ท่าอากาศยานนานาชาติปารีส-ชาร์ล เดอ โกล
ท่าอากาศยานปารีส-ชาร์ล เดอ โกล Paris Charles de Gaulle Airport Aéroport Paris-Charles-de-Gaulle Roissy Airport | |||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ข้อมูลสำคัญ | |||||||||||||||||||||||
การใช้งาน | สาธารณะ | ||||||||||||||||||||||
เจ้าของ | กรุ๊ปอาเดเป | ||||||||||||||||||||||
ผู้ดำเนินงาน | แปรีสแอโรพอร์ต | ||||||||||||||||||||||
พื้นที่บริการ | ปารีส, ฝรั่งเศส | ||||||||||||||||||||||
ที่ตั้ง | รัวซี-อ็อง-ฟรองซ์, ฝรั่งเศส | ||||||||||||||||||||||
เปิดใช้งาน | 8 มีนาคม ค.ศ. 1974 (50) | ||||||||||||||||||||||
ฐานการบิน | |||||||||||||||||||||||
เมืองสำคัญ | |||||||||||||||||||||||
เหนือระดับน้ำทะเล | 392 ฟุต / 119 เมตร | ||||||||||||||||||||||
พิกัด | 49°00′35″N 002°32′52″E / 49.00972°N 2.54778°E | ||||||||||||||||||||||
เว็บไซต์ | parisaeroport.fr | ||||||||||||||||||||||
ทางวิ่ง | |||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||
ลานจอดเฮลิคอปเตอร์ | |||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||
สถิติ (2022) | |||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||
ท่าอากาศยานปารีส-ชาร์ล เดอ โกล (อังกฤษ: Paris-Charles de Gaulle Airport; ฝรั่งเศส: Aéroport Paris-Charles-de-Gaulle) หรือเรียกโดยทั่วไปว่า ท่าอากาศยานรัวซี (Roissy) ตั้งอยู่ที่รัวซี-อ็อง-ฟรองซ์ ประเทศฝรั่งเศส เป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ เป็นท่าอากาศยานที่มีผู้ใช้บริการมากเป็นอันดับสามในยุโรปรองจากท่าอากาศยานอิสตันบูลและท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ และเป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดในสหภาพยุโรป โดยตั้งชื่อตามชาร์ล เดอ โกล อดีตประธานาธิบดีของฝรั่งเศส
ท่าอากาศยานชารล์ เดอ โกลเป็นฐานการบินหลักของแอร์ฟรานซ์ สายการบินประจำชาติ และเป็นเมืองสำคัญสำหรับสายการบินต้นทุนต่ำอีซี่ย์เจ็ตและบูเอลิง ท่าอากาศยานชาร์ล เดอ โกลเป็นท่าอากาศยานที่มีสายการบินให้บริการมากที่สุดในโลกด้วยสายการบินกว่า 105 สายให้บริการที่ท่าอากาศยาน[4]
รายละเอียดท่าอากาศยาน
[แก้]ท่าอากาศยานปารีส-ชารล์ เดอ โกลมีพื้นที่ประมาณ 32.38 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่สามจังหวัดและหกเทศบาล ห่างจากกรุงปารีสไปทางตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 25 กิโลเมตร โดยการเลือกสร้างท่าอากาศยานในพื้นที่นอกตัวเมืองเป็นการลดการเวนคืนที่ดินและเพิ่มโอกาสในการขยายพื้นที่ในอนาคต
การดำเนินงานของท่าอากาศยานจะอยู่ภายใต้กรุ๊ปอาเดเปผ่านแปรีสแอโรพอร์ต ซึ่งก็ดูแลการดำเนินงานของท่าอากาศยานออร์ลีย์ (ทางตอนใต้ของปารีส), ท่าอากาศยานเลอ บูร์เกต์ (ทางตะวันตกเฉียงใต้ของท่าอากาศยานชาร์ล เดอ โกล ซึ่งปัจจุบันใช้สำหรับการบินทั่วไปและการจัดงานปารีสแอร์โชว์) และท่าอากาศยานขนาดเล็กหลายแห่ง ในเขตชานเมืองของกรุงปารีส และท่าอากาศยานอื่นๆ ทั่วโลก ทั้งทางตรงและทางอ้อม[5]
อาคารผู้โดยสาร
[แก้]ท่าอากาศยานปารีส-ชารล์ เดอ โกลมีอาคารผู้โดยสาร 3 หลัง: อาคารผู้โดยสารหลังที่ 1 เป็นอาคารที่เก่าแก่ที่สุดและตั้งอยู่ตรงข้ามอาคารผู้โดยสารหลังที่ 3; อาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 ตั้งอยู่อีกฝั่งหนึ่งซึ่งมีอาคารผู้โดยสารย่อย 7 อาคาร (2เอ ถึง 2จี) เดิมทีอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 สร้างขึ้นสำหรับสายการบินแอร์ฟรานซ์โดยเฉพาะ[6] แต่ก็ได้มีการขยายอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 มากขึ้นเรื่อยๆและปัจจุบันเป็นก็มีสายการบินอื่นๆ มาใช้งานอาคารหลังที่ 2 ร่วมด้วย อาคารผู้โดยสาร 2เอ ถึง 2เอฟ เชื่อมต่อกันด้วยทางเดินยกระดับและตั้งอยู่ติดกัน มรทางกลับกันอาคารผู้โดยสาร 2G เป็นอาคารดาวเทียมที่เชื่อมต่อกันด้วยรถรับส่ง
อาคารผู้โดยสารหลังที่ 1
[แก้]อาคารผู้โดยสารหลังที่ 1 ถูกออกแบบโดยพอล อันเดร ในลักษณะอาคารคล้ายหมึกยักษ์ ประกอบด้วยอาคารผู้โดยสารกลางทรงกลม และอาคารหลังรองขนาดเล็ก 7 หลัง ที่มีประตูขึ้นเครื่อง โดยอาคารหลังรองทั้งหมดเชื่อมต่อกับอาคารกลางด้วยทางเดินใต้ดิน
อาคารผู้โดยสารกลางเป็นอาคารห้าชั้น โดยการดำเนินงานจะถูกแบ่งให้แต่ละส่วนจะอยู่ในชั้นเดียว ชั้นแรกของอาคารเป็นส่วนของการดำเนินงานด้านเทคนิค ซึ่งไม่สามารถเข้าถึงได้โดยสาธารณะ ชั้นสองจะเป็นส่วนของสถานีรถไฟรับส่งระหว่างอาคาร CDGVAL จุดเช็คอินส่วนที่ 5 และ 6 ร้านค้าและร้านอาหารต่างๆ ชั้น 3 ของอาคารจะเป็นส่วนของจุดเช็กอินหลัก จุดจอดรถแท็กซี่ ป้ายรถประจำทาง และจุดเรียกรถรับ-ส่งพิเศษ ชั้น 4 ของอาคารจะเป็นส่วนของผู้โดยสารขาออก ซึ่งมีร้านค้าปลอดภาษีและด่านควบคุมชายแดนสำหรับประตูทางออกขึ้นเครื่อง ชั้นที่ห้ามีสายพานรับสัมภาระสำหรับผู้โดยสารขาเข้า และชั้นด้านบนทั้งสี่ชั้นเป็นพื้นที่จอดรถและสำนักงานสายการบิน[7]
อาคารผู้โดยสารหลังที่ 2
[แก้]อาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 เป็นอาคารฝั่งทิศใต้ของท่าอากาศยาน โดยจะแบ่งเป็นอาคารผู้โดยสารย่อย 7 อาคาร (2เอ ถึง 2จี) อาคารผู้โดยสาร 2เอ ถึง 2เอฟ ถูกเชื่อมต่อกันด้วยทางเดิน แต่อาคารผู้โดยสาร 2จี เป็นอาคารดาวเทียม (Satellite Terminal) ซึ่งอยู่ห่างจากอาคารหลัก 800 ม. (0.5 ไมล์) โดยจะเชื่อมต่อกับอาคารผู้โดยสารหลังที่ 1, 2เอ-เอฟ และ 3 ผ่านรถบัสขนส่ง อาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 ทั้งหมดจะถูกเชื่อมต่อกับส่วนอื่นๆ ของท่าอากาศยานผ่านรถไฟรับส่งระหว่างอาคาร CDGVAL และเชื่อมต่อกับตัวเมืองปารีสผ่านรถไฟแปรีสแอร์เออแอร์รีเจียนอลเอกซ์เพรสและรถไฟความเร็วสูงเตเฌเว
