จังหวัดลำพูน
จังหวัดลำพูน | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Changwat Lamphun |
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง:
| |
คำขวัญ: พระธาตุเด่น พระรอดขลัง ลำไยดัง กระเทียมดี ประเพณีงาม จามเทวีศรีหริภุญไชย | |
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดลำพูนเน้นสีแดง | |
ประเทศ | ไทย |
การปกครอง | |
• ผู้ว่าราชการ | ว่าง (ตั้งแต่ พ.ศ. 2565) |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 4,505.882 ตร.กม. (1,739.731 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 48 |
ประชากร (พ.ศ. 2566)[2] | |
• ทั้งหมด | 398,440 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 63 |
• ความหนาแน่น | 88.42 คน/ตร.กม. (229.0 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | อันดับที่ 52 |
รหัส ISO 3166 | TH-51 |
ชื่อไทยอื่น ๆ | นครหริภุญชัย |
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด | |
• ต้นไม้ | ก้ามปู (จามจุรีแดง) |
• ดอกไม้ | ทองกวาว |
• สัตว์น้ำ | อึ่งปากขวด |
ศาลากลางจังหวัด | |
• ที่ตั้ง | ภายในศูนย์ราชการจังหวัดลำพูน เลขที่ 199 หมู่ที่ 11 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 ตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน 51000 |
• โทรศัพท์ | 0 5351 1000 |
• โทรสาร | 0 5351 1000 |
เว็บไซต์ | http://www.lamphun.go.th/ |
ลำพูน (ไทยถิ่นเหนือ: ᩃᨻᩪᩁ , หละปูน) เป็นจังหวัดที่มีขนาดเล็กที่สุดในภาคเหนือ นับเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ เคยเป็นที่ตั้งของนครหริภุญชัย ในสมัยพระนางจามเทวี เดิมชื่อเมืองหริภุญไชย เป็นเมืองโบราณมีอายุประมาณ 1,343 ปี ตามพงศาวดารโยนกเล่าสืบต่อกันถึงการสร้างเมืองหริภุญไชย โดยฤๅษีวาสุเทพเป็นผู้เกณฑ์พวกเม็งคบุตร หรือชนเชื้อชาติมอญมาสร้างเมืองนี้ขึ้นในพื้นที่ระหว่างแม่น้ำสองสาย คือ แม่น้ำกวงและแม่น้ำปิง เมื่อมาสร้างเสร็จได้ส่งทูตไปเชิญราชธิดากษัตริย์เมืองละโว้พระนาม "จามเทวี" มาเป็นปฐมกษัตริย์ปกครองเมืองหริภุญไชยสืบราชวงศ์กษัตริย์ต่อมาหลายพระองค์ จนกระทั่งถึงสมัยพญาญี่บาจึงได้เสียการปกครองให้แก่พญามังราย ผู้รวบรวมแว่นแคว้นทางเหนือเข้าเป็นอาณาจักรล้านนา
จังหวัดลำพูน | |
ชื่อภาษาไทย | |
---|---|
อักษรไทย | ลำพูน |
อักษรโรมัน | Lamphun |
ชื่อคำเมือง | |
อักษรธรรมล้านนา | ᩃᨻᩪᩁ |
อักษรไทย | ละปูน |
ส่วนหนึ่งของชุดบทความ |
วัฒนธรรมล้านนา |
---|
ถึงแม้ว่าเมืองลำพูนจะตกอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรล้านนา แต่ก็ได้เป็นผู้ถ่ายทอดมรดกทางศิลปะและวัฒนธรรมให้แก่ผู้ที่เข้ามาปกครอง ดังปรากฏหลักฐานทั่วไปในเวียงกุมกาม เชียงใหม่ และเชียงราย เมืองลำพูนจึงยังคงความสำคัญในทางศิลปะและวัฒนธรรมของอาณาจักรล้านนา จนกระทั่งสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมืองลำพูนจึงได้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย มีผู้ครองนครสืบต่อกันมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เมื่อเจ้าผู้ครองนครองค์สุดท้าย คือ พลตรี เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ ถึงแก่พิราลัย เมืองลำพูนจึงเปลี่ยนเป็นจังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ปกครองสืบมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน นอกจากจังหวัดลำพูนจะมีชื่อเสียงในฐานะเป็นเมืองประวัติศาสตร์แล้ว ยังเป็นแหล่งเพาะปลูกลำไย พระเครื่อง โบราณสถานที่สำคัญ และผ้าทอฝีมือดี ปัจจุบันมีประตูเมืองหลักทั้งสี่ทิศคือ ทิศเหนือประตูช้างสี ทิศตะวันออกประตูท่าขาม ทิศใต้ประตูลี้ ทิศตะวันตกประตูมหาวัน มีกำแพงเมืองเก่าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือคือ ประตูท่านาง
