จังหวัดตาก
จังหวัดตาก | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Changwat Tak |
จากซ้ายไปขวา บนลงล่าง:
| |
คำขวัญ: ธรรมชาติน่ายล ภูมิพลเขื่อนใหญ่ พระเจ้าตากเกรียงไกร เมืองไม้และป่างาม | |
แผนที่ประเทศไทย จังหวัดตากเน้นสีแดง | |
ประเทศ | ไทย |
การปกครอง | |
• ผู้ว่าราชการ | ว่าง (ตั้งแต่ พ.ศ. 2567) |
พื้นที่[1] | |
• ทั้งหมด | 16,281.650 ตร.กม. (6,286.380 ตร.ไมล์) |
อันดับพื้นที่ | อันดับที่ 4 |
ประชากร (พ.ศ. 2566)[2] | |
• ทั้งหมด | 691,714 คน |
• อันดับ | อันดับที่ 38 |
• ความหนาแน่น | 42.16 คน/ตร.กม. (109.2 คน/ตร.ไมล์) |
• อันดับความหนาแน่น | อันดับที่ 76 |
รหัส ISO 3166 | TH-63 |
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด | |
• ต้นไม้ | แดง |
• ดอกไม้ | เสี้ยวดอกขาว |
• สัตว์น้ำ | ปลาตะพากส้ม |
ศาลากลางจังหวัด | |
• ที่ตั้ง | ถนนพหลโยธิน ตำบลหนองหลวง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก 63000 |
• โทรศัพท์ | 0 5551 2092 |
• โทรสาร | 0 5551 1503 |
เว็บไซต์ | http://www.tak.go.th/ |
ตาก (ไทยถิ่นเหนือ: ) เป็นจังหวัดในภาคตะวันตกหรือบางแห่งจัดอยู่ในภาคเหนือตอนล่างของไทย มีพื้นที่มากเป็นอันดับ 4 ของประเทศ และมีประชากรเบาบางเป็นอันดับ 2 ของประเทศ นับเป็นจังหวัดชายแดนที่สำคัญอีกจังหวัดหนึ่งของไทย มีประวัติศาสตร์เก่าแก่นับตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย ทั้งยังมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่งดงามหลายแห่งด้วย นอกจากนี้จังหวัดตากยังเป็นจังหวัดที่มีอาณาเขตติดต่อจังหวัดอื่น ๆ ถึง 9 จังหวัด
ประวัติศาสตร์
[แก้](คาดว่าข้อความด้านล่างนี้ถูกแก้ไขจากผู้ค้นคว้าพงศาวดารเหนือโดยไม่อาศัยแหล่งที่มาอื่น ๆ ผู้พิมพ์วงเล็บนี้จึงแนะนำว่าควรใช้ข้อมูลจากหลาย ๆ แหล่งเพื่อค้นคว้าข้อมูลที่ถูกต้อง)
เมืองตากในอดีตเป็นเมืองที่มีชาวมอญอยู่มาก่อน ดังมีหลักฐานศิลปมอญปรากฏอยู่ที่อำเภอบ้านตาก มีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ และเป็นหนึ่งในหัวเมืองที่มีอายุเกินกว่าสองพันปีขึ้นไป เมื่อมีการอพยพของชนชาติไทยจากลุ่มน้ำแยงซีตอนใต้ ลงมาตามแนวลำน้ำคง (ลำน้ำสาละวิน) มีพวกหนึ่งได้ข้ามลำน้ำสาละวิน ผ่านลุ่มน้ำเมยหรือแม่น้ำต่องยินเข้ามาทางช่องเขาด้านอำเภอแม่สอดและมาถึงบริเวณที่ปัจจุบันเรียกว่า "เมืองตาก"
ผู้นำกลุ่มคนไทยที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานที่เมืองตากในยุคนั้น ได้ตั้งตนเป็นกษัตริย์ปกครองสืบทอดต่อเนื่องกันมาจนถึงปี พ.ศ. 560 รัชสมัยพระเจ้าสักดำ ซึ่งเป็นกษัตริย์เมืองตากที่ยิ่งใหญ่มาก มีอาณาเขตที่อยู่ในอำนาจแผ่ไปจนจรดทะเลอันดามันดังมีบันทึกในพงศาวดารเหนือกล่าวว่าในรัชสมัยพระเจ้าสักดำนั้นเมืองตากมีการค้าขายกับเมืองอินเดียด้วย
