 ตุลาคม 2012). "My 'Small Video Star' Fights for Her Life". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 ตุลาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2012.
- ↑ "Following in Benazir's footsteps, Malala aspires to become PM of Pakistan". The Express Tribune (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 10 ธันวาคม 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 สิงหาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2016.
- ↑ Westhead, Rick (26 ตุลาคม 2009). "Brave defiance in Pakistan's Swat Valley". Toronto Star. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 ตุลาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2012.
- ↑ "Young Journalist Inspires Fellow Students". Institute for War and Peace Reporting. 5 ธันวาคม 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 กรกฎาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2015.
- ↑ Peer, Basharat (10 ตุลาคม 2012). "The Girl Who Wanted To Go To School". The New Yorker. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 ตุลาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2012.
- ↑ "Malala Yousafzai: Portrait of the girl blogger". BBC News. 10 ตุลาคม 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 ตุลาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2012.
- ↑ "Pakistani Heroine: How Malala Yousafzai Emerged from Anonymity". Time World. 23 ตุลาคม 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 ตุลาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2013.
- ↑ "Young Pakistani Journalist Inspires Fellow Students". Institute of War & Peace Reporting. 15 มกราคม 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 พฤษภาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2016.