คาร์นัก
บทความนี้หรือส่วนนี้ของบทความต้องการปรับรูปแบบ ซึ่งอาจหมายถึง ต้องการจัดรูปแบบข้อความ จัดหน้า แบ่งหัวข้อ จัดลิงก์ภายใน และ/หรือการจัดระเบียบอื่น ๆ คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นปรับปรุงหรือจัดรูปแบบอื่น ๆ ในบทความให้เหมาะสม |
ที่ตั้ง | เอล-คาร์นัก, เขตผู้ว่าการลักซอร์, อียิปต์ |
---|---|
ภูมิภาค | อีียิปต์บน |
พิกัด | 25°43′7″N 32°39′31″E / 25.71861°N 32.65861°E |
ประเภท | ศาสนสถาน |
ส่วนหนึ่งของ | ธีบส์ |
ความเป็นมา | |
ผู้สร้าง | เซนุสเรตที่ 1 – เนคทาเนโบที่ 1 |
สมัย | ราชอาณาจักรกลาง ถึง ราชอาณาจักรทอเลมี |
ชื่อที่ขึ้นทะเบียน | เมืองธีบส์โบราณและหมู่สุสาน |
ประเภท | วัฒนธรรม |
เกณฑ์ | I, III, VI |
ขึ้นเมื่อ | 1979 (การประชุมครั้งที่ 3) |
เลขอ้างอิง | 87 |
ภูมิภาค | รัฐอาหรับ |
ศาสนาสถานแห่งคาร์นัก หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า คาร์นัก (/ˈkɑːr.næk/,[1] ซึ่งเดิมมาจากภาษาอาหรับ: خورنق Khurnaq แปลว่า "หมู่บ้านที่มีป้อมปราการ"[2]) เป็นศาสนสถานที่ประกอบไปด้วยวัด เสา วิหารและสิ่งปลูกสร้างอาคารอื่นๆ ที่ผุพังจำนวนมาก ใกล้กับเมืองลักซอร์ ประเทศอียิปต์ การก่อสร้างศาสนสถานแห่งนี้เริ่มขึ้นในรัชสมัยของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 (ครองราชย์ระหว่าง 1971–1926 ปีก่อนคริสตกาล) ในสมัยราชอาณาจักรกลาง (ประมาณ 2000–1700 ปีก่อนคริสตกาล) และดำเนินการก่อสร้างจนไปถึงสมัยราชอาณาจักรทอเลมี (ระหว่าง 305–30 ก่อนคริสตศักราช) ถึงแม้ว่าสิ่งปลูกสร้างและอาคารที่ยังหลงเหลืออยู่นั้น ส่วนใหญ่จะมีอายุย้อนถึงเพียงสมัยราชอาณาจักรใหม่เท่านั้น แต่บริเวณโดยรอบศาสนสถานแห่งคาร์นักเป็นบริเวณที่ในภาษาอียิปต์โบราณเรียกว่า Ipet-isut ("สถานที่ที่ได้รับการคัดเลือกมากที่สุด") และเป็นสถานที่สักการะหลักของเทพเจ้าทั้งสามแห่งธีบส์ในช่วงราชวงศ์ที่สิบแปดแห่งอียิต์ โดยมีเทพอามุนเป็นเทพเจ้าสูงสุด ซึ่งยังเป็นส่วนหนึ่งของอนุสรณ์สถานประจำเมืองธีบส์ ในปี ค.ศ. 1979 ศาสนสถานแห่งคาร์นักก็ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโกพร้อมกับส่วนอื่นๆ ของเมือง[3] ศาสนสถานแห่งคาร์นักได้เป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านเอล-คาร์นัก ในสมัยปัจจุบันในบริเวณใกล้เคียงและล้อมรอบด้วยบางส่วน ซึ่งห่างจากเมืองลักซอร์ไปประมาณ 2.5 กิโลเมตร (1.6 ไมล์)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Karnak". Merriam-Webster's Collegiate Dictionary, Eleventh Edition. Merriam-Webster, 2007. p. 1550
- ↑ فهد حماد, حسين (2003). موسوعة الآثار التاريخية: حضارات، شعوب، أمم، معالم، مدن، عصور، علوم الآثار، حرف، لغات. Al Manhal. ISBN 9796500010892.
القديمة في عصر الإمبراطورية ويرجح أن أصل كلمة كرنك محرف من الكلمة العربية خورنق، التي أطلقها العرب عند دخولهم مصر على مجموعة المعابد الموجودة بهذه المنطقة [Translation: It is likely that the origin of the word Karnak is distorted from the Arabic word Khornaq, which the Arabs gave to the group of temples in this region when they entered Egypt]
- ↑ "Ancient Thebes with its Necropolis". UNESCO World Heritage Centre. United Nations Educational, Scientific, and Cultural Organization. สืบค้นเมื่อ 7 September 2021.