Location via proxy:
[ UP ]
[Report a bug]
[Manage cookies]
No cookies
No scripts
No ads
No referrer
Show this form
Submit Search
ลักษณะเด่นของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม
•
23 likes
•
126,274 views
อำนาจ ศรีทิม
Follow
1 of 4
Download now
More Related Content
ลักษณะเด่นของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม
1.
ดนตรี ในแต่ละวัฒนธรรม ลักษณะเด่นของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม
ดนตรี เป็นสิ่งสร้างสรรค์จรรโลงโลก ถือเป็นมรดกของทุกชนชาติ ทุกชาติทุกภาษาย่อมมีดนตรีที่เป็น เอกลักษณ์ประจาชาตินั้น ๆ บ้างก็เอาไว้ขับกล่อม ไว้ผ่อนคลายความตึงเครียด ไว้เป็นสื่อเป็นตัวแทนในสิ่งต่าง ๆ ไว้เป็นหน้าเป็นตาของเมืองหรือของชาตินั้น ๆ หรืออาจมีไว้เพื่อ เป็นการต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองก็ได้ ดนตรีในแต่ละวัฒนธรรมล้วนมีวิวัฒนาการที่สั่งสมมาจากภูมิปัญญาชั้นสูงของบรรพบุรุษ ไม่ว่าจะเป็นดนตรี พื้นบ้านหรือดนตรีคลาสสิก ล้วนกาเนิดมาจากพื้นฐานทางดนตรีด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้นดนตรีจึงเป็นเหมือนภาษา ๆ หนึ่งที่สามารถทาให้มนุ ษย์ทุกชนชาติเข้าใจกันและกันได้ และดนตรีสามารถกล่อมเกลาจิตใจของมนุษย์ได้ ไม่ว่าจะเป็นดนตรีของชนชาติใด ๆ ในโลกก็ตาม 1. ลักษณะเด่นของดนตรีไทยในวัฒนธรรมไทย ลักษณะเด่นของดนตรีไทยในวัฒนธรรมไทยมีอยู่หลายด้าน ดังนี้ 1) ด้านเครื่องดนตรี เครื่องดนตรีไทยสามารถแบ่งออกได้ 4 ประเภท ได้แก่ (1) เครื่องดีด เช่น จะเข้ กระจับปี่ เป็นต้น (2) เครื่องสี เช่น ซออู้ ซอด้วง ซอสามสาย เป็นต้น (3) เครื่องตี เช่น กรับ ระนาด ฆ้อง ฉิ่ง ฉาบ กลองชนิดต่าง ๆ เป็นต้น (4) เครื่องเป่า เช่น ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยอู้ ขลุ่ยหลีบ ปี่ชวา ปี่นอก ปี่ใน เป็นต้น ลักษณะเด่นของเครื่องดนตรีไทยอาจถูกแบ่งไว้ตามลักษณะเฉพาะเครื่องและแบ่งตามบทบาทหน้าที่ ในการบรรเลง ลักษณะเฉพาะเครื่องก็คือ รูปร่าง ลักษณะ วัสดุที่ใช้ทาเครื่องดนตรี ตลอดจนวิธีทาให้เกิดเสียง ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยสาคัญเบื้องต้นในการกาหนดลีลาการดาเ นินทานอง ส่วนบทบาทหน้าที่ในการบรรเลงของ เครื่องดนตรีไทยจะถูกกาหนดไว้ 2 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มนา ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่มีเสียงสูงทั้งหมด ทาหน้าที่ในการบรรเลงนาทานอง เช่น ระนาดเอก ฆ้องวงเล็ก ซอด้วง ขลุ่ยหลีบ เป็นต้น (2) กลุ่มตาม ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่มีเสียงทุ้มต่าทั้งหมด ทาหน้าที่ในการบรรเลงตาม ทานอง เช่น ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ซออู้ เป็นต้น 2) ด้านวงดนตรี สาหรับวงดนตรีไทยนั้น ถูกแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ตามลักษณะของการบรรเลง และระเบียบของวิธีการเล่น ในปัจจุบันนั้น มีอยู่ 3 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ วงเครื่องสาย วงปี่พาทย์ และวงมโหรี (1) ลักษณะเด่นของวงเครื่องสาย วงเครื่องสายจะมีลีลาในการดาเนินทานอง โดยเฉพาะ “ซอ” ซึ่งจัดได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ซอมีการเคลื่อนที่ของทานองจากต่าไปสูงและจากสูง ลงมาต่าได้ โดดเด่นกว่าเครื่องบรรเลงทานองชนิดอื่ น เนื่องจากเป็นเครื่องดนตรีที่มี ความกว้างของช่วงเสียงหรือ พิสัยเสียง (Range) ที่แคบกว่าเครื่องดนตรีชนิดอื่น การเคลื่อนที่ของทานองจึงถูกกาหนดอยู่ในกรอบของระดับเสียงที่จากัด การเคลื่อนที่ของทานองลักษณะนี้จึงถือเป็นเสน่ห์ เฉพาะตัวของวงดนตรีประเภทนี้ได้ เป็นอย่างดี (2) ลักษณะเด่นของวงปี่พาทย์ ในวงปี่พาทย์ส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีประเภท เครื่องตีและค่อนข้างมีเสียงดังเป็นหลัก จะมีเพียงปี่เท่านั้นที่เป็นเครื่องเป่ารวมอยู่ด้วย โดยธรรมชาติของ การสร้างเสียงสาหรับเครื่องดนตรีประเภทตี คือ เมื่อตี 1 ครั้งจะให้เสียงได้ 1 เสียง ลักษณะดังกล่าวนี้จึงทาให้ วงปี่พาทย์เป็นวงดนตรีที่มีลีลาการบรรเลงแบบเก็บในเพลงประเภททางพื้นได้อย่างโดดเด่น (3) ลักษณะเด่นของวงมโหรี วงมโหรีจัดเป็นวงดนตรีที่มีความหลากหลายและสมบูรณ์ใน ด้านเสียงมากที่สุด เนื่องจากประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีหลักในวงเครื่องสายและวงปี่พาทย์ เพียงแต่ปรับเปลี่ยน ั เรี ยนรู้กบครู อานาจ หน้า 1
2.
ดนตรี ในแต่ละวัฒนธรรม เพียงบางส่วน คือ
จะไม่ใช้ปี่แต่จะใช้ขลุ่ยแทน เนื่องจากขลุ่ยมีเสียงที่กลมกลืน ไปกับเครื่องสาย และใช้ไม้นวมตี ระนาดเอก เพื่อให้เสียงที่บรรเลงออกมามีความนุ่มนวลและประสานกลมกลืนกัน นอกจากนี้การปรับเปลี่ยนลีลา การบรรเลงทานองของระนาดเอกซึ่งมีช่วงเสียงที่กว้าง ให้มีความกลมกลืนและใกล้เคียงกับเครื่องสายประเภทซอ ซึ่งมีช่วงเสียงที่แคบกว่า นับว่าเป็นลีลาและเอกลักษณ์เฉพาะตัวและโดดเด่นของวงดนตรีประเภทนี้ 3) ด้านภาษา เนื้อร้อง ลักษณะภาษาที่ใช้ในเพล งไทยเป็นภาษาที่เป็นมาตรฐานและคาร้อยกรอง มีความวิจิตรบรรจง หรือใช้ภาษาหนังสือตามแบบแผน เนื้อร้องอาจกล่าวถึงเรื่องราวต่างๆ เช่น เรื่องราวในนิทาน ชาดก นิทานเกี่ยวกับพุทธประวัติ วรรณคดีลายลักษณ์ของไทย ตลอดจนการพรรณาชมธรรมชาติ ความรัก ความงามต่าง ๆ เป็นต้น ส่วนการขับร้องจะออกเสียงตรงตามวรรณยุกต์ของภาษามาตรฐานที่เป็นแบบแผน 4) ด้านสาเนียง