Location via proxy:   [ UP ]  
[Report a bug]   [Manage cookies]                
SlideShare a Scribd company logo
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
รายวิชา ส16101 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ไตรสิกขา
นายธนวุฒิ รัตนดอน โรงเรียนบ้านดู่ (สหราษฎร์วิทยา) สพป. นครราชสีมา เขต 3
สาระสาคัญ
• ไตรสิกขา คือหลักธรรมการฝึกอบรมกาย วาจา ใจ เพื่อให้เกิด
ศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นหลักในการพัฒนาตนเองและสังคม
เพื่อให้เกิดความสงบสุข
ให้นักเรียนสังเกตภาพแล้วตอบคาถามต่อไปนี้
• นักเรียนสังเกตเห็นสิ่งใดในภาพ
• มีคนมารวมกลุ่มเพื่อ
ปฏิบัติธรรมโดยการนั่งสมาธิ
• กิจกรรมในภาพเกิดขึ้นที่ใด
• ในวัด บริเวณที่มีความสงบเงียบ
• บุคคลในภาพปฏิบัติตนอย่างไร
• แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
แต่งชุดขาว ไม่พูดคุยกัน
ภาพจาก : วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก
ให้นักเรียนสังเกตภาพแล้วตอบคาถามต่อไปนี้
• นักเรียนเคยปฏิบัติกิจกรรม
ดังภาพหรือไม่
• เคยปฏิบัติกิจกรรมการทาสมาธิ
ตั้งแต่ชั้น ป.1-ป.5
• นักเรียนปฏิบัติตนอย่างไร
จึงจะเกิดสมาธิ
• ต้องรักษาศีล โดยสารวมกาย
วาจา ใจ ไม่พูดคุยกันกับเพื่อน
ทาจิตให้สงบ
ภาพจาก : วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก
ให้นักเรียนสังเกตภาพแล้วตอบคาถามต่อไปนี้
• การมีสมาธิ เป็นผลดีต่อ
นักเรียนอย่างไร
• ช่วยให้เรียนรู้ได้รวดเร็ว จาได้
เกิดสติปัญญา
ภาพจาก : วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก
ให้นักเรียนตอบคาถามต่อไปนี้
• ศีล คืออะไร
• คือการปฏิบัติตนให้อยู่ในระเบียบวินัย สารวมกาย วาจา ใจ
หมายถึง การละเว้นการทาความชั่ว
• สมาธิ คืออะไร
• คือการพัฒนาใจให้มีความตั้งมั่น มีสติสัมปชัญญะ
หมายถึง การทาความดี
• ปัญญา คืออะไร
• คือการพัฒนาความรู้ให้เกิดการรู้แจ้งตามหลักความจริงมีเหตุมีผล
ให้นักเรียนตอบคาถามต่อไปนี้
• ไตรสิกขา คืออะไร
• คือหลักธรรม 3 ประการ ที่ใช้ในการฝึกอบรมกาย วาจา ใจ
เพื่อให้เกิดสติปัญญา ได้แก่ การมีศีล สมาธิ และปัญญา
เกิดได้จากการละเว้นความชั่ว กระทาความดี และทาจิตใจ
ให้บริสุทธิ์
ให้นักเรียนแบ่งเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 2-3 คน ศึกษากรณีตัวอย่าง
การปฏิบัติตนตามแนวไตรสิกขา
ในการดาเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
ร่วมกันอภิปรายและตอบคาถาม ต่อไปนี้
1. เหตุใดท่านผู้นี้ได้รับการยกย่องจากคนในชุมชน
2. มีการนาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดาเนินชีวิตอย่างไร
นางฑิฆัมพร กองสอน
อายุ 45 ปี อาชีพเกษตรกร ที่อยู่ปัจจุบัน 82 หมู่ 8 บ้านหนองห้า ตาบลบัวใหญ่ อาเภอนาน้อย จังหวัดน่าน
55150 จบการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาพาณิชยการบัญชี (ปวช.) วิทยาลัยเทคนิคน่าน
นางฑิฆัมพรมีตาแหน่งผู้นากลุ่มในหมู่บ้านหนองห้า หลากหลายตาแหน่งได้พัฒนาพื้นที่ของหมู่บ้านตัวเอง
มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการรวมกลุ่มคนจนที่มีปัญหาที่อยู่อาศัยกับที่ดินทากินทั้งหมด 126 ครอบครัว
นาเสนอไปยังภาครัฐ เพื่อจัดทาโครงการการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย/ที่ดินทากิน ต.บัวใหญ่ จนสาเร็จ
632 ราย เธอยังได้วางแผนแก้ไขปัญหาหนี้สิน ด้วยการให้สมาชิกได้ไปเรียนรู้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เพื่อนาไปพัฒนาอาชีพของตนเอง ลดหนี้สินของครอบครัว และส่งเสริมอาชีพ ทั้งการเลี้ยงหมู เลี้ยงไก่บ้าน
เลี้ยงปลา เลี้ยงกบ เลี้ยงวัว เลี้ยงควาย เย็บเสื้อผ้า อีกทั้งเธอยังได้ชวนชาวบ้าน ร่วมกันจัดสวัสดิการร่วมกัน
แบบมีส่วนร่วม โดย 1 คน/10 บาท/1 เดือน โดยใช้ชื่อว่าเครือข่ายคนจนตาบลบัวใหญ่เพื่อเอาทุนมากอง
รวมกันและแบ่งเป็นสวัสดิการดูแลซึ่งกันและกันตั้งแต่เกิดจนตาย เธอยังเป็นแกนนาในการจัดทาโครงการ
สร้างเสริมคุณธรรมจริยธรรมนาสู่การพัฒนาตาบล ตั้งเป้าคุณภาพ 6 ข้อ สะอาด ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด
เสียสละ กตัญญู เพื่อให้เด็กและเยาวชนยึดหลักจริยธรรมดังกล่าว จนทาให้ตาบลบัวใหญ่พัฒนากลายเป็น
ศูนย์การเรียนรู้ ในกระบวนการจัดทาแผนแม่บทชุมชนพึ่งตนเอง
(ประวัติและผลงาน 76 คนดี นาทางปี 2551 จากหนังสือพิมพ์คมชัดลึก 25 พ.ย.-10 ธ.ค.2551)
ให้นักเรียนตอบคาถามกรณีตัวอย่างการปฏิบัติตนตามแนวไตรสิกขา
ในการดาเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ของ นางฑิฆัมพร กองสอน
• เหตุใดท่านผู้นี้ได้รับการยกย่องจากคนในชุมชน
• ดารงตนเป็นผู้มีศีล สมาธิ ปัญญา นาความรู้ความสามารถ
ของตนเองมาพัฒนาชุมชนช่วยให้คนในชุมชนมีชีวิตความเป็นอยู่
ดีขึ้น เสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมให้แก่เด็กและเยาวชน
ให้นักเรียนตอบคาถามกรณีตัวอย่างการปฏิบัติตนตามแนวไตรสิกขา
ในการดาเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ของ นางฑิฆัมพร กองสอน
• มีการนาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดาเนินชีวิตอย่างไร
• แก้ปัญหาการเป็นหนี้สินของเกษตรกร โดยการ
ประกอบอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ และลดหนี้สิน จัดตั้งกองทุน
เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตรงตามแนวคิดของเศรษฐกิจ
พอเพียงซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและ
ความไม่ประมาท โดยคานึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล
การใช้ความรู้ ความสามารถ ความรอบคอบ ความระมัดระวัง
และมีคุณธรรมประกอบการทาสิ่งต่าง ๆ
สรุปแนวทางการปฏิบัติตนในชีวิตประจาวันของนักเรียน
ตามหลักธรรมไตรสิกขา ให้สอดคล้องตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
สรุปความรู้
• ไตรสิกขา คือ หลักธรรมในการปฏิบัติตนให้เกิดศีล สมาธิ
ปัญญา เป็นสิ่งควบคุมความประพฤติทั้งกาย วาจา และใจให้
ทาความดี ละเว้นความชั่ว และทาจิตใจให้บริสุทธิ์
ถ้านักเรียนขาดหลักธรรมไตรสิกขา จะเกิดผลอย่างไร
ต่อตนเองและครอบครัว

More Related Content

ไตรสิกขา