ภูมิศาสตร์
[แก้]อาณาเขต
[แก้]ลำพูนมีพื้นที่ติดกับจังหวัดอื่น ๆ 3 จังหวัด ดังนี้
- ทิศเหนือ จรดอำเภอสารภี อำเภอสันกำแพง และอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่
- ทิศตะวันออก จรดอำเภอห้างฉัตร อำเภอสบปราบ และอำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง
- ทิศใต้ จรดอำเภอเถิน อำเภอแม่พริก จังหวัดลำปาง และอำเภอสามเงา จังหวัดตาก
- ทิศตะวันตก จรดอำเภอฮอด อำเภอจอมทอง อำเภอหางดง และอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
ที่ตั้ง
[แก้]- จังหวัดลำพูน ตั้งอยู่ทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 (สายเอเซีย) เป็นระยะทาง 689 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินสายพหลโยธิน เป็นระยะทาง 724 กิโลเมตร และตามทางรถไฟ 729 กิโลเมตร ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 18 องศาเหนือ และเส้นแวงที่ 99 องศาตะวันออก อยู่ในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน อยู่ห่างจากจังหวัดเชียงใหม่เพียง 22 ก.ม. เป็นพื้นที่ ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นศูนย์กลางความเจริญของภาคเหนือตอนบน และอนุภูมิภาค ลุ่มน้ำโขง หรือพื้นที่สี่เหลี่ยมเศรษฐกิจร่วมกับ จังหวัดเชียงใหม่
- จังหวัดลำพูนเป็นจังหวัดที่มีขนาดเล็กที่สุดของภาคเหนือมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 4,505.882 ตร.กม. หรือประมาณ 2,815,675 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 4.85 ของพื้นที่ ภาคเหนือตอนบน บริเวณที่กว้างที่สุดประมาณ 43 กม. และยาวจากเหนือจดใต้ 136 กม.[3]
- ลักษณะภูมิอากาศ จังหวัดลำพูนตั้งอยู่ในภาคเหนือ ซึ่งตามตำแหน่งที่ตั้งอยู่ในเขตร้อนที่ค่อนไปทาง เขตอากาศอบอุ่น ในฤดูหนาวจึงมีอากาศเย็นค่อนข้างหนาว แต่เนื่องจากอยู่ลึกเข้าไปใน แผ่นดินห่างไกลจากทะเล จึงมีฤดูแล้งที่ยาวนานและอากาศจะร้อนถึงร้อนจัดในฤดูร้อน จังหวัดลำพูนมีสภาพภูมิอากาศแตกต่างกันอย่างเด่นชัด 3 ช่วงฤดู คือช่วงเดือนมีนาคม กับเมษายนมีอากาศร้อน ช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม จะมีฝนตกชุกเป็นฤดูฝน และช่วงเดือนพฤศจิกายนถึง เดือนกุมภาพันธ์มีอากาศหนาวเย็นเป็นฤดูหนาว ซึ่งฤดูหนาวและฤดูร้อนนั้น เป็นช่วงฤดูแล้ง ที่มีระยะเวลาติดต่อกันประมาณ 6 เดือน ในช่วงฤดูฝนอีก 6 เดือน นั้น อากาศจะไม่ร้อนเท่ากับ ในฤดูร้อน และไม่หนาวเย็นเท่า ฤดูหนาว คือมีอุณหภูมิปานกลางอยู่ระหว่างสองฤดูดังกล่าว
อุทยานแห่งชาติ
[แก้]สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
[แก้]- คำขวัญประจำจังหวัด : พระธาตุเด่น พระรอดขลัง ลำไยดัง กระเทียมดี ประเพณีงาม จามเทวีศรีหริภุญไชย
- ต้นไม้ประจำจังหวัด : ต้นก้ามปูหรือจามจุรีแดง (Samanea saman)
- ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกทองกวาว (Butea monosperma)
- สัตว์น้ำประจำจังหวัด : อึ่งปากขวดหรืออึ่งเพ้า (Glyphoglossus molossus)
การเมืองการปกครอง
[แก้]หน่วยการปกครอง
[แก้]จังหวัดลำพูนแบ่งการปกครองแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 51 ตำบล 574 หมู่บ้าน ดังนี้
ที่ | ชื่ออำเภอ | ตัวเมือง | อักษรโรมัน | ตำบล | หมู่บ้าน | ประชากร (พ.ศ. 2560)[2] |
พื้นที่ (ตร.กม.) |
ความหนาแน่น (คน/ตร.กม.) |
ระยะทางจากตัวจังหวัด |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | เมืองลำพูน | Mueang Lamphun | 15 | 159 | 146,098 | 479.83 | 304.48 | - | |
