สงครามอินโดจีนครั้งที่สาม
สงครามอินโดจีนครั้งที่สาม | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ สงครามอินโดจีนและสงครามเย็น | |||||||
แผนที่ อินโดจีน ในปี พ.ศ. 2522 | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
ราชวงศ์ลาว สหรัฐ เกาหลีเหนือ[1] |
เวียดนาม
กติกาสัญญาวอร์ซอ ประเทศต่าง ๆ (จนถึงปี ค.ศ. 1991) [1] | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
ไม่ระบุ |
เวียดนาม: ทหารเสียชีวิต 105,627 นาย[2] |
สงครามอินโดจีนครั้งที่สาม เป็นหนึ่งในความขัดแย้งด้วยอาวุธที่เชื่องโยงต่อกัน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มต่างๆ ในฝ่ายลัทธิคอมมิวนิสต์ที่มีอิทธิพลต่อยุทธศาสตร์ในอินโดจีน ภายหลังจากการถอนตัวของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1973 และชัยชนะของฝ่ายลัทธิคอมมิวนิสต์ในเวียดนามใต้ ลาว และกัมพูชา ในปี ค.ศ. 1975[3] การถอนตัวของอเมริกันโดยสมบูรณ์นั้นได้กำจัดศัตรูตัวหลักและร่วมของอำนาจคอมมิวนิสต์ทั้งหมด[4] ความแตกต่างระหว่างหลักการเชิงยุทธศาสตร์และการเมืองของจีนและโซเวียตได้เพิ่มมากขึ้นจนนำไปสู่ความแตกแยกระหว่างจีน–โซเวียตในช่วงกลางปีทศวรรษที่ 1950 ระบอบคอมมิวนิสต์ในประเทศกัมพูชา เวียดนาม และลาวได้แสดงความภักดีต่อหนึ่งในสองฝ่ายที่ขัดแย้งกันเหล่านี้ สงครามที่ตามมานั้นเกิดขึ้นจากความเกลียดชังในศตวรรษเก่าระหว่างเวียดนามและกัมพูชา และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง-เวียดนาม-จีน[5]
ในปี ค.ศ. 1975 การทหารในช่วงแรกได้เกิดขึ้นระหว่างระบอบคอมมิวนิสต์ในเวียดนามและระบอบเขมรแดงในกัมพูชา ซึ่งส่งผลทำให้เวียดนามเข้ายึดครองกัมพูชามายานนานกว่าทศวรรษ การผลักดันของเวียดนามเพื่อทำลายเขมรแดงให้สิ้นซากอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้จนทำให้พวกเขามีความขัดแย้งอย่างเปิดเผยกับประเทศไทย[6][7]
ประเทศจีนนั้นไม่เห็นด้วยกับบทบาทปฏิบัติการในการปราบปรามการก่อกบฏต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ในลาว อย่างไรก็ตาม การคัดค้านยิ่งเพิ่มมากขึ้นต่อการบุกครองกัมพูชา กองทัพจีนได้เปิดฉากปฏิบัติการสั่งสอน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1979 และโจมตีจังหวัดทางภาคเหนือของเวียดนาม ด้วยความมุ่งมั่นที่จะจำกัดอิทธิพลของโซเวียต/เวีดยนาม และขัดขวางผลประโยชน์ดินแดนในภูมิภาค[8][9]
ในคำสั่งเพื่อให้สามารถควบคุมกัมพูชาได้อย่างสมบูรณ์ กองทัพประชาชนเวียดนามจำเป็นต้องขับไล่ผู้นำและหน่วยทหารที่เหลือของเขมรแดง ซึ่งได้ล่าถอยไปยังพื้นที่ห่างไกลตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา[10] สถานการณ์ได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากอำนาจอธิปไตยของประเทศไทยได้ถูกละเมิดหลายต่อหลายครั้ง การต่อสู้รบอย่างหนักด้วยมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมากเป็นผลมากจากการเผชิญหน้าโดยตรงระหว่างกองทัพเวียดนามและกองทัพไทย ประเทศไทยได้เพิ่มกำลังทหารมากขึ้น จัดซื้อยุทโธปกรณ์ใหม่ และสร้างแนวหน้าทางการทูตกับเวียดนาม และจีน[11] ภายหลังจากการประชุมสันติภาพปารีสในปี ค.ศ. 1989 กองทัพประชาชนเวียดนามได้ถอนกำลังออกจากดินแดนกัมพูชา จนท้ายที่สุด ข้อตกลงของทหารประจำการในภูมิภาคได้จบลง ภายหลังจากข้อสรุปของสนธิสัญญาสันติภาพปารีส ปี ค.ศ. 1991[12][13]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Spencer C. Tucker, Encyclopedia of the Vietnam War: A Political, Social, and Military History, p.155
- ↑ Chuyên đề 4 CÔNG TÁC TÌM KIẾM, QUY TẬP HÀI CỐT LIỆT SĨ TỪ NAY ĐẾN NĂM 2020 VÀ NHỮNG NĂM TIẾP THEO
- ↑ "Vietnam War - Facts, information and articles about The Vietnam War" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). HistoryNet. สืบค้นเมื่อ March 31, 2018.
- ↑ William S. Turley, Jeffrey Race (1980). "The Third Indochina War". Foreign Policy (38): 92–116. JSTOR 1148297.
- ↑ "Chinese Communist Party: The Leaders of the CPSU are the Greatest Splitters of Our Times". Modern History Sourcebook. Fordham University. February 4, 1964. สืบค้นเมื่อ March 11, 2018.
- ↑ Kelvin Rowley. "Second Life, Second Death: The Khmer Rouge After 1978" (PDF). Swinburne University of Technology. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ February 16, 2016. สืบค้นเมื่อ March 11, 2018.
- ↑ "1978-1979 - Vietnamese Invasion of Cambodia". GlobalSecurity. สืบค้นเมื่อ March 11, 2018.
- ↑ Bernard K. Gordon (September 1986). "The Third Indochina Conflict". Foreign Affairs (Fall 1986). สืบค้นเมื่อ March 11, 2018.
- ↑ "The 1979 campaign" (PDF). All Partners Access Network. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-07-06. สืบค้นเมื่อ March 31, 2018.
- ↑ "Viets shell Cambodian positions..." January 2, 1985. สืบค้นเมื่อ March 11, 2018.
- ↑ William S. Turley, Jeffrey Race (1980). "The Third Indochina War". Foreign Policy (38): 92–116. JSTOR 1148297.
- ↑ Lucy Keller. "UNTAC in Cambodia – from Occupation, Civil War and Genocide to Peace - The Paris Peace Conference in 1989" (PDF). Max-Planck-Institut für ausländisches öffentliches Recht und Völkerrecht. สืบค้นเมื่อ March 31, 2018.
- ↑ "Cambodia - 20 years on from the Paris Peace Agreements". OHCHR. October 21, 2011. สืบค้นเมื่อ March 31, 2018.