การถล่มของอาครผู้โดยสาร 2อี
[แก้]ไม่นานหลังจากการเปิดตัวอาคารผู้โดยสาร 2อี ในวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2004 ส่วนหนึ่งของอาคารพังลงใกล้กับทางออกขึ้นเครื่อง อี50 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 4 คน โดยเป็นชาวจีน 2 คน คนหนึ่งเป็นชาวเช็ก อีกคนเป็นชาวเลบานอน และมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกสามคนได้รับบาดเจ็บ
อาคารผู้โดยสารหลังที่ 3
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
การใช้อาคารผู้โดยสาร
[แก้]อาคารผู้โดยสาร | สายการบิน |
---|---|
อาคารผู้โดยสารที่ 1 | วันเวิลด์ (คาเธ่ย์แปซิฟิค, กาตาร์แอร์เวย์, ศรีลังกันแอร์ไลน์), สกายทีม (เซาเดีย), สตาร์อัลไลแอนซ์ (อีเจียนแอร์ไลน์, แอร์อินเดีย, ออล นิปปอน แอร์เวย์, เอเชียนาแอร์ไลน์, ออสเตรียนแอร์ไลน์, บรัสเซลส์แอร์ไลน์, อียิปต์แอร์, อีวีเอแอร์, ล็อตโปแลนด์, ลุฟท์ฮันซ่า, สแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์, สิงคโปร์แอร์ไลน์, สวิสอินเตอร์แนชนัลแอร์ไลน์, เตอร์กิชแอร์ไลน์, ยูไนเต็ดแอร์ไลน์), แอร์ลิงกัส, แอร์มาดากัสการ์, แอร์เซเนกัล, อะโซร์สแอร์ไลน์, บัลแกเรียแอร์, ไซปรัสแอร์เวย์, เอมิเรตส์, สายการบินเอทิฮัด, ยูโรวิงส์, ฟลายวัน, ไห่หนานแอร์ไลน์, ไอซ์แลนด์แอร์, อิหร่านแอร์, คูเวตแอร์เวย์, โอมานแอร์, สกายเอกซ์เพรส |
อาคารผู้โดยสาร 2บี | วันเวิลด์ (อเมริกันแอร์ไลน์, ฟินน์แอร์, รัวยาแลร์มาร็อก, รอยัลจอร์แดเนียน), สตาร์อัลไลแอนซ์ (แอร์แคนาดา), แอร์บอลติก, แอโรสทราล, แอร์มอนเตเนโกร, แอตแลนติกแอร์เวย์, เอ็ลอัล, จอร์เจียนแอร์เวย์, นอร์วิเจียนแอร์ชัทเทิล, ทูสแอร์เวย์ |
อาคารผู้โดยสาร 2ดี | วันเวิลด์ (บริติชแอร์เวย์), สกายทีม (เช็กแอร์ไลน์), สตาร์อัลไลแอนซ์ (โครเอเชียแอร์ไลน์), แอร์แอลจีเรีย, แอร์เซอร์เบีย, แอร์ตาฮีตี นูอี, อีซี่ย์เจ็ต, อุซเบกิซสถานแอร์เวย์ |
อาคารผู้โดยสาร 2อี | วันเวิล์ด (เจแปนแอร์ไลน์), สกายทีม (อาเอโรเมฆิโก, แอร์ฟรานซ์ (ยกเว้นเส้นทางเชงเกน), ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์, เดลตาแอร์ไลน์, เคนยาแอร์เวย์, โคเรียนแอร์, มิดเดิลอีสต์แอร์ไลน์, ทารูม, เวียดนามแอร์ไลน์, เซี่ยเหมินแอร์ไลน์), สตาร์อัลไลแอนซ์ (แอร์ไชนา, เอธิโอเปียนแอร์ไลน์, การบินไทย), แอร์มอริเชียส, ไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์, กัลฟ์แอร์, ลาตัมชิลี, วิสตารา, เวสต์เจ็ต |
