ค่าจ้างขั้นต่ำในประเทศไทย
บทความนี้อาศัยการอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิมากเกินไป |
ค่าจ้างขั้นต่ำในประเทศไทย เป็นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่รัฐกำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้าง กำหนดในอัตราต่อวัน กำหนดขึ้นครั้งแรกตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516 ปัจจุบันค่าจ้างขั้นต่ำเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง กระทรวงแรงงาน เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 12) บังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป
ประวัติ
[แก้]ประเทศไทยได้กำหนดให้มีอัตราค่าจ้างขั้นต่ำขึ้นครั้งแรกตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดค่าแรงขั้นต่ำ ได้กำหนดให้กระทรวงมหาดไทยมีอำนาจกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ[1] โดยมีคณะกรรมการค่าจ้างเพื่อพิจารณาและกำหนด โดยคณะกรรมการประกอบด้วยประธานและกรรมการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแต่งตั้ง และได้กำหนดให้ค่าจ้างขั้นต่ำต้องสามารถใช้ยังชีพแต่ลูกจ้างและคนในครอบครัว 2 คนได้อย่างปกติ[2] ต่อมาได้ปรับนิยามของค่าจ้างขั้นต่ำขึ้นใหม่ โดยพิจารณาลดเป็นเงินที่ลูกจ้างคนเดียวสามารถควรจะได้รับและดำรงชีพได้[3] และคงใช้นิยามนี้จนถึงปัจจุบัน[4]
ในช่วงปี พ.ศ. 2516 - 2536 กระทรวงมหาดไทย โดยกองแรงงานเป็นผู้ดำเนินการหลักในการพิจารณาและประกาศบังคับใช้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ กระทั่งมีการจัดตั้งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมขึ้นมาในปี พ.ศ. 2536 (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงแรงงาน) กองแรงงาน กระทรวงมหาดไทยจึงโอนย้ายไปยังกระทรวงดังกล่าว ทำให้คณะกรรมการค่าจ้างจึงสังกัดกับกระทรวงนี้จนถึงปัจจุบัน โดยในช่วงปี พ.ศ. 2536 - 2551 กำหนดในรูปของประกาศกระทรวง และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 เป็นต้นไปกำหนดเป็นประกาศของคณะกรรมการค่าจ้าง โดยมีการออกประกาศกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำไปแล้ว 48 ฉบับ[5]
ค่าจ้างขั้นต่ำในปัจจุบัน
[แก้]ค่าจ้างขั้นต่ำ (บาท/วัน) |
จังหวัด |
---|---|
370 | ภูเก็ต |
363 | กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร |
361 | ชลบุรี ภูเก็ต และระยอง |
352 | นครราชสีมา |
351 | สมุทรสงคราม |
350 | ขอนแก่น ฉะเชิงเทรา เชียงใหม่ ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา และสระบุรี |
349 | ลพบุรี |
348 | นครนายก สุพรรณบุรี และ หนองคาย |
347 | กระบี่ และตราด |
345 | กาญจนบุรี จันทบุรี เชียงราย ตาก นครพนม บุรีรัมย์ ประจวบคีรีขันธ์ พังงา พิษณุโลก มุกดาหาร สกลนคร สงขลา สระแก้ว สุราษฎร์ธานี และอุบลราชธานี |
344 | ชุมพร เพชรบุรี และสุรินทร์ |
343 | นครสวรรค์ ยโสธร และลำพูน |
342 | กาฬสินธุ์ นครศรีธรรมราช บึงกาฬ เพชรบูรณ์ และร้อยเอ็ด |
341 | ชัยนาท ชัยภูมิ พัทลุง สิงห์บุรี และอ่างทอง |
340 | กำแพงเพชร พิจิตร มหาสารคาม แม่ฮ่องสอน ระนอง ราชบุรี ลำปาง เลย ศรีสะเกษ สตูล สุโขทัย หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุดรธานี อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี |
338 | ตรัง น่าน พะเยา และแพร่ |
330 | นราธิวาส ปัตตานี และยะลา |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. Vol. 89 no. 41. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. 16 มีนาคม 2515. p. 1. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2563.
{{cite magazine}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. Vol. 89 no. 41. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. 16 มีนาคม 2515. p. 1. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2563.
{{cite magazine}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. Vol. 89 no. 41. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. 1 มกราคม 2519. p. 6. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2563.
{{cite magazine}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "นานาทัศนะกับการกำหนดค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ" (PDF). ค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเพื่อเงินทุนหมุนเวียน. วารสารส่งเสริมการลงทุน. Vol. 22 no. 9. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน. กันยายน 2554. p. 11. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2563.
{{cite magazine}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ". กระทรวงแรงงาน. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-07. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง (ฉบับที่ 12) เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. Vol. 140 no. 328 ง พิเศษ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา สำนักนายกรัฐมนตรี. 28 ธันวาคม 2566. p. 92. สืบค้นเมื่อ 31 ธันวาคม 2566.
{{cite magazine}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)