Location via proxy:   [ UP ]  
[Report a bug]   [Manage cookies]                
แปร ปรับ กลับตาลปัตร เมื่อรัฐพึ่งศาล ตุลาการจึงแปรเปลี่ยน: การจัดวางแนวคิด “ตุลาการภิวัตน์แบบไทย” ผ่านบทสะท้อนทางการเมืองจากภาพยนตร์ The trial of the Chicago 7 When the state cooperates with the courts Judgment therefore changed: Political Installation of political installation of “Judicialization of Thai Politics” through political reflections from the movie The trial of the Chicago 7. จาตุรงค์ สุทาวัน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี Jaturong Suthawan Faculty of Humanities and Social Science, Rajabhat Kanjanaburi University. E-mail: jaturong.23032529@gmail.com Received: August 8, 2023; Revised: September 3, 2023; Accepted: September 6, 2023 บทคัดย่อ บทความนี้มุ่งนาเสนอมุมมองในการจัดวางแนวคิดทางการเมือง (Political Installation) ขององค์ความรู้ด้านตุลาการภิวัตน์ในความรับรู้ของสังคมไทย (Judicialization of Politics) ที่เป็น การศึกษาบทบาทของสถาบันตุลาการในเชิงการเมือง ซึ่งมีการวิเคราะห์ผ่านบทสะท้อนจากงาน ศิลปะแขนงภาพยนตร์ (Films) ในฐานะตัวบทหนึ่งของสังคม โดยนาเสนอภาพยนตร์ “The trial of Chicago 7 ที่อ้างอิงจากคดีทางการเมื องที่ เป็นเหตุการณ์ จริง อันมีข้อสรุปว่า ภาพยนตร์ ดังกล่าวได้เผยให้เห็นถึงสถานะองค์ความรู้ในด้านตุลาการศึกษาอันมีลักษณะเป็นพลวัต และ ก้าวข้ามความเป็นนิติศาสตร์ในเชิงกลไก (mechanical prudence) มาช้านานตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1960 แตกต่างจากความรับรู้ของในวงวิชาการไทยบางส่วน ซึ่งยังยึดติดกับองค์ความรู้เดิมที่พึ่งผลิต ขึ้นโดยจากงานวิชาการกระแสหลักในปี พ.ศ.2549 นอกจากนี้ โครงเรื่องจากภาพยนตร์ได้สะท้อน ให้เห็นว่า คดีทางการเมืองที่เป็นข้อถกเถียงในสังคมไทยหลั งปี 2549 คือลักษณะการประสาน 103 CMU Journal of Law and Social Sciences Vol. 16 No. 2 ความสัมพันธ์ทางอานาจ (Social Relation) ของกลุ่มพลังทางสังคมอันหลากหลาย (Power bloc) โดยมีฝ่ายตุลาการเป็นเพียงหนึ่งในกลไกดังกล่าว กลุ่มต่างๆ เหล่านี้มีจุดมุ่งหมายเดียวกันภายใน ช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ อันเป็นการสร้างความสัมพันธ์เพื่อรักษาสภาวะการนาทางสังคม ทั้งนี้ การตั้งค าถามถึงคดีทางการเมืองในไทยผ่านกรอบแนวคิดตุลาการภิวัตน์ ซึ่งงาน ส่วนใหญ่มักให้ความสาคัญไปที่การวิเคราะห์ตัวแสดงที่เป็นฝ่ายตุลาการเท่านั้น โดยยังละเลยการ เพ่งมองตัวแสดงสาคัญจากกลุ่มทางการเมืองอื่นๆ ที่ชี้ให้เห็นว่า “ตุลาการภิวัตน์” คือลักษณะเป็น ชุดแบบแผนกระบวนการ (Process) และฝ่ายตุลาการเป็นเพียงขั้นตอนสุดท้ายเพื่อสร้างความ ชอบธรรมต่อประชาชนผ่านคาพิพากษา ทั้งยังควรถูกทาความเข้าใจในวงกว้างอย่างสาคัญว่าการใช้ อานาจตุลาการเพื่อเข้าสู่การวินิจฉัยคดีทางการเมือง ควรเป็นไปเพื่อการตรวจสอบ ทบทวนความ ขัดแย้งในทางรัฐธรรมนูญ ในขณะที่การใช้อ านาจอย่างกว้างขวางแบบตุลาการภิวัตน์ ควรเป็น ภารกิจในเชิงบวกที่แสดงถึงการขยายสิทธิเสรีภาพประชาชน จากัดอานาจรัฐ ตลอดจนการสร้าง บรรทัดฐานทางกฎหมายตามหลักการประชาธิปไตยสากล คาสาคัญ: การจัดวางแนวคิดทางการเมือง, ตุลาการภิวัตน์, บทสะท้อนทางการเมือง Abstract This article aims to present a perspective on the political installation of Judicialization of Politics in the perception of Thai society, which is a study of the role of the judiciary in politics. Which is analyzed through reflections from the art of film (Films) as a context of society. The author chose to present the film “The Trial of Chicago 7,” which was based on a real political case with the conclusion that the film reveals the dynamic state of knowledge in judicial studies and has transcended jurisprudence in a mechanical prudence for a long time since the late 1960s, differing from the perception of some parts of Thai academic circles which is still attached to the original knowledge that has just been produced by mainstream academic work in 2006. In addition, the plot from the movie reflects that the controversial political case in Thai society after 2006 is characterized by the social relations of various social 104 แปร ปรับ กลับตาลปัตร forces (Power bloc), with the judiciary being just one of these mechanisms. These groups have the same goal within a certain period of time. This is to build a relationship to maintain a state of hegemony. In this regard, the questioning of political cases in Thailand through the framework of the concept of Judicialization of politics most work focuses only on the analysis of judicial actors. It also neglects to focus on key actors from other political groups that point out that “Judiciary” is characterized as a series of processes and the judiciary is only the last step to create legitimacy for the people through judgment. It should also be understood in a broad sense that using the judicial power to enter into political decisions should be for inspection review of controversial constitutions and is not special over other political institutions in any way, While the widespread use of power in the form of Judicialization of politics it should be a positive mission that represents the expansion of civil liberties limited state power as well as establishing legal norms based on international democratic principles. Keywords: Political Installation, Judicialization of Politics, Political Reflection 1. บทนา ภาพยนตร์ “The trial of The Chicago 7” ได้รับการยอมรั บจากสื ่อต่ างๆ ว่าเป็น ภาพยนตร์ที่สามารถร้อยเรียงเนื้อหาที่สะท้อนภาพทางการเมืองออกมาได้อย่างแหลมคม 1 โดย เกิดขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1968 ที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาฟ้องร้องแกนน าการชุมนุมต่อต้านสงคราม เวียดนาม แต่ถูกสลายการชุมนุมโดยเจ้าหน้าที่ตารวจในข้อหาปลุกระดมให้เกิดการจลาจล และ กลายเป็นกรณีศึกษาซึ่งทาให้สถานะของอานาจตุลาการในสหรัฐอเมริกาถูกจัดวางในตาแหน่งแห่งที่ ทางการเมืองที่แปรเปลี่ยนไป 1 ธิดา ผลิตผลการพิมพ์, “เรื่องจริงสุดเดือดของคดีประวัติศาสตร์ ‘CHICAGO 7’,” The Film club, 20 ตุลาคม 2563. 105 CMU Journal of Law and Social Sciences Vol. 16 No. 2 ทั้งนี้ บทสะท้อนจากการใช้อ านาจตุลาการในภาพยนตร์ที่กล่าวถึง คือลักษณะการที่ ฝ่ายตุลาการต้องสงสัยว่ามีคาพิพากษาอันมีธงทางการเมืองเพื่อชี้นา2 ถูกเรียกในวงวิชาการไทยตาม ความนิยมว่า “ตุลาการภิวัตน์” โดยยังมีการให้ความหมายในทิศทางที่แตกต่างกันออกไป แต่ความ รวมคือ “เป็นการใช้อ านาจในเชิงรุกขององค์กรตุลาการเพื่อเข้ามามีบทบาทในการตัดสินใจใน ประเด็ นใหญ่ ๆ ทางการเมื อง (Mega Politics) ส่ งผลทางการเมื องทั ้ งในเชิ งบวกและเชิ งลบ” โดยเฉพาะผลในเชิงลบที่กลายเป็นหนึ่งในปัญหาสาคัญของการเมืองไทยในปัจจุบัน เช่น การยุบ พรรคการเมือง และค าวินิจฉัยยอมรับการรัฐประหาร เป็นต้น ประเด็นเหล่านี้ เกิดการวิพากษ์ วิจารณ์ จากกลุ่มพลังทางสังคมจานวนไม่น้อย รวมถึงมีการเคลื่อนไหวต่อต้านที่เพิ่มมากขึ้นภายหลัง การรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา ในขณะเดียวกัน คาอธิบายในเชิงมโนทัศน์ของแนวคิด “ตุลาการภิวัตน์ในไทย” ยังคงมี การโต้แย้งกันอย่างต่อเนื่อง ไม่สามารถก้าวพ้นข้อจากัดในการอธิบาย ด้วยการสร้างความรับรู้ใน สังคมไทยเกี่ยวกับบทบาทของสถาบันตุลาการที่ยังคุ้นเคยกับความเข้าใจในลักษณะโดยรวมที่ว่า “ศาลมีความอิสระ เป็นองค์กรแบบเชิงรับ ผู้พิพากษาทาหน้าที่โดยปราศจากอคติใดๆ แม้ในบทบาท การใช้อ านาจแบบเชิงรุก ก็จ ากัดเพียงแค่ว่า “ตุลาการภิวัตน์ ” คือการกระท าของฝ่ายศาลที่ แทรกแซงฝ่ายการเมืองเท่านั้น ความคุ้นชินกับสภาวะดังกล่าวนี้ แสดงถึงความไม่เท่าทันต่อความ เปลี่ยนแปลงองค์ความรู้ในทางตุลาการศึกษา (Judicial studies) ซึ่งมีทิศทางที่เลื่อนไหลไปตาม พลวัตของสังคม รวมถึงเป็นการมองข้ามในมุมที่ว่า ฝ่ายตุลาการอาจเต็มใจร่วมมือกับฝ่ายรัฐ หรือ ยินยอมเป็นเครื่องมือให้กับกลุ่มการเมืองอื่นๆ ทว่าในวงวิชาการต่างประเทศ ประเด็นในข้างต้นล้วน ถูกคลี่คลายลงบ้างแล้ว ดังการให้นิยามความหมายที่กว้างขึ้น เช่นว่า “ตุลาการภิวัตน์คือภาวะที่รัฐ พึ่งพิงศาล”3 ที่สะท้อนให้เห็นว่า กลุ่มพลังอันหลากหลายต่างร่วมมือกันสร้างตุลาการภิวัตน์ ไม่ใช่ ศาลเป็นผู้สร้างแต่ฝ่ายเดียว อวิรุทธ์ ชาญชัยกิตติกร, ตุลาการภิวัตน์กับวิกฤติการณ์ทางการเมือง 2549, พิมพ์ครั้งที่ 3, (กรุงเทพฯ: ดุลพาห สานักงานศาลยุติธรรม, 2556). 