มาลัย หุวะนันทน์
มาลัย หุวะนันทน์ | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 19 ธันวาคม พ.ศ. 2515 – 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 | |
นายกรัฐมนตรี | จอมพลถนอม กิตติขจร |
อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | |
ดำรงตำแหน่ง 29 ธันวาคม พ.ศ. 2510 – 28 ธันวาคม พ.ศ. 2514 | |
ก่อนหน้า | บุญชนะ อัตถากร |
ถัดไป | ชุบ กาญจนประกร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 11 มกราคม พ.ศ. 2455 |
เสียชีวิต | 7 มิถุนายน พ.ศ. 2522 (67 ปี) |
คู่สมรส | ศ.คุณหญิงอุบล หุวะนันทน์ |
ศาสตราจารย์ มาลัย หุวะนันทน์ เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร อดีตสมาชิกวุฒิสภา อดีตอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์[1]
ประวัติ
[แก้]ศาสตราจารย์ มาลัย หุวะนันทน์ หรือ ศาสตราจารย์ ดร.มาลัย หุวะนันทน์ ม.ป.ช. ม.ว.ม. ท.จ.ว. จบการศึกษาระดับปริญญาเอกทางรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมิชิแกน และ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยอินเดียนา เคยร่วมขบวนการสมาชิกเสรีไทย สายสหรัฐอเมริกาเคยเป็นข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย เคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ในระหว่างปี พ.ศ. 2494 ถึงปี พ.ศ. 2495[2] ต่อมาโอนย้ายมาเป็นอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยดำรงตำแหน่งคณบดีในระหว่างปี พ.ศ. 2495 ถึงปี พ.ศ. 2499 ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นคนแรกในปี พ.ศ. 2497 และก่อตั้ง คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งโอนไปนิด้า ต่อมาในปี พ.ศ. 2509 ได้ร่วมก่อตั้งสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และได้ดำรงตำแหน่งอธิการบดี[3] ในปี พ.ศ. 2510 จนถึงปี พ.ศ. 2514 และ นายกสภาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ พ.ศ. 2515
ในปี พ.ศ. 2511 ได้ร่วมก่อตั้งพรรคสหประชาไทย และจากนั้นในปี พ.ศ. 2515 ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร (ครม.32) และเป็นประธานกรรมการการเคหะแห่งชาติคนแรก
สมรสกับ ศาสตราจารย์ คุณหญิงอุบล หุวะนันทน์ ป.ม. ท.จ. ผู้ร่วมก่อตั้งโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน อดีตประธานสภาสตรีแห่งชาติ และนายกสมาคมสตรีหลายแห่ง รวมถึงเป็น กรรมาธิการชาวไทย(คนแรก)ใน คณะกรรมาธิการว่าด้วยสถานภาพสตรีของสหประชาชาติ พ.ศ. 2515 - 2517 (UN Commission on status of women (1973))
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2513 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2508 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2512 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[6]
- พ.ศ. 2513 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[7]
- พ.ศ. 2508 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[8]
- พ.ศ. 2499 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ นิด้า จัดงานเนื่องในโอกาส 100 ปี ศ.ดร.มาลัย หุวะนันทน์
- ↑ "ทำเนียบผู้ว่าราชการการจังหวัดภูเก็ต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-20. สืบค้นเมื่อ 2014-10-27.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องแต่งตั้งอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๖, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๑๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔, ๒๓ ธันวาคม ๒๕๐๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๔๖ ง หน้า ๑๘๓๗, ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๑๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๙๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๖, ๗ ตุลาคม ๒๕๑๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๑๐๓ ง หน้า ๓๐๔๗, ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๐๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๔๕, ๒๓ มกราคม ๒๕๐๐
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2455
- บุคคลที่เสียชีวิตในปี พ.ศ. 2522
- ศาสตราจารย์
- อาจารย์คณะรัฐศาสตร์
- นักการเมืองไทย
- ข้าราชการพลเรือนชาวไทย
- สมาชิกวุฒิสภาไทยแบบแต่งตั้ง
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- พรรคสหประชาไทย
- ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต
- อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- บุคคลจากคณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- บุคคลจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากโรงเรียนอัสสัมชัญ
- สมาชิกขบวนการเสรีไทย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.จ.ว. (ฝ่ายหน้า)
- ผู้ได้รับเหรียญจักรพรรดิมาลา
- ชาวไทยในสงครามโลกครั้งที่สอง