Location via proxy:   [ UP ]  
[Report a bug]   [Manage cookies]                
ข้ามไปเนื้อหา

ภาษาเชเชน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาเชเชน
Нохчийн мотт
Noxçiyn mott
ออกเสียง[ˈnɔxt͡ʃĩː mu͜ɔt]
ประเทศที่มีการพูดคอคเซัสเหนือ
ภูมิภาคสาธารณรัฐเชเชน, สาธารณรัฐอิงกูเชเตีย และสาธารณรัฐดาเกสถาน
ชาติพันธุ์ชาวเชเชน
จำนวนผู้พูด2 ล้านคน  (ไม่พบวันที่)[1]
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนอักษรซีริลลิก (ปัจจุบัน)
อักษรจอร์เจีย (อดีต)
อักษรอาหรับ (อดีต)
อักษรละติน (อดีต)
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการ รัสเซีย
รหัสภาษา
ISO 639-1ce
ISO 639-2che
ISO 639-3che
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

ภาษาเชเชน (เชเชน: Нохчийн мотт, Noxçiyn mott,[2] [ˈnɔxt͡ʃĩː mu͜ɔt]) เป็นภาษาราชการของสาธารณรัฐเชเชน (เชชเนีย) ในรัสเซีย มีผู้พูดราว 1.2 ล้านคน คำศัพท์ส่วนมากเป็นคำยืมจากภาษารัสเซีย ภาษาตุรกี ภาษาคาลมึกซ์ ภาษาอาหรับ ภาษาเปอร์เซีย ภาษาอลานิกหรือภาษาออสเซติกอยู่ในภาษากลุ่มคอเคซัส จัดอยู่ในภาษากลุ่มนัขร่วมกับภาษาอิงกุซและภาษาบัตส์ ทั้งหมดนี้อยู่ในภาษากลุ่มคอเคเซียนตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีเพียงภาษาอิงกุซและภาษาเชเชนที่เข้าใจกันได้

การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์

[แก้]

จากข้อมูลของรัสเซียเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2545 มีผู้พูดภาษาเชเชน 1,330,000 คน[1] Ethnologue ประเมินจำนวนผู้พูดภาษาเชเชนทั้งหมด 955,000 คน โดยใช้ข้อมูลจำนวนผู้พูดในรัสเซีย 945,000 คน ใน พ.ศ. 2532 และประเมินจำนวนผู้พูดภาษาเชเชนในตะวันออกกลางโดยเฉพาะจอร์แดน[3]

ภาษาราชการ

[แก้]

ภาษาเชเชนเป็นภาษาราชการของเชชเนีย และเป็นภาษาแม่ของเชชเนีย[4]

สำเนียง

[แก้]

มีหลายสำเนียง

เสียง

[แก้]

ลักษณะของภาษาเชเชนมีพยัญชนะและสระคล้ายกับภาษาอาหรับและภาษาซาลิชานของอเมริกาเหนือ และมีระบบสระขนาดใหญ่คล้ายกับภาษาสวีเดนและภาษาเยอรมัน

พยัญชนะ

[แก้]

ภาษาเชเชนมีพยัญชนะจำนวนมากถึง 31 ตัวเช่นเดียวกับภาษาพื้นเมืองในภาษากลุ่มคอเคซัส ซึ่งมีพยัญชนะมากกว่าภาษาในยุโรป

  Labial Alveolar Postalveolar Velar Uvular Epiglottal Glottal
Nasal m n          
Plosive b
d
g
xk

ʢ ʔ
Affricate tsʰ dz
tsʼ
tʃʰ
tʃʼ
Fricative (f v) s z ʃ ʒ x ʁ ʜ h
Rhotic r
Approximant w l j


สระ

[แก้]

ภาษาเชเชนต่างจากภาษากลุ่มคอเคซัสเพราะภาษาเชเชนมีสระจำนวนมากโดยเฉพาะสระประสมประมาณ 27 เสียง ขึ้นกับสำเนียง ซึ่งใกล้เคียงกับระบบสระของภาษากลุ่มสแกนดิเนเวียและภาษาเยอรมัน

front
unrounded
front
rounded
back~
central
ɪ y ʊ
je ie ɥø wo uo
e̞ː ø øː o̞ː
æ æː ə ɑː

ไวยากรณ์

[แก้]

คำนามภาษาเชเชนแบ่งเป็นเพศหรือระดับที่หลากหลาย แต่ละอันมีอุปสรรคเฉพาะซึ่งเข้ากันได้กับกริยาและคุณศัพท์ อย่างไรก็ตาม ภาษาเชเชนไม่ใช่ภาษาที่ละประธานได้[5] ต้องใช้สรรพนามที่เป็นประธานเสมอแม้ในประโยคง่ายๆ และกริยาไม่ต้องเข้ากับประธานหรือบุคคลหรือจำนวนของกรรม

ภาษาเชเชนเป็นภาษาสัมพันธการก มี 8 การก และมีปรบทจำนวนมาก เพื่อชี้ถึงบทบาทของนามในประโยค

ภาษาเชเชนมีระบบรากศัพท์ที่ท้าทาย การสร้างคำใหม่ในภาษาเกี่ยวกับการสร้างวลีทั้งหมดมากก่าการเติมเข้าที่ส่วนท้ายของคำเดิม หรือการรวมคำที่มีอยู่แล้ว เป็นการยากที่จะระบุลักษณะของวลีในพจนานุกรม และไวยากรณ์ของภาษาไม่ยอมให้มีการยืมลักษณะทางกริยาเพื่อสร้างคำใหม่ คำกริยา dan (ตรงกับ to do ในภาษาอังกฤษ) รวมกับกริยานามวลีใช้เพื่อเชื่อมโยงแนวคิดใหม่ที่มาจากภาษาอื่น

อักษร

[แก้]

พบจารึกที่เขียนด้วยอักษรจอร์เจียในหุบเขาเชชเนีย แต่อักษรนี้ไม่จำเป็นในภาษาเชเชน ต่อมามีการนำอักษรอาหรับมาเขียนภาษาเชเชนหลังการเข้ามาของศาสนาอิสลาม การปรับรูปแบบครั้งแรกเกิดขึ้นในยุคของอิมามชามิลตามมาด้วยการปรับปรุงใน พ.ศ. 2453 พ.ศ. 2463 และ พ.ศ. 2465

ในเวลาเดียวกันมีการปรับอักษรโดย Peter von Uslar ซึ่งมีทั้งอักษรซีริลลิก อักษรละติน และอักษรจอร์เจียซึ่งมีการนำมาใช้ทางวิชาการ ใน พ.ศ. 2454 มีการปรับรูปแบบด้วยแต่ไม่เป็นที่นิยมในหมู่ชาวเชเชน มีการนำอักษรละตินมาใช้เมื่อ พ.ศ. 2468 และปรับให้เป็นรูปแบบเดียวกับภาษาอิงกุซเมื่อ พ.ศ. 2477 แต่ยกเลิกเมื่อ พ.ศ. 2481

A a Ä ä B b C c Č č Ch ch Čh čh D d
E e F f G g Gh gh H h I i J j K k
Kh kh L l M m N n Ņ ņ O o Ö ö P p
Ph ph Q q Qh qh R r S s Š š T t Th th
U u Ü ü V v X x Ẋ ẋ Y y Z z Ž ž

ในช่วง พ.ศ. 2481 - 2535 ใช้อักษรซีริลลิกในการเขียนภาษาเชเชน ดังแสดงในตาราง

ซีริลลิก ชื่อ อาหรับ
(ก่อน ค.ศ. 1925)
ละติน
สมัยใหม่[6]
ชื่อ สัทอักษรสากล
А а а آ /ɑː/, ا A a a /ə/, /ɑː/
Аь аь аь ا Ä ä ä /æ/, /æː/
Б б бэ ب B b be /b/
В в вэ و V v ve /v/
Г г гэ گ G g ge /ɡ/
Гӏ гӏ гӏа غ Ġ ġ ġa /ɣ/
Д д дэ د D d de /d/
Е е е ە E e e /e/, /ɛː/, /je/, /ie/
Ё ё ё یوٓ yo /jo/ ฯลฯ
Ж ж жэ ج Ƶ ƶ ƶe /ʒ/, /dʒ/
З з зэ ز Z z ze /z/, /dz/
И и и ی I i i /ɪ/
Ий ий یی Iy iy /iː/
Й й
(я, ю, е)
доца и ی Y y doca i /j/
К к к ک K k ka /k/
Кк кк کک Kk kk /kː/
Кх кх кх ق Q q qa /q/
Ккх ккх قق Qq qq /qː/
Къ къ къа ڨ Q̇ q̇ q̇a /qʼ/
Кӏ кӏ кӏа گ (ࢰ)[a] Kh kh kha /kʼ/
Л л лэ ل L l el /l/
М м мэ م M m em /m/
Н н нэ ن N n en /n/
О о о ووٓ, وٓ uo O o o /o/, /ɔː/, /wo/, /uo/
Ов ов ов وٓو Ov ov ov /ɔʊ/
Оь оь оь وٓ Ö ö ö /ɥø/, /yø/
П п пэ ف P p pe /p/
Пп пп فف Pp pp /pː/
Пӏ пӏ пӏа ڢ ـٯ Ph ph pha /pʼ/
Р р рэ ر R r er /r/
Рхӏ рхӏ رھ Rh rh /r̥/
С с сэ س S s es /s/
Сс сс سس Ss ss /sː/
Т т тэ ت T t te /t/
Тт тт تت Tt tt /tː/
Тӏ тӏ тӏа ط Th th tha /tʼ/
У у у و U u u /uʊ/
Ув ув وو Uv uv /uː/
Уь уь уь و Ü ü ü /y/
Уьй уьй уьй و Üy üy üy /yː/
Ф ф фэ ف F f ef /f/
Х х хэ خ X x xa /x/
Хь хь хьа ح Ẋ ẋ ẋa /ʜ/
Хӏ хӏ хӏа ھ H h ha /h/
Ц ц цэ ر̤ [b] C c ce /ts/
Цӏ цӏ цӏа ڗ Ċ ċ ċe /tsʼ/
Ч ч чэ چ Ҫ ҫ ҫe /tʃ/
Чӏ чӏ чӏа ڃ Ҫ̇ ҫ̇ ҫ̇e /tʃʼ/
Ш ш шэ ش Ş ş şa /ʃ/
Щ щ щэ
(Ъ) ъ[c] чӏогӏа хьаьрк ئ Ə ə[c] ç̇oġa ẋärk /ʔ/
(Ы) ы ы
(Ь) ь кӏеда хьаьрк kheda ẋärk
Э э э اە E e e /e/ ฯลฯ
Ю ю ю یو yu /ju/ ฯลฯ
Юь юь юь یو /jy/ ฯลฯ
Я я я یا، یآ ya /ja/ ฯลฯ
Яь яь яь یا /jæ/ ฯลฯ
Ӏ ӏ ӏа ع J j ja /ʡ/, /ˤ/