2 | แม่ทา | Mae Tha | 6 | 68 | 39,107 | 762.63 | 51.27 | 25 | |
3 | บ้านโฮ่ง | Ban Hong | 5 | 62 | 40,199 | 596.90 | 67.34 | 40 | |
4 | ลี้ | Li | 8 | 99 | 69,806 | 1,701.99 | 41.01 | 106 | |
5 | ทุ่งหัวช้าง | Thung Hua Chang | 3 | 35 | 20,173 | 486.13 | 41.49 | 79 | |
6 | ป่าซาง | Pa Sang | 9 | 90 | 55,321 | 299.95 | 184.43 | 11 | |
7 | บ้านธิ | Ban Thi | 2 | 36 | 17,698 | 129.02 | 137.16 | 18 | |
8 | เวียงหนองล่อง | Wiang Nong Long | 3 | 25 | 17,516 | 49.43 | 354.33 | 41 | |
รวม | 51 | 574 | 405,918 | 4,505.88 | 90.08 | - |
การเลือกตั้ง
[แก้]ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา จังหวัดลำพูน แบ่งเขตการเลือกตั้งเป็น 2 เขต โดยมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 2 คน คือ วิทวิสิทธิ์ ปันสวนปลูก และรังสรรค์ มณีรัตน์
รายพระนามเจ้าผู้ครองนคร
[แก้]รายชื่อผู้ว่าราชการจังหวัด
[แก้]ลำดับ | รายชื่อ | ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง |
---|---|---|
1 | พระยาประศาสน์วิริยะกิจ | พ.ศ. 2450 – 2460 |
2 | พระยาวิชิตรักษาตกศิลาบุรินทร์ | พ.ศ. 2461 – 2472 |
3 | พระยากำธรพยัพทิศ | พ.ศ. 2472 – 2475 |
4 | พระประชากรบริรักษ์ | พ.ศ. 2475 – 2475 |
5 | พระสำเริงนฤประการ | พ.ศ. 2476 – 2477 |
6 | พระยาบรรหารวรพจน์ | พ.ศ. 2478 – 2482 |
7 | พระภูมิพิชัย | พ.ศ. 2483 – 2484 |
8 | พระพิชิตบัญชาการ | พ.ศ. 2484 – 2487 |
9 | หลวงอนุมัติราชกิจ | พ.ศ. 2487 – 2490 |
10 | ขุนบุรีภิรมย์กิจ | พ.ศ. 2490 – 2491 |
11 | ขุนสนิทประชาราษฏร์ | พ.ศ. 2491 – 2498 |
12 | นายสุจิตต์ สมบัติศิริ | 29 มิถุนายน พ.ศ. 2498 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2501 |
13 | นายมานิต ปุรณะพรรค์ | 9 มิถุนายน พ.ศ. 2501 – 30 กันยายน พ.ศ. 2509 |
14 | นายจำนง เทพหัสดิน ณ อยุธยา | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2509 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2510 |
15 | นายรง ทัศนาญชลี | 28 ตุลาคม พ.ศ. 2510 – 7 ธันวาคม พ.ศ. 2516 |
16 | นายบรรโลม ภุชงคกุล | 1 เมษายน พ.ศ. 2517 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2518 |
17 | นายธวัช มกรพงศ์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2518 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 |
18 | หม่อมหลวงภัคศุก กำภู | 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 – 30 กันยายน พ.ศ. 2521 |
19 | นายพิสนย์ สุนทรธรรม | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2521 – 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 |
20 | นายศักดิ์ โกไศยกานนท์ | 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 – 3 ตุลาคม พ.ศ. 2523 |
21 | นายจริญญา พึ่งแสง | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2523 – 30 กันยายน พ.ศ. 2527 |
22 | ร้อยโท สุชาติ รัฐคำไทย | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2527 – 30 กันยายน พ.ศ. 2529 |
23 | นายประถม ศิริมาลา | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2529 – 30 กันยายน พ.ศ. 2532 |
24 | นายสว่าง อินทรนาค | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2532 – 30 กันยายน พ.ศ. 2534 |
25 | นายสนิทวงศ์ อุเทศนันทน์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2534 – 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 |
26 | ร้อยตรี พยนต์ พิเรนทร | 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 – 30 กันยายน พ.ศ. 2536 |
27 | นายเถกิงศักดิ์ พัฒโน | 18 ตุลาคม พ.ศ. 2536 – 30 กันยายน พ.ศ. 2539 |
28 | นายสุจริต นันทมนตรี | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2539 – 19 ตุลาคม พ.ศ. 2540 |
29 | นายชัยพร รัตนนาคะ | 20 ตุลาคม พ.ศ. 2540 – 15 เมษายน พ.ศ. 2541 |
30 | นายประพัฒน์พงษ์ บำเพ็ญสิทธิ์ | 16 เมษายน พ.ศ. 2541 – 30 กันยายน พ.ศ. 2542 |
31 | นายเรียบ นราดิศร | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2542 – 30 กันยายน พ.ศ. 2545 |
32 | นายธวัช เสถียรนาม | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 30 กันยายน พ.ศ. 2547 |
33 | นายอุดม พัวสกุล | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2547 – 2 มิถุนายน พ.ศ. 2549 |
34 | นายชิดพงษ์ ฤทธิประศาสน์ | 5 มิถุนายน พ.ศ. 2549 – 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 |
35 | นายอมรพันธุ์ นิมานันท์ | 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 – 19 ตุลาคม พ.ศ. 2551 |
36 | นายดิเรก ก้อนกลีบ | 20 ตุลาคม พ.ศ. 2551 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2554 |
37 | นายสุรชัย ขันอาสา | 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 – 7 ตุลาคม พ.ศ. 2555 |
38 | นายพินิจ หาญพาณิชย์ | 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 – 30 กันยายน พ.ศ. 2556 |
39 | นายสุวรรณ กล่าวสุนทร | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556 – 30 กันยายน พ.ศ. 2557 |
40 | นายณรงค์ อ่อนสอาด | 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 – 30 กันยายน พ.ศ. 2559 |
41 | นายวีระชัย ภู่เพียงใจ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 – 30 กันยายน พ.ศ. 2560 |
42 | นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 – 30 กันยายน พ.ศ. 2562 |
43 | นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2562 – 30 กันยายน พ.ศ. 2563 |
44 | นายวรยุทธ เนาวรัตน์ | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2563 – 30 กันยายน พ.ศ. 2565 |
45 | นายสันติธร ยิ้มละมัย | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565 – 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 |
ประชากร
[แก้]เชื้อชาติและภาษา
[แก้]ไทยอง คือประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัดลำพูน ตามมาด้วย ไทยวน (คนเมือง) ไทลื้อ ไทเขิน ไทใหญ่ และมอญ และประชากรส่วนหนึ่งของจังหวัดลำพูนเป็นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงปกาเกอะญอ โดยเฉพาะหมู่บ้านพระบาทห้วยต้มหมู่บ้านเดียว มีประชากรของกะเหรี่ยงปกาเกอะญออาศัยพันกว่าหลังคาเรือน และเป็นหมู่บ้านต้นแบบ หมู่บ้านรักษาศีล 5
ภาษายองเป็นภาษาที่ใช้กันแพร่หลายในจังหวัดลำพูน คนในจังหวัดลำพูนมักจะพูดสำเนียงเมืองยอง เพราะชาวลำพูนส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากไทลื้อในรัฐฉานประเทศพม่าและสิบสองปันนาประเทศจีน จึงมีสำเนียงที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นแตกต่างจากคำเมืองของภาคเหนือ
สถานศึกษา
[แก้]อุดมศึกษา
- มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน
- มหาวิทยาลัยธนบุรี ศูนย์ลำพูน
- มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง วิทยาเขตลำพูน
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศูนย์หริภุญชัย จังหวัดลำพูน
- สถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ๑ วิทยาลัยเทคนิคลำพูน
อาชีวศึกษา
- วิทยาลัยเทคนิคลำพูน
- วิทยาลัยเทคโนโลยีหมู่บ้านครู ภาคเหนือ
- วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีลำพูน
- วิทยาลัยการอาชีพป่าซาง
- วิทยาลัยการอาชีพบ้านโฮ่ง
- วิทยาลัยเทคโนโลยีชรินรัตน์ลำพูน
โรงเรียน
สถานที่สำคัญของจังหวัด
[แก้]วัฒนธรรมและประเพณี
[แก้]- งานของดีศรีหริภุญชัย
- งานประเพณีสงกรานต์
- งานประเพณีสรงน้ำพระธาตุหริภุญชัย (แปดเป็ง)
- งานสลากย้อมเมืองหละปูน หนึ่งเดียวในโลก
- งานเทศกาลลำไย
- งานพระนางจามเทวี
- งานฤดูหนาวและกาชาด
- งานแห่แคร่หลวง ลอยกระทง อำเภอบ้านโฮ่ง
- งานแต่งสีอวดลาย ผ้าฝ้ายดอนหลวง อำเภอป่าซาง
- งานต้นกำเนิดไม้แกะสลัก และของดีอำเภอแม่ทา
- งานเทศกาลโคมแสนดวงที่เมืองลำพูน[4]
บุคคลที่มีชื่อเสียง
[แก้]- ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา
- ครูบาอภิชัยขาวปี ศิษย์เอกครูบาศรีวิชัยนักพัฒนานักปฏิบัติ
- ครูบาวงศ์ นักพัฒนานักปฏิบัติ
- พระสุพรหมยานเถร (พรหมา พฺรหฺมจกฺโก) พระนักปฏิบัติ
- พระพุทธพจนวราภรณ์ (จันทร์ กุสโล) พระราชาคณะเจ้าคณะรอง อดีตเจ้าคณะภาค๔-๕-๖-๗ (ธรรมยุต) อดีตเจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร จังหวัดเชียงใหม่
- หลวงปู่ครูบาผัด พระนักปฏิบัติ
- ภานุทัต อภิชนาธง ครูสอนศิลปินพื้นบ้านล้านนาและนักร้อง
- สุพจน์ จันทร์เจริญ นักร้อง นักแสดง
- ศตวรรษ ดุลยวิจิตร นักแสดง
- อาจารียา พรหมพฤกษ์ นักร้อง
- ภัทรากร ตั้งศุภกุล นักแสดง
- เคนี สไตลส์ นักแสดงภาพยนตร์ผู้ใหญ่ชาวอังกฤษ
- วิทยา เลาหกุล อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทยและอดีตผู้ฝึกสอนทีมชาติไทย
- หัตฐพร สุวรรณ อดีตนักฟุตบอลทีมชาติไทย
- พรรษา มีสัตย์ธรรม อดีตผู้รักษาประตูทีมชาติไทย
- นพพร อินสีลอย (กิ่งซาง) นักมวย ครู
- สถาพร ริยะป่า (อู๋) ผู้ประกาศข่าวช่อง 8
- วีนัส นันทะชัย รองอันดับหนึ่ง Miss Thailand World 2014
- ณัฐธยาน์ ธนรณวัฒน์ นักกีฬาเหรียญทองมาราธอนกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 28
- เอ็ดดี้ ตลาดแตก ศิลปินนักร้อง
- อินสนธ์ วงสาม ศิลปินแห่งชาติ
- ทวี นันทขว้าง ศิลปินแห่งชาติ
- เรวิญานันท์ ทาเกิด (เบญ) นักแสดง
กีฬา
[แก้]- ทีมฟุตบอล สโมสรฟุตบอลลำพูน วอริเออร์ เป็นแชมป์ ไทยลีก 2 2021-2022 [5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ข้อมูลการปกครอง". ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-10. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2010.
- ↑ 2.0 2.1 "รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน พ.ศ. 2564 จังหวัดลำพูน". กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. 2021. สืบค้นเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2022.
- ↑ "เกี่ยวกับจังหวัด : ลักษณะภูมิประเทศ / ภูมิอากาศ". จังหวัดลำพูน กระทรวงมหาดไทย. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2019.
- ↑ "งานเทศกาลโคมแสนดวงที่เมืองลำพูน". avengo.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-29. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2019.
- ↑ สโมสรลำ พูนเอฟซี "สโมสรฟุตบอลลำพูน วอร์ริเออร์", วิกิพีเดีย, 2022-05-02, สืบค้นเมื่อ 2022-05-10
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เจ้าเมืองลำพูน เก็บถาวร 2011-11-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของจังหวัด
18°30′N 99°05′E / 18.5°N 99.08°E
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ จังหวัดลำพูน
- แผนที่ จาก มัลติแมป โกลบอลไกด์ หรือ กูเกิลแผนที่
- ภาพถ่ายทางอากาศ จาก เทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
- ภาพถ่ายดาวเทียม จาก วิกิแมเปีย