3 Ran Hirschl, “The New Constitutionalism and the Judicialization of Pure Politics Worldwide,” Fordham Law Review 75, no. 2 (2006): 721-754. 2 106 แปร ปรับ กลับตาลปัตร 2. วิธีวิทยาของการจัดวางแนวคิดทางการเมือง (Political Installation) ในส่วนนี้จะเป็นการสร้างค าอธิบายเชิงทฤษฎีว่าด้วยแนวคิด “ตุลาการภิวัตน์” และ นาเสนอสาระสาคัญของแนววิเคราะห์การจัดวางแนวคิดทางการเมือง (Political Installation) ซึ่ง เป็นมโนทัศน์สาคัญในการอธิบายปรากฏการณ์ ผู้เขียนเลือกที่จะศึกษาผ่านโครงเรื่องภาพยนตร์ใน ฐานะตัวบททางสังคมอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถนามาถอดหาความหมายที่ผู้สร้างสรรค์พยายาม นาเสนอออกมา ทั้งตัวบท (Text) และบริบท (Context) โดยมีการศึกษาร่วมกับ “แนววิเคราะห์การ จัดวางแนวคิดทางการเมือง” (Political Installation) ซึ่งเป็นการบูรณาการระหว่างแนวคิดด้าน รัฐศาสตร์ร่วมกับศาสตร์ทางศิลปะ โดยวัชรพล พุทธรักษา นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยนเรศวร ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับทฤษฎีมาร์กซิสม์ (Marxism) ได้นาเสนอไว้4 ในสาระส าคัญของแนวคิดนี้คือ การพยายามมองสรรพสิ่งอย่างเป็นองค์รวม โดยให้ ความส าคัญกับความคิดเชื่อมโยงที่มีพลวัตกับสิ่งต่างๆ ความเป็นองค์รวมของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม ซึ่งเกิดขึ้นในบริบทใดบริบทหนึ่ง พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเท่านั้น โดยมีเป้าหมาย ส าคัญคือการพยายามสร้างส านึกร่วมให้เกิดแก่ผู้คน เพื่อน าไปสู่การสร้างการเปลี่ยนแปลงใน อนาคต และสาระสาคัญอีกประการคือ การมองโลกในเชิงวิพากษ์ การพิจารณาให้เห็นถึงรากเหง้า ของปัญหาซึ่งอาจจะมีความซับซ้อน และมีความเกี่ยวโยงทางการเมืองกันอยู่หลายชั้น5 แต่อย่างไรก็ดี ส าหรับแนวความคิดดังกล่าว วัชรพลก็ไม่ได้น าเสนอค าตอบหรือสูตร สาเร็จเพื่อนาไปใช้ หากแต่มีข้อแนะนาว่า ผู้ใช้จะต้องคานึงถึงความเหมาะสมกับบริบทแวดล้อมที่ ต้องการเข้าไปศึกษาหรือท าความเข้าใจ โดยยึดหลักส าคัญของแนวคิด 3 ประการ ดังนี้ 1) การ กลับไปทบทวนความคิดที่ถูกจัดวางไว้แล้ว (Installed) 2) การเข้าไปรื้อถอนความคิดที่ถูกจัดวาง (Uninstallation) และ 3) การจั ดวางความคิ ดใหม่ (Reinstallation)6 ทั ้ งนี ้ บนการก่ อตั วของ แนวความคิดดังกล่าว วัชรพล พุทธรักษา ได้เล็งเห็นถึงข้อจากัดบางประการในทางทฤษฎีที่ไม่ได้ วีรชน เกษสกุล และวัชรพล พุทธรักษา, “การจัดวางความคิดทางการเมือง: แนวทางการวิเคราะห์การก่อตัว ทางสังคมของกลุ่มคณะราษฎร,” วารสารชุมชนวิจัย มหาลัยราชภัฏนครราชสีมา 16, ฉ. 2 (2565): 1-13. 5 วัชรพล พุทธรักษา, อันโตนิโอ กรัมชี่ กับการจัดวางแนวคิดทางการเมือง, พิมพ์ครั้งที่ 2, (กรุงเทพฯ: สมมุติ, 2560),: 168-170. 6 เรื่องเดียวกัน, 168-170. 4 107 CMU Journal of Law and Social Sciences Vol. 16 No. 2 เสนอแนวทางเกี่ยวกับการศึกษา และแนวทางในการน าไปปฏิบัติเอาไว้อย่างชัดเจน ด้วยเหตุผล ดังกล่าวนี้จึงเป็นโอกาสที่ผู้ศึกษาสามารถที่จะตีความ และนาแนวคิดของเขาไปใช้อย่างเสรี ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงนาเสนอว่า “การเกิดขึ้น “ตุลาการภิวัตน์ในไทย” คือการประสาน ผลประโยชน์ร่วมของกลุ่มพลังทางสังคมอันหลากหลาย เพื่อรักษาการนาทางการเมือง โดยมีฝ่าย ตุลาการเป็นหนึ่งในกลไกส าคัญเพื่อสร้างความชอบธรรม ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะการประกอบ สร้างความเป็น “กลุ่มก้อนทางประวัติศาสตร์” (Historical Bloc) ภายใต้ฐานคิดการครองอานาจนา (Hegemony) ของอั น โตนิ โ อ กรั มชี โดยเขาอธิ บ ายถึ ง แนวคิ ดการสร้ าง “กลุ ่ มก้ อ นทาง ประวัติศาสตร์” ว่าเป็นความพยายามที่จะแสดงให้เห็นถึงสภาวะที่ชนชั้นและกลุ่มต่างๆ ในสังคมมี ความสัมพันธ์กันอย่างซับซ้อน ทั้งในมิติด้านเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม และอุดมการณ์ ซึ่งจาก เดิมนั้นใช้เกณฑ์การแบ่งแยกกลุ่มบุคคลในสังคมออกจากกันโดยใช้กรรมสิทธิ์เป็นตัวบ่งชี้ฐานะทาง ชนชั้น และเห็นว่าชนชั้นคือต้นตอของปัญหาความขัดแย้ง ซึ่งเกณฑ์การแบ่งในลักษณะดังกล่าวอยู่ ในพื้นที่ของโครงสร้างส่วนล่าง (Base structure) แต่กรัมชีกลับเห็นว่าการอธิบายโดยใช้เกณฑ์ทาง ชนชั้นนั้นมีลักษณะที่เป็นนามธรรมเกินไป เขาจึงเสนอในลักษณะการแบ่งกลุ่มที่เป็นรูปธรรมมาก ขึ้น โดยเสนอว่าในแต่ละช่วงเวลาของประวัติศาสตร์อาจจะเกิดกลุ่มก้อนทางประวัติศาสตร์ที่เกิด จากกลุ่มต่างๆ ชนชั้นต่างๆ มาร่วมมือกัน เพื่อที่จะต่อสู้กับกลุ่มอื่นๆ ดังนั้นลักษณะของกลุ่ม ประวัติศาสตร์จึงเป็นผลรวมของการที่โครงสร้างต่างๆ มาประกอบกันและเกิดเป็นเอกภาพเชิง ซับซ้อนและขัดกันภายใน (Complex and contradictory unity) และมีลักษณะเป็นการเกาะเกี่ยว ทั้งในระดับแนวตั้ง (Vertical) คือการข้ามระหว่างชนชั้น และระดับราบ (Horizontal) ที่เป็นกลุ่ม ย่อยทางชนชั้นของกลุ่มต่าง ๆ ภายในชนชั้นเดียวกัน7 ด้วยมโนทัศน์กลุ่มก้อนทางประวัติศาสตร์ในข้างต้น ผู้เขียนต้องการน าเสนอแนวคิด ดั ง กล่ าวเป็ น แว่ น ส าหรั บ การเข้ าไปจั ดวางแนวความคิ ด ตุ ล าการภิ ว ั ตน์ ด ้ ว ยมุ มมองใหม่ (Reinstallation) ผ่านการใช้บทสะท้อนทางการเมืองจากภาพยนตร์ “The trail of The Chicago 7” เป็นต้นทางในการวิเคราะห์ ร่วมกับกรณีศึกษาคดีทางการเมืองสาคัญที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ ่ ง ผู ้ เ ขี ยนเห็ น ว่ า ตั ว บททางสั ง คมจากภาพยนตร์ ด ั ง กล่ า วจะเป็ นการฉายภาพให้ เห็ นถึ ง วัชรพล พุทธรักษา, อันโตนิโอ กรัมชี่ กับการจัดวางแนวคิดทางการเมือง, พิมพ์ครั้งที่ 2, (กรุงเทพฯ: สมมุติ, 2560),: 168-170. 7 108 แปร ปรับ กลับตาลปัตร “กระบวนการตุลาการภิวัตน์” ที่เกิดขึ้น อันสามารถนามาเปรียบเทียบเพื่อเรียนรู้เพื่อให้เกิดความ เท่าทันต่อแนวคิดตุลาการศึกษาได้ดังนี้ 3. การเข้ าไปทบทวน (Installed) แนวคิ ดตุ ลาการภิ ว ั ตน์ กั บข้ อโต้ แย้ งด้ านนิ ย าม ความหมายในความรับรู้ของสังคมไทย การกลับไปทบทวนแนวคิดที่จัดวางไว้แล้ว (Installed) ถือเป็นหนึ่งในกระบวนการแรก ในการจั ดวางแนวคิ ดทางการเมื อง (Political Installation) ซึ ่ งเป็นการกลับเข้ามาทบทวนชุด ความคิดอันกระจัดกระจายของนักคิดท่านอื่นๆ ที่อธิบายไว้ และนามาขมวดปม จัดแบ่งชุดความรู้ ออกไปตามกระแสทางความคิด เพื่อจะได้ทราบว่ามีชุดความคิดใดบ้างที่ขัดแย้งกัน หรือมีส่วนใดที่ ยังเป็นประเด็นที่ต้องการคาอธิบายชุดใหม่ ทั้งนี้ กระแสความคิดของ ”ตุลาการภิวัตน์ในไทย” อุบัติขึ้นในบริบทของการต่อสู้ทาง อุดมการณ์อย่างแหลมคมในช่วงปี พ.ศ.2548 ร่วมกับกระแสต่อต้านอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ที่ก่อตัวขึ้นในระดับสูง แม้ว่าจะมีผู้จุดประเด็นเรื่อง “พระราชอ านาจ” เพื่อเปิดทางให้ สถาบันพระมหากษัตริย์สามารถแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่และบังคับให้นายกรัฐมนตรีทักษิณ ออกจากอานาจด้วยการอ้างมาตรา 7 ในรัฐธรรมนูญ แต่ขณะเดียวกัน แวดวงปัญญาชนมีทรรศนะที่ แตกต่างกัน ทั้งที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย 8 จากนั้นได้มีเหตุการณ์ส าคั ญคือ ในหลวง ร.9 ได้ พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้เหล่าตุลาการศาลปกครองสูงสุด และศาลยุติธรรม เข้าเฝ้าถวาย สัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับตาแหน่ง ทั้งยังทรงมีพระบรมราโชวาทแค่คณะตุลาการ ในแนวทางการ แก้ไขวิกฤตทางการเมืองในห้วงเวลานั้น จึงเป็นที่มาของการกระทาเชิงรุกโดยฝ่ายตุลาการ จนเป็น ที่มาของวาทกรรม “ตุลาการภิวัตน์ แม้ว่างานส่วนใหญ่จะพุ่งเป้าไป ธีรยุทธ บุญมี ในฐานะผู้นาเสนอ แต่ไม่ควรละเลยว่า แนวคิดนี้เป็นการสอดรับจากหลายภาคส่วน รวมถึงหมุดหมายส าคัญที่เกิดขึ้นจากการตีความ พระราชดารัส อันชี้มูลให้เห็นถึงการเกาะเกี่ยวจากกลุ่มทางการเมืองต่างๆ ทว่าสิ่งที่ไม่สามารถ วรเจตน์ ภาคีรัตน์, จุดไฟในสายลม: รัฐธรรมนูญ รัฐประหาร นายกฯพระราชทาน และตุลาการภิวัตน์, (กรุงเทพฯ: โอเพ่น, 2555),: 16. 