เมืองตากคงจะเสื่อมลงในช่วงพุทธศตวรรษที่ 10 พระยากาฬวรรณดิสผู้เป็นกษัตริย์เมืองตากที่อพยพมาจาก ตอนใต้ของลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง ได้โยกย้ายไปสร้างราชธานีขึ้นใหม่ที่เมืองละโว้ทางตอนใต้ของเมืองตากลงไปอีก
มีบางยุคเมืองตากถูกทอดทิ้ง กลายเป็นเมืองร้างดังในพงศาวดารเหนือได้ กล่าวถึงการเสด็จทางชลมารคของพระนางจามเทวี พระราชธิดากษัตริย์ละโว้ (ระยากาฬวรรณดิส) เพื่อไปปกครองแคว้นหริภุญไชย (ลำพูน) ในราว พ.ศ. 1176 โดยทางลำน้ำปิง พระนางจามเทวีขึ้นไปสำรวจบนฝั่งแม่น้ำพบร่องรอยกำแพงเมืองเก่าๆ ถูกทิ้งร้าง จึงโปรดให้สร้างเป็นบ้านเมืองใหม่ชื่อว่า "เมืองตาก"
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 1805 ขุนสามชนเจ้าเมืองฉอดได้ยกทัพ มาประชิดเมืองตาก ซึ่งเป็นเมืองชายแดนของกรุงสุโขทัย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงจัดกองทัพออกไปรบ โดยมีพระราชโอรสองค์เล็กซึ่งมีพระชนมายุได้ 19 พรรษา ติดตามไปด้วย กองทัพ ทั้งสองฝ่ายปะทะกันที่บริเวณเชิงดอยนอกเมืองตากประมาณกิโลเมตรเศษ ราชโอรสองค์เล็กได้ทรงชนช้าง กับขุนสามชนกระทำยุทธหัตถีกัน ขุนสามชนสู้ไม่ได้แตกพ่ายไป ต่อมาภายหลังทรงพระนามว่า "พ่อขุนรามคำแหงมหาราช" และได้โปรดสร้างเจดีย์ขึ้นเป็นที่ระลึกถึงชัยชนะในการทำยุทธหัตถีครั้งนั้น องค์หนึ่งเป็นศิลปแบบสุโขทัย ซึ่งเจดีย์ยุทธหัตถีนี้อยู่ที่วัดพระบรมธาตุ อำเภอบ้านตาก ห่างจากตัวเมืองไปทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิงราว 31 กิโลเมตร
ต่อมาในแผ่นดินมหาธรรมราชา ได้ย้ายเมืองตากลงมาทางตอนใต้ตามลำน้ำปิง ไปตั้งอยู่ที่ป่ามะม่วง ฝั่งตะวันตก ของแม่น้ำปิง ซึ่งอยู่ในเขตตำบลป่ามะม่วง อำเภอเมืองตากในปัจจุบัน
เมืองตากที่ย้ายมาตั้งใหม่นี้มิใช่เมืองหน้าด่าน สำหรับป้องกันกองทัพพม่าที่จะยกเข้ามาทางด่านแม่ละเมาเท่านั้น แต่ยังเป็นเมืองที่กองทัพไทยใช้เป็นที่ชุมนุมพลในเวลาที่จะยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่อีกด้วย ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้เสด็จมาชุมนุมกองทัพที่เมืองตากนี้ทุกพระองค์
โดยเฉพาะสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ก่อนที่พระองค์จะขึ้นครองราชสมบัตินั้น พระองค์ได้รับแต่งตั้งจากสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ให้เป็นข้าหลวงเชิญท้องตราราชสีห์ ไปชำระความหัวเมืองฝ่ายเหนือและต่อมาได้รับการแต่งตั้งเป็นหลวงยกกระบัตรเมืองตาก ปลัดเมืองตาก พระยาวชิรปราการแล้วปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินโดยลำดับ
กล่าวโดยสรุป จังหวัดตากเป็นจังหวัดที่มีความเป็นมาในประวัติศาสตร์ ควรค่าแก่การสนใจ เป็นเมืองที่พระมหากษัตริย์ในอดีตได้เสด็จมาชุมนุมกองทัพที่เมืองตากนี้แล้วถึง 4 พระองค์ คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงชนช้างกับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพ ณ เมืองแครง และทรงยกทัพกลับราชอาณาจักรไทยโดยผ่านดินแดนเมืองตากเป็นแห่งแรก สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงนำทัพไปตีหัวเมืองฝ่ายเหนือ และได้สร้างวัดพระนารายณ์ที่เชิงสะพานกิตติขจรปัจจุบัน และสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเคยได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองตาก และเป็นผู้กอบกู้เอกราชของชาติไทยจากพม่า ครั้งที่ 2
ภูมิศาสตร์
[แก้]อาณาเขตติดต่อ
[แก้]ตามภูมิศาสตร์ที่ตั้ง จังหวัดตากเป็นจังหวัดที่อยู่ในภาคตะวันตก แต่การแบ่งในทางการปกครอง กรมทางหลวง กรมอุตุนิยมวิทยา และการท่องเที่ยว จะถูกจัดอยู่ในภาคเหนือตอนล่าง มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดอื่น ๆ 9 จังหวัด ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดกับ อำเภอสบเมย(จังหวัดแม่ฮ่องสอน) อำเภออมก๋อย อำเภอดอยเต่า(จังหวัดเชียงใหม่) อำเภอลี้ (จังหวัดลำพูน) อำเภอแม่พริกและอำเภอเถิน (จังหวัดลำปาง)
- ทิศตะวันออก ติดกับ อำเภอบ้านด่านลานหอย (จังหวัดสุโขทัย) อำเภอพรานกระต่าย อำเภอโกสัมพีนคร อำเภอคลองลาน อำเภอปางศิลาทอง (จังหวัดกำแพงเพชร) อำเภอแม่วงก์ (จังหวัดนครสวรรค์)และอำเภอบ้านไร่ (จังหวัดอุทัยธานี)
- ทิศใต้ ติดกับอำเภอสังขละบุรีและอำเภอทองผาภูมิ (จังหวัดกาญจนบุรี)
- ทิศตะวันตก ติดกับรัฐกะเหรี่ยง (ประเทศพม่า) โดยมีแม่น้ำสายสำคัญแบ่งเขตแดนระหว่างไทยกับพม่าคือแม่น้ำเมย
พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดเป็นป่าไม้และภูเขาสูง โดยเฉพาะพื้นที่ทางด้านตะวันตกของจังหวัด ถึงแม้จังหวัดตากจะมีพื้นที่ติดกับจังหวัดอุทัยธานีและกาญจนบุรีทางด้านทิศตะวันออกและทิศใต้ แต่ไม่มีถนนเชื่อมต่อกันโดยตรง เพราะเป็นที่ตั้งของ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร แหล่งมรดกโลกในประเทศไทย
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
[แก้]- คำขวัญประจำจังหวัด : ธรรมชาติน่ายล ภูมิพลเขื่อนใหญ่ พระเจ้าตากเกรียงไกร เมืองไม้และป่างาม
- ตราประจำจังหวัด : รูปสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงหลั่งทักษิโณทกบนคอช้าง
- ต้นไม้ประจำจังหวัด : ต้นแดง (Xylia kerrii)
- ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกเสี้ยวดอกขาว (Bauhinia variegata)
- สัตว์น้ำประจำจังหวัด : ปลาตะพากส้มหรือปลาจาด (Hypsibarbus malcolmi)
หน่วยการปกครอง
[แก้]อำเภอ
[แก้]การปกครองแบ่งออกเป็น 9 อำเภอ 63 ตำบล 493 หมู่บ้าน
เทศบาล
[แก้]
อำเภอเมืองตาก
อำเภอบ้านตาก อำเภอสามเงา |
อำเภอแม่ระมาด
อำเภอท่าสองยาง
อำเภอแม่สอด
|
อำเภอพบพระ
อำเภออุ้มผาง
อำเภอวังเจ้า |
รายนามเจ้าเมืองและผู้ว่าราชการ
[แก้]นาม | ระยะเวลา |
---|---|
1. พระยาสุจริตรักษา (อ่วม สุจริตจันทร์) | พ.ศ. 2425 - พ.ศ. 2452 |
2. พระยาสุจริตรักษา (ทองคำ อินทรสูต) | - |
3. พระยาสุจริตรักษา (เชื้อ กัลยาณมิตร) | - |
4. พระยาเทพธิบดี | - |
5. พระยาวิชิตรักษาตักศิลาบุรินทร์ | - |
6. พระยาประสาทวิริยกิจ | 1 เม.ย. 2463 - 31 มี.ค. 2467 |
7. พระยาพิชัยสุนทร | 1 เม.ย. 2468 - 12 ก.ค. 2468 |
8. พระยาวิเศษฤๅชัย | 1 เม.ย. 2469 - 21 พ.ค. 2469 |
9. พระผดุงภูมิพัฒน์ | 22 พ.ค 2469 - 31 มี.ค. 2475 |
10. พระสมัครสโมสร | 1 พ.ค. 2476 - 31 มี.ค. 2479 |
11. หลวงทรงประศาสน์ | 1 เม.ย. 2480 - 30 มี.ค. 2481 |
12. หลวงวิมลประชาภัย | 11 เม.ย. 2482 - 31 ธ.ค. 2484 |
13. หลวงสกลผดุงเขตต์ | 1 พ.ค. 2485 - 31 ธ.ค. 2487 |
14. หลวงนครคุณูปถัมภ์ | 1 พ.ค. 2488 - 31 พ.ค. 2489 |
15. ขุนสีมะสิงห์สวัสดิ์ | 1 ม.ค. 2489 - 11 ม.ย. 2492 |
16. นายนวน มีชำนาญ | 1 ม.ค. 2490 - 1 ม.ค. 2491 |
17. นายพรหม สูตรสุคนธ์ | 1 ม.ค. 2491 - 1 เม.ย. 2492 |
18. พ.ต.เล็ก ทองสุนทร | 1 เม.ย. 2492 - 20 มี.ค. 2493 |
19. นายสุวรรณ รื่นยศ | 25 เม.ย. 2493 - 30 มิ.ย. 2495 |
20. นายประกอบ ทรัพย์มณี | 1 ก.ค. 2495 - 29 มี.ค. 2499 |
21. นายสง่า ไทยานนท์ | 30 มี.ค. 2499 - 30 ก.ย. 2505 |
22. ร.ต.ท.ระดม มหาศรานนท์ | 5 ต.ค. 2505 - 31 ธ.ค. 2509 |
23. นายชุชัย สุวรรณรังษี | 13 ม.ค. 2509 - 24 ส.ค. 2516 |
24. นายดิเรก โสดสถิตย์ | 2 ต.ค. 2516 - 13 ต.ค. 2518 |
25. นายสุชาติ พัววิไล | 17 ต.ค. 2518 - 4 พ.ย. 2519 |
26. นายกุศล ศานติธรรม | 5 พ.ย. 2519 - 9 ก.พ. 2522 |
27. นายชาญ พันธุมรัตน์ | 8 ก.พ. 2522 - 3 ก.พ. 2523 |
28. นายไพทูรย์ ลิมปิทีป | 4 ก.พ. 2523 - 3 ต.ค. 2523 |
29. นายเจริญศุข ศิลาพันธุ์ | 6 ต.ค. 2523 - 30 ก.ย. 2526 |
30. นายกาจ รักษ์มณี | 1 ต.ค. 2526 - 30 ก.ย. 2528 |
31. นายสมบูรณ์ พรหมเมศร์ | 1 ต.ค. 2528 - 30 ก.ย. 2532 |
32. นายสนิทวงศ์ อุเทศนันทน์ | 1 ต.ค. 2532 - 30 ก.ย. 2534 |
33. นายจำเนียร ศศิบุตร | 1 ต.ค. 2534 - 30 ก.ย. 2536 |
34. นายเกษม นาครัตน์ | 1 ต.ค. 2536 - 30 ก.ย. 2539 |
35. นายพงศ์โพยม วาศภูติ | 1 ต.ค. 2539 - 15 เม.ย. 2541 |
36. นายฮึกหาญ โตมรศักดิ์ | 16 เม.ย. 2541 - 30 ก.ย. 2542 |
37. นายนิรัช วัจนะภูมิ | 1ต.ค. 2542 - 30 ก.ย. 2544 |
38. นายธีระบูลย์ โพบุคดี | 1 ต.ค. 2544 - 30 ก.ย. 2546 |
39. นายสวัสดิ์ ศรีสุวรรณดี | 1 ต.ค. 2546 - 30 ก.ย. 2547 |
40. นายสุวัฒน์ ตันประวัติ | 1 ต.ค. 2547 - 30 ก.ย. 2548 |
41. นายอมรพันธ์ นิมานันท์ | 1 ต.ค. 2548 - 12 พ.ย. 2549 |
42. นายชุมพร พลรักษ์ | 13 พ.ย. 2549 - 19 ต.ค. 2551 |
43. นายคมสัน เอกชัย | 20 ต.ค. 2551 - 30 ก.ย. 2552 |
44. นายสามารถ ลอยฟ้า | 1 ต.ค. 2552 - 29 ธ.ค. 2554 |
45. นายสุริยะ ประสาทบัณฑิตย์ | 24 ก.พ. 2555 - 1 มิ.ย. 2557 |
46. นายสมชัยฐ์ หทยะตันย์ติ | 2 มิ.ย. 2557 - 30 มี.ค. 2559 |
47. นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ | 22 เม.ย. 2559 - 30 ก.ย. 2562 |
48. นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ | 1 ต.ค. 2562 - 30 ก.ย. 2563 |
49. นายพงศ์รัตน์ ภิรมย์รัตน์ | 1 ต.ค. 2563 - 30 ก.ย. 2564 |
50. นายสมชัย กิจเจริญรุ่งโรจน์ | 15 ธ.ค. 2564 - 30 ก.ย. 2567 |
การศึกษา
[แก้]- ระดับอุดมศึกษา
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตตาก (มีโครงการยกฐานะเป็น มหาวิทยาลัยตากสิน)
- วิทยาลัยโพธิวิชชาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร แม่สอด
- วิทยาลัยชุมชนตาก
- วิทยาลัยนอร์ทเทิร์น
โครงการจัดตั้ง
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์แม่สอด โครงการจัดตั้งร่วมของเทศบาลนครแม่สอดและมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยการสนับสนุนทุนวิจัยขั้นต้นจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
- มหาวิทยาลัยแม่สอด โครงการจัดตั้งของเทศบาลนครแม่สอด
- สถาบันอาชีวศึกษา
- วิทยาลัยเทคนิคตาก
- วิทยาลัยเทคนิคแม่สอด
- วิทยาลัยการอาชีพบ้านตาก
- วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตาก
- โรงเรียนไฮเทค-เทคโนโลยี ตาก
- ระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา
- โรงเรียนตากพิทยาคม อำเภอเมืองตาก
- โรงเรียนผดุงปัญญา อำเภอเมืองตาก
- โรงเรียนสรรพวิทยาคม อำเภอแม่สอด
- โรงเรียนบ้านตาก"ประชาวิทยาคาร" อำเภอบ้านตาก
- โรงเรียนวังประจบวิทยาคม อำเภอเมืองตาก
- โรงเรียนวังเจ้าวิทยาคม อำเภอวังเจ้า
- โรงเรียนเทศบาลเฉลิมพระเกียรติ สมเด้จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ฯ
- โรงเรียนนาโบสถ์พิทยาคม อำเภอวังเจ้า
- โรงเรียนดงซ่อมวิทยาคม อำเภอวังเจ้า
การขนส่ง
[แก้]ระยะทางจากตัวจังหวัดไปอำเภอต่างๆ
[แก้]- อำเภอบ้านตาก 21 กิโลเมตร
- อำเภอวังเจ้า 32 กิโลเมตร
- อำเภอสามเงา 51 กิโลเมตร
- อำเภอแม่สอด 87 กิโลเมตร
- อำเภอแม่ระมาด 116 กิโลเมตร
- อำเภอพบพระ 130 กิโลเมตร
- อำเภอท่าสองยาง 165 กิโลเมตร
- อำเภออุ้มผาง 247 กิโลเมตร
สถานที่ท่องเที่ยว
[แก้]- อุทยานแห่งชาติลานสาง
- น้ำตกทีลอซู
- เจดีย์ยุทธหัตถีพ่อขุนรามคำแหง
- ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสิน
- วนอุทยานแห่งชาติเขาพระบาท
- น้ำพุร้อนแม่กาษา
- ถ้ำแม่อุสุ
- ดอยสอยมาลัย
- วัดดอนแก้ว
- ศาลเจ้าพ่อพระวอ
- เมืองเก่าท่าสองยาง
- อุทยานประวัติศาตร์เมืองตากเก่า
- น้ำพุร้อนห้วยน้ำนัก
- ไร่กุหลาบ
- วัดมงคลคีรีเขต
- พระธาตุหินกิ่วที่ดอยดินจี่
- วัดพระบรมธาตุบ้านตาก
- คอกช้างเผือก
- วัดดอยข่อยเขาแก้ว
- ศาลสมเด็จพระนเรศวร
- ศาลเจ้าพ่อขุนสามชน
- วัดชุมพลคีรี
- เนินพิศวง
- วัดพระพุทธบาทดอยโล้น
- เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร
- อุทยานแห่งชาติขุนพะวอ
- อุทยานแห่งชาติตากสินมหาราช
- อุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ
- อุทยานแห่งชาติแม่เมย
- อุทยานแห่งชาติลานสาง
- อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า
- เขื่อนภูมิพล
บุคคลที่มีชื่อเสียง
[แก้]- พระครูบัณฑิต ศาสนคุณ (ปิติคุณทิโน) อดีตเจ้าอาวาสวัดใหม่สุวรรณ
- เฉลิม พรมมาส อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (2 สมัย)
- จุมพล โพธิสุวรรณ นักหนังสือพิมพ์
- เฉลียว วัชรพุกก์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (2 สมัย) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตาก
- ชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์(ภาคเหนือ)
- ถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 10 ของประเทศไทย
- เทอดพงษ์ ไชยนันทน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและรัฐมนตรีว่าการประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นบุตรของ เทียม ไชยนันทน์ หนึ่งในผู้ก่อตั้งพรรคประชาธิปัตย์
- ธนิตพล ไชยนันทน์ กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์
- พันทิวา สินรัชตานันท์ นักร้อง
- รักษ์ ตันติสุนทร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย (ครม.53)
- สุนีย์ สินธุเดชะ นายกสภามหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า "อาจารย์แม่"
- เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนและการตลาด
- อุดร ตันติสุนทร อดีต รมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, รมช.กระทรวงมหาดไทย, วุฒิสมาชิก, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตาก 5 สมัย, สมาชิกวุฒิสภา
- อนันต์ อาศัยไพรพนา นักร้อง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
- ↑ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/pk/pk_64.pdf 2564. สืบค้น 27 กุมภาพันธ์ 2565.
ดูเพิ่ม
[แก้]แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของจังหวัด เก็บถาวร 2019-12-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน