สุสานจีนบาบ๋า
ซุ้มประตูทางเข้าสุสานจีนบาบ๋าในปี พ.ศ. 2564 | |
รายละเอียด | |
---|---|
ก่อตั้ง | พ.ศ. 2450[1] |
ที่ตั้ง | |
ประเทศ | ประเทศไทย |
ชนิด | สุสานจีน |
รูปแบบ | สาธารณะ |
เจ้าของ | ทรัสต์สุสานจีนบาบ๋า |
ขนาด | 9,232 ตร.ม. (5.77 ไร่) |
จำนวนหลุมศพ | ประมาณ 200 |
หมายเหตุ | 1 ใน 6 สุสานในกลุ่มย่านแยกเดโช ถนนสีลมที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน |
มีการเปิดให้รถยนต์ภายนอกเข้ามาจอดทุกวันยกเว้นวันอาทิตย์ ระหว่างเวลา 06.00 – 21.00 น. สำหรับวันธรรมดา และระหว่างเวลา 08.00 – 18.00 สำหรับวันเสาร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ |
สุสานจีนบาบ๋า (ตัวเต็ม: 福山亭 อ่านในภาษาฮกเกี้ยนว่า "ฮกซันเต็ง") เป็นสุสานสาธารณะของชาวจีนบาบ๋า ซึ่งเป็นกลุ่มชาวจีนฮกเกี้ยนที่มาจากประเทศสิงคโปร์[2] และถือเป็น 1 ใน 3 สุสานสาธารณะจีนในกลุ่มย่านแยกเดโช ถนนสีลมที่ยังหลงเหลืออยู่ ประกอบด้วยสุสานจีนบาบ๋า สุสานฮกเกี้ยน และสุสานและฌาปนสถานสมาคมจีนแคะ ตั้งอยู่ติดต่อกับถนนสีลม แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ประมาณ 5.77 ไร่ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2450
ในบรรดาสุสานสาธารณะจีนทั้งหมดในย่านแยกเดโชถนนสีลม สุสานจีนบาบ๋าเป็นสุสานที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เป็นสุสานจีนเพียงแห่งเดียวที่ติดถนนสีลม และไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลรักษาโดยสมาคมจีน แต่อยู่ภายใต้ระบบกฎหมายทรัสต์ที่เรียกว่า ทรัสต์สุสานจีนบาบ๋า โดยทรัสต์ดังกล่าวเกิดขึ้นจากการรวมตัวของกลุ่มชาวจีนบาบ๋าในกรุงเทพมหานครเพื่อรวบรวมเงินและก่อตั้งเป็นสุสานจีนขึ้น และแต่งตั้งให้มีทรัสตี (trustee) ทำหน้าที่ดูแลรักษาพื้นที่ แม้กลุ่มชาวจีนบาบ๋าจะเป็นกลุ่มชาวจีนที่มีจำนวนน้อย แต่ก็ได้มีการรวมตัวกันจัดตั้งองค์กรในชื่อสโมสรจีนบาบ๋า (Strait Born Chinese Association, SBCA) ขึ้นในปี พ.ศ. 2458 มีจุดประสงค์หลักคือการช่วยเหลือเกื้อกูลด้านการเงินและค่าจัดการศพ ก่อนจะถูกยุบไปในช่วงเวลาต่อมา[3]
ปัจจุบันสุสานจีนบาบ๋ามีหลุมฝังศพภายในประมาณ 200 หลุม หลุมสุดท้ายที่ฝังในสุสานระบุปี พ.ศ. 2504[4] ส่วนใหญ่มีสภาพที่ทรุดโทรมและถูกทิ้งร้าง เนื่องจากมีการถมพื้นที่และเทพื้นคอนกรีตโดยรอบหลุมฝังศพเพื่อเป็นที่จอดรถยนต์ ทำให้หลุมฝังศพส่วนใหญ่จมดิน[5] เช่นเดียวกับสุสานจีนอีก 2 แห่ง ในกลุ่มสุสานแยกเดโช ถนนสีลม ที่มีการเปิดพื้นที่ให้เป็นที่จอดรถยนต์ทำให้พบว่าในช่วงวันธรรมดามีการจอดรถยนต์เต็มพื้นที่
ระเบียงภาพ
[แก้]-
หลุมฝังศพบริเวณด้านหน้าสุสานจีน
-
หลุมฝังศพที่ถูกทิ้งร้างภายใน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ อรุโณประโยชน์, ศุภณัฐ (2021). แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิทัศน์สุสานจีนในเขตชั้นในกรุงเทพมหานคร. ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. p. 123. สืบค้นเมื่อ 8 August 2022.
- ↑ "คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3148/2540". deka.in.th. กองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา. สืบค้นเมื่อ 8 August 2022.
- ↑ เรืองสกุล, นวพร (2008). สีลม ย่าหยา และ ตำราอาหาร. (1 ed.). Knowledge Plus. สืบค้นเมื่อ 8 August 2022.
- ↑ อรุโณประโยชน์, ศุภณัฐ (2021). แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิทัศน์สุสานจีนในเขตชั้นในกรุงเทพมหานคร. ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. p. 44. สืบค้นเมื่อ 8 August 2022.
- ↑ เรืองสกุล, นวพร. "อดีต ปัจจุบัน และอนาคตของสุสานจีนบ้าบ๋าบนถนนสีลม". thaidialogue.wordpress.com/. Thai Dialogue. สืบค้นเมื่อ 8 August 2022.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ สุสานจีนบาบ๋า
- ภาพถ่ายดาวเทียมจากวิกิแมเปีย หรือกูเกิลแมปส์
- แผนที่จากลองดูแมป หรือเฮียวีโก
- ภาพถ่ายทางอากาศจากเทอร์ราเซิร์ฟเวอร์
13°43′31″N 100°31′32″E / 13.725167399279753°N 100.52551781049281°E