8 109 CMU Journal of Law and Social Sciences Vol. 16 No. 2 ปฏิเสธได้คือจุดประสงค์ในการใช้ ตุลาการภิวัตน์ ซึ่งเป็นการการมุ่งท าลายความชอบธรรมของ รัฐบาลในขณะนั้น งานศึกษาในไทยหลายชิ้นจึงเลือกนาเสนอเฉพาะส่วนที่เห็นว่าดี ว่าเหมาะ จึง ผลิตซ้าว่าแนวคิดดังกล่าวมีมายาวนาน ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ใดๆ ดังเช่นว่า “…แม้ จะดู เหมื อนว่ าโลกจะค้ นพบ“ตุ ลาการภิ ว ั ตน์ ” ในสามสี ่ ทศวรรษมานี้ และเพิ่งน าเสนอในสังคมไทยในปี 49 แต่ “ตุลาการภิวัตน์” มีมาก่อนยาวนาน ในฐานะการประกอบสร้างของการปกครอง”9 ด้วยเหตุนี้ ”ตุลาการภิวัตน์”จึงถูกทาให้รับรู้ว่าเป็นแนวปฏิบัติที่ทากันเป็นปกติในทาง สากล คือการสนับสนุนให้อานาจจากฝ่ายตุลาการเข้ามาแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในสังคม โดยไม่ได้ คานึงว่าผลจากการใช้วิธีการดังกล่าว จะส่งผลในเชิงลบหรือเชิงบวกต่อประชาชนอย่างไร ซึ่งการ นาไปใช้ในระยะนั้นกลับปรากฏผลในทิศทางความขัดแย้ง ซึ่งมีข้อพิสูจน์กลุ่มงานส าคัญมากมาย เช่น งานของ ปิยบุตร แสงกนกกุล ที่ได้สรุปถึงปรากฏการณ์ “ตุลาการภิวัตน์”ในไทยตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมาว่า คดีความที่อยู่ในกระบวนการตุลาการภิวัตน์จากปี 2549 จนถึงปัจจุบัน ส่งผลทาง การเมืองที่ปรากฏเป็นโทษต่อกลุ่มทางการเมืองกลุ่มเดิม และเป็นกลุ่มเดียวในหลายกรณี ซึ่งเป็น ผลกระทบทางการเมืองที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน ในขณะที่ผลจากคาตัดสินไม่ได้แสดงถึงการสร้างหลัก กฎหมายพื้นฐานหรือการสร้างมาตรฐานในการตรวจสอบอานาจรัฐแต่อย่างใด10 ข้อพึงสังเกตอย่างหนึ่งคือ งานต้นแบบของธีรยุทธ ได้สร้างหมุดหมายส าคัญให้งาน วิชาการรุ่นหลังได้อ้างอิง และกลายเป็นทรรศนะในเชิงสนับสนุนหรือมอง” ตุลาการภิวัตน์แบบ ไทย”เป็ นเรื ่ องปกติ อั นจะเห็ นได้ ช ั ดเจนที ่ ส ุ ดคื อ กลุ ่ มงานที ่ น าเสนอความชอบธรรมของ ศาลรัฐธรรมนูญ11 ที่โต้แย้งงานที่วิพากษ์องค์กรดังกล่าวอย่างแพร่หลายว่า “การวิพากษ์ ตุลาการ ภิวัตน์ที่เกิดในรัฐไทยส่วนใหญ่มุ่งโจมตีบทบาทการท างานของศาลรัฐธรรมนูญ” ศาลถูกใช้เป็น 9 วีระ สมบูรณ์, “มิติระหว่างประเทศในตุลาการภิวัตน์,” วารสารสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย 48, ฉ. 1 (2561): 9. 10 ปิยบุตร แสงกนกกุล, ศาลรัฐประหาร : ตุลาการ ระบอบเผด็จการ และนิติรัฐประหาร, (นนทบุรี : ฟ้าเดียวกัน, 2560),: 47. 11 ชาย ไชยชิต, “บทบาทของศาลรัฐธรรมนูญในการเมืองไทย (พ.ศ. 2541-2557)” (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรดุษฎี บัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563), 1-12. 110 แปร ปรับ กลับตาลปัตร เครื่องมือในการต่อสู้ทางการเมือง12 , ศาลแทรกแซงการเมืองผ่านค าพิพากษา13 , ศาลยอมรับ ประกาศคณะรัฐประหารในรูปค าวินิจฉัย14 , ตุลาการปฏิวัติ16 , ตลกรัฐธรรมนูญ17 , การละเมิด อานาจรัฐสภา18 และตุลาการธิปไตย19 รวมถึงการมองว่าคาพิพากษาของศาลว่าไม่ได้มีการยึดโยง กับประชาชน และเหล่าผู้พิพากษานั้นกลายเป็นหนึ่งเครือข่ายกษัตริย์นิยม 20และขับเคลื่อนด้วย อุดมการณ์ทางการเมืองในแบบกษัตริย์นิยมอีกเช่นกัน21 ทั้งยังเสนอต่อว่า การปฏิบัติงานของศาลรัฐธรรมนูญของในห้วงปี พ.ศ. 2541 – 2557 ไม่ได้เอนเอียงไปตามบริบททางการเมืองแต่อย่ างใด คดีความที่เป็นข้อวินิจฉัยเกี่ ยวกั บแดน การเมืองเป็นเพียงภารกิจรองเท่านั้น และมองว่าการเปลี่ยนผ่านจากรัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นฉบับ ปี 2550 ไม่ได้ส่งผลต่อโครงสร้างของศาลรัฐธรรมนูญ 22 แม้นผู้เขียนไม่ได้เห็นด้วยกับข้อเสนอ เหล่านี้ แต่ถือว่าข้อจากัดทั้งหลายได้กลายเป็นประเด็นในเชิงท้าทายของงานกระแสอื่นๆ ที่ต้อง สร้างคาอธิบายชุดใหม่ เพื่ออุดช่องโหว่จากข้อโต้แย้งนี้ในจานวนที่ไม่มากก็น้อย หากปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่า ข้อโต้แย้งในข้างต้นล้วนได้รับอิทธิพลจากงานเขียน “ตุลา การภิวัตน์” ของธีรยุทธ บุญมี ซึ่งเกิดกระแสโต้กลับจากกลุ่มงานอื่นๆ เช่นกันว่า “ข้อเสนอของ 12 13 ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์, ตุลาการภิวัตน์ปฏิวัติการเมืองไทย, (กรุงเทพฯ: มติชน, 2551) ปิยบุตร แสงกนกกุล, ศาลรัฐประหาร: ตุลาการ ระบอบเผด็จการ และนิติรัฐประหาร, (นนทบุรี: ฟ้าเดียวกัน, 2560),: 47. วรเจตน์ ภาคีรัตน์, จุดไฟในสายลม, (กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์โอเพ่นบุ๊คส์, 2552). คณิน บุญสุวรรณ, ศาลาธิปไตย: รวมบทความวิพากษ์ศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการภิวัตน์, (กรุงเทพฯ: เอมี่ เอ็นเตอร์ไพรส์, 2556). 17 ปูนเทพ ศิรินุพงศ์, ตลกรัฐธรรมนูญ, (กรุงเทพฯ: ไชน์พับลิชชิ่งเฮาส์, 2556). 18 พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย, แนวคิดและหลักการว่าด้วยการละเมิดอานาจรัฐสภา, (กรุงเทพฯ: สถาบัน พระปกเกล้า, 2558). 19 สมชาย ปรีชาศิลปกุล, เมื่อตุลาการเป็นใหญ่ในแผ่นดิน: รวมบทความว่าด้วยตุลาการภิวัตน์ ตุลาการพันลึก และตุลาการธิปไตย, (กรุงเทพฯ: bookscape, 2560). 20 Duncan McCargo, “Thailand. State of Anxiety,” In Southeast Asian Affairs 2008, edited by Daljit Singh and Tin Maung Maung Than, (Singapore: Institute of South East Asian Studies, 2008). 21 ธงชัย วินิจจะกุล, นิติรัฐอภิสิทธิ์และราชนิติธรรม: ประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาของ Rule by Law แบบไทย, (กรุงเทพฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์, 2563). 22 ชาย ไชยชิต, “การปฏิบัติหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญในการพิทักษ์ความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ (พ.ศ. 2541-2557),” วารสารสถาบันพระปกเกล้า 17, ฉ. 3 (2562): 22-23. 14 16 111 CMU Journal of Law and Social Sciences Vol. 16 No. 2 ธีรยุทธ เป็นการนาหลักการสากลมาปรับใช้อย่างผิดฝา ผิดตัว แสดงถึงความตื้นเขินในทางวิชาการ ส่งผลต่อความไม่เชื่อมั่นต่อสถาบันตุลาการอย่างไม่เคยมีมาก่อน23 พร้อมกันนั้น ผู้เขียนจึงขมวดปมว่า “ตุลาการภิวัตน์” มีการต่อสู้ในกระแสความคิดแบ่ง ออกเป็น 2 กลุ่ม คือฝ่ายกระแสหลัก เช่น ธีรยุทธ บุญมี, จรัญ ภักดีธนากุล และงานของกลุ่มพิเชษฐ์ เมาลานนท์ ที่เป็นผู้สร้างความรับรู้ในสังคมไทยด้วยการริเริ่มนาคาว่า “ตุลาการภิวัตน์” ซึ่งเป็นการ เรียกตามภาษาอังกฤษว่า “Judicialization of Politics หรือ Judicial Activism”อันหมายถึงการ ตีความกฎหมายอย่างก้าวหน้าของฝ่ายตุลาการเป็นกลุ่มแรกๆ โดยในช่วงนั้นคาว่า “ตุลาการภิวัตน์” ถูกใช้ไปในทางบวก ซึ่งเป็นการใช้อ านาจตุลาการตีความกฎหมายเพื่อขยายสิทธิชุมชน หรือการ แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นสาคัญ24 แต่เมื่อเกิดกระแสสังคมจากข้อเสนอของ ธีรยุทธ บุญมี งานของ กลุ่มนี้กลับไม่ได้โต้แย้งในเชิงหลักการแต่อย่างใด25 ด้วยอิทธิพลของคานิยามในข้างต้น ทาให้คนในสังคมบางส่วนมีความเข้าใจบนฐานคิด ที่ว่าการใช้อ านาจของฝ่ายตุลาการมักเป็นไปในเชิงบวกทั้งหมด ศาลและผู้พิพากษาท างานโดย ปราศจากอคติทางการเมือง บังคับใช้กฎหมายตามตัวบทเท่านั้น ซึ่ง Shapiro เปรียบเปรยว่า “หาก ผู้พิพากษาทาหน้าที่เพียงแค่เอากฎระเบียบที่ถูกจัดเตรียมไว้ มาบังคับใช้ตามหลักนิติศาสตร์อัน รัดกุม พวกเราคงจะต้องออกแบบเครื่องคอมพิวเตอร์ IBM มาทางานแทนผู้พิพากษาได้ในเร็ววัน”26 ด้วยทรรศนะของงานกระแสหลักในข้างต้น จึงมีกลุ่มงานจานวนไม่น้อยมองตุลาการ ภิวัตน์ในไทยเป็นเพียงการบิดผันคาศัพท์อันคลุมเครือในเชิงวิชาการ เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ ทางการเมืองได้อย่างชอบธรรม เช่น ในงานของจรัญ โฆษณานันท์ ที่มีการวิพากษ์ว่า “ข้อเสนอของ ฝ่ายกระแสหลัก” อาจเป็นได้เพียงการแอบอ้างแนวคิดแบบสากลบางส่วนขึ้น เพื่อห่อหุ้มการใช้ สมชาย ปรีชาศิลปกุล, เมื่อตุลาการเป็นใหญ่ในแผ่นดิน: รวมบทความว่าด้วยตุลาการภิวัตน์ ตุลาการพันลึก และตุลาการธิปไตย, (กรุงเทพฯ: bookscape, 2560). 24 วรเจตน์ ภาคีรัตน์, จุดไฟในสายลม: รัฐธรรมนูญ รัฐประหาร นายกฯพระราชทาน และตุลาการภิวัตน์, (กรุงเทพฯ: โอเพ่น, 2555), 16. 25 จรัญ โฆษณานันท์, นิติปรัชญา: หลักนิติธรรม สภาวะยกเว้น และปฐมบทแห่งคาพิพากษาแนวรัฐประหาร นิยม-ตุลาการภิวตั น์, (กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคาแหง, 2563), 65. 26 Martin Shapiro, “Political jurisprudence,” In On Law, Politics, and Judicialization, edited by Martin Shapiro and Alec Stone Sweet, (Oxford: Oxford University Press, 2002), 19-54. 23 112 แปร ปรับ กลับตาลปัตร อ านาจตุลาการอย่างอคติและเลือกข้าง โดยมีวาระซ่อนเร้นอยู่เบื้องหลัง 27 ประกอบกับ สมชาย ปรีชาศิลปกุล ที่ได้มีข้อเสนอแนะที่น่าสนใจว่า “หากประเมินงานแนวคิดตุลาการภิวัตน์ของธีรยุทธ บุญมี ในฐานะ Political Propaganda ที่สร้างแรงขับเคลื่อนในการลดความชอบธรรมของรัฐบาลที่มาจาก การเลือกตั้ง ผู้เขียนงานดังกล่าวคงมีสถานะเป็นนักการเมืองคนหนึ่ง แต่หาก ประเมินคุณค่าในเชิงวิชาการแล้ว งานชิ้นนี้ควรต้องถูกประเมินความน่าเชื่อถือ ความเข้าใจด้านแนวคิด ความเท่าทันต่อความเปลี่ยนแปลงด้านความรู้ โดยเฉพาะ บทบาททางการเมืองของฝ่ายตุลาการในโลกช่ วงต้ นศตวรรษที่ 21 เป็นอย่าง มาก”28 ด้วยคาอธิบายที่ขัดแย้งกัน หากมองในแง่ของการใช้อานาจเชิงรุกขององค์กรตุลาการที่ ฝ่ายกระแสหลักได้นาเสนอ คาอธิบายลักษณะนี้มีการบัญญัติไว้แล้วในงานวิชาการในตะวันตก ซึ่ง เป็นที่นิยมอยู่สองคาคือหนึ่ง “Judicialization of Politics”(คานี้เป็นที่นิยมในนักวิชาการไทยใน สายวิพากษ์) และสอง“Judicial Activism” โดยคาแรกเป็นที่นิยมในยุโรป และคาที่สองเป็นที่นิยม ในอเมริกา แต่โดยรวมคือมีความหมายแบบเดียวกันในลักษณะที่ว่า “เป็นการขยายขอบเขตอานาจ ตุลาการเข้าไปในพรมแดนทางการเมือง” ทว่าความสาคัญที่ควรเน้นย้ามากกว่าข้อถกเถียงในเรื่อง การบัญญัตินิยามความหมาย คือการให้ความสาคัญในแง่มุมที่ว่า กรณีใดเป็นการใช้อานาจตุลาการ ในเชิงบวกหรือกรณีใดเป็นการใช้อานาจในเชิงลบ”ซึ่งมีตัวอย่างในการวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ดังนี้ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ได้แสดงตัวอย่างการใช้ ตุลาการภิวัตน์ในเชิงบวก กรณีที่ศาลใช้ อ านาจในการตีความกฎหมายอย่างก้าวหน้าที่เป็นไปเพื่อขยายสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดย อธิบายว่า “ที่อเมริกา ในต้นศตวรรษที่ 20 หน่วยงานการรถไฟมีการจัดเส้นทางการเดินรถ โดยมีการแยกเป็ นโบกี้ คนด า และโบกี้คนขาว ห้ามปะปนกัน หมายความว่ า คนขาวห้ามนั่งกับคนด า คนด าห้ามนั่งกับคนขาว ต่อมามีการฟ้องร้องกันว่ า จรัญ โฆษณานันท์, นิติปรัชญา: หลักนิติธรรม สภาวะยกเว้น และปฐมบทแห่งคาพิพากษาแนวรัฐประหาร นิยม-ตุลาการภิวัตน์, (กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคาแหง, 2563),: 264. 28 สมชาย ปรีชาศิลปกุล, เมื่อตุลาการเป็นใหญ่ในแผ่นดิน: รวมบทความว่าด้วยตุลาการภิวัตน์ ตุลาการพันลึก และตุลาการธิปไตย, (กรุงเทพฯ: bookscape, 2560),: 34-35. 27 113 CMU Journal of Law and Social Sciences Vol. 16 No. 2 ลักษณะดังกล่าวขัดกับหลักความเสมอภาค เป็นการเลือกปฏิบัติ แต่ศาลฎีกา ยืนยันว่าทาได้ ไม่มีปัญหา ต่อมาอีก 30 ปี เกิดกรณีคล้ายกันเกิดขึ้น แต่เป็นการ แยกระหว่างโรงเรียนคนผิวด า โรงเรียนคนผิวขาว ศาลจึงทาการทบทวนค าพิ พาษาในอดีต และเห็นว่าหากยึดตามค าพิพากษานี้จะทาให้สั งคมแบ่งแยก ไม่ สอดคล้องกับรัฐธรรมนู ญ ดังนั้น ศาลจึงวินิจฉัยว่ากระท าไม่ได้ ซึ่งค าวินิจฉัย ดังกล่าวส่งผลให้ส ั งคมเกิดการหล่ อหลอมมากขึ้ น แสดงถึงการตีความอย่ าง ก้าวหน้า และทาให้เห็นถึงความเท่าเทียมระหว่างคนดาและคนขาว” 29 ในส่วนของกรณีตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงการใช้อานาจอย่างกว้างขวางของฝ่ายตุลาการ แต่มีคาพิพากษาในลักษณะที่เป็นเชิงลบ ตกอยู่ภายใต้คาวิจารณ์ที่รุนแรง โดย Andrew Altman ได้ยกตัวอย่างคือ “คาพิพากษาช่วงก่อนสงครามกลางเมืองอเมริกา” ที่ขัดขวางการแก้ไขกฎหมาย เรื่องทาสให้เป็นสิ่งผิดกฎหมาย แม้หลังสงครามกลางเมืองจะมีค าพิพากษาที่คว ่ากฎหมายซึ่ง บัญญัติขึ้นเพื่อประกันความเสมอภาคให้แก่คนอเมริกันผิวดา แต่การขัดขวางการเลิกทาสย่อมเป็น เรื่องการกระทาที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา รวมถึงเป็นการลิ ดรอนสิทธิของประชาชน อย่างปฏิเสธไม่ได้30 ด้วยเหตุนี้ การใช้ตุลาการภิวัตน์ในทางก้าวหน้า จะต้องเป็นคุณต่อประชาธิปไตย ส่วนใน เชิงลบคือการใช้อานาจตุลาการเพื่อหวังผลในทางการเมือง ฉะนั้น การเรียกขานตุลาการภิวัตน์ใน งานชิ้นนี้จึงหมายถึงว่า “เป็นกระบวนการสร้างความร่วมมือของกลุ่มทางการเมือง” โดยหวังพึ่ง ฝ่ายตุลาการเป็นเครื่องมือเพื่อสร้างความชอบธรรม และมีผลในเชิงลบ เรียกตามความนิยมของ นักวิชาการไทยว่า “Judicialization of Politics” โดยจะมีการชี้ให้เห็นผ่านข้อเปรียบเทียบทั้งใน ตัวบทสะท้อนจากภาพยนตร์ที่เป็นบริบทการเมืองในต่างประเทศ และคดีทางการเมืองในประเทศ ไทยที่ถูกตั้งคาถามจากสังคมว่ามีความเป็นการเมืองในการตัดสินคดีเช่นเดียวกัน วรเจตน์ ภาคีรัตน์, จุดไฟในสายลม: รัฐธรรมนูญ รัฐประหาร นายกฯ พระราชทาน และตุลาการภิวัตน์, (กรุงเทพฯ: โอเพ่น, 2555),: 226-227. 30 Andrew Altman, Arguing About Law: Introduction to Legal Philosophy, (Wadsworth Publishing Company, 1996). 29 114 แปร ปรับ กลับตาลปัตร 4. การรื้อถอนความคิดที่ถูกจัดวาง (Uninstallation) หลังจากการเข้าไปทบทวนแนวคิดที่ถูกจัดวางไว้แล้ว (Installed) ท าให้ทราบถึงพลวัต ของกระแสทางความคิดที่มีลักษณะขัดแย้งกัน ชี้ให้เห็นถึงช่องว่างในเชิงวิชาการ อันเห็นว่าส่วนใด ควรถูกรื้อถอน (Uninstallation) หรือส่วนใดต้องทาการจัดวางตาแหน่งแห่งที่แบบใหม่ ซึ่งในส่วน ของการอธิบายในหัวข้อนี้ จะเป็นการยกประเด็นสาคัญเกี่ยวกับ “ตุลาการภิวัตน์” และปฏิสัมพันธ์ ทางอ านาจระหว่ างตัวแสดงทางการเมืองต่ างๆที่ ปรากฏในเรื่ องย่ อของภาพยนตร์ มาท าการ วิเคราะห์เพื่อนาไปสู่การโต้แย้งแนวความคิดที่มีอยู่เดิม ทั้งในเชิงหลักฐานและลักษณะการตีความ เพื่อสร้างข้อเสนอชุดใหม่ ซึ่งมีโครงเรื่องโดยย่อดังนี้ โครงเรื่องโดยย่อของภาพยนตร์เรื่องนี้อ้างอิงจากเหตุการณ์จริงในทางประวัติศาสตร์ การเมื องของชาวอเมริ ก ัน ซึ ่ งเป็ นเรื่ องราวของ 7 แกนน าในการเดิ นขบวนประท้ วงสงคราม เวียดนาม ที่ได้นาพามวลชนร่วมหมื่นคนไปปักหลักประท้วงในเมืองชิคาโกระหว่างงานประชุมใหญ่ ของพรรคเดโมแครต (Democrat Party) โดยจัดขึ้นเมื่อปลายเดือนสิงหาคมปี ค.ศ. 1968 ที่เป็น การประชุมเพื่อคัดเลือกตัวแทนพรรคเพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งต าแหน่งประธานาธิบดีในเดือน พฤศจิกายน แต่การชุมนุมที่เริ่มต้นขึ้นอย่างสงบเริ่มถูกขัดขวาง เมื่อกลุ่มผู้ชุมนุมพยายามยื่นขอ อนุญาตจากเมืองชิคาโกให้เคลื่อนตัวเข้าใกล้สถานที่ประชุม ทว่า ริชาร์ด เดลีย์ นายกเทศมนตรี ชิคาโกปฏิเสธทุกคาขอ ซ้ายังประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในบริเวณใกล้เคียง ตามด้วยการสั่งการให้ ตารวจ 12,000 นาย และกองก าลังพิทักษ์มาตุภูมิแห่งอิลลินอยส์ 5,600 นาย รวมถึงทหารอีก 5,000 นาย เข้าสลายการชุมนุมด้วยแก๊สน ้าตาและกระบองในวันที่ 28 สิงหาคม 1968 (โดยผู้ ชุมนุมตอบโต้ด้วยก้อนหินและขวด) ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บหลายร้อยและถูกจับกุมถึง 668 คน นามา สู่คดีบนชั้นศาล เมื่อกระทรวงยุติธรรมของรัฐบาล ในคาสั่งของประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน ที่ตั้ง ข้อหาจาเลยจานวน 8 คนว่า สมคบคิดกันก่ออาชญากรรมด้วยการเดินทางข้ามเส้นแบ่งเขตรัฐเพื่อ จงใจปลุกระดมให้เกิดการจลาจล31 อย่างไรก็ตาม การพิจารณาคดีเริ่มต้นในวันที่ 24 กันยายน 1969 หรือกว่าหนึ่งปีถัดมา โดยกินระยะเวลายาวนานกว่า 5 เดือน คดีความเต็มไปด้วยเรื่องราวอันโกลาหล เช่น กรณีภายใน 31 ธิดา ผลิตผลการพิมพ์, “เรื่องจริงสุดเดือดของคดีประวัติศาสตร์ ‘CHICAGO 7’,” The Film club, 20 ตุลาคม 2563. 115 CMU Journal of Law and Social Sciences Vol. 16 No. 2 ศาลผู้พิพากษาใช้อคติแทรกแซงครอบงาคดีอย่างที่ไม่เคยปรากฏ ขณะที่ภายนอกศาลก็เนืองแน่น ไปด้วยผู้คนซึ่งร่วมเปล่งเสียงตะโกนประโยคที่ว่า “ทั้งโลกกาลังเฝ้าดู!” อันมีนัยถึงการจับตามอง ความพยายามของรัฐบาลที่กาลังต้องการเล่นงานฝ่ายซ้ายและกาจัดขบวนการเคลื่อนไหวต่อต้าน สงครามเวียดนาม32 จากโครงเรื่องในข้างต้น ถือเป็นการฉายภาพลักษณะของการใช้อานาจตุลาการที่เข้า ไปเกี่ยวข้องกับคดีทางการเมืองที่สะท้อนออกมาจากเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ในปี ค.ศ.1968 ซึ่งผู้เขียนได้มีการแบ่งหน่วยการวิเคราะห์บทสะท้อนทางการเมืองจากภาพยนตร์ออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้ 1) การวิเคราะห์ในระดับปัจเจกบุคคล (Individuals Level) “เมื่อเป็นคดีการเมือง ก็มีคาตัดสินล่วงหน้าไว้แล้ว” ประเด็นที่เป็นจุดเน้นสาคัญอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นพฤติกรรมในเชิงปัจเจกบุคคลของ บุคลากรจากฝ่ายตุลาการ อันชี้ว่ามีการทาหน้าที่โดยมีธงทางการเมืองเป็นตัวชี้นา ซึ่งบทบาทของผู้ พิพากษา จูเลียส ฮอฟฟ์แมน (Julius Hoffman) ในคดีดังกล่าว ได้แสดงออกอย่างชัดเจนถึงอคติ ต่อจาเลยในคดี เช่น การเจตนาเรียกชื่อจาเลย “เดวิด เดลลิงเจอร์” (David Dellinger) (ผู้นากลุ่ม รวมใจยุติสงครามเวียดนาม) ให้พ้องกับ “จอห์น ดิลลิงเจอร์” (John Dillinger)33 เพื่อสร้างความ สับสนให้คณะลูกขุน เช่นเดียวกับการสั่งปลดคณะลูกขุนที่มีท่าทีในการสนับสนุนฝ่ายจาเลย ใน ขณะเดียวกันก็มีการตั้งคาถามถึงการมีอคติต่อการเหยียดผิวของจาเลย เช่น การน าเอาคดีของ บ็อบบี้ ซีล (ชายผิวสี) ซึ่งถูกกล่าวหาว่าฆ่าเจ้าหน้าที่ตารวจ เข้ามาร่วมกับการไต่สวนในคดีประท้วง นี้ โดย บ็อบบี้ ซีล ได้แก้ต่างกับศาลว่า “ตรงนี้มีอยู่ 8 คน แต่ป้ายข้างนอกนั่นเขียนว่า ‘ปล่อยชิคาโกทั้ง 7’ ผมไม่เกี่ยว” ซีล กล่าว ทั้งนี้ บทสะท้อนสาคัญถึงความมีอคติของผู้พิพากษาคือ การที่ผู้พิพากษากดดันจาเลย อย่างหนักตลอดการพิจารณาคดี จนบ๊อบบี้ ซีล ชายผิวดาที่ถูกนับรวมเข้ามาในคดีนี้อย่างไม่เป็น 32 33 เรื่องเดียวกัน อดีตอาชญากรชื่อดังชาวอเมริกัน 116 แปร ปรับ กลับตาลปัตร ธรรมทนไม่ไหว และระเบิดอารมณ์ออกมา ทาให้ผู้พิพากษาสั่ง “ใช้โซ่มัดมือ มัดเท้า และผ้าอุดปาก รวมถึงกักขังจาเลยดังกล่าวเป็นเวลา 3 วัน” โดยผู้พิพากษาย้าว่า “ตนปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นกลาง ไม่ได้มีอคติแต่อย่างใด” นับเป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในศาลของสหรั ฐอเมริ กาใน ขณะนั้น34 จากตัวบทดังกล่าวได้ตอกย้าว่า บทบาทของบุคลากรในทางตุลาการได้เปลี่ยนไปจาก ความรับรู้แบบเก่าในลักษณะที่ว่า “ผู้พิพากษาในรูปแบบดั้งเดิมเป็นเพียงผู้ทาหน้าที่ในการค้นหา ว่า ประเด็นข้อพิพาทนั้นมีกฎหมายใดเกี่ยวข้อง และเมื่อนากฎหมายนั้นมาบังคับใช้จะมีผลอย่างไร ความเข้าใจในลักษณะนี้ถูกเรียกว่า “นิติศาสตร์ในเชิงกลไก” (mechanical prudence)35 โดย หลักคิดดังกล่าวถูกโต้แย้ง และมองการกระท าของผู้พิพากษาในมุมที่ต่างออกไป สอดคล้องกับ ข้อเสนอของ สมชาย ปรีชาศิลปกุล ที่เสนอว่า “การจัดวางบทบาทขององค์กรตุลาการในข้างต้นได้ ถูกปฏิเสธจากสานักแนวคิดทางกฎหมายแบบสัจนิยมของอเมริกา (American legal Realism) ซึ่ง วิพากษ์แนวคิดนิติศาสตร์ในเชิงกลไก และปฏิเสธความเชื่อที่ว่า “บทบาทของผู้พิพากษาที่บังคับใช้ กฎหมายอย่างตรงไปตรงมา” แต่แนวคิดสัจนิยมทางกฎหมายแบบอเมริกา ได้ให้ความสาคัญกับ กฎหมายที่ถูกบังคับใช้ในความเป็นจริง และกฎหมายไม่สามารถถูกค้นพบหรืออนุมานได้จาก กฎเกณฑ์ต่างๆ ที่บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแต่เพียงอย่างเดียว แต่มีปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลในทาง คาพิพากษาได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น ภูมิหลังของผู้พิพากษา อุดมการณ์ทางการเมือง ความเชื่อ ทางศาสนา ผิวสี เพศสภาพ เป็นต้น”36 สมทบด้วยข้อสรุปจากงานของ Shapiro ที่มองว่า “ผู้พิพากษาไม่ได้ท าหน้าที่ เป็น “ตัวกลาง” ที่ปล่อยให้กฎหมายพูดตามบทบัญญัติ” แต่กลับมองว่า “ผู้พิพากษาเป็นหนึ่งใน จิรัชญา ชัยชุมขุน,“ผู้ชุมนุม ตารวจ และตุลาการที่เอนเอียง : หนังการเมืองสุดเดือด The Trial of the Chicago 7,” The Matter, 20 มีนาคม 2564. 35 Tom Ginsberg, Judicial Review in New Democracies: Constitutional Courts in Asian Cases, (Cambridge: Cambridge University Press, 2003). 36 สมชาย ปรีชาศิลปกุล, เมื่อตุลาการเป็นใหญ่ในแผ่นดิน: รวมบทความว่าด้วยตุลาการภิวัตน์ ตุลาการพันลึก และตุลาการธิปไตย, (กรุงเทพฯ: bookscape, 2560),: 212. 34 117 CMU Journal of Law and Social Sciences Vol. 16 No. 2 ตัวแสดงทางการเมืองที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปตามความรู้สึก บริบทแวดล้อม อันผ่านการคิด คานวณถึงส่วนได้ ส่วนเสียต่อการตัดสินใจในการพิจารณาคดีมา37 บทบาทผู้พิพากษา “จูเลียส ฮอฟฟ์แมน” ที่ปรากฏในภาพยนตร์ แม้มิอาจสรุปได้ว่า ตัวเขาเองได้รับอิทธิพลจากในทางจิตวิทยาอย่างไร แต่สิ่งที่สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนคือการบอก ว่า ผู้พิพากษาอาจไม่ได้เป็นตัวกลางในการตัดสินตามบทบัญญัติของกฎหมายแต่เพียงอย่างเดียว 2) การวิเคราะห์ในระดับเชิงโครงสร้างสถาบัน (Institutional Structure) นานาทรรศนะจากการวิเคราะห์ภาพยนตร์ดังกล่าวมักชี้ว่า องค์กรตุลาการของสหรัฐ ในขณะนั้นถูกแทรกแซงโดยฝ่ายบริหาร38 โดยผู้เขียนมีความเห็นที่แตกต่างในแง่การวิเคราะห์ในเชิง บรรทัดฐานว่า หากศาลปราศจากความเป็นการเมืองและมีอ านาจโดยอิสระ ไม่ขึ้นกับฝ่ายนิติ บัญญัติหรือฝ่ายบริหารด้วยแล้ว การวิเคราะห์ที่ว่า “สถาบันที่มาจากการเลือกตั้งแทรกแซงฝ่าย ตุลาการนั้น” คงจะเป็นข้อเสนอที่ไม่เพียงพอ และมองข้ามความเป็นการเมืองในเชิงตุลาการ เพราะ ถ้าศาลมีอิสระจริง คงมิอาจถูกแทรกแซงโดยสถาบันอื่นๆ ซึ่งประเด็นดังกล่าวสอดคล้องกับข้อเสนอ ของ ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ที่อธิบายผ่านกรณีศึกษาในคดีทางการเมืองไทยว่า “หากศาลเป็นอิสระจริง การจับกุมส่งฟ้องนั้นควรเป็นแค่การกล่าวหา เป็นการ กระทาของตารวจ ซึ่งเป็นฝ่ายบริหารที่ศาลจะต้องกากับตรวจสอบ ศาลจะต้องถือ ไว้ก่อนว่าคนเหล่านั้นเป็นผู้บริสุทธิ์ และเริ่มพิจารณาโดยใช้กฎหมายตามล าดับ ซึ่งเป็นหลักของ ‘presumption of innocence’ หรือการสันนิษฐานไว้ก่อนว่า จาเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ ถ้าศาลให้คุมขังตามที่ตารวจกล่าวหาทันทีแปลว่า ไม่มีใคร ตรวจสอบอานาจของฝ่ายบริหารแล้ว”39 Martin Shapiro, “Political Jurisprudence,” In On Law, Politics, and Judicialization, edited by Martin Shapiroand Alec Stone Sweet, (Oxford: Oxford University Press., 2002), 19-54. 38 จิรัชญา ชัยชุมขุน, “ผู้ชุมนุม ตารวจ และตุลาการที่เอนเอียง: หนังการเมืองสุดเดือด The Trial of the Chicago 7,” The Matter, 20 มีนาคม 2564. 39 ไอลอร์, ““ศาลและความยุติธรรม ?” ศาลต้องทาให้คนเห็นว่านั่นคือความยุติธรรม,” สืบค้นเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2565, https://ilaw.or.th/node/6219 37 118 แปร ปรับ กลับตาลปัตร การวิเคราะห์ตัวบทในระดับโครงสร้าง กลับไม่ได้ชี้ให้เห็นว่าเป็นการแทรกแซงจาก ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่เป็นการที่ “รัฐพึ่งพิงศาล” หรือมีการประสานผลประโยชน์ร่วมกัน (ฝ่าย บริหาร, ฝ่ายตุลาการ, ฝ่ายกลไกรัฐ) ไม่เพียงแต่อคติส่วนตัวของผู้พิพากษาที่เป็นเพียงฉากหน้า ของกระบวนการยุติธรรม ตัวภาพยนตร์ยังฉายให้เห็นถึงฉากหลังของกระบวนการยุติธรรมมีธง ทางการเมืองเป็นตัวชี้นา เริ่มตั้งแต่อัยการสูงสุดในขณะนั้นกดดันให้อัยการ “ริชาร์ด ชูลซ์” ซึ่ง รับผิดชอบคดีนี้ว่าต้องเอาผิดกับจาเลยให้ได้ 40 ประกอบกับอดีตอัยการสูงสุดเคยได้ให้ปากคาว่า “เขาเคยได้รับโทรศัพท์จากประธานาธิบดี “ริชาร์ด นิกสัน” ที่ถามว่า “จะเอาผิดกับกลุ่มที่ ประท้วงไหม แล้วอัยการสูงสุ ดตอบว่ า “ไม่” เพราะกองคดีอาญาสื บสวนได้ข้อสรุปแล้ วว่ า กรมตารวจชิคาโกเป็นผู้เริ่มการจลาจล ทั้งยังช่วยยืนยันว่า แกนน าแต่ละคนไม่ได้สมคบคิดกัน ตามที่ร ัฐกล่ าวอ้ าง”41 นั่นเป็นการแสดงให้เห็นว่ า ฝ่ายรัฐพยายามใช้ กลไกอ านาจรัฐต่ างๆ ทั้งอัยการ ผู้พิพากษา ตารวจ เพื่อเอาผิดกับกลุ่มผู้ชุมนุม เหตุเพราะข้อเรียกร้อง “การต่อต้าน สงครามเวียดนาม” ของผู้ชุมนุมส่งผลกระทบในเชิงนโยบายหลักของสหรัฐอเมริกาในขณะนั้น ด้วยความสัมพันธ์ทางอานาจที่สะท้อนจากภาพยนตร์สามารถอธิบายได้ว่า การที่ฝ่าย รัฐพยายามครองอานาจนาทางการเมืองหรือพยายามควบคุมผู้เห็นต่าง เป็นลักษณะพฤติกรรมที่ ชนชั้นและกลุ่มต่างๆ ในสังคมมีความสัมพันธ์กันอย่างซับซ้อน ทั้งในมิติด้านเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม และอุดมการณ์ ซึ่งเรียกว่า ลักษณะ “กลุ่มก้อนทางประวัติศาสตร์” (Historical Bloc) ซึ่งกลุ่มพลังทางสังคมต่างๆ เหล่านี้มีการประสานผลประโยชน์ร่วมกันภายใต้เงื่อนไขทางการเมือง ที่เป็นเจตจานงร่วมในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อครองอานาจนาในทางการเมือง42 ท้ายสุด ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ได้กลับคาตัดสินและสั่งให้พิจารณาคดีใหม่ ซึ่งอัยการ สหรัฐอเมริกาปฏิเสธที่จะทาคดีอีกครั้ง แล้วในปี 1972 ศาลอุทธรณ์กลับคาตัดสินให้แกนนาทั้ง 5 คนที่ต้องโทษติดคุกพ้นผิดทั้งหมด พร้อมด้วยเหตุผลว่า “ผู้พิพากษามีพฤติการณ์ที่เป็นอคติต่อ ณิศวร์ฐิตะ ทองน้อย, “The Trial of the Chicago 7: บุตรทั้ง 7 คนของอเมริกา และลูกกาพร้าอีก 1,” The Momentum, 20 ธันวาคม 2563. 