จักรมณฑ์ ผาสุกวนิช
จักรมณฑ์ ผาสุกวนิช | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม | |
ดำรงตำแหน่ง 30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 – 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา |
ก่อนหน้า | ประเสริฐ บุญชัยสุข |
ถัดไป | อรรชกา สีบุญเรือง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | นภาสิริ ผาสุกวนิช |
จักรมณฑ์ ผาสุกวนิช กรรมการกฤษฎีกา[1] เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และเป็นอดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม อดีตประธานกรรมการธนาคารซีไอเอ็มบีไทย อดีตนายกสมาคมสโมสรนักลงทุน
ประวัติ
[แก้]จักรมณฑ์ ผาสุกวนิช เกิดเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 เป็นบุตรของนายจรูญ ผาสุกวนิช กับนางมาลี ผาสุกวนิช สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี ด้านเศรษฐศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโท ด้านเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียสเตท ประเทศสหรัฐอเมริกา
จักรมณฑ์ ผาสุกวนิช สมรสกับ นาง นภาสิริ ผาสุกวนิช กรรมการอำนวยการสมาคมสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (สกุลเดิม อนุกูลยุทธธน) มีบุตร 2 คน
การทำงาน
[แก้]จักรมณฑ์ ผาสุกวนิช เคยดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และเป็นรองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ในปี พ.ศ. 2538[2] จากนั้นได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ในปี พ.ศ. 2544[3] ในช่วงรัฐบาลพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร และย้ายไปดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในปีถัดมา[4] จากนั้นจึงได้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม หลังเกษียณอายุราชการเขาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการธนาคารซีไอเอ็มบีไทย[5] และเป็นประธานบริษัท พี.ซี.เอส.แมชีน กรุ๊ปโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)
ในทางการเมือง นายจักรมณฑ์ เคยเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับกลุ่ม กปปส. โดยขึ้นปราศัยบนเวทีเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557[6] และในปีเดียวกัน เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2544 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2541 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[9]
- พ.ศ. 2540 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/E/309/1.PDF
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน (นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช)
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน (นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน)
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือน (นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-11-25. สืบค้นเมื่อ 2014-09-12.
- ↑ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ประกาศแต่งตั้งจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช เป็นประธานกรรมการธนาคาร มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.53 เป็นต้นไป[ลิงก์เสีย]
- ↑ อดีตบิ๊กขรก.กระทรวงอุตฯขึ้นเวทีกปปส[ลิงก์เสีย]
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 32 ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2017-12-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๒, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๗, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๒ ข หน้า ๓๒๘, ๑๘ มกราคม ๒๕๔๑
ก่อนหน้า | จักรมณฑ์ ผาสุกวนิช | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ประเสริฐ บุญชัยสุข | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (30 สิงหาคม พ.ศ. 2557 - 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558) |
อรรชกา สีบุญเรือง |
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2491
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมไทย
- นักการธนาคารชาวไทย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมไทย
- นิสิตเก่าคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- นักการเมืองที่เป็นแนวร่วมกปปส.
- กรรมการกฤษฎีกาไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา