Location via proxy:   [ UP ]  
[Report a bug]   [Manage cookies]                
ข้ามไปเนื้อหา

สงครามอินโดจีนครั้งที่สาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(ต่าง) ←รุ่นเก่ากว่านี้ | รุ่นแก้ไขล่าสุด (ต่าง) | รุ่นที่ใหม่กว่า → (ต่าง)
สงครามอินโดจีนครั้งที่สาม
ส่วนหนึ่งของ สงครามอินโดจีนและสงครามเย็น

แผนที่ อินโดจีน ในปี พ.ศ. 2522
วันที่1 พฤษภาคม ค.ศ. 1975 – 23 ตุลาคม ค.ศ. 1991
(16 ปี, 5 เดือน, 3 สัปดาห์ และ 1 วัน)
สถานที่
ผล
คู่สงคราม

 จีน
กัมพูชาประชาธิปไตย

ราชวงศ์ลาว
กลุ่มก่อกบฏชาวม้ง
FULRO
 ไทย

ได้รับการสนับสนุนโดย:
 สหรัฐ
 เกาหลีเหนือ[1]

 เวียดนาม
 ลาว
สาธารณรัฐประชามานิตกัมพูชา
พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย

  • Pak Mai
ได้รับการสนับสนุนโดย:
กติกาสัญญาวอร์ซอ ประเทศต่าง ๆ (จนถึงปี ค.ศ. 1991) [1]
ความสูญเสีย
ไม่ระบุ เวียดนาม:
ทหารเสียชีวิต 105,627 นาย[2]

สงครามอินโดจีนครั้งที่สาม เป็นหนึ่งในความขัดแย้งด้วยอาวุธที่เชื่องโยงต่อกัน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มต่างๆ ในฝ่ายลัทธิคอมมิวนิสต์ที่มีอิทธิพลต่อยุทธศาสตร์ในอินโดจีน ภายหลังจากการถอนตัวของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1973 และชัยชนะของฝ่ายลัทธิคอมมิวนิสต์ในเวียดนามใต้ ลาว และกัมพูชา ในปี ค.ศ. 1975[3] การถอนตัวของอเมริกันโดยสมบูรณ์นั้นได้กำจัดศัตรูตัวหลักและร่วมของอำนาจคอมมิวนิสต์ทั้งหมด[4] ความแตกต่างระหว่างหลักการเชิงยุทธศาสตร์และการเมืองของจีนและโซเวียตได้เพิ่มมากขึ้นจนนำไปสู่ความแตกแยกระหว่างจีน–โซเวียตในช่วงกลางปีทศวรรษที่ 1950 ระบอบคอมมิวนิสต์ในประเทศกัมพูชา เวียดนาม และลาวได้แสดงความภักดีต่อหนึ่งในสองฝ่ายที่ขัดแย้งกันเหล่านี้ สงครามที่ตามมานั้นเกิดขึ้นจากความเกลียดชังในศตวรรษเก่าระหว่างเวียดนามและกัมพูชา และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง-เวียดนาม-จีน[5]

ในปี ค.ศ. 1975 การทหารในช่วงแรกได้เกิดขึ้นระหว่างระบอบคอมมิวนิสต์ในเวียดนามและระบอบเขมรแดงในกัมพูชา ซึ่งส่งผลทำให้เวียดนามเข้ายึดครองกัมพูชามายานนานกว่าทศวรรษ การผลักดันของเวียดนามเพื่อทำลายเขมรแดงให้สิ้นซากอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้จนทำให้พวกเขามีความขัดแย้งอย่างเปิดเผยกับประเทศไทย[6][7]

ประเทศจีนนั้นไม่เห็นด้วยกับบทบาทปฏิบัติการในการปราบปรามการก่อกบฏต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ในลาว อย่างไรก็ตาม การคัดค้านยิ่งเพิ่มมากขึ้นต่อการบุกครองกัมพูชา กองทัพจีนได้เปิดฉากปฏิบัติการสั่งสอน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1979 และโจมตีจังหวัดทางภาคเหนือของเวียดนาม ด้วยความมุ่งมั่นที่จะจำกัดอิทธิพลของโซเวียต/เวีดยนาม และขัดขวางผลประโยชน์ดินแดนในภูมิภาค[8][9]

ในคำสั่งเพื่อให้สามารถควบคุมกัมพูชาได้อย่างสมบูรณ์ กองทัพประชาชนเวียดนามจำเป็นต้องขับไล่ผู้นำและหน่วยทหารที่เหลือของเขมรแดง ซึ่งได้ล่าถอยไปยังพื้นที่ห่างไกลตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา[10] สถานการณ์ได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากอำนาจอธิปไตยของประเทศไทยได้ถูกละเมิดหลายต่อหลายครั้ง การต่อสู้รบอย่างหนักด้วยมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมากเป็นผลมากจากการเผชิญหน้าโดยตรงระหว่างกองทัพเวียดนามและกองทัพไทย ประเทศไทยได้เพิ่มกำลังทหารมากขึ้น จัดซื้อยุทโธปกรณ์ใหม่ และสร้างแนวหน้าทางการทูตกับเวียดนาม และจีน[11] ภายหลังจากการประชุมสันติภาพปารีสในปี ค.ศ. 1989 กองทัพประชาชนเวียดนามได้ถอนกำลังออกจากดินแดนกัมพูชา จนท้ายที่สุด ข้อตกลงของทหารประจำการในภูมิภาคได้จบลง ภายหลังจากข้อสรุปของสนธิสัญญาสันติภาพปารีส ปี ค.ศ. 1991[12][13]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Spencer C. Tucker, Encyclopedia of the Vietnam War: A Political, Social, and Military History, p.155
  2. Chuyên đề 4 CÔNG TÁC TÌM KIẾM, QUY TẬP HÀI CỐT LIỆT SĨ TỪ NAY ĐẾN NĂM 2020 VÀ NHỮNG NĂM TIẾP THEO
  3. "Vietnam War - Facts, information and articles about The Vietnam War" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). HistoryNet. สืบค้นเมื่อ March 31, 2018.
  4. William S. Turley, Jeffrey Race (1980). "The Third Indochina War". Foreign Policy (38): 92–116. JSTOR 1148297.
  5. "Chinese Communist Party: The Leaders of the CPSU are the Greatest Splitters of Our Times". Modern History Sourcebook. Fordham University. February 4, 1964. สืบค้นเมื่อ March 11, 2018.
  6. Kelvin Rowley. "Second Life, Second Death: The Khmer Rouge After 1978" (PDF). Swinburne University of Technology. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ February 16, 2016. สืบค้นเมื่อ March 11, 2018.
  7. "1978-1979 - Vietnamese Invasion of Cambodia". GlobalSecurity. สืบค้นเมื่อ March 11, 2018.
  8. Bernard K. Gordon (September 1986). "The Third Indochina Conflict". Foreign Affairs (Fall 1986). สืบค้นเมื่อ March 11, 2018.
  9. "The 1979 campaign" (PDF). All Partners Access Network. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-07-06. สืบค้นเมื่อ March 31, 2018.
  10. "Viets shell Cambodian positions..." January 2, 1985. สืบค้นเมื่อ March 11, 2018.
  11. William S. Turley, Jeffrey Race (1980). "The Third Indochina War". Foreign Policy (38): 92–116. JSTOR 1148297.
  12. Lucy Keller. "UNTAC in Cambodia – from Occupation, Civil War and Genocide to Peace - The Paris Peace Conference in 1989" (PDF). Max-Planck-Institut für ausländisches öffentliches Recht und Völkerrecht. สืบค้นเมื่อ March 31, 2018.
  13. "Cambodia - 20 years on from the Paris Peace Agreements". OHCHR. October 21, 2011. สืบค้นเมื่อ March 31, 2018.