41 จิรัชญา ชัยชุมขุน, “ผู้ชุมนุม ตารวจ และตุลาการที่เอนเอียง: หนังการเมืองสุดเดือด The Trial of the Chicago 7,” The Matter, 20 มีนาคม 2564. 42 วัชรพล พุทธรักษา, อันโตนิโอ กรัมชี่ กับการจัดวางแนวคิดทางการเมือง, พิมพ์ครั้งที่ 2, (กรุงเทพฯ: สมมุต,ิ 2560),: 168-160. 40 119 CMU Journal of Law and Social Sciences Vol. 16 No. 2 จาเลย”43 ด้วยความส าคัญเหล่านี้ หากมองย้อนถึงนัยการแห่งการใช้แนวคิดตุลาการภิวัตน์ใน ประเทศไทยในช่วงปี พ.ศ.2549 เป็นต้นมา บทสะท้อนจากภาพยนตร์ ได้เผยให้เห็นถึงเค้าลางการ พิจารณาคดีอันมีธงการเมืองมาชี้น า ซึ่งมักถูกก าหนดค าตัดสินไว้ล่วงหน้า อันเกิดจากความ ร่วมมือในลักษณะที่ฝ่ายรัฐร่วมมือกับฝ่ายตุลาการเพื่อขจัดผู้เห็นต่างทางการเมือง พร้อมทั้งโต้แย้ง หลักการดั้งเดิมที่ว่าฝ่ายศาลเป็นอิสระจากการเมือง 3) การรื้อถอนในเชิงแนวคิดและทฤษฎี จากบทสะท้อนทางในข้างต้น ทั้งในระดับปัจเจกบุคคล และระดับเชิงโครงสร้าง ชี้ให้เห็นว่า ฝ่ายตุลาการ ต่างมีพฤติกรรมที่ฉีกออกจากบรรทัดฐานดั้งเดิมในฐานะสถาบันทาง การเมืองแบบเชิงรับ ทว่าเมื่อย้อนทาความเข้าใจถึงความรับรู้ในวงวิชาการกระแสหลักของไทย กลับยังมีข้อสรุปที่ไม่แตกต่างไปจากความรับรู้เดิม44 แต่พลวัตในทางตุลาการศึกษา บทบาทของ ผู้พิพากษาได้ถูกทาลายลงด้วย “ตัวแบบเชิงทัศนคติ (Attitudinal Model)” ที่โต้แย้งผู้พิพากษา แบบอุดมคติ ซึ่งมองว่าผู้พิพากษาจะไม่นาความรู้สึกตนเองลงไปเกี่ยวพันกับคดีความ แต่ข้อมูล เชิงประจักษ์สรุปว่า ผู้พิพากษามีความรู้สึกนึกคิดเหมือนคนทั่วไป และสามารถถูกชักจูงไปในทาง ใดทางหนึ่งเสมอ เป็นไปได้ว่าในคดีเดียวกัน ผู้พิพากษา 2 คนจะมีคาตัดสินที่แตกต่างกัน45 เช่นเดียวกับในเชิงโครงสร้าง ซึ่งหากไม่เป็นการกล่าวจนเกินเลยว่ าศาลทุ กศาล เกี่ยวพันกับการเมือง อาจต้องทาความเข้าใจเพิ่มเติมว่า สถาบันตุลาการแต่ละประเภทมีความเป็น การเมืองแตกต่างกัน ศาลอาญา ศาลแรงงาน ศาลเยาวชน ย่อมห่างไกลพรมแดนทางการเมืองได้ มากกว่า ศาลปกครองหรือศาลรัฐธรรมนูญ46 จิรัชญา ชัยชุมขุน,“ผู้ชุมนุม ตารวจ และตุลาการที่เอนเอียง: หนังการเมืองสุดเดือด The Trial of the Chicago 7,” The Matter, 20 มีนาคม 2564. 44 ชาย ไชยชิต, “การปฏิบัติหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญในการพิทักษ์ความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ (พ.ศ. 2541-2557)” วารสารสถาบันพระปกเกล้า 17, ฉ. 3 (2562): 22-23. 45 Lawrence Baum, “What Judges Want: Judges’ Goals and Judicial Behavior,” Political Research Quarterly 47, no. 3 (1994): 749-768. 46 Martin Shapiro, “Political Jurisprudence,” In On Law, Politics, and Judicialization, edited by Martin Shapiroand Alec Stone Sweet, (Oxford: Oxford University Press., 2002),: 19-54. 43 120 แปร ปรับ กลับตาลปัตร ในกรณี ศาลไทย ความเป็ นศาลการเมืองอาจเห็นได้ช ัดเจนจากศาลรั ฐธรรมนูญ มากกว่าศาลอื่นๆ เช่นในงานสาคัญที่ศึกษาบทบาทของศาลรัฐธรรมนูญในเชิงสถาบันตั้งแต่ พ.ศ. 2541-2557 มีข้อสรุปที่น่าสนใจว่า การทางานของศาลรัฐธรรมนูญโดยรวม มิได้ขึ้นอยู่กับบริบท ทางการเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ความขัดแย้ง คดีกว่า 677 คดีมีความแตกต่างกัน ไปในหลายลักษณะ โดยที่ผลจากการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญฉบับ 2540 เปลี่ยนเป็น 2550 ไม่ได้ ส่งผลในเชิงโครงสร้างมากนัก และคดีข้อพิพาททางการเมืองมีเพียงเล็กน้อยหากเทียบกับคดี โดยรวม ทั้งยังมองว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะใช้อานาจได้ก็ต่อเมื่อมีคดีความเท่านั้น47ข้อสรุปลักษณะ นี้ได้กลายเป็นความแปลกใหม่อย่างมากในระยะหลัง จากข้อเสนอข้างต้น หากชวนวิเคราะห์เพิ่มเติมว่า ศาลรัฐธรรมนูญไทยอาจมีโอกาส ถูกระบบทางการเมืองชี้นาเพื่อเบี่ยงเบนคาตัดสินได้เช่นกันด้วย “ตัวแบบเชิงกลยุทธ์” (strategic model) ซึ่งโต้แย้งว่า สถาบันตุลาการมักให้น้าหนักกับสภาวะแวดล้อมทางการเมืองเป็นสาคัญ มี การคาดคะเนถึงผลจากคาตัดสินต่างๆ จากฝ่ายการเมือง “ผู้ที่ถือเงินและปืน ไม่มีเหตุผลที่จะต้อง กลัวฆ้อน”48 และพยายามสร้างคาวินิจฉัยที่เอื้อต่อฝ่ายตนเอง49 ฉะนั้นคดีทางการเมืองที่เกิดขึ้น ระหว่างปี 2541 - 2557 ทั้ง 677 คดี มีถึง 188 คดีที่เกี่ยวข้องกับข้อขัดแย้งที่ว่าด้วยการเมือง แม้ จะเป็นตัวเลขในจานวนน้อยเมื่อเทียบกับคดีทั้งหมด แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าหลังปี 2549 คดีในทานอง นี้มีจานวนที่สูงขึ้น และกลายเป็นประเด็นหลักในการตั้งคาถามว่า “ศาลยินยอมให้ฝ่ายการเมือง ชี้นาหรือไม่” ประกอบกับ หากมองว่าการเปลี่ยนแปลงของรัฐธรรมนูญจากฉบับ 2540 เป็นฉบับ 2550 ไม่กระทบในเชิงโครงสร้างของศาลรัฐธรรมนูญมากนัก ผู้เขียนไม่สู้จะเห็นด้วยกับข้อเสนอ ดังกล่าว โดย ILAW มีการแจกแจงโครงสร้างของฝ่ายตุลาการ และองค์กรอิสระ จะเห็นได้ว่า โครงสร้างของฝ่ายศาลถูกปรับแต่งในหลายส่วน เช่น ที่มาของตาแหน่ง, อานาจหน้าที่ และอานาจ 47 ชาย ไชยชิต, “การปฏิบัติหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญในการพิทักษ์ความเป็นกฎหมายสูงสุดของ รัฐธรรมนูญ (พ.ศ. 2541-2557)” วารสารสถาบันพระปกเกล้า 17, ฉ.3 (2562): 22-23. 48 ภูริ ฟูวงศ์เจริญ, “ฤๅหาใช่เพียงร่างทรง: แนวทางเชิงวิพากษ์ ในการศึกษาสถาบันตุลาการ,” วารสาร สังคมศาสตร์คณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 45, ฉ. 2 (2558): 27-48. 49 Lawrence Baum, 749-768. 121 CMU Journal of Law and Social Sciences Vol. 16 No. 2 การควบคุมตรวจสอบ50 ยังมิรวมถึงการรัฐประหาร 2549 อันถือเป็นการจัดวางโครงสร้างทาง อานาจใหม่ที่ถอนรากถอนโคนอานาจจากฝ่ายรัฐบาลเดิมจนเหี้ยนเตียน แม้มีงานเชิงวิพากษ์พยายามชี้ว่ า การเกิด ตุลาการภิวัตน์ แบบไทยมี มูลเหตุ จาก พฤติกรรมของศาลและผู้พิพากษา ข้อเสนอดังกล่าวมักถูกแย้งว่า ศาลรัฐธรรมนูญทาตามบทบาท หน้าที่เท่านั้น “เมื่อไม่มีผู้ฟ้อง ศาลย่อมไม่มีคาพิพากษา” แม้จะเป็นการโต้กลับที่อิงกับอ านาจ หน้าที่อันเป็นบรรทัดฐานของฝ่ายตุลาการ แต่ข้อสรุปดังกล่าวอาจเป็นการละเลยต่อปั จจั ย แวดล้ อมทางการเมื อง โดยเฉพาะหลั งมี การตั ้ งค าถามพอสมควรกั บตั วแสดงกลุ ่ มใหม่ คื อ “นักร้องเรียนคดีทางการเมือง” เพื่อให้ข้อขัดแย้งต่างๆ เข้าสู่แดนอ านาจของศาล โดยมีผู้ตั้ง ข้อสังเกตว่า กลุ่มบุคคลเหล่านี้ใช้ช่องว่างระหว่างการเป็นพลเมืองดีกับการร้องเรียนเพื่อกลั่น แกล้งฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง 51 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอย่างหลัง สอดคล้องกับงานของจาตุรงค์ สุทาวัน และวีระ หวังสัจจะโชค ที่สรุปว่า นักร้องเรียนคดีทางการเมืองมีหลายกลุ่ม แต่ที่กลายเป็น ปัญหาที่สุดคือ กลุ่มที่กลายเป็นหนึ่งในกลไกรัฐ ซึ่งมีการทาหน้าที่ส่งต่อคดีทางการเมืองให้อยู่ใน อานาจศาล ซึ่งจะสังเกตได้ว่า พวกเขามักได้รับตาแหน่งทางการเมืองหรือได้รั บผลประโยชน์ใน รูปแบบอื่นๆ ภายหลังสิ้นสุดคดี กลุ่มนี้ถูกเรียกว่า “กลุ่มผู้ติดสอยห้อยตามตุลาการ” (Judicial Groupies)52 การเกิดขึ้นของกลุ่มดังกล่าวเป็นการสร้างข้อเสนอใหม่ว่า “ตุลาการภิวัตน์แบบไทย” คือความร่วมมืออย่างหนึ่งของกลุ่มพลังทางสังคมอันหลากหลาย มีกลไก และมีกระบวนการ ตลอดจนคัดง้างมายาคติอานาจเชิงบรรทัดฐานของฝ่ายตุลาการในงานกระแสหลักที่ว่า “เมื่อไม่มี ผู้ร้อง ศาลไม่มีคาตัดสิน” “กลุ่มนักร้อง” เป็นประเด็นสาคัญที่งานอื่นๆไม่ได้พูดถึงมากนัก แต่จะมีพูดถึงอยู่บ้าง ในบริบทต่างประเทศ แต่มีพฤติกรรมที่ต่างกันออกไป เช่น Shapiro ได้เสนอว่า กลุ่มเหล่านี้คือคน ดูเพิ่มที่ ไอลอร์, “สรุปรัฐธรรมนูญ 2560 : เปิดที่มาศาลรัฐธรรมนูญในรอบ 20 ปี ลดจานวนตุลาการสาย วิชาการ เพิ่มข้าราชการ,” สืบค้นเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2565, https://ilaw.or.th/node/5655 51 เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง, “เห็บหมัดของตุลาการภิวัตน์,” The 101 World, 26 ตุลาคม 2564. 52 ผู้เขียนอุปมาว่าด้วยลักษณะการขับเคลื่อนทางการเมืองของพวกเขามี ความคล้ ายคลึ งกั บความเป็ น “กรุ๊ปปี้” (Groupies) หมายถึง “กลุ่มเด็กสาว” ที่ติดตามวงดนตรีอเมริกันร็อคไปตามทัวร์คอนเสิร์ตต่างๆ เพื่อหวังใน การได้มีความสัมพันธ์กับสมาชิกวงแบบชั่วคราวด้วยความสมัครใจ แลกกับการได้ท่องเที่ยว การกินอาหารในภัตตาคารที่ หรูหรา บางส่วนก็แยกย้ายกันหลังจบทัวร์ และมีบางส่วนถึงขั้นได้แต่งงานกับสมาชิกในวงดนตรี” 50 122 แปร ปรับ กลับตาลปัตร ส่วนเล็กส่วนน้อยในสังคม (ทนายความ, นักเคลื่อนไหว, NGO) ที่ผลักดันข้อเสนอทางกฎหมาย ต่อรองกับคนหมู่มาก เรียกว่า “ตุลาการภิวัตน์จากเบื้องล่าง” (Judicialization from below)53 แน่นอนว่าจากงานศึกษาที่ผ่านมา54 พฤติกรรมของกลุ่มคนเหล่านี้ในประเทศไทยไม่ได้เป็นเช่นใน ต่างประเทศ ซึ่งจะเห็นได้ว่าผลจากการร้องเรียน มักสร้างความเสียหายเฉพาะกลุ่มทางการเมือง กลุ่มเดิมเสมอ จนสามารถคาดเดาคาพิพากษาได้ 4. บทสรุป และการจัดวางแนวคิดใหม่ (Reinstallation) ด้วยความเป็นกระแสหลัก งานเขียน “ตุลาการภิวัตน์” ของธีรยุทธ บุญมี ถูกผลิตซ้า จากกลไกรัฐอย่างต่อเนื่อง อิทธิพลดังกล่าวแผ่ขยาย ฝังรากในแวดวงอุดมศึกษา มีนักวิชาการ จานวนไม่น้อยที่สนับสนุนแนวคิดนี้ การวิพากษ์ ตุลาการภิวัตน์แบบไทยในบางเวที ถูกค่อนขอด เสมอว่า เป็นการลดทอนความศักดิ์สิทธิ์ของกระบวนการยุติธรรม แต่เมื่อลองวิเคราะห์เจตนาของ ธีรยุทธ บุญมี ในแง่ความเข้าใจผิดที่ว่า ตุลาการภิวัตน์ คือการตรวจสอบฝ่ายนิติบัญญัติ แบบ (Judicial Review) ก็ ม ี งานศึ กษาเปรี ยบเที ยบแสดงให้ เห็ นมากมาย เช่ น Tom Ginsberg55 , C.Neal Tate and Torbjorn Vallinder56 หรือหากธีรยุทธ มองว่าเป็นการที่ศาลใช้อานาจเชิงรุก ตีความอย่างก้าวหน้า (Judicialization of Politics /Judicial Activism) ผลการวินิจฉัยในคดีทาง การเมือง 4 รูปแบบ57 ได้เผยให้เห็นในเชิงประจักษ์ แม้การมองในมุมที่อาจรุนแรงไปว่า อาจเป็นความตั้งใจในการบิดเบือนแนวคิด งานชิ้น นี้ก็ถูกอภิปรายในแง่ของการเป็น “โฆษณาชวนเชื่อ” (Propaganda) แต่ในแง่ความสาเร็จ งานชิ้นนี้ Martin Shapiro, “Political Jurisprudence,” In On Law, Politics, and Judicialization, edited by Martin Shapiroand Alec Stone Sweet, (Oxford: Oxford University Press., 2002): 19-54. 54 จาตุรงค์ สุทาวัน และวีระ หวังสัจจะโชค,“ปรากฎการณ์นักร้อง” กับผลสะเทือนทางการเมืองจากระบอบ ตุลาการภิวตั น์หลัง พ.ศ. 2549 – 2563,” วารสารสังคมศาสตร์ปริทรรศน์ 3, ฉ. 1, กาลังจัดพิมพ์. 55 Tom Ginsberg, Judicial Review in New Democracies: Constitutional Courts in Asian Cases, (Cambridge: Cambridge University Press, 2003). 56 Neal C. Tate and TorbjÖrn Vallinder, The Global Expansion of Judicial Power, (New York: New York University Press, 1994). 57 จาตุรงค์ สุทาวัน และนวภัทร โตสุวรรณ, “ผลทางการเมืองที่เกิดจากคาพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญภายหลัง การรัฐประหาร พ.ศ.2549,” วารสารนิติรัฐกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย 5, ฉ. 1 (2563): 213-226. 53 123 CMU Journal of Law and Social Sciences Vol. 16 No. 2 สร้างแรงกระเพื่อม ก่อเกิดการอ้างอิงอย่างแพร่หลาย ซึ่งอย่างไรก็ตาม ล่าสุดธีรยุทธได้ยอมรับ ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นปี พ.ศ.2562 ว่า “ทหารไม่ควรใช้ “ตุลาการภิวัตน์” มาเล่นการเมือง ด้วยการใช้กฎหมายเอาผิด นักการเมืองฝ่ายตรงข้ามและคนคิดต่างมั่วซั่วไปหมด เพราะเป็นการสร้างความ ขัดแย้งมากกว่าแก้ปัญหา”58 ด้วยเหตุนี้งานวิชาการที่อ้างอิงจากแนวคิดของธีรยุทธ เห็นควรว่าน่าจะเป็นคาอธิบาย ที่ย้อนแย้ง เมื่อตัวผู้เสนอได้ยอมรับว่า ตุลาการภิวัตน์ได้ถูกใช้ในเชิงลบ มากกว่าเชิงบวก59 ส่วนใน บริบทการเกิดตุลาการภิวัตน์แบบไทยในช่วงปี 2549 มีข้อถกเถียงถึงจุดเริ่มต้นของตุลาการภิวัตน์ แตกต่างกัน และส่วนใหญ่มักให้น้าหนักไปที่จุดเริ่มต้นจากงานของ “ธีรยุทธ บุญมี”ซึ่งผู้เขียนเห็น แย้งว่า เขาเป็นเพียงผู้บัญญัติค าให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างเท่านั้น หากมองในเชิงกระบวนการ หมุดหมายสาคัญอยู่ที่การตีความพระราชดารัส 25 เมษายน 2549 ที่ก่อให้เกิดการรวมกลุ่มทาง การเมืองต่างๆ เช่น กลุ่มองคมนตรี60 การรวมตัวของ 3 ศาลที่ตามมาด้วยคาวินิจฉัยล้มการเลือกตั้ง นาไปสู่การหลอมรวมเป็นกลุ่มก้อนทางประวัติศาสตร์เพื่อเข้าสู่การครองอานาจนา (Hegemony) ภายใต้เงื่อนไขสาคัญในระยะนั้นคือการขจัด “กลุ่มก้อนอานาจของรัฐบาลเดิม” ส่วนประเด็นการจัดวางองค์ความรู้ที่ต่อยอดจากกลุ่มงานกระแสรอง งานชิ้นนี้เสนอ เพิ่มเติมว่า “ตุลาการภิวัตน์แบบไทย” มิควรเพ่งมองเพียงแค่พฤติกรรมของฝ่ายตุลาการ แต่ควรให้ ความสาคัญกับปฏิสัมพันธ์ของกลุ่มทางการเมืองที่มักใช้ศาลเป็นเครื่องมือในการครองอานาจ โดยมี คดีตัวอย่างที่เผยให้เห็นเค้าลางของกระบวนการ คือ “คดีอาชญากรสงครามปี 2489” ที่ว่าด้วย กลุ่มนักการเมือง หนึ่งในนั้นคือจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งได้รับข้อกล่าวหาว่านาพาประเทศเข้าสู่ ภาวะสงคราม โดยมีการตั้งข้อสงสั ยว่า การพิจารณาคดีเป็นการแสดงออกถึงการที่นายปรี ดี พนมยงค์ (ผู้มีอานาจในขณะนั้น) ทาการช่วยเหลือกลุ่มจอมพลแปลก พิบูลสงครามอย่างจงใจ61 ธีรยุทธ บุญมี, “การบรรยายพิเศษเรื่อง “ประชาชน พรรคการเมือง ทหาร ติดกับดักก่อวิกฤตใหม่ประเทศ ไทย” ในวาระราลึก 46 ปี ของประวัติศาสตร์ 14 ตุลาคม 2516,” ประชาไท, 24 ตุลาคม 2562. 59 สุรพศ ทวีศักดิ์, ธีรยุทธ บุญมี ปัญญาชนของรัฐละคร, ประชาไท, 24 ตุลาคม 2562. 60 ประธานองคมนตรีพลเอกเปรมได้กล่าวว่ า “เจ้าของทหารตัวจริงคื อในหลวงและชาติ เปรียบรัฐบาลเป็ นแค่ จ๊อกกี้” 61 กล้า สมุทวณิช, “คดี “โมฆ (อาชญากร) สงคราม” อันเป็นต้นกาเนิด “ศาลรัฐธรรมนูญ” ตอนที่ 1,” สืบค้น 58 124 แปร ปรับ กลับตาลปัตร การยกตัวอย่ าง “คดีอาชญากรสงคราม” แม้ไม่ได้เห็ นแย้งในเชิงนิ ติว ิธี แต่ชวน พิจารณาว่า การใช้อานาจตุลาการในคดีการเมืองมักเป็นเงื่อนไขข้อต่อรองระหว่างฝ่ายมีอ านาจ และฝ่ายผู้ถูกกล่าวหา เช่น ข้อสมมุติฐานที่ว่า นายปรีดี พนมยงค์ และจอมพลแปลก พิบูลสงคราม เคยทาการปฏิวัติในนามคณะราษฎรเหมือนกัน เมื่อมีข้อพิพาทดังกล่าว จึงอาจเป็นไปได้ว่า อาจมี การจัดตั้งศาลพิเศษเพื่อช่วยเหลือฝ่ายตนเอง ดังหลักฐานจดหมายจากจอมพล ป. ที่ส่งถึงนายปรีดี พนมยงค์ ความว่า “....สาหรับตัวผม ผมพูดมามากแล้ว ถ้ามีผิดและรบกวนอาจารย์ก็ขออภัยด้วย ผม ได้เขียนเล่าการปฏิบัติการต่อสู้ญี่ปุ่น และส่งไปทางประธานสภาฯ และให้เพื่อนฝูง อ่าน ... มีความประสงค์อย่างเดียวจะช่วยให้เพื่อนฝูงไม่เป็นอาชญากรสงคราม รวมทั้งผมด้วยตามสัญชาตญาณของคนต้องป้องกันตน ... อาจารย์ขอได้กรุณาแก่ ผมในเรื่องนี้ด้วย…” 62 แต่ท้ายที่สุด คดีอาชญากรสงครามก็มีผลเป็น “โมฆะ” จอมพลแปลก และพรรคพวก จึงพ้นจากข้อกล่าวหา ถือเป็นข้อพิพาททางรัฐธรรมนูญคดีแรกของไทยซึ่งเป็นที่มาของการเกิดศาล รัฐธรรมนูญในเวลาต่อมา หากเชื่อมโยงมาถึงการรัฐประหารในปี 2549 ซึ่งคือการจัดวางความสัมพันธ์ ทาง อานาจแบบใหม่ทั้งระบบ เช่น การยุบศาลรัฐธรรมนูญเดิมที่เป็นผลพวงมาจากรัฐธรรมนูญฉบับเก่า และเมื่อมีรัฐธรรมนูญใหม่ จึงมีการแต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญกลุ่มใหม่เช่นกัน หากพิจารณา ไปที่รายชื่อแล้วจะเห็นได้ว่าล้วนเป็นฝักฝ่ายที่เคยขัดแย้งกับรัฐบาลเดิมทั้งสิ้น สังเกตได้จากบทบาท ของนายจรัญ ภักดีธนากุล ผู้เคยเป็นตัวแทนของฝ่ายตุลาการที่ออกมาเคลื่อนไหวภายหลังพระราช ดารัส 24 เมษายน ทั้งยังเป็นหนึ่งในผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และมีชื่อตนเองเป็นตุลาการศาล รัฐธรรมนูญ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว หากจะมีคดีทางการเมืองขึ้นสู่อ านาจศาล ผลจากค าวินิจฉัยจึง ปรากฏในลักษณะอันเป็นผลร้ายต่อฝ่ายกลุ่มก้อนอานาจของรัฐบาลเดิมอยู่เสมอ63 เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2566., https://pridi.or.th/th/content/2022/08/1202 62 ป. พิ บู ลสงคราม, “เรี ยนอาจารย์ ที ่ เคารพและนั บถื อ (จดหมายของจอมพล ป. พิ บู ลสงคราม ถึ งนายปรี ดี พนมยงค์),” สถาบันปรีดี พนมยงค์, 8 สิงหาคม 2565. 