คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส
คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส | |
---|---|
ภาพเหมือนของโคลัมบัสโดยเซบัสเตียโน เดล ปีออมโบ ใน ค.ศ. 1519 วาดหลังจากเขาเสียชีวิตไปแล้ว (ในปัจจุบันไม่พบว่ามีภาพเหมือนที่แท้จริงของโคลัมบัส)[1] | |
เกิด | ระหว่าง 22 สิงหาคม ถึง 31 ตุลาคม ค.ศ. 1451 เจนัว, สาธารณรัฐเจนัว (ในประเทศอิตาลีปัจจุบัน) |
เสียชีวิต | 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1506 บายาโดลิด, ราชอาณาจักรคาสตีล (ในประเทศสเปนปัจจุบัน) | (54 ปี)
สัญชาติ | เจนัว |
ชื่ออื่น | สเปน: กริสโตบัล โกลอน เจนัว: กริชตอฟฟา กูรุงบู ละติน: คริสโตโฟรุส โกลุมบุส อิตาลี: กริสตอโฟโร โกลอมโบ โปรตุเกส: กริชตอเวา กูลงบู |
อาชีพ | นักสำรวจทางทะเลแห่งราชอาณาจักรคาสตีล |
ตำแหน่ง | พลเรือเอกแห่งน่านน้ำมหาสมุทร อุปราช และผู้ว่าราชการแห่งอินเดียน |
คู่สมรส | ฟีลีปา มูนิช ปือรึชเตรลู (ประมาณ ค.ศ. 1455–1485) |
คู่รัก | เบอาตริซ เอนริเกซ เด อารานา (ประมาณ ค.ศ. 1485–1506) |
บุตร | เดียโก โกลอน เฟร์นันโด โกลอน |
ญาติ | โจวันนี เปลเลกรีโน, จาโกโม และบาร์โทโลมิว โคลัมบัส (น้องชาย) |
ลายมือชื่อ | |
คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (อังกฤษ: Christopher Columbus; ระหว่าง 25 สิงหาคม และ 31 ตุลาคม ค.ศ. 1451 - 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1506) เป็นนักสำรวจและนักเดินเรือชาวอิตาลี ซึ่งได้เดินทางบนเรือครบสี่ครั้งทั่วทั้งมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งเป็นการเปิดทางให้ยุโรปได้สำรวจอย่างกว้างขวางและการก่อตั้งดินแดนอาณานิคมในทวีปอเมริกา การเดินทางของเขาซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกษัตริย์แห่งสเปนที่นับถือนิกายคาทอลิก เป็นการติดต่อครั้งแรกของยุโรปกับหมู่เกาะแคริบเบียน อเมริกากลาง และอเมริกาใต้
ชื่อของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส มาจากการแผลงเป็นอังกฤษในภาษาละตินที่ชื่อว่า คริสโตโฟรุส โกลุมบุส นักวิชาการเห็นพ้องต้องกันว่า โคลัมบัสนั้นเกิดในสาธารณรัฐเจนัวและพูดสำเนียงท้องถิ่นคือภาษาลีกูเรียเป็นภาษาแรกของเขา เขาออกเดินทางทะเลตั้งแต่อายุยังน้อยและเดินทางอย่างกว้างขวาง ไกลออกไปทางเหนือถึงเกาะอังกฤษ และไกลออกไปทางใต้ซึ่งที่นั้นคือประเทศกานาในปัจจุบัน เขาแต่งงานกับหญิงสูงศักดิ์ชาวโปรตุเกสที่ชื่อว่า ฟีลิปา มูนิช ปิอรีชเตรลู และอาศัยอยู่ที่ลิสบอนเป็นเวลาหลายปี แต่ต่อมาก็ได้แอบมีภรรยาน้อยเป็นชาวแคสตีล(Castilian) เขามีบุตรชายอยู่สองคนซึ่งกำเนิดจากคนละแม่ แม้ว่าโคลัมบัสจะศึกษาด้วยตนเองเป็นส่วนใหญ่ โคลัมบัสได้อ่านวิชาทางภูมิศาสตร์ ดาราศาสตร์ และประวัติศาสตร์อย่างกว้างขวาง เขาได้กำหนดแผนการที่จะหาทางเดินทางเรือผ่านทะเลตะวันตกไปยังอินเดียตะวันออก โดยคาดหวังว่าจะได้กำไรจากการค้าขายเครื่องเทศที่ร่ำรวย ภายหลังจากการล็อบบี้อย่างต่อเนื่องของโคลัมบัสต่อหลายอาณาจักร กษัตริย์คาทอลิกอย่างสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยาและพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอนทรงยินยอมที่จะสนับสนุนการเดินทางไปทางตะวันตก โคลัมบัสออกจากแคว้นกัสติยาในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1492 