Location via proxy:   [ UP ]  
[Report a bug]   [Manage cookies]                
ข้ามไปเนื้อหา

อะษาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อะษาน (อาหรับ: أَذَان, ออกเสียง: [ʔaˈðaːn]) บางครั้งเรียกตามภาษาตุรกีว่า เอซาน (ตุรกี: ezan)[1] เป็นการเรียกละหมาดในศาสนาอิสลามที่กล่าวโดยมุอัซซินในแต่ละวัน รากศัพท์ของคำนี้คือ อะษินะ (أَذِنَ) แปลว่า "ฟัง, ได้ยิน, รับทราบ" ส่วนอีกคำที่แตกออกมาคือ อุษุน (أُذُن) แปลว่า "หู"

การอะษานจะกล่าว ตักบีร (อัลลอฮ์ ผู้ทรงเกรียงไกร) ด้วยเสียงอันดัง[2] ตามมาด้วย ชะฮาดะฮ์ (ไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจาก อัลลอฮ์[3] มุฮัมมัดเป็นศาสนทูตของ อัลลอฮ์)[4]

ข้อความ

[แก้]
รายละเอียดของสิ่งที่อ่านและจำนวนครั้ง
บทอ่าน
แบบซุนนี[a]
[5][6][7][8]
แบบชีอะฮ์
[7][8][9]

แบบซัยดี

ภาษาอาหรับ
ภาษาอาหรับคลาสสิก
อักษรโรมัน แปล
4x หรือ 2x[b]
4x

8x หรือ 4x

ٱللَّٰهُ أَكْبَرُ ʾAllāhu ʾakbaru อัลลอฮ์ผู้ทรงเกรียงไกร
2x
2x

2x

أَشْهَدُ أَنْ لَا إِلَٰهَ إِلَّا ٱللَّٰهُ ʾašhadu ʾan lā ʾilāha ʾillā -llāhu ฉันขอปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากอัลลอฮ์
2x
2x

2x

أَشْهَدُ أَنَّ مُحَمَّدًا رَسُولُ ٱللَّٰهِ ʾašhadu ʾanna Muḥammadan rasūlu -llāhi ฉันขอปฏิญาณว่า มุฮัมมัดเป็นศาสนทูตของอัลลอฮ์
ไม่มี
2x[c]

ไม่มี

أَشْهَدُ أَنَّ عَلِيًّا وَلِيُّ ٱللَّٰهِ ʾašhadu ʾanna ʿAlīyan walīyu -llāhi ฉันขอปฏิญาณว่า อะลีเป็นวะลีของอัลลอฮ์
2x
2x

2x

حَيَّ عَلَىٰ ٱلصَّلَاةِ
حَيَّ عَلَىٰ ٱلصَّلَوٰةِ
ḥayya ʿalā ṣ-ṣalāhti ท่านทั้งหลาย จงมาละหมาดเถิด
2x
2x

2x

حَيَّ عَلَىٰ ٱلْفَلَاحِ
حَيَّ عَلَىٰ ٱلْفَلَٰحِ
ḥayya ʿalā l-falāḥi ท่านทั้งหลาย จงมาสู่ชัยชนะเถิด
ไม่มี
2x

2x

حَيَّ عَلَىٰ خَيْرِ ٱلْعَمَلِ ḥayya ʿalā khayri l-ʿamali ท่านทั้งหลาย จงมาสู่การงานที่ดีเถิด
2x
(แค่ละหมาดซุบฮีเท่านั้น)[d]
ไม่มี

ไม่มี

ٱلصَّلَاةُ خَيْرٌ مِنَ ٱلنَّوْمِ
ٱلصَّلَوٰةُ خَيْرٌ مِنَ ٱلنَّوْمِ
aṣ-ṣalātu khayrun mina n-nawmi การละหมาดดีกว่าการนอน
2x
2x

2x

ٱللَّٰهُ أَكْبَرُ ʾAllāhu ʾakbaru อัลลอฮ์ผู้ทรงเกรียงไกร
1x
2x

1x

لَا إِلَٰهَ إِلَّا ٱللَّٰهُ lā ʾilāha ʾillā -llāhu ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์
  1. อะษานแบบเดียวกันกับอะฮ์มะดียะฮ์
  2. ตามธรรมเนียมคือ 4 ครั้ง[10] ผู้ติดตามมัซฮับมาลิกีอ่านซ้ำ 4 ครั้ง
  3. รายงานจากนักวิชาการชีอะฮ์สิบสองอิมามกลุ่มอุศูลี ประโยคนั้นไม่จำเป็นต้องกล่าวในอะษานกับอิกอมะฮ์ แต่แนะนำให้อ่าน (มุสตะฮับบ์) อย่างไรก็ตาม ชีอะฮ์สิบสองอิมามกลุ่มอิคบารี ถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นในอะษานกับอิกอมะฮ์[11] ฟาฏิมียะฮ์, อิสมาอีลียะฮ์, อะละวีโบะฮ์ราส และดะวูดีโบะฮ์ราสเชื่อ รวมและอ่านเหมือนกัน โดยอ่านในอะษานสองครั้ง แต่ไม่อ่านในอิกอมะฮ์ พวกเขาได้เพิ่มคำว่า Muḥammadun wa ʿAlīyun khayru l-basar wa itaratu huma khayru l-itar (มุฮัมมัดและอะลีเป็นมนุษย์ที่ดีที่สุดและลูกหลานของพวกท่านคือลูกหลานที่ดีที่สุด) สองครั้งหลังท่อนที่ 6 (Ḥayya ʿala-khayri l-ʿamal) ธรรมเนียมนี้ทำตามมาตั้งแต่ซุอัยบ์ อิบน์ มูซา (ค.ศ. 1132) ดาอิลมุฏลักคนแรก หลังจากอัฏฏ็อยยิบ อบูกอซิม อิหม่ามคนที่ 21 และอ้างว่าเป็นธรรมเนียมฟาฏิมียะฮ์ที่แท้จริง[12][13][14]
  4. ผู้ติดตามมัซฮับมาลิกีอ่านคำนี้สองครั้ง และอ่านประโยคก่อนหน้าซ้ำ 4 ครั้ง ตามฮะดีษในเศาะฮีฮ์ มุสลิม เล่ม 4, ตอน 2, หมายเลข 0740

สถานะทางกฎหมายสมัยใหม่

[แก้]

อิสราเอล

[แก้]

ใน ค.ศ. 2016 คณะกรรมการรัฐมนตรีอิสราเอลอนุมัติร่างกฎหมายให้จำกัดเสียงเรียกขอพรในที่สาธารณะ โดยเฉพาะเสียงอะษาน ด้วยเหตุผลมลภาวะทางเสียง[15][16][17] ร่างกฎหมายถูกเสนอโดยโมตี โยเกฟ สมาชิกดเนสเซ็ตของพรรคเดอะจิววิชโฮม และโรเบิร์ต อิลาโตฟ จากพรรคยิสราเอลเบเตนู (Yisrael Beiteinu)[16] การแบนนี้มีผลต่อมัสยิดสามแห่งในหมู่บ้านอบูดิสในเยรูซาเลมตะวันออก ทำให้ตัดสิทธิ์ในการกล่าวละหมาดตอนหัวรุ่ง (ซุบฮี)[18] เบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล สนับสนุนร่างกฎหมายนี้[17] องค์กรประชาธิปไตยอิสราเอล (Israel Democracy Institute) กล่าวว่ากฎหมายนี้ขัดต่อสิทธิของมุสลิม และขัดขวางเสรีภาพทางศาสนาของพวกเขา[17][18]

ตุรกี

[แก้]

หลังจากการปฏิรูปที่นำมาสู่การก่อตั้งสาธารณรัฐตุรกีใน ค.ศ. 1923 รัฐบาลตุรกีในเวลานั้น นำโดยมุสทาฟา เคมัล อาทาทืร์ค ได้นำระบอบฆราวาสนิยมเข้าสู่ตุรกี โดยมีแผนดำเนินการอะษานด้วยภาษาตุรกี ซึ่งขัดแย้งกับธรรมเนียมที่ต้องกล่าวเป็นภาษาอาหรับ[19] โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1932 และดำเนินการต่อไปเป็นเวลา 18 ปี

ณ วันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 1950 รัฐบาลใหม่ที่นำโดยอัดนาน เมนเดเรส ได้นำการอะษานภาษาอาหรับมาใช้อีกครั้ง[20]

สวีเดน

[แก้]

มัสยิดฟิตต์ยาใน Botkyrka ที่อยู่ทางตอนใต้ของสต็อกโฮล์ม เป็นมัสยิดแรกที่ได้รับอนุญาตให้อะษานละหมาดวันศุกร์ใน ค.ศ. 2013 โดยมีข้อแม้ว่าเสียงต้องไม่ดังกว่า 60 เดซิเบล[21] ที่คาร์ลสกรูนา (เทศมณฑลเบลียกิงเงอ ภาคใต้ของประเทศสวีเดน) ทางสมาคมอิสลามได้สร้างมินาเรตใน ค.ศ. 2017 และได้กล่าวอะษานทุกสัปดาห์จนถึงปัจจุบัน[22][23] มัสยิดชั่วคราวที่เวกเชอได้รับสิทธิ์นี้เช่นเดียวกันในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2018[24] ทำให้มีการวิจารณ์กันทั้งประเทศ[25][26][27] หน่วยงานตำรวจสวีเดนได้ให้การอนุญาตเป็นระยะเวลาหนึ่งปีในเดือนพฤษภาคมของปีเดียวกัน[28][29]

คูเวตและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

[แก้]

ในระหว่างช่วงการแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัสใน ค.ศ. 2019-2020 และการระบาดทั่วในช่วงนี้ บางเมืองได้เปลี่ยนบทอะษานจาก ฮัยยะอะลัศเศาะลาฮ์ หมายถึง "ท่านทั้งหลาย จงมาละหมาดเถิด" ไปเป็น อัสเศาะลาตุฟีบุยูติกุม หมายถึง "จงละหมาดที่บ้านของท่าน"[30]

ประเทศมุสลิมอื่น (โดยเฉพาะซาอุดีอาระเบีย, มาเลเซีย และอินโดนีเซีย) ได้เปลี่ยนเป็นแบบนี้เพราะมุสลิมถูกสั่งห้ามไม่ให้ไปมัสยิดในช่วงการระบาดทั่ว เพื่อหยุดผลพวงของการระบาด การทำสิ่งนี้มาจากคำสั่งของศาสดามุฮัมมัด โดยให้บิลาล อิบน์ เราะบาฮ์ อะษานแบบนั้นในช่วงที่มักกะฮ์เกิดการระบาดของอหิวาตกโรค

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Nathal M. Dessing Rituals of Birth, Circumcision, Marriage, and Death Among Muslims in the Netherlands Peeters Publishers 2001 ISBN 978-9-042-91059-1 page 25
  2. Azodanloo, H. G. (1992). "Formalization of friday sermons and consolidation of the Islamic republic of Iran". Critique: Critical Middle Eastern Studies. 1 (1): 12–24. doi:10.1080/10669929208720023.
  3. "The Prophet Muhammad". English translation of the meaning of Al-Qurʼan: the guidance for mankind (ภาษาอาหรับ และ อังกฤษ). แปลโดย Malik, Muhammad Farooq-i-Azam. Institute of Islamic Knowledge. p. 20. ISBN 9780911119800.
  4. Mohammad, N. (1985). "The Doctrine of Jihad: An Introduction". Journal of Law and Religion. 3 (2): 381–397. doi:10.2307/1051182.
  5. เศาะฮีฮ์ อัลบุคอรี 89.329 เก็บถาวร 2008-12-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  6. Sahih Muslim : Book 020: Number 4477, 4478, 4480, 4481, 4482, 4483 เก็บถาวร 2011-08-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  7. 7.0 7.1 "Sahih Muslim". sunnah.com. สืบค้นเมื่อ 2020-03-18.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. 8.0 8.1 Sunan al-Tirmidhi (Arabic) Chapter of Fitan, 2:45 (India) and 4:501 Tradition # 2225 (Egypt); Hadith #2149 (numbering of al-'Alamiyyah)
  9. Quran : Surah Sajda: Ayah 24-25 เก็บถาวร 2018-04-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  10. Kitab rab as-sad by Sana'ani
  11. "Akhbari". Akhbari. สืบค้นเมื่อ 2013-12-31.
  12. Islamic Laws : Rules of Namaz » Adhan and Iqamah เก็บถาวร กันยายน 14, 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  13. Importance and Conditions of Prayers - Question #466 เก็บถาวร กรกฎาคม 8, 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  14. "Adhan Call to Prayer". duas.org. Retrieved on 25 August 2016.
  15. "Israel to limit volume of prayer call from mosques".
  16. 16.0 16.1 "Israel to ban use of loudspeakers for 'Azaan' despite protest". The Financial Express. Ynet. 14 November 2016. สืบค้นเมื่อ 10 January 2017.
  17. 17.0 17.1 17.2 "Israeli PM backs bill to limit Azan". Dawn. AFP. 14 November 2016. สืบค้นเมื่อ 10 January 2017.
  18. 18.0 18.1 Hawwash, Kamel (7 November 2016). "Israel's ban on the Muslim call to prayer in Jerusalem is the tip of the iceberg". Middle East Monitor. Middle East Monitor. สืบค้นเมื่อ 10 January 2017.
  19. The Adhan in Turkey เก็บถาวร เมษายน 12, 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  20. Aydar, Hidayet (2006). "The issue of chanting the Adhan in languages other than Arabic and related social reactions against it in Turkey". dergipark.gov.tr. p. 59-62. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-12. สืบค้นเมื่อ 2019-01-12.
  21. "Ljudkablar dras för första böneutropet" [Cables laid out for the first call to prayer] (ภาษาสวีเดน). Dagens Nyheter. 24 April 2014.
  22. "Blekinge har fått sin första minaret" [Blekinge has gotten its first minaret] (ภาษาสวีเดน). Sveriges Television. 13 Oct 2017. สืบค้นเมื่อ 21 March 2018.
  23. "Swedish town allows calls to prayer from minaret". Anadolu Agency. 17 Nov 2017. สืบค้นเมื่อ 21 March 2018.
  24. "Moskén i Växjö vill ha böneutrop" [The mosque in Växjö wants prayer calls] (ภาษาสวีเดน). Sveriges Television. 12 February 2018. สืบค้นเมื่อ 20 March 2018.
  25. "Christian Democrat leader opposes Muslim call to prayer in Sweden". Radio Sweden. 15 March 2018. สืบค้นเมื่อ 20 March 2018.
  26. Lawal Olatunde (14 February 2018). "Swedish church supports Muslims Adhan". Islamic Hotspot. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-20. สืบค้นเมื่อ 20 March 2018.
  27. "This Jewish leader is defending the Muslim call to prayer in Sweden". The New Arab. 19 March 2018. สืบค้นเมื่อ 20 March 2018.
  28. Thorneus, Ebba (May 8, 2018). "Polisen tillåter böneutrop via högtalare". Aftonbladet (ภาษาสวีเดน). สืบค้นเมื่อ December 27, 2018.
  29. Broke, Cecilia (May 8, 2018). "Polisen ger klartecken till böneutrop i Växjö" [The Police gives clearance for prayer calls in Växjö]. SVT (ภาษาสวีเดน). สืบค้นเมื่อ December 27, 2018.
  30. Kuwait mosques tell believers to pray at home amid coronavirus pandemic alaraby.co.uk

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]