อาคารผู้โดยสาร 2เอฟ | สกายทีม (แอร์ฟรานซ์ (เฉพาะเส้นทางเชงเกน), อิตาแอร์เวย์, เคแอลเอ็ม) |
อาคารผู้โดยสาร 2จี | แอร์ฟรานซ์ (เฉพาะเส้นทางเชงเกน) และลักซ์แอร์ |
อาคารผู้โดยสารที่ 3 | สายการบินเช่าเหมาลำและสายการบินต้นทุนต่ำ |
การใช้อาคารผู้โดยสารในช่วงการระบาดทั่วของโควิด-19
[แก้]ในช่วงระหว่างการระบาดทั่วของโควิด-19 ท่าอากาศยานจำเป็นต้องลดการให้บริการ โดยในวันที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2020 ท่าอากาศยานประกาศว่าจะปิดอาคารผู้โดยสารหลังที่ 1 และ 3 เป็นการชั่วคราว โดยจะย้ายเที่ยวบินทั้งหมดไปยังอาคารผู้โดยสาร 2 และยังได้ทำการปิดอาคารผู้โดยสาร 2ดี ในช่วงเริ่มต้นของการแพร่ระบาด สายการบินที่ให้บริการถูกแบ่งกลุ่มตามพันธมิตร: กลุ่มสายการบินสตาร์อัลไลแอนซ์ จะดำเนินการที่อาคารผู้โดยสาร 2เอ ซึ่งมีแอร์แคนาดาและเอธิโอเปียนดำเนินการแต่เดิม กลุ่มสายการบินวันเวิล์ดได้ย้ายการดำเนินงานไปยังอาคารผู้โดยสาร 2ซี และกลุ่มสายการบินสกายทีมจะใช้งานอาคารผู้โดยสาร 2อี และ 2เอฟ ต่อมาระหว่างเดือนธันวาคม ค.ศ. 2020 ถึงมิถุนายน ค.ศ. 2021 มีเพียงอาคารผู้โดยสาร 2อี และ 2เอฟ เท่านั้นที่เปิดให้บริการ โดยเที่ยวบินนอกพื้นที่เชงเกนจะให้บริการที่อาคารผู้โดยสาร 2อี และเที่ยวบินเชงเกนจะให้บริการที่อาคารผู้โดยสาร 2เอฟ อาคารผู้โดยสารที่ 2 หลังอื่นๆ ก็ไดเริ่มเปิดให้บริการต่อมา แต่เนื่องด้วยข้อจำกัดด้านความจุของอาคารผู้โดยสาร 2เอ ทางท่าอากาศยานจึงได้เปิดให้บริการอาคารผู้โดยสาร 3 อีกครั้งในวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 สำหรับสายการบินเช่าเหมาลำและสายการบินต้นทุนต่ำทั้งหมด[8] ณ ขณะนั้น อาคารผู้โดยสารหลังที่ 1 ยังคงปิดปรับปรุงอยู่ จนได้เปิดให้บริการอีกครั้งในวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 2022 เพื่อกระจายการบริการจากอาคารผู้โดยสารที่ 2[9]
รัวซีโพล
[แก้]รัวซีโพลเป็นกลุ่มอาคารในพพื้นที่ของท่าอากาศยานชาร์ล เดอ โกลที่ประกอบด้วยอาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โรงแรม และสถานีขนส่งสาธารณะ สถานที่สำคัญ ได้แก่ อาคารสำนักงานใหญ่ของสายการบินแอร์ฟรานซ์,[10] คอนติเนนตัลสแควร์,[11] โรงแรมฮิลตันปารีสชาร์ลเดอโกลล์แอร์พอร์ต[12] และอาคารเลอโดม ในอาคารเลอโดมเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของแอร์ฟรานซ์คอนเซาล์ทติง ภายในคอนติเนนตัลสแควร์เป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของเซอร์แวร์ และศูนย์วัคซีนแอร์ฟรานซ์
รายชื่อสายการบิน
[แก้]เส้นทางการบินที่ให้บริการในปัจจุบัน
[แก้]ณ เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2023 ท่าอากาศยานปารีส-ชาร์ล เดอ โกลมีสายการบินที่ให้บริการเส้นทางดังนี้:
เที่ยวบินขนส่งสินค้า (คาร์โก)
[แก้]อุบัติเหตุและอุบัติการณ์
[แก้]- ในวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1993 ขณะลงจอดจากเส้นทางเบรเมินไปยังปารีส เครื่องบินแดช 8-300ในลุฟท์ฮันซ่าซิตีไลน์ เที่ยวบินที่ 5634 พุ่งชนเข้ากับพื้นดินห่างจากทางวิ่งของท่าอากาศยานชาร์ล เดอ โกลไป 1,800 เมตร (5,900 ฟุต) ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 4 คน อุบัติเหตุในครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากที่นักบินได้ทำการยกเลิกการลงจอดหลังจากที่ยางล้อลงจอดเครื่องบินโบอิง 747 ของโคเรียนแอร์ได้ระเบิดขณะลงจอดจนท่าอากาศยานต้องทำการปิดทางวิ่ง
- ในวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 2000 เครื่องบินคองคอร์ดของแอร์ฟรานซ์ เที่ยวบินที่ 4590 เที่ยวบินเช่าเหมาลำจากปารีสไปยังท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดี ได้ตกลงสู่อาคารโรงแรมเล เรอเล เบลอส์ ส่งผลให้ทุกคนบนเครื่องและอีกสี่คนบนพื้นดินเสียชีวิต ขณะทำการขึ้นบิน ล้อลงจอดของคองคอร์ดได้ชนกับชิ้นส่วนจากฝาครอบเครื่องยนต์บนแมคดอนเนลล์ ดักลาส ดีซี-10-30 ของคอนติเนนตัลแอร์ไลน์ที่ขึ้นบินก่อนหน้า จนยางล้อของคองคอร์ดฉีกขาดและพุ่งเข้าชนกับถังเชื้อเพลิงของเครื่องจนเสียหาย เกิดเชื้อเพลิงรั่วไหลและเกิดเพลิงไหม้
- ในวันที่ 25 พฤษภาคม ค.ศ. 2001 เครื่องบินขนส่งสินค้าชอร์ต 360 ของสตรีมไลน์ เที่ยวบินที่ 200 ในเส้นทางลอนดอน-ลูตันไปยังปารีส ชนเข้ากับแมคดอนเนลล์ดักลาส เอ็มดี-83 ของแอร์ลิเบอร์เต้ เที่ยวบินที่ 8807 จากเหตุการณ์นี้ มีเพียงนักบินผู้ช่วยบนเครื่อง 360 เท่านั้นที่เสียชีวิต
สถิติ
[แก้]ปี | ผู้โดยสาร |
---|---|
2022 | 57,474,033 (+119.4%) |
2021 | 26,196,575 (+17.7%) |
2020 | 22,257,469 (-70.8%) |
2019 | 76,150,007 (+5.4%) |
2018 | 72,229,723 (+4%) |
2017 | 69,471,442 (+5.4%) |
2016 | 65,933,145 (+0.3%) |
2015 | 65,766,986 (+3.1%) |
2014 | 63,813,756 (+2.8%) |
2013 | 62,052,917 (+0.7%) |
2012 | 61,611,934 (+1%) |
2011 | 60,970,551 (+4.8%) |
2010 | 58,167,062 (+0.5%) |
2009 | 57,906,866 (−4.3%) |
2008 | 60,874,681 (+1.5%) |
อันดับ | ท่าอากาศยาน | จำนวนผู้โดยสาร | ความเปลี่ยนแปลง % |
---|---|---|---|
1 | นิส-โกตดาซูร์ | 374,820 | 33.6 |
2 | ตูลูซ-บลานัค | 262,822 | 47.6 |
3 | มาร์แซย์-พรอว็องส์ | 198,312 | 41.7 |
4 | บอร์กโด-เมรินยัค | 148,430 | 55.0 |
5 | เรอูว์นียง-โรลังด์ การ์รอส | 129,135 | 31.8 |
6 | มงต์เปอลิเยร์-เมดิเตอรานี | 107,829 | 49.4 |
7 | ลียง-แซ็งเตก-ซูเปรี | 102,055 | 63.5 |
8 | น็องต์-แอตแลนติค | 91,057 | 60.6 |
9 | เบรสต์-เบรอตาญ | 67,546 | 48.9 |
10 | บิอาริตซ์-เปส์บาสก์ | 59,024 | 55.7 |
อันดับ | ท่าอากาศยาน | จำนวนผู้โดยสาร | ความเปลี่ยนแปลง % |
---|---|---|---|
1 | อัมสเตอร์ดัม | 242,828 | 61.0 |
2 | ลอนดอน-ฮีทโธร์ว | 186,597 | 70.5 |
3 | โรม-ฟีฮุมีชีโน | 174,089 | 73.3 |
4 | บาร์เซโลนา-เอลแปรต | 174,088 | 75.3 |
5 | อิสตันบูล | 151,645 | 59.0 |
6 | แฟรงก์เฟิร์ต | 151,374 | 72.4 |
7 | ลิสบอน | 148,383 | 57.1 |
8 | มาดริด-บาราฆัส | 146,822 | 73.8 |
9 | มิลาน-มัลเปนซา | 143,117 | 76.6 |
10 | เอเธนส์ | 113,546 | 60.5 |
อันดับ | ท่าอากาศยาน | จำนวนผู้โดยสาร | ความเปลี่ยนแปลง % |
---|---|---|---|
1 | ดูไบ-นานาชาติ | 208,847 | 64.4 |
2 | มอนทรีออล-ทรูโด | 176,719 | 71.7 |
3 | นิวยอร์ก-เจเอฟเค | 167,430 | 79.5 |
4 | โดฮา | 116,097 | 68.2 |
5 | ดาการ์ | 109,803 | 48.9 |
6 | ตูนิส | 105,392 | 57.1 |
7 | แอตแลนตา | 105,000 | 75.0 |
8 | แอลเจียร์ | 98,603 | 76.8 |
9 | ลอสแอนเจลิส | 95,538 | 82.0 |
10 | กาซาบล็องกา | 94,622 | 66.3 |
การคมนาคมที่เกี่ยวข้องกับอากาศยาน
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ LFPG – PARIS CHARLES DE GAULLE (PDF). AIP from French Service d'information aéronautique, effective 04 June 2009.
- ↑ "Trafic de Paris Aéroport en hausse de 1,8 % en 2016, à 97,2 millions de passagers" (PDF) (ภาษาฝรั่งเศส). Aéroports de Paris SA. 12 January 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 16 January 2017. สืบค้นเมื่อ 13 January 2017.
- ↑ "Preliminary world airport traffic rankings released". aci.aero. 13 March 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-17. สืบค้นเมื่อ 31 August 2019.
- ↑ Free, Family Flys (2020-06-04). "Which Airport Serves The Most Airlines?". TravelUpdate (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "Our airports network". www.parisaeroport.fr (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "History". Charles de Gaulle Airport (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "Paris Airport Terminals | Charles de Gaulle Airport (CDG)". Paris International Airport (CDG) Charles de Gaulle (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ "Terminal 3 at Paris-CDG airport reopens". Grand Roissy Tourisme (ภาษาอังกฤษ). 2022-05-09.
- ↑ "Paris-Charles De Gaulle Airport Terminal 1 Reopens With A New Look". Travel and Leisure Asia | India (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-12-05.
- ↑ "AIR FRANCE HEAD QUARTERS – ROISSYPOLE." เก็บถาวร 2011-07-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Groupement d'Etudes et de Méthodes d'Ordonnancement (GEMO). Retrieved on 20 September 2009.
- ↑ "Continental Square เก็บถาวร 2003-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Archived 4 October 2003 at the Wayback Machine." Seifert Architects. Retrieved on 21 June 2010.
- ↑ "Hilton Paris Charles De Gaulle Airport." Hilton Hotels. Retrieved on 21 June 2010.
- ↑ "flights from cork to paris". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-13. สืบค้นเมื่อ 13 January 2023.
- ↑ "AIR CAIRO 4Q22 FRANCE / ITALY NETWORK ADDITIONS". aeroroutes.com. 12 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-10.
- ↑ Dit, Glurps (7 July 2021). "Air Canada rebâtit son réseau long-courrier | Air Journal". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-26.
- ↑ "Air France Resumes Dar es Salaam Service in June 2023". Aeroroutes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-30. สืบค้นเมื่อ 30 November 2022.
- ↑ "Air France Moves Hong Kong Service Resumption to Dec 2022". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-04. สืบค้นเมื่อ 25 August 2022.
- ↑ "Air France suspends flights to Ukraine".
- ↑ "This winter, Air France will launch a non-stop service from Paris-Charles de Gaulle to New York-Newark Liberty (EWR), in addition to its service to/From New York-John F. Kennedy (JFK)". Air France (Press release). Paris: Air France–KLM. 28 July 2022.
- ↑ "Air France Schedules Ottawa Late-June 2023 Launch". AeroRoutes. 3 February 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-03. สืบค้นเมื่อ 3 February 2023.
- ↑ 21.0 21.1 "Air France sets course for Salzburg and Innsbruck". 15 September 2022.
- ↑ 22.0 22.1 "AIR FRANCE EXPANDS SCANDINAVIA NETWORK FROM DEC 2022". Aeroroutes. 21 July 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-21. สืบค้นเมื่อ 21 July 2022.
- ↑ "Air Montenegro to launch three new routes". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-31.
- ↑ "Air Nostrum NS23 Palma de Mallorca Charter Network Additions".
- ↑ "Air Tahiti Nui extends Seattle service into NW23". aeroroutes.com. January 16, 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-21.
- ↑ "American Airlines NS23 Intercontinental Network Changes - 10DEC22". AeroRoutes. 11 December 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-26. สืบค้นเมื่อ 17 December 2022.
- ↑ https://engine.aurigny.com/prod/VARS/public/b/flightCal.aspx
- ↑ "News for Airlines, Airports and the Aviation Industry | CAPA".
- ↑ "SATA reliera Ponta Delgada à Paris et Londres | Air Journal". Air Journal. 9 December 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-26.
- ↑ Blancmont, Thierry (13 July 2021). "Cathay Pacific va de nouveau relier Hong Kong à Paris". AirJournal (ภาษาฝรั่งเศส). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-26.
- ↑ 31.0 31.1 "Corendon Schedules Regular Service to Paris in 3Q22".
- ↑ "Cyprus Airways to launch services to Paris and Rome". World Airline News. 2022-11-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-29. สืบค้นเมื่อ 2023-02-17.
- ↑ Seet, Charlotte (23 September 2022). "Gatwick & Geneva: Delta Air Lines Adds 9 New Transatlantic Routes For 2023". Simple Flying. London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-18.
- ↑ "Infos de l'aérien : Cyprus Airways, Air Corsica, ITA Airways, Resaneo, Air France-KLM, Emirates, etc".
- ↑ "EasyJet adds three routes to UK winter schedule".
- ↑ "Home". easyjet.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-16. สืบค้นเมื่อ 19 July 2022.
- ↑ "FLYONE | Cheap flights from Chisinau". flyone.eu. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-15.
- ↑ "The Network". ITA Airways. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-04-08. สืบค้นเมื่อ 19 July 2022.
- ↑ Lynch Baldwin, Sarah (March 7, 2023). "JetBlue announces direct flights between New York and Paris will begin June 29". CBS News. New York: Paramount Global. สืบค้นเมื่อ March 7, 2023.
- ↑ "News for Airlines, Airports and the Aviation Industry | CAPA".
- ↑ "Norse Atlantic Airways unveils new route from New York to Paris". businesswire. November 29, 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-12-09. สืบค้นเมื่อ November 29, 2022.
- ↑ "Norwegian åpner nye direkteruter fra Trondheim og Stavanger". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-26.
- ↑ "NOUVELAIR TUNISIE NS23 NETWORK ADDITIONS". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-13.
- ↑ "PEGASUS NS23 INTERNATIONAL SERVICE ADJUSTMENTS – 28FEB23".
- ↑ "Route Map". flyplay.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-28.
- ↑ "Royal Air Maroc Adds Marrakech – Paris CDG Service in NW22".
- ↑ "ROYAL AIR MAROC ADDS OUJDA – PARIS CDG ROUTE IN NS23".
- ↑ "Rwandair Schedules late-June 2023 Paris Launch". Aeroroutes. สืบค้นเมื่อ 14 April 2023.
- ↑ "Αεροπορικά Εισιτήρια". SKY express. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-02-04.
- ↑ "SriLankan Airlines va faire son retour à Paris". Air Journal (ภาษาฝรั่งเศส). 7 September 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-26.
- ↑ Casey, David. "SunExpress Schedules New Summer Routes". Routesonline. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-11-28. สืบค้นเมื่อ 19 January 2022.
- ↑ "TUS adds new destinations from Cyprus". 2 March 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-26.
- ↑ "Vueling NS23 network additions – 08Mar23". Aeroroutes. 9 March 2023.
- ↑ "WestJet Plans Big European Network Changes Next Summer". 5 December 2022.
- ↑ "AirBridgeCargo Airlines – ABC in Europe".
- ↑ afklcargo.com – Network เก็บถาวร 2023-03-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน retrieved 6 November 2021
- ↑ "Network". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-01-29. สืบค้นเมื่อ 1 February 2022.
- ↑ aslairlines.fr – Cargo network retrieved 6 November 2021
- ↑ cathaypacificcargo.com – Check Flight Schedule retrieved 6 November 2021
- ↑ ckair.com – Cargo Network International retrieved 6 November 2021
- ↑ Scheduled flights. CMA CGM https://www.cma-cgm.com/products-services/air-cargo. สืบค้นเมื่อ 1 March 2023.
{{cite web}}
:|title=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help) - ↑ "Emirates SkyCargo route map" (PDF). Emirates. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-04. สืบค้นเมื่อ 13 January 2019.
- ↑ "FedEx Express expands Asia-Europe connections". 13 June 2022.
- ↑ "FedEx Express expands air network with launch of new Japan-Europe flight path". 8 October 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-28.
- ↑ cargo.koreanair.com – Schedule retrieved 6 November 2021
- ↑ "MNG schedule". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-02. สืบค้นเมื่อ 2013-07-31.
- ↑ turkishcargo.com – Flight Schedule เก็บถาวร 2021-10-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน retrieved 6 November 2021
- ↑ "Passenger numbers". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 October 2014. สืบค้นเมื่อ 12 January 2019.
- ↑ "2019 full year traffic" (ภาษาอังกฤษ). 14 January 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-07.
- ↑ 70.0 70.1 70.2 "Air passenger transport between the main airports of France and their main partner airports (routes data)". Eurostat. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-26. สืบค้นเมื่อ 6 December 2021.