ด้วยเรือสามลำ และได้มีการพบเห็นแผ่นดินในทวีปอเมริกา เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม (เป็นอันสิ้นสุดลงของช่วงเวลาการอาศัยอยู่ของมนุษย์ในทวีปอเมริกา ซึ่งปัจจุบันเรียกกันว่า ยุคก่อนโคลัมเบียน) สถานที่ลงจอดของเขาคือเกาะในบาฮามาส ซึ่งประชาชนชาวพื้นเมืองรู้จักกันคือ กวานาฮานี ต่อมาโคลัมบัสได้ไปเยือนหมู่เกาะที่ปัจจุบันได้รู้จักกันคือ คิวบาและฮิสปันโยลา ซึ่งได้ก่อตั้งอาณานิคมในเกาะแห่งหนึ่งคือประเทศเฮติในปัจจุบัน โคลัมบัสเดินทางกลับสู่แคว้นกัสติยาในต้นปี ค.ศ. 1493 โดยนำชาวพื้นเมืองที่ถูกจับจำนวนหนึ่งมาด้วย เรื่องราวของการเดินทางของเขาในไม่ช้าก็ได้แพร่กระจายไปทั่วยุโรป
โคลัมบัสได้ออกเดินทางไปยังทวีปอเมริกาอีกสามครั้ง ซึ่งได้ทำการสำรวจที่เลสเซอร์แอนทิลลีส ใน ค.ศ. 1493 ตรินิแดดและชายฝั่งทางตอนเหนือของอเมริกาใต้ใน ค.ศ. 1498 และชายฝั่งตะวันออกในอเมริกากลางใน ค.ศ. 1502 ชื่อหลายชื่อที่เขาได้ตั้งตามลัษณะทางภูมิศาสตร์ - โดยเฉพาะกับหมู่เกาะ - ซึ่งยังคงใช้กันอยู่ เขายังได้ตั้งชื่อว่า อินดิโอส("อินเดียน") ให้กับชนพื้นเมืองที่เขาพบเจอ ขอบเขตที่เขาได้ตระหนักว่าทวีปอเมริกาเป็นทวีปที่แยกจากกันโดยสิ้นเชิงนั้นยังคลุมเครือ เขาไม่เคยละทิ้งความเชื่อของเขาอย่างชัดเจนว่าเขาได้เดินทางมาถึงดินแดนตะวันออกไกล ในฐานะที่เป็นข้าหลวงอาณานิคม โคลัมบัสถูกผู้ร่วมเดินทางกับเขากล่าวหาว่า บ้าอำนาจและโหดร้าย และไม่นานก็ถูกปลดออกจากตำแหน่ง ความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดของโคลัมบัสและราชบัลลังก์กัสติยาและผู้บริหารปกครองอาณานิคมที่ได้รับการแต่งตั้งในทวีปอเมริกา ทำให้เขาถูกจับกุมและถอดถอนออกจากฮิสปันโยลาในปี ค.ศ. 1500 และต่อมาได้มีการต่อสู้คดีที่ยืดเยื้อในเรื่องของผลประโยชน์ที่เขาได้รับและทายาทของเขาได้กล่าวอ้างสิทธิ์ในการครองราชบัลลังก์ การเดินทางของโคลัมบัสได้เริ่มต้นขึ้นในช่วงเวลาแห่งการสำรวจ การพิชิต และการก่อตั้งอาณานิคมที่กินเวลายาวนานหลายศตวรรษ ช่วงสร้างโลกตะวันตกสมัยใหม่ การถ่ายโอนระหว่างโลกเก่าและโลกใหม่ ภายหลังจากการเดินทางครั้งแรกของเขาที่เป็นที่รู้จักกันคือ การแลกเปลี่ยนโคลัมเบียน
โคลัมบัสได้รับการนับถืออย่างกว้างขวางในช่วงหลายศตวรรษหลังการเสียชีวิตของเขา แต่การรับรู้ของสาธารณชนทำให้เกิดจุดแตกหักในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา เนื่องจากนักวิชาการได้ให้ความสนใจมากขึ้นต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นภายใต้การปกครองของเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ประชากรชาว Taíno ชนพื้นเมืองของเกาะฮิสปันโยลาซึ่งใกล้จะสูญพันธ์จากการปฏิบัติที่โหดร้ายทารุณและการเกิดโรคระบาดซึ่งมาจากยุโรป เช่นเดียวกับการตกเป็นทาส ผู้เสนอทฤษฎีตำนานสีดำกล่าวอ้างว่า โคลัมบัสถูกดูหมิ่นอย่างไม่ยุติธรรมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความรู้สึกต่อต้านนิกายคาทอลิกในวงกว้าง หลายแห่งในซีกโลกตะวันตกซึ่งมีชื่อของเขา รวมทั้งประเทศโคลัมเบีย เขตโคลัมเบีย และรัฐบริติชโคลัมเบียของประเทศแคนาดา
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Portraits of Christopher Columbus - COLUMBUS MONUMENTS PAGES. Vanderkrogt.