ใน พ.ศ. 2535 มีการนำอักษรละตินมาใช้ใหม่ แต่ก็กลับไปใช้อักษรซีริลลิกอีก

A a Ä ä B b C c Ċ ċ Ç ç Ç̇ ç̇ D d
E e F f G g Ġ ġ H h X x Ẋ ẋ I i
J j K k Kh kh L l M m N n Ꞑ ꞑ O o
Ö ö P p Ph ph Q q Q̇ q̇ R r S s Ş ş
T t Th th U u Ü ü V v Y y Z z Ƶ ƶ
Ə ə

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ในอักษรอาหรับ گ (เทียบเท่ากับ Кӏ ในซีริลลิก หรือ Kh ในละติน) ขีดส่วนบน ตั้งอยู่ ใต้ เส้นหลัก
  2. อักษร ڔٜ (เทียบเท่ากับ Ц ซีริลลิกหรือ C ละติน) เป็นอักษรรออ์ที่มีสองจุดข้างล่าง
  3. 3.0 3.1 เสียงหยุด เส้นเสียง ⟨ъ⟩ มักไม่ปรากฏในเวลาเขียน

คำศัพท์

[แก้]

มีคำยืมจากภาษารัสเซีย ภาษากลุ่มเตอร์กิก (ส่วนมากมาจากภาษาคูเมียก ภาษาการาเชย์-บัลการ์) ภาษาอาหรับ ภาษาเปอร์เซีย และภาษาจอร์เจีย

ประวัติ

[แก้]

ก่อนยุคที่รัสเซียเข้ามายึดครอง การเขียนภาษาเชเชนพบในหนังสือที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลาม ซึ่งเขียนด้วยภาษาอาหรับ แต่ก็มีการเขียนภาษาเชเชนด้วยอักษรอาหรับด้วย หนังสือเหล่านี้ถูกทำลายไปในยุคสหภาพโซเวียต[7] การเขียนภาษาเชเชนเริ่มเกิดขึ้นหลังการปฏิวัติเดือนตุลาคม และเริ่มใช้อักษรละตินแทนอักษรอาหรับเมื่อประมาณ พ.ศ. 2468 และเปลี่ยนเป็นอักษรซีริลลิกเมื่อ พ.ศ. 2481 ในช่วงที่มีการประกาศจัดตั้งสาธารณรัฐเชเชน เมื่อ พ.ศ. 2535 ผู้พูดภาษาเชเชนบางส่วนเปลี่ยนมาใช้อักษรละติน

มีผู้พูดภาษาเชเชนในตุรกี จอร์แดนและซีเรียซึ่งไม่มีการเขียน และผู้พูดกลุ่มนี้ไม่คุ้นเคยกับอักษรซีริลลิก อย่างไรก็ตาม การใช้อักษรในภาษาเชเชนขึ้นกับการเมือง กลุ่มที่ต้องการรวมกับรัสเซียสนับสนุนอักษรซีริลลิก ส่วนกลุ่มที่ต้องการแยกตัวสนับสนุนอักษรละติน

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 ภาษาเชเชน ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
  2. "Chechen table of correspondence Cyrillic-Roman (BGN/PCGN 2008 Agreement)" (PDF). National Geospatial-Intelligence Agency. สืบค้นเมื่อ 2022-02-04.
  3. Ethnologue report for language code:che
  4. Constitution, Article 10.1
  5. Dryer, Matthew S. "Expression of Pronominal Subjects", in Martin Haspelmath et al. (eds.) The World Atlas of Language Structures, pp. 410-412. Oxford: Oxford University Press, 2005. ISBN 0-19-925591-1.
  6. "Chechen table of correspondence Cyrillic-Roman (BGN/PCGN 2008 Agreement)" (PDF). National Geospatial-Intelligence Agency. สืบค้นเมื่อ 2022-02-11.
  7. Ch_writing

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]