สาเนียงของเพลงไทยได้รับอิทธิพลจากต่างชาติมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จะเห็นได้ จากชื่อเพลงที่ใช้ชื่อตามภาษาเดิม ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ได้มีการปรับปรุงใหม่โดยการนาชื่อชนชาติที่ เป็น เจ้าของสาเนียงนั้นมาตั้งนาหน้าชื่อเพลง เช่น เพลงลาวเจริญศรี เพลงจีนหลวง เป็นต้น เพลงสาเนียงภาษาต่าง ๆ เหล่านี้ถูกนามาบรรเลงติดต่อกันเป็นชุด มี 12 ภาษา หรือเรียกอีกชื่อว่า “เพลงออกภาษา” สาเนียงทั้ง 12 ภาษา นี้ประกอบด้วย ไทย จีน พม่า มอญ ลาว แขก ฝรั่ง มล ายู ญี่ปุ่น ญวน เขมร และเงี้ยว ซึ่งแต่ละสาเนียงจะถูก หยิบมาเฉพาะที่เป็นเอกลักษณ์ของชนชาตินั้น ๆ ส่วนเพลงไทยเดิมที่เป็นของไทยแท้ ๆ เช่น เพลงเทพทอง เพลง ต้นวรเชษฐ์ เป็นต้น 5) ด้านองค์ประกอบบทเพลง เมื่อพิจารณาบทเพลงไทยให้ถ่องแท้จะพบว่า เพลงไทยบางเพลงมี ความหวานซึ้ง ไพเราะจับใจ ในขณะที่เพลงบ้างเพลงฟังแล้วรู้สึกคึกคักหรือฮึกเหิม ซึ่งบทเพลงต่าง ๆ เหล่านั้น ต่างก็ให้อรรถรสที่แตกต่างกันออกไป การที่ผู้ฟังดนตรีแล้วก่อเกิดอารมณ์และความรู้สึกเหมือนกันหรือต่างกัน ออกไปนั้น เกิดได้จากปัจจัยหรือองค์ประกอบของบทเพลงหลายอย่างทั้ ง เนื้อร้อง คนร้อง ทางของเพลง สานวน การประพันธ์ และอื่น ๆ อีกมากมาย แต่สิ่งที่เป็นพื้นฐานที่เพลงสามารถทาให้ผู้ฟังเข้าถึงอรรถรสได้ดี ก็คือ ลีลาของเพลง นั่นเอง 2. ลักษณะเด่นของดนตรีสากลในวัฒนธรรมสากล ดนตรีสากลในแต่ละยุคแต่ละสมัยล้วนมีความแตกต่างกันออกไป รู ปแบบของเพลงและเครื่องดนตรีนั้น ได้ถูกพัฒนามาสู่ปัจจุบัน และเป็นที่นิยมกันแพร่หลายไปทั่วโลก เครื่องดนตรีสากลที่นิยมใช้กันในชนชาติต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะเป็นมาตรฐานเดียวกัน เนื่องจากมีการบันทึกทานองเพลงโดยใช้สัญลักษณ์แบบเดียวกัน คือโน้ตสากล และยังเป็นบทเพลงสากลทีเป็นมาตรฐานอย่างมากมาย ส่วนภาษา เนื้อร้อง และสาเนียงก็เป็นไปตามเอกลักษณ์ ่ ของชนชาติที่ผลิตผลงานออกมา ลักษณะเด่นของดนตรีสากลที่โดดเด่นที่สุดคือ การที่ดนตรีสากลมีรากฐานมาจากเพลงศาสนา และมีต้น กาเนิดมาจากโบสถ์ ทั้งนี้เริ่มใช้ครั้งแรกในพิธีทางศาสนา โดยเริ่มจากคา พูดธรรมดาที่ใช้ประกอบพิธี ในเวลา ต่อมาจึงได้ประดิษฐ์ให้มีระดับเสียงต่าง ๆ ขึ้น จนกลายเป็นทานองเพลงในที่สุด จึงถือได้ว่าดนตรีตะวันตกมี ความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับศาสนามาก บทเพลงที่เกี่ยวกับศาสนานั้น ได้แต่งขึ้นอย่างถูกหลักเกณฑ์ ตามหลักวิชาการทางดนตรี นอกจากนี้ยั ง แต่งขึ้นด้วยความต้องการพื้นฐานจากความมุ่งหวังในการก้าวไปสู่ชีวิตที่ดีกว่า ดังนั้นดนตรีสากลจึงถือเป็นมรดก ทางวัฒนธรรมที่สาคัญของชาวตะวันตก ั เรี ยนรู้กบครู อานาจ หน้า 2
3.
ดนตรี ในแต่ละวัฒนธรรม ปัจจัยในการสร้างสรรค์ผลงานดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม
ในการสร้างสรรค์ผลงานดนตรีในแต่ละวัฒนธรรมมีปัจจัยในการสร้างสรรค์หลายอย่าง ได้แก่ 1. ความเชื่อกับการสร้างสรรค์งานดนตรี วัฒนธรรมความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับดนตรีนั้น มีมาตั้งแต่สมัยดึกดาบรรพ์ ซึ่งมีอยู่มากมายหลายอย่าง บางอย่างยังคงถือปฏิบัติกันอยู่ บางอย่างได้หายไปจ ากสังคมแล้ว เช่น ในอดีตมนุษย์มีความเชื่อว่า เสียงจาก ธรรมชาติที่ได้ยินนั้น มีอานาจสามารถที่จะบันดาลสิ่งต่าง ๆ ได้ ขณะที่ได้ยินเสียงจากธรรมชาติ จึงพยายามที่จะ ทาท่าทางประกอบและเลียนแบบเสียงธรรมชาติให้เหมือนจริง นอกจากนี้ยังเชื่อว่าเสียงดนตรีเป็นมนต์วิเศษที่ สามารถขับไล่ภูตผีปีศาจได้ และทาให้นักรบมีอานาจ ดังนั้น ดนตรีจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรม เป็นต้น แต่ก็มีบางวัฒนธรรมที่มีความเชื่อทางวัฒนธรรมดนตรีที่แตกต่างกันออกไป ตัวอย่างเช่น 1) วัฒนธรรมกรีก ชาวกรีกโบราณมีความเชื่อกันว่า ศิลปินที่ขับร้องและบรรเลงดนตรีเพื่ อขับกล่อม ผู้คนนั้น เรียกว่า “มินสเตริล ” (minstrel) ซึ่งเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้า และเปรียบได้กับทูตสวรรค์ โดยทา หน้าที่เป็นผู้สื่อสารคาสอนของพระเจ้าด้วยการขับร้องและบรรเลงดนตรีประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ 2) วัฒนธรรมยิว ชาวยิวโบราณเชื่อว่า “จูบาล” ผู้เป็นทายาทของอดัม ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นมนุษย์คนแรก ของโลก เป็นผู้สร้างพิณฮาร์ปและออร์แกนขึ้นมาใช้บรรเลงดนตรี 3) วัฒนธรรมฮินดู ชาวฮินดูเชื่อว่าดนตรีนั้นถูกสร้างขึ้นโดยพระพรหม ส่วนนาฏศิลป์เชื่อกันว่าถูกสร้าง ขึ้นโดยพระอิศวร และพระภรตฤษีเป็นผู้จดจาท่าราที่เป็นพื้นฐานไว้ แ ล้วใช้สั่งสอนให้มนุษย์นาไปฝึกหัด จดจา และนาไปแสดง 4) วัฒนธรรมจีน ชาวจีนเชื่อว่ามาตรฐานเสียงหรือบันไดเสียง (Scale) ของดนตรีจีนได้มาจาก การเลียนแบบเสียงร้องของนกฟีนิกซ์ 5) วัฒนธรรมลาว ชาวลาวเชื่อว่าแคนซึ่งเป็นเครื่องดนตรีประจาชาติของลาวนั้น สามารถสื่อถึงพระยา แถนบนฟ้าได้ จึงเปรียบเครื่องดนตรีชนิดนี้ เป็นเสมือนม้าอาชาไนย เพื่อที่จะให้พระยาแถนขี่ และเสด็จมายัง บริเวณพิธีกรรมที่มีการอันเชิญ 2. ศาสนากับการสร้างสรรค์งานดนตรี เรื่องของศาสนากับการสร้างสรรค์งานดนตรีนั้น หากมองในแง่มุมทางโลกกับทางธรรม ในสายตาของ บุคคลทั่วไปนั้นแทบไม่มีความเกี่ยวข้องกันเลย เพราะศาสนาเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการละกิเลส ส่วนดนตรีเป็นเรื่อง ของกิเลส แต่ทั้งนี้เมื่อนาศาสนาสามารถเข้าไปผสมผสานในงานดนตรี ก็ย่อมสามารถกระตุ้นสันชาตญาณ แห่งความถูกต้องขึ้นแทนความต้องการทางกิเลสได้เช่นกัน เช่น 1) คริสต์ศ าสนา คริสต์ศาสนานับว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับดนตรีตะวันตกมาก โดยได้เข้ามามี บทบาทในยุโรปและมีส่วนสาคัญในการพัฒนาดนตรีตะวันตก บทเพลงทางคริสต์ศาสนาได้ผสมผสานกับเพลง ศาสนาของกรีกและโรมัน ทาให้เพลงทางศาสนามีลักษณะและท่วงทานองใหม่ ๆ ที่นามาใช้ในพิธีการสมัย ต้นคริ สต์ศาสนา ศาสนาจึงเป็นบ่อเกิดแห่งเพลง โบสถ์จึงเป็นที่รวบรวมและก่อกาเนิดเพลงศาสนามากมาย นับตั้งแต่คริสต์ศาสนาเริ่มแพร่หลาย ดนตรีของโลกก็เจริญขึ้นเป็นลาดับจนทุกวันนี้ 2) พุทธศาสนา ดนตรีกับพุทธศาสนามีความสัมพันธ์กันในฐานะที่ดนตรีสามารถเป็นตัวกลางในการสื่อ ความรู้ความคิดที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา นับตั้งแต่สมัยยุคต้นประวัติศาสตร์มาแล้ว ดนตรีก็ล้วนแต่แสดงออกถึง ความผูกพันกับพุทธศาสนา แม้ปัจจุบันการสร้างสรรค์ผลงานทางดนตรีต่าง ๆ ได้เข้าสู่ยุคของดนตรีสมัยใหม่ แต่ในส่วนของเนื้อหาในบทเพลงนั้นยังถูกกากับหรือเชื่อมโยงด้วยห ลักความจริงทางพุทธศาสนาอยู่เสมอ เช่น ความรัก โลภ โกรธ หลง ดี ชั่ว ถูก ผิด เป็นต้น ซึ่งสามารถแสดงออกถึงคตินิยมตามแบบพุทธศาสนาอยู่เสมอ ั เรี ยนรู้กบครู อานาจ หน้า 3
4.
ดนตรี ในแต่ละวัฒนธรรม
3. วิถีชีวิตกับการสร้างสรรค์ผลงานดนตรี วิถีชีวิตกับการสร้างสรรค์ผลงานดนตรีมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันมาตั้งแต่อดีต เช่น มนุษย์รู้จักวิธี การถ่ายทอดความรู้สึกหรือพฤติกรรมพื้นฐานของมนุษย์ เช่น การร้องไห้ การหัวเราะ เป็นต้น มาเป็นภาษาพูด แล้วนาคาพูดเหล่านั้นมาประดิษฐ์เป็นทานองหรือเสียงสูง ๆ ต่า ๆ และได้นามาร้องบ่อย ๆ เข้าจนเกิดเป็น บทเพลงต่าง ๆ ขึ้น เช่น เพลงพื้นเมือง เพลงกล่อม เป็นต้น นอกจากนั้นในอดีตมนุษย์สามารถใช้เพลงหรือใช้ดนตรีเพื่อการดารงชีวิต เช่น นักล่าสัตว์ใช้ธนูเป็น อุปกรณ์หรือเครื่องมือในการล่าสัตว์ โดยใช้ปากอมปลายธนูไว้ข้างหนึ่งส่วนอีกข้างหนึ่งจับด้วยมือ แล้วดีดสายธนู ด้วยมืออีกข้างหนึ่ง ในขณะที่ดีดสายธนูก็จะเปลี่ยนรูป ปากที่อมไปเรื่อย ๆ เพื่อให้เสียงที่เกิดจากการดีดสายธนู มีเสียงแตกต่างกัน สูงบ้างต่าบ้าง มนุษย์ยุคนั้นเชื่อว่าเสียงที่เกิดขึ้นประดุจมนต์วิเศษ สามารถเรียกกวางหรือสัตว์ ให้ออกมาได้ ทั้งยังสามารถทาให้สัตว์เชื่องอีกด้วย นอกจากนั้นเสียงที่เกิดจากการตะโกน การตบมือ การตีเกราะเคาะไม้การกระแทกเท้า เป็นการแสดง อานาจ และเชื่อว่าเสียงเหล่านี้สามารถรักษาโรค เรียกฝน และทาให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองในกลุ่มชนของตนได้ ที่กล่าวมาแสดงให้ให้เห็นว่า เสียงสูง ๆ ต่า ๆ เหล่านี้คือเสียงดนตรีที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของ มนุษย์ ต่อม ามนุษย์จึงได้พยายามนาเอาวัสดุเครื่องไม้เครื่องมือที่มีอยู่มาประดิษฐ์เป็นเครื่องประกอบให้เกิด เสียงดนตรี และกลายเป็นเครื่องดนตรีในปัจจุบันนี้ 4. เทคโนโลยีกับการสร้างสรรค์งานดนตรี เมื่อโลกของเรามีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ดนตรีก็มีการพัฒนาตามไปด้วยเช่นกัน โ ดยการประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมทั้งมีการนาอุปกรณ์หรือเครื่องไม้เครื่องมือต่าง ๆ เข้ามาช่วยในการสร้างสรรค์ผลงาน ดนตรี โดยเฉพาะการใช้เทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ (Computer) ซึ่งนับวันจะยิ่งพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ จนทาให้ สามารถเขียนโปรแกรมที่ซับซ้อนต่าง ๆ ได้ ทั้ งนี้ในการใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการสร้างสรรค์บทเพลงหรือ ผลงานทางดนตรีต่าง ๆ นั้น ทาได้โดยการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ดนตรี (Sequencer) ซึ่งมีการผลิตออกมา แข่งขันกันอย่างมากมายและมีคุณภาพ เช่น โปรแกรม Sonar, Cakewalk, Nuendo, Logic, และ Cuebase เป็นต้น ซึ่งโปรแกรมเหล่านี้ สามารถรวบรวมเสียงของเครื่องดนตรีที่มีอยู่ในโลกเกือบทุกเสียงมาใส่ลงในผลงาน เพลงที่ต้องการได้โดยไม่ต้องอาศัยนักดนตรีอาชีพมาช่วยในการบันทึกเสียงเลย โปรแกรมดนตรีต่าง ๆ ที่กล่าวในข้างต้นนี้ สามารถบันทึกเสียงต่าง ๆ ที่ต้องการใช้ด้วยระบบรหัสดิจิตอล (Digital) และสามารถแปลง สัญญาณดิจิตอล ออกมาได้ในหลาย ๆ รูปแบบ เช่น แปลงออกมาเป็นโน้ต (Note) คอร์ด (Chord) หรือโน้ตเพลงที่จัดเรียงกันในรูปแบบของสกอร์เพลง (Score) นอกจากนี้ยังสามารถปรับเปลี่ยน คีย์ (Key) คอร์ด (Chord) ความยาวของเสียง (Duration) รวมไปถึงสามารถปรั บเปลี่ยนจังหวะ (Tempo) ที่ไม่สม่าเสมอกันให้กลมกลืนกันได้ เป็นต้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีในปัจจุบันหรือในอนาคตนั้น สามารถทาให้ผลงานการสร้างสรรค์ทางดนตรีเปลี่ยนแปลงและมีความแปลกใหม่ ไม่ว่าจะเป็นบทเพลง รูปแบบ และโครงสร้างเพลงที่แปลกใหม่ หรือส่วนอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์ทางดนตรีให้เปลี่ยนแปลง ตามไปด้วย อย่างไรก็ตามการที่เราจะสร้างสรรค์ผลงานทางดนตรีจากคอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้ไพเราะ และเป็นธรรมชาตินั้น ก็ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก ถึงแม้จะรู้และเข้าใจวิธีการทางานของเครื่องมือหรือโปร แกรมดนตรี ทั้งหมด แต่ถ้าเราไม่เคยเล่นดนตรีจริง ๆ ก็ยากที่จะเรียบเรียงให้เหมือนจริงได้ ดังนั้นจึงจาเป็นต้องมี ความสามารถทางด้านดนตรีมาช่วยเช่นกัน ั เรี ยนรู้กบครู อานาจ หน้า 4
Download