ธงชาติเซอร์เบีย
Државна застава / Državna zastava | |
การใช้ | ธงชาติ |
---|---|
สัดส่วนธง | 2:3 |
ประกาศใช้ | ค.ศ. 1882 (ธงชาติราชอาณาจักรเซอร์เบีย) ค.ศ. 2004 (นำมาใช้ใหม่) ค.ศ. 2010 (ทำให้เป็นมาตรฐาน) |
ลักษณะ | ธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า แบ่งสามแถบแนวนอน สีแดง-น้ำเงิน-ขาว มีตราอาร์มน้อยของเซอร์เบีย |
Народна застава / Narodna zastava | |
การใช้ | ธงพลเรือน |
สัดส่วนธง | 2:3 |
ประกาศใช้ | ค.ศ. 1835 (ธงชาติราชรัฐเซอร์เบีย) ค.ศ. 1992 (นำมาใช้ใหม่) ค.ศ. 2004 (ทำให้เป็นมาตรฐาน) |
ลักษณะ | ธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า แบ่งสามแถบแนวนอน สีแดง-น้ำเงิน-ขาว |
ธงชาติเซอร์เบีย (เซอร์เบีย: Застава Србије, อักษรโรมัน: Zastava Srbije) มีอีกชื่อว่า โตรบอยกา (เซอร์เบีย: тробојка, อักษรโรมัน: trobojka) เป็นธงสามสี (tricolour flag) ที่แบ่งภายในเป็นแถบแนวนอน 3 ริ้ว โดยสีแดงอยู่บนสุด สีน้ำเงินอยู่กลาง และสีขาวอยู่ล่าง ส่วนธงสามสีแบบเดียวกันอีกแบบใช้เป็นธงประจำรัฐของเซอร์เบียและชนชาติเซิร์บมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 ธงรูปแบบปัจจุบันนำมาใช้งานใน ค.ศ. 2004 และมีการปรับเปลี่ยนเล็กน้อยใน ค.ศ. 2010[1]
แบบธง
[แก้]ธงที่ใช้ในราชการนั้นจะมีรูปตราอาร์มแผ่นดินอย่างย่อของเซอร์เบียอยู่ตรงกลาง โดยตำแหน่งของตรานั้นจะห่างจากด้านซ้ายของธง 1 ใน 7 ส่วนของความยาวธง[2] ธงชาติเซอร์เบียมีลักษณะกว้าง 2 ส่วน ยาว 3 ส่วน ความกว้างของแต่ละแถบสีทั้งสามแถบเป็น 1 ใน 3 ของความกว้างทั้งหมด โดยใช้ค่าสีแต่ละสีตามคำแนะนำ (ไม่มีการระบุสีขาวและดำลงใน Pantone) ดังนี้:[3]
ระบบสี | แดง | Purpure α | น้ำเงิน | ขาว | เหลือง | ดำ |
---|---|---|---|---|---|---|
Pantone | 1797C | 704C | 541C | White | 143C | Black |
CMYK | 0-73-69-22 | 0-90-70-30 | 90-46-0-53 | 0-0-0-0 | 4-24-95-0 | 0-0-0-100 |
RGB | 199-54-61 | 161-45-46 | 12-64-119 | 255-255-255 | 237-185-45 | 0-0-0 |
เลขฐานสิบหก | #C7363D | #A12D2E | #0C4077 | #FFFFFF | #EDB92E | #000000 |
^α ใช้เฉพาะในตราอาร์มใหญ่ เหมือนในธงประจำตำแหน่งประธานาธิบดี
ธงในราชการของรัฐบาล
[แก้]-
ธงประจำตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเซอร์เบีย
-
ธงประจำตำแหน่งประธานรัฐสภาแห่งสาธารณรัฐเซอร์เบีย
ประวัติ
[แก้]ยุคกลาง
[แก้]ธงของกษัตริย์วลาดิสลาฟ
[แก้]คำบรรยายลักษณะธงของเซอร์เบียที่เก่าแก่ที่สุดปรากฏอยู่ในเอกสารคำพรรณาว่าด้วยทรัพย์สมบัติของกษัตริย์สเตฟาน วลาดิสลาฟ ซึ่งได้ถูกเก็บรักษาไว้ที่สาธารณรัฐดูรอฟนิก[4] ในเอกสารดังกล่าวได้ระบุถึงธงอย่างหนึ่งด้วยภาษาละตินว่า vexillum unum de zendato rubeo et blavo หมายถึง "ธงซึ่งทำด้วยผ้าสีแดงและสีน้ำเงินผืนหนึ่ง"[5] อย่างไรก็ตามข้อมูลดังกล่าวนี้ไม่สามารถบอกได้ว่ารายละเอียดของธงนี้เป็นอย่างไร มีการจัดเรียงแถบสีอย่างไรกันแน่ รูปธงสีแดง-น้ำเงินซึ่งได้แสดงตัวอย่างไว้ในบทความนี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของธงดังกล่าวซึ่งมักมีการใช้ประดับเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของเซอร์เบียในยุคกลาง[6] สำหรับอายุของการใช้ธงนั้น แม้ว่ากษัตริย์วลาดิสลาฟจะทรงครองราชย์ระหว่าง ค.ศ. 1234–1243 และสวรรคตในปี ค.ศ. 1264 แต่การใช้ธงดังกล่าวน่าจะมีมาก่อนนั้น โดยประมาณว่าไม่เกินช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13
ธงของซาร์ดูซาน
[แก้]ภาพวาดธงของเซอร์เบียที่เก่าที่สุดเท่าที่มีการค้นพบปรากฏอยู่ในแผนที่ในปี ค.ศ. 1339 ของแองเจลิโน ดุลเซิร์ท (Angelino Dulcert) นักวาดแผนที่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 ชาวสเปน ในแผนที่ดังกล่าวได้ปรากฏรูปธงของดินแดนต่าง ๆ จำนวนหนึ่ง ซึ่งรูปธงของเซอร์เบียในแผนที่ดังกล่าวปรากฏอยู่เหนือจุดบอกตำแหน่งเมืองสโกเปีย (ระบุชื่อในแผนที่ Skopi) โดยมีชื่อประเทศเซอร์เบีย (Seruja) กำกับไว้ที่ด้านต้นของธง รูปของธงนั้นแสดงด้วยรูปนกอินทรีสองหัวสีแดงบนพื้นธงสีเหลือง[7]
ยุคแห่งการลุกขึ้นสู้ครั้งแรกของชาวเซิร์บ
[แก้]ในยุคแห่งการลุกขึ้นสู้ครั้งแรกของชาวเซิร์บ[8] ได้ปรากฏการใช้ธงต่าง ๆ เป็นสัญลักษณ์ในการรบอย่างหลากหลาย ท่ามกลางธงเหล่านี้ มีอยู่ธงหนึ่งที่มีความเกี่ยวโยงมาถึงธงชาติเซอร์เบียยุคปัจจุบัน ได้แก่ ธงของมาเตยา เนนาโดวิช (Mateja Nenadović) อาร์คบิชอปชาวเซิร์บซึ่งเป็นผู้นำสำคัญคนหนึ่งในการลุกขึ้นสู้ครั้งนั้น ธงดังกล่าวนั้นเป็นธงสีขาว-แดง-น้ำเงิน ภายในธงมีรูปกางเขน 3 รูป[9] บรรดากองทัพที่เข้าร่วมในการลุกขึ้นสู้ครั้งนั้น โดยทั่วไปจะใช้ธงสีเหลืองมีรูปเครื่องหมายต่าง ๆ เป็นสัญลักษณ์ ส่วนธงของวอยโวดต่าง ๆ (voivode - ชื่อเขตการปกครองเทียบเท่าระดับมณฑลหรือจังหวัดของรัฐในคาบสมุทรบอลข่าน) มักจะใช้ธงสีแดง-ขาว