Location via proxy:   [ UP ]  
[Report a bug]   [Manage cookies]                
ข้ามไปเนื้อหา

นิพนธ์ บุญญามณี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นิพนธ์ บุญญามณี
นิพนธ์ ในปี พ.ศ. 2562
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 5 กันยายน พ.ศ. 2565
(3 ปี 57 วัน)
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าทรงศักดิ์ ทองศรี
ถัดไปนริศ ขำนุรักษ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด22 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 (66 ปี)
อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2522–ปัจจุบัน)
คู่สมรสกัลยา บุญญามณี
บุตรสรรเพชญ บุญญามณี

นิพนธ์ บุญญามณี (เกิด 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2501) เป็นนักการเมืองและทนายความชาวไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาล ประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีตรองหัวหน้าตามภารกิจ พรรคประชาธิปัตย์ อดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา อดีตรองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบสัดส่วน รวม 8 สมัย ปัจจุบันเป็นประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สมาคมฮกเกี้ยนสงขลา

ประวัติ

[แก้]

นิพนธ์ บุญญามณี เกิดวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 ที่อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา เป็นคนไทยเชื้อสายจีนฮกเกี้ยน เป็นหลานของบุนติ่น แซ่อิ้ว (เอี้ยว) 楊文珍 ซึ่งอพยพมาจากอำเภอเจียวอัน 詔安縣จังหวัดเจียงจิว 漳州府 มณฑลฮกเกี้ยน 福建省 เป็นของบุตรเฉี้ยงและจิ้ว บุญญามณี[1]

นิพนธ์เข้ารับการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา จากโรงเรียนวัดนาทับ โรงเรียนถนนวิเชียรชม จังหวัดสงขลา ระดับเตรียมอุดมศึกษา จากโรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา ระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จบเนติบัณฑิตไทย (สำนักอบรมกฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา), ระดับปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ จาก สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) และ เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง

ด้านครอบครัว นิพนธ์สมรสกับ กัลยา บุญญามณี ปลัดเทศบาลนครสงขลา มีบุตร-ธิดา 3 คน ได้แก่ นิธิยา บุญญามณี สรรเพชญ บุญญามณี และนิธิกร บุญญามณี

ในวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2565 นายนิพนธ์ ได้พระราชทานโล่เกียรติคุณลูกที่มีความกตัญญูกตเวทีอย่างสูงต่อแม่ ประจำปี 2565 โดย สมาคมสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

การทำงาน

[แก้]

นิพนธ์ บุญญามณี เป็นสมาชิกสภาจังหวัด 2 สมัย (พ.ศ. 2528, พ.ศ. 2533) เป็นประธานสภาจังหวัดสงขลา ต่อมาได้เข้าสู่งานการเมืองระดับชาติโดยการลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสงขลา และได้รับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 หรือ 35/1 ในนามพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกตั้งเรื่อยมารวม 5 สมัย คือ 2535/1, 2535/2, 2538, 2539, 2544 และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ/สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ 3 สมัย (2548, 2550, 2554)[2] รวมทั้งสิ้นเป็น ส.ส. 8 สมัย

นิพนธ์ บุญญามณี ได้รับแต่งตั้งเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ในปี พ.ศ. 2537 เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ในปี พ.ศ. 2541 และเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี 2 ครั้งในปี พ.ศ. 2542[3] ประจำตัวพลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ และ พ.ศ. 2543 ประจำตัวบัญญัติ บรรทัดฐาน

เมื่อพรรคประชาธิปัตย์ได้มีการปรับโครงสร้างผู้บริหารพรรคใหม่ หลังการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2548 แล้ว นิพนธ์มีชื่อว่าอาจจะได้รับเลือกเป็นเลขาธิการพรรคคนใหม่ แต่นิพนธ์ก็ได้ขอถอนตัวออกไป ตำแหน่งจึงตกอยู่ที่ สุเทพ เทือกสุบรรณ และ นิพนธ์ได้รับการแต่งตั้งเป็นรองเลขาธิการพรรค

ในการประชุมวิสามัญพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ที่ประชุมได้มีมติเลือก นิพนธ์ เป็นรองเลขาธิการพรรค พร้อมกับ ศุภชัย ศรีหล้า และ นราพัฒน์ แก้วทอง[4][5]

ในการทำงานฝ่ายค้านของพรรคประชาธิปัตย์ ได้มีการจัดตั้งรัฐบาลเงาขึ้น ซึ่งนิพนธ์ ได้ทำหน้าที่เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมเงา

นิพนธ์ บุญญามณี เป็นกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ชุดที่นำโดย จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ในตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค[6]

เขาลาออกจากการเป็น ส.ส. เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2556 เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา (อบจ.สงขลา) จนกระทั่งเดือนมิถุนายน 2562 เขาได้ลาออกจากตำแหน่งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา[7] เพื่อรับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา[8]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 นิพนธ์ได้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ของพรรคประชาธิปัตย์ ในลำดับที่ 5 [9]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

ยศกองอาสารักษาดินแดน

[แก้]
นิพนธ์ บุญญามณี
รับใช้ ไทย
แผนก/สังกัดกองอาสารักษาดินแดน
ประจำการพ.ศ. 2562 – ปัจจุบัน
ชั้นยศ นายกองเอก
บังคับบัญชากองอาสารักษาดินแดน
  • พ.ศ. 2563 ว่าที่นายกองเอก นิพนธ์ บุญญามณี ได้รับพระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน เป็น นายกองเอก นิพนธ์ บุญญามณี[12]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย]กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๔๙ ก หน้า ๔๑, ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๔
  3. ราชกิจจานุเบกษา. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๙๖/๒๕๔๑ เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง, เล่ม ๑๑๕ ตอนที่ ๑๘๖ ง หน้า ๑๘๔, ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๑
  4. "นิพนธ์-ศุภชัย-นราพัฒน์"นั่งรองเลขาฯ ปชป. หลัง 3 คู่แข่งถอนตัว[ลิงก์เสีย]
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑๕๑ ง หน้า ๕๓, ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๔
  6. เปิดรายชื่อกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 39 คน
  7. ได้เป็นรัฐมนตรีแน่นอน! “นิพนธ์” ลาออก นายก อบจ. สงขลา
  8. มท.2 และ มท.3 สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์มหาดไทย นิพนธ์ ยัน ให้สอบคุณสมบัติ
  9. "เผยเซฟโซนปาร์ตี้ลิสต์ ปชป. "จุรินทร์-ชวน" นำทีม "ตั๊น" ที่ 10 เบียด "เดียร์" พร้อมใส่เฝือกหาเสียง". ผู้จัดการออนไลน์. 2023-04-04. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-06. สืบค้นเมื่อ 2023-04-06.
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
  11. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๙, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศกองอาสารักษาดินแดน, เล่ม ๑๓๗ ตอนที่ ๑๘ ข หน้า ๓, ๒ กรกฎาคม ๒๕๖๓

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]