63 ผู้เขียนชวนพิจารณาการร้องเรียนคดีการถือหุ้นสื่อของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ในปี 2566 โดยผู้ร้องเรียนคือคน เดียวกันกับกรณีคดีของอดีตนายกสมัคร สุนทรเวช 125 CMU Journal of Law and Social Sciences Vol. 16 No. 2 เช่นเดียวกับหลักฐานการวางแผนปลดนายกรัฐมนตรีนายสมัคร สุนทรเวช ซึ่งอ้างอิง จากงานของวาด ระวี ดังความต่อไปนี้ “ในปี 2551 ในระหว่างการต่อต้านรัฐบาลของกลุ่มพันธมิตร เนื้อหาในโทรเลข วันที่ 3 กันยายน เปิดเผยให้ทราบว่าบรรดารอยัลลิสต์ผู้สนับสนุนในหลวงภูมิพล จากหลายภาคส่วน มาร่วมประชุมที่บ้านของ “สิทธิ เศวตศิลา” และสิทธิก็เตรียม ที่จะเสนอแผนจัดการ “สมัคร สุนทรเวช” กับในหลวงภูมิพลในการเข้าเฝ้าของ คณะองคมนตรีที่หัวหิน โทรเลขวันที่ 22 ตุลาคม 2551 ระบุถึงการรวมตัวที่บ้าน ของสิ ทธิ อ ี กครั ้ ง คนที ่ มารวมตั วประกอบด้ วย จ าลอง ศรี เมื อง, ชั ยอนั นต์ สมุทวณิช, สะพรั่ง กัลยาณมิตร และจรัญ ภักดีธนากุล…แผนการนี้สมัคร จะถูก ปลดโดยไม่ใช้กาลัง จะแก้ไขรัฐธรรมนูญให้นายกเป็นคนนอกได้…จะมีการปฏิรูป เพื่อขจัดอิทธิพลของทักษิณออกไป…”64 อย่างที่ทราบกันภายหลังว่า นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรีที่มาจากการ เลือกตั้งหลังรัฐประหาร 2549 ถูกสั่งให้พ้นจากตาแหน่ง ด้วยศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าเป็นลูกจ้าง ของเอกชนแห่งหนึ่งจากการไปทารายการอาหาร แม้บริบทจาก “The trail of The Chicago 7” จะแตกต่างกับกรณีศึกษาในไทยอยู่ บ้างด้วยวัฒนธรรมด้านการเมืองการปกครอง แต่ความคล้ายคลึงที่ต้องการนาเสนอคือ “การที่ศาล มีข้อสงสัยว่ามีธงทางการเมืองชี้นาคาพิพากษานั้น” ต่างเป็นกระบวนการที่ถูกจัดวางเอาไว้ล่วงหน้า เสมอ โดยศาลต่างเป็นความร่วมมือในกลไกนั้น ข้อสรุปดังที่กล่าวมาจึงเป็นการเน้นย้าว่า อานาจใน การพิจารณาคดีการเมืองของฝ่ายตุลาการไทยไม่ได้หลุดลอยออกจากบริบททางการเมือง ตามที่ งานวิชาการกระแสหลักได้นาเสนอ ความเท่าทันต่อสภาพการณ์ดังกล่าวควรถูกทาความเข้าใจใหม่ ในวงกว้างว่า แนวคิดตุลาการภิวัตน์ในสังคมไทยควรถูกนาไปใช้ในทางบวก อันเป็นการบังคับใช้ กฎหมายเพื่อจ ากัดอ านาจรัฐ ขยายสิทธิพลเมือง และเป็นองค์ความรู้สอดคล้องกับพลวัตทาง การเมืองที่แปรเปลี่ยนไปตามบริบทความร่วมสมัยต่อไป 64 วาด ระวี, โอลด์รอยัลลิสต์ดาย, (กรุงเทพฯ: ไชน์ พับลิชชิง, 2563),: 195. 126 แปร ปรับ กลับตาลปัตร References กล้า สมุทวณิช. คดี “โมฆ (อาชญากร) สงคราม” อันเป็นต้นกาเนิด “ศาลรัฐธรรมนูญ” ตอนที่1. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2566, https://pridi.or.th/th/content/2022/08/1202 เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง. “เห็บหมัดของตุลาการภิวัตน์.” The 101 World. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2564, https://www.the101.world/tick-of-judicial-activism/. คณิน บุญสุวรรณ. ศาลาธิปไตย: รวมบทความวิพากษ์ศาลรัฐธรรมนูญและตุลาการภิวัตน์. กรุงเทพฯ: เอมี่ เอ็นเตอร์ไพรส์, 2556. จรัญ โฆษณานันท์. นิติปรัชญา: หลักนิติธรรม สภาวะยกเว้น และปฐมบทแห่งคาพิพากษาแนว รัฐประหารนิยม-ตุลาการภิวัตน์. (กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคาแหง, 2563), 65. จาตุรงค์ สุทาวัน, และนวภัทร โตสุวรรณ. “ผลทางการเมืองที่เกิดจากคาพิพากษาของศาล รัฐธรรมนูญภายหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2549.” วารสารนิติรัฐกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย 5, ฉ. 1 (2563): 213-226. จาตุรงค์ สุทาวัน, และวีระ หวังสัจจะโชค.“ปรากฏการณ์นักร้อง” กับผลสะเทือนทางการเมืองจาก ระบอบตุลาการภิวัตน์หลัง พ.ศ. 2549 – 2563.” วารสารสังคมศาสตร์ปริทรรศน์ 3, ฉ. 1 กาลังจัดพิมพ์. จิรัชญา ชัยชุมขุน. “ผู้ชุมนุม ตารวจ และตุลาการที่เอนเอียง: หนังการเมืองสุดเดือด The Trial of the Chicago 7.”, The Matter, 20 มีนาคม 2564. ชาย ไชยชิต. “การปฏิบัติหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญในการพิทักษ์ความเป็นกฎหมายสูงสุดของ รัฐธรรมนูญ (พ.ศ. 2541-2557).” วารสารสถาบันพระปกเกล้า 17, ฉ. 3 (2562): 22-23. ชาย ไชยชิต. “บทบาทของศาลรัฐธรรมนูญในการเมืองไทย (พ.ศ. 2541-2557).” (วิทยานิพนธ์ รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563), 1-12. ณิศวร์ฐิตะ ทองน้อย. “The Trial of the Chicago 7: บุตรทั้ง 7 คนของอเมริกา และลูกกาพร้าอีก 1.” The Momentum, 20 ธันวาคม 2563. ธงชัย วินิจจะกุล. นิติรัฐอภิสิทธิ์และราชนิติธรรม: ประวัติศาสตร์ภูมิปญ ั ญาของ Rule by Law แบบ ไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์, 2563. ธิดา ผลิตผลการพิมพ์. “เรื่องจริงสุดเดือดของคดีประวัติศาสตร์ “CHICAGO 7.” The Film club, 20 ตุลาคม 2563. 127 CMU Journal of Law and Social Sciences Vol. 16 No. 2 ธีรยุทธ บุญมี. “การบรรยายพิเศษเรื่อง “ประชาชน พรรคการเมือง ทหาร ติดกับดักก่อวิกฤตใหม่ ประเทศไทย” ในวาระราลึก 46 ปี ของประวัติศาสตร์ 14 ตุลาคม 2516.” ประชาไท, 24 ตุลาคม 2562. ป. พิบูลสงคราม. “เรียนอาจารย์ที่เคารพและนับถือ (จดหมายของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ถึงนาย ปรีดี พนมยงค์)”, สถาบันปรีดี พนมยงค์, 8 สิงหาคม 2565. ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์. ตุลาการภิวัตน์ปฏิวัติการเมืองไทย. กรุงเทพฯ: มติชน, 2551. ปิยบุตร แสงกนกกุล. ศาลรัฐประหาร : ตุลาการ ระบอบเผด็จการ และนิติรัฐประหาร. นนทบุรี: ฟ้า เดียวกัน, 2560. ปูนเทพ ศิรินุพงศ์. ตลกรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: ไชน์พับลิชชิ่งเฮาส์, 2556. พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย. แนวคิดและหลักการว่าด้วยการละเมิดอานาจรัฐสภา. (กรุงเทพฯ: สถาบัน พระปกเกล้า, 2558. พิเชษฐ์ เมาลานนท์, นิลุบล ชัยอิทธิพรวงศ์, และ พรทิพย์ อภิสิทธิวาสนา. ตุลาการภิวัตน์ (คันฉ่องส่อง ตุลาการไทย) เล่มที่ 1. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช), 2550. ภูริ ฟูวงศ์เจริญ. “ฤๅหาใช่เพียงร่างทรง: แนวทางเชิงวิพากษ์ ในการศึกษาสถาบันตุลาการ.”วารสาร สังคมศาสตร์คณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 45, ฉ. 2 (2558): 27-48. วรเจตน์ ภาคีรัตน์. จุดไฟในสายลม: รัฐธรรมนูญ รัฐประหาร นายกฯ พระราชทานและตุลาการภิวัตน์. กรุงเทพฯ: โอเพ่น, 2555. วัชรพล พุทธรักษา. อันโตนิโอ กรัมชี่ กับการจัดวางแนวคิดทางการเมือง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สมมุต,ิ 2560. วาด ระวี. โอลด์รอยัลลิสต์ดาย. กรุงเทพฯ ไชน์ พับลิชชิง, 2563. วีรชน เกษสกุล, วัชรพล พุทธรักษา. “การจัดวางความคิดทางการเมือง: แนวทางการวิเคราะห์การก่อ ตัวทางสังคมของกลุ่มคณะราษฎร.” วารสารชุมชนวิจัย มหาลัยราชภัฏนครราชสีมา 16, ฉ. 2 (2565): 1-13. วีระ สมบูรณ์. “มิติระหว่างประเทศในตุลาการภิวัตน์.” วารสารสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 48, ฉ. 1 (2561): 7-32. สมชาย ปรีชาศิลปกุล. เมื่อตุลาการเป็นใหญ่ในแผ่นดิน: รวมบทความว่าด้วยตุลาการภิวัตน์ ตุลาการ พันลึก และตุลาการธิปไตย. กรุงเทพฯ: bookscape, 2560. สุรพศ ทวีศักดิ์. ธีรยุทธ บุญมี ปัญญาชนของรัฐละคร, ประชาไท, 24 ตุลาคม 2562. 128 แปร ปรับ กลับตาลปัตร อวิรุทธ์ ชาญชัยกิตติกร. ตุลาการภิวัตน์กับวิกฤติการณ์ทางการเมือง 2549. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ดุลพาห. สานักงานศาลยุติธรรม, 2556. ไอลอร์. “สรุปรัฐธรรมนูญ 2560 : เปิดที่มาศาลรัฐธรรมนูญในรอบ 20 ปี ลดจานวนตุลาการสาย วิชาการเพิ่มข้าราชการ. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2565, https://ilaw.or.th/node/5655 ไอลอร์. ““ศาลและความยุติธรรม ?” ศาลต้องทาให้คนเห็นว่านั่นคือความยุติธรรม.” สืบค้นเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2565, https://ilaw.or.th/node/6219 Altman, Andrew. Arguing About Law: Introduction to Legal Philosophy. Belmont, CA : Wadsworth Publishing Company, 1996. Lawrence, Baum. “What judges want: Judges’ goals and judicial behavior.” Political Research Quarterly 47, no. 3 (1994): 749-768. Tom, Ginsberg. Judicial review in new democracies: Constitutional courts in Asian cases. Cambridge: Cambridge University Press, 2003. McCargo, Duncan. Thailand. State of Anxiety," In Southeast Asian Affairs 2008, edited by Daljit Singh and Tin Maung Maung Than. Singapore: Institute of South East Asian Studies, 2008. Hirschl, Ran. “The New Constitutionalism and the Judicialization of Pure Politics Worldwide.” Fordham Law Review 75, no. 2 (2006): 721-754. Shapiro, Martin. “Political jurisprudence.” In On Law, Politics, and Judicialization, edited by Martin Shapiro, and Alec Stone Sweet, 19-54. Oxford: Oxford University Press, 2002. Tate, C. Neal., and Vallinder, TorbjÖrn. The Global Expansion of Judicial Power. New York: New York University Press, 1994. 129