Location via proxy:   [ UP ]  
[Report a bug]   [Manage cookies]                
ข้ามไปเนื้อหา

ธงชาติลีชเทินชไตน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ธงชาติลิกเตนสไตน์)
ลีชเทินชไตน์
การใช้ธงพลเรือน และ ธงราชการ
สัดส่วนธง3:5
ประกาศใช้ตุลาคม ค.ศ. 1921
(แก้ไขเพิ่มเติม 24 มิถุนายน ค.ศ. 1937)
ลักษณะธงสองสี พื้นสีน้ำเงินและสีแดง แบ่งครึ่งตามแนวนอน มุมบนด้านคันธงมีรูปมงกุฎ

ธงชาติลีชเทินชไตน์ เป็นธงสองสี คือสีน้ำเงินและสีแดง แบ่งครึ่งตามแนวนอน มุมบนด้านคันธงมีรูปมงกุฎ สีน้ำเงินแทนท้องฟ้า สีแดงแทน "ไฟในตอนเย็น" ที่มีการจุดทั่วไปในบ้านเรือน[1] ส่วนมงกุฎแทน "ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของประชาชนและองค์พระประมุข" สีของมงกุฎยังไม่เป็นที่แน่ชัด โดย เดอะเวิลด์แฟกต์บุ๊ก และรอยเตอร์สระบุว่าเป็นสีทอง[2][3] ในขณะที่แหล่งอื่น เช่น สารานุกรมบริตานิการะบุว่าเป็นสีเหลือง[1][4]

ลีชเทินชไตน์ได้รับการสถาปนาในปี ค.ศ. 1719 ในฐานะราชรัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และได้รับเอกราชในปี ค.ศ. 1866[5] ในช่วงเวลาดังกล่าวมีการเลือกสีน้ำเงินและสีแดงมาประกอบธง ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1921 รัฐธรรมนูญของลีชเทินชไตน์ประกาศใช้ธงนี้อย่างเป็นทางการ[1] ต่อมาในปี ค.ศ. 1936 ระหว่างการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในปีนั้น รัฐบาลลีชเทินชไตน์พบว่าธงชาติของตนคล้ายกับธงชาติเฮติ จึงเสนอให้มีการเพิ่มรูปมงกุฎที่มุมบนด้านคันธง[1][2][3] ธงรูปแบบดังกล่าวประกาศใช้เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 1937[4]

แบบธง

ธงในอดีต

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Smith, Whitney (July 17, 2013). "Flag of Liechtenstein". Encyclopedia Britannica. Encyclopedia Britannica, Inc. สืบค้นเมื่อ June 26, 2014.
  2. 2.0 2.1 "Liechtenstein". The World Factbook. CIA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-01. สืบค้นเมื่อ June 26, 2014.
  3. 3.0 3.1 Rainey, Venetia (July 24, 2012). "Flag bearing: a potted history". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-05. สืบค้นเมื่อ June 26, 2014.
  4. 4.0 4.1 Kindersley, Dorling (November 3, 2008). Complete Flags of the World. Dorling Kindersley Ltd. p. 148. สืบค้นเมื่อ June 26, 2014.
  5. "Liechtenstein profile". BBC News. BBC. สืบค้นเมื่อ June 26, 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ธงชาติลีชเทินชไตน์