ทำด้วยผ้าไหม มีรูปเครื่องหมายนกอินทรีสองหัวตามแบบตราอาร์มของรัสเซีย ธงเหล่านี้อาจใช้พื้นสีเป็นสีอื่น ๆ ได้เช่นกัน เช่น แดง-เหลือง, แดง-ขาว-น้ำเงิน, และ แดง-น้ำเงิน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสีของตราสัญลักษณ์ที่หน่วยการปกครองของตนเองใช้อยู่ สัญลักษณ์ที่มักปรากฏในธงยุคนี้บ่อยที่สุดได้แก่กางเขนเซอร์เบีย รองลงมาคือตราอาร์มของดินแดนทรีบัลเลีย (Tribalia) และกางเขนรูปแบบอื่น ๆ[10]
-
ธงในช่วงต้น ค.ศ. 1804
-
ธงของกองทัพที่เข้าร่วมการลุกขึ้นสู้ ค.ศ. 1809
-
ธงของเซอร์เบียชนิดหนึ่ง ค.ศ. 1807 (ภาพจำลอง)
-
ธงของวอยโวดแห่งหนึ่ง ค.ศ. 1811
ธงสมัยใหม่
[แก้]รัฐธรรมนูญเซอร์เบียในปี ค.ศ. 1835 ได้ระบุถึงลักษณะของธงชาติเซอร์เบียว่าเป็นธงสามสีแบบแนวนอน มีแถบสีแดง สีขาว และสีน้ำเงินเข้ม (ในต้นฉบับใช้คำว่า čelikasto-ugasita ซึ่งหมายถึงสีน้ำเงินเข้มจนเกือบดำ) รัฐธรรมนูญดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากรัสเซีย และแบบธงดังกล่าวเองก็ถูกมองว่าเป็นการจงใจเลือกให้พ้องกับธงรัฐบาลปฏิวัติของฝรั่งเศส (ในปี ค.ศ. 1835 ฝรั่งเศสอยู่ในยุคของราชวงศ์บูร์บงฟื้นฟู ใช้ธงสีขาวเป็นสัญลักษณ์) [11] หลังจากนั้นไม่นาน จักรวรรดิออตโตมันจึงได้เรียกร้องให้ มิโลส ออร์เบโนวิกที่ 1 เจ้าผู้ครองราชรัฐเซอร์เบีย ให้ร่างรัฐธรรมนุญใหม่โดยมีบทบัญญัติว่าด้วยธงชาติและตราแผ่นดิน[12] และหลังจากนั้นไม่นาน จึงได้มีราชโองการของจักรพรรดิแห่งออตโตมันในปีนั้น อนุญาตให้ชาวเซิร์บสามารถใช้ธงเดินเรือทะเลของตนเองได้ โดยธงดังกล่าวเป็นธงสามสี เรียงแถบสีแดงอยู่บน สีน้ำเงินอยู่กลาง และสีขาวอยู่ล่าง[13] นับได้ว่าเป็นการปรากฏขึ้นครั้งแรกของแถบสีธงที่กลายเป็นธงชาติเซอร์เบียปัจจุบัน[14]
แถบสีธงดังกล่าวนั้นเป็นการเรียงแถบสีกลับกันกับธงชาติรัสเซียอย่างชัดเจน เรื่องเล่าต่าง ๆ ของชาวเซอร์เบียหลายเรื่องที่ยังคงอยู่ถึงทุกวันนี้ส่วนหนึ่งมักเป็นเรื่องของสาเหตุที่แถบสีธงเซอร์เบียสลับกับธงรัสเซีย ยกตัวอย่างเช่น[15]
“ | ในยุคของคาราดอร์เด เปโตรวิช (ผู้นำสำคัญในการลุกขึ้นสู้ของชาวเซิร์บ) คณะผู้แทนของเซอร์เบียได้เดินทางไปยังรัสเซียเพื่อขอความช่วยเหลือ และเมื่อพวกเขาเดินทางกลับมายังเซอร์เบียจึงได้มีการเฉลิมฉลองขึ้น เมื่อคณะผู้แทนถูกถามว่าทำไมจึงไม่ร่วมขบวนพาเหรดด้วย พวกเขาจึงรีบเข้าร่วมขบวนพร้อมกับเอาธงชาติรัสเซียกลับหัว ชาวเซิร์บจึงตระหนักว่าพวกเขามีธงชาติของตนเองนับแต่นั้นมา | ” |
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 การใช้สามสีของเซอร์เบียได้กลายเป็นสิ่งต้องห้ามในเซอร์เบียส่วนที่ถูกยึดครอง[16] เมื่อสิ้นสุดสงครามแล้วจึงได้มีการสถาปนาราชอาณาจักรยูโกสลาเวียขึ้น ธงของเซอร์เบียจึงไม่ปรากฏในยุคนี้เพราะเซอร์เบียได้กลายเป็นเขตการปกครองหนึ่งของยูโกสลาเวีย ต่อมาในช่วงหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 สันนิบาตคอมมิวนิสต์แห่งยูโกสลาเวียได้มีอำนาจในการปกครองประเทศในปี ค.ศ. 1945 จึงได้มีการแบ่งเขตการปกครองของยูโกสลาเวียเป็น 6 สาธารณรัฐย่อย ซึ่งหนึ่งในจำนวนนั้นก็มีเซอร์เบียรวมอยู่ด้วย ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้เอง ดาวแดงของลัทธิคอมมิวนิสต์ก็ได้ถูกเพิ่มเข้ามาในธงชาติเซอร์เบียเดิมเพื่อใช้เป็นธงของสาธารณรัฐสังคมนิยมเซอร์เบีย โดยธงดังกล่าวนี้ใช้เป็นธงของมอนเตเนโกรในช่วงเวลาเดียวกันด้วย อนึ่ง ลักษณะของธงเซอร์เบียในยุคนี้ถือว่าคล้ายคลึงอย่างยิ่งกับธงชาติยูโกสลาเวีย ซึ่งใช้ธงสามสีมีรูปดาวแดงอยูกลางธง[16][17]
เมื่อยูโกสลาเวียล่มสลายในปี ค.ศ. 1992 รูปดาวแดงจึงถูกยกเลิกและกลับมาใช้ธงสามสี แดง-น้ำเงิน-ขาว เป็นธงชาติเซอร์เบียอีกครั้ง (ในนามเซอร์เบียและมอนเตเนโกร) โดยคงอัตราส่วนความกว้างต่อความยาวธงไว้ที่ 1:2 ดังเช่นธงในสมัยยูโกสลาเวีย จนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงแบบธงมาเป็นแบบปัจจุบันในปี ค.ศ. 2006 โดยคงลักษณะของธงไว้ตามเดิม แต่แก้ไขอัตราส่วนความกว้างต่อความยาวธงเป็น 2:3
-
ราชรัฐเซอร์เบีย
ค.ศ. 1835–1882 -
ราชอาณาจักรเซอร์เบีย
ค.ศ. 1892–1918 -
เซอร์เบียภายใต้การยึดครองของนาซีเยอรมนี
ค.ศ. 1941–1944 -
สาธารณรัฐสังคมนิยมเซอร์เบีย
ค.ศ. 1945–1991 -
สาธารณรัฐเซอร์เบีย
ค.ศ. 1991–2004 -
สาธารณรัฐเซอร์เบีย
ค.ศ. 2004–2010
ดูเพิ่ม
[แก้]- รายชื่อธงในประเทศเซอร์เบีย
- รายชื่อธงในประเทศยูโกสลาเวีย
- ธงชาติราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย
- ธงชาติสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย
- ธงชาติเซอร์เบียและมอนเตเนโกร
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Grb Srbije: Dvoglavi orao menja perje (ในเซอร์เบีย)
- ↑ Препорука о коришћењу грба, заставе и химне Србије (ภาษาเซอร์เบีย). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2009.
- ↑ "Standards of Flag and Coat of Arms, Parliament of Serbia". (871 KiB) (ในเซอร์เบีย)
- ↑ สาธารณรัฐดูรอฟนิก (Dubrovnik Republic) เป็นสาธารณรัฐทางทะเลซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองดูรอฟนิก (ภาษาอิตาลีและภาษาละตินเรียกชื่อว่า Ragusa) ในชายฝั่งดัลเมเชีย (ปัจจุบันอยู่ทางตอนใต้ของประเทศโครเอเชีย) ดำรงอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1358–1808
- ↑ D. Samardžić. Vojne zastave Srba do 1918. Beograd: Vojni muzej, 1983
- ↑ Flag of the Serbian Kingdom, XIIIth century ที่ Flags of the World
- ↑ Gordana Tomović. Monumenta Cartographica Jugoslaviae II, Beograd: Narodna Knjiga, 1979
- ↑ การลุกขึ้นสู้ครั้งแรกของชาวเซิร์บ หรือ First Serbian Uprising เป็นเหตุการณ์ที่ชาวเซิร์บลุกฮือต่อต้านการยึดครองของจักรววรดิออตโตมันและจักรวรรดิออสเตรียระหว่างปี ค.ศ. 1804–1813 เหตุการณ์ดังกล่าวนับเนื่องเป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์การปฏิวัติเซอร์เบีย ซึ่งจะสิ้นสุดลงด้วยการสถาปนาประเทศราชรัฐเซอร์เบียขึ้นในปี ค.ศ. 1817
- ↑ B. A: Principality of Serbia (1830–1882) FOTW
- ↑ Dragana Samardžić: Старе заставе у Војном Музеју, Belgrade 1993
- ↑ Mih. Gavrilovic, Suspendovanje prvog srpskog ustava februar-mart 1835 god., Arhiv za pravne i drustvene nauke, I, 1906, 410-412
- ↑ D. Samardzic, Vojne zastave Srba do 1918, Beograd, 1983
- ↑ D. Matic, Javno pravo Knjazevstva Srbije, Beograd, 1851, 33
- ↑ Volker Preuß. "National flagge des Königreichs Serbien" (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2004.
- ↑ LJ. M. V. - J. Ž. S. (1 สิงหาคม 2006). "Hej, Bože pravde!". Vecernje novosti. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 มกราคม 2009. สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2007.
- ↑ 16.0 16.1 Branislav Ž. Vešović. "Yugoslavia during the Second World War". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2012.
- ↑ Recommendation on the use of the Flag of the Republic of Serbia ("Official Gazette of the Republic of Serbia", No. 49/1992.)
บรรณานุกรม
[แก้]- เอกสารทางการ
- Republic of Serbia (2009). "Закон о изгледу и употреби грба, заставе и химне Републике Србије" [Law on look and use of the coat of arms, flag and anthem of the Republic of Serbia]. Republic of Serbia.
- ข้อมูลทุติยภูมิ
- Atlagić, Marko (1997). "The cross with symbols S as heraldic symbols" (PDF). Baština. 8: 149–158. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ May 21, 2013.
- Filipović, Dušan M. (1977). Dokumenti Srpske Zastave. Vol. 2.
- Filipović, Dušan M. (1980). Dokumenti Srpske Zastave. Vol. 3.
- Kostić, Lazo M. (1960). O zastavama kod Srba: istoriska razmatranja. Izd. piscevo.
- Milićević, Milić (1995). Grb Srbije: razvoj kroz istoriju. Službeni glasnik. ISBN 978-86-7549-047-0.
- Palavestra, Aleksandar (2010). Ilirski grbovnici i drugi heraldički radovi. Belgrade: Dosije studio.
- Samardžić, Dragana (1983). Vojne zastave Srba do 1918. Vojni muzej.
- Samardžić, Dragana (1993). Старе заставе у Војном Музеју. Vojni muzej.
- Škrivanić, Gavro A., บ.ก. (1979). Monumenta Cartographica Jugoslaviae II: Средњовековне карте. Belgrade: Narodna knjiga.
- Tomović, Gordana (1979). Југословенске земље ... pp. 35–60.
- Solovjev, Aleksandar Vasiljevič (1958). Istorija srpskog grba. Srpska misao.
- Stanojević, Stanoje (1934). Iz naše prošlosti. Belgrade: Geca Kon A. D.
- Krkljuš, L. (2009). "Features and symbols during the Serbian Nationalist Movement from 1848 to 1849". Istraživanja (20): 145–159. ISSN 0350-2112.
- Pavlović, Milijvoje (2007). "Od barjaka-krstaša do trobojke". Srpska znanja: zvuci, boje, oblici. Belgrade: Čigoja. pp. 24–28. ISBN 978-86-7558-535-0.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เซอร์เบีย ที่ Flags of the World (อังกฤษ)
- ธงและตราแผ่นดินของเซอร์เบียสมัยต่าง ๆ (ในภาษาอิตาลี)
- ธงและตราแผ่นดินของเซอร์เบียอย่างสังเขป (ในภาษาเยอรมัน)
- ธงและตราแผ่นดินของเซอร์เบีย เก็บถาวร 2009-12-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน