Location via proxy:   [ UP ]  
[Report a bug]   [Manage cookies]                
ข้ามไปเนื้อหา

อนุสรณ์ วงศ์วรรณ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อนุสรณ์ วงศ์วรรณ
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน
เริ่มดำรงตำแหน่ง
20 ธันวาคม พ.ศ. 2563
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคม
และความมั่นคงของมนุษย์
ดำรงตำแหน่ง
2 สิงหาคม พ.ศ. 2551 – 9 กันยายน พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช
ก่อนหน้าชวรัตน์ ชาญวีรกูล
ถัดไปอุดมเดช รัตนเสถียร
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
ดำรงตำแหน่ง
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2551
นายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช
ก่อนหน้าคุณหญิง ไขศรี ศรีอรุณ
ถัดไปสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด7 มกราคม พ.ศ. 2495 (72 ปี)
อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ประเทศไทย
พรรคการเมืองเอกภาพ (2531–2534)
สามัคคีธรรม (2535)
ชาติพัฒนา (2535–2547)
ไทยรักไทย (2547–2550)
พลังประชาชน (2550–2551)
เพื่อไทย (2556–2564)
คู่สมรสสมรศรี วงศ์วรรณ
ชื่อเล่นโอน

อนุสรณ์ วงศ์วรรณ (เกิด 7 มกราคม พ.ศ. 2495) เป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ในรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน สังกัดพรรคพลังประชาชน

ประวัติ

[แก้]

อนุสรณ์ วงศ์วรรณ เกิดมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2495 ที่อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ มีชื่อเล่นว่า ''โอน'' หรือที่นิยมเรียกกันว่า ''เสี่ยโอน''[1] เป็นบุตรชายของนายณรงค์ หรือพ่อเลี้ยงณรงค์ วงศ์วรรณ[2] (บุตรพ่อเจ้าแสน วงศ์วรรณ สืบเชื้อสายมาจากแสนเสมอใจ กับแม่เจ้าพิมพา พระญาติเจ้าหลวงเทพวงศ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่องค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์แสนซ้าย) อดีตหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม และนางอุไร หรือแม่เลี้ยงอุไร วงศ์วรรณ สำเร็จการศึกษามัธยมต้นจากโรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จ.เชียงใหม่ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จากวิทยาลัยบางแสน จ.ชลบุรี ระดับปริญญาตรีจากวิทยาลัยไวด์เนอร์ รัฐเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา และระดับปริญญาโท (ด้านวิศวกรรมอุตสาหการ) จากมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนาสเตต ประเทศสหรัฐอเมริกา

การเมือง

[แก้]

อนุสรณ์ วงศ์วรรณ เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน 4 สมัย เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี 4 กระทรวง ได้แก่ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (รัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (รัฐบาล นายชวน หลีกภัย) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช)

ในปี พ.ศ. 2551 อนุสรณ์ ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี เนื่องจากเป็นกรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน[3]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 27[4]

ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 19[5] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมากกว่าจำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพึงมีตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

ในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดในประเทศไทย พ.ศ. 2563 เขาได้รับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. เจ๊แดงคนเดิม ปั้น 'อบจ.ลำพูน
  2. "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-07. สืบค้นเมื่อ 2012-07-21.
  3. "เปิดชื่อ 109 กก.บริหาร "พปช.-ชาติไทย-มัชฌิมาฯ" ถูกยุบ-เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 5 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-18. สืบค้นเมื่อ 2011-06-10.
  4. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  5. เปิด 97 บัญชีรายชื่อเพื่อไทย 'บรรยิน'ลุ้นได้เป็นส.ส.
  6. กกต.ประกาศรับรองนายกอบจ.12 จังหวัด พร้อมส.อบจ.รวม 328 คน
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๙, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