Location via proxy:   [ UP ]  
[Report a bug]   [Manage cookies]                
ข้ามไปเนื้อหา

อินทรีฮาสท์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อินทรีฮาสท์
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยไพลสโตซีนถึงสมัยโฮโลซีนตอนปลาย
หัวกะโหลกอินทรีฮาสท์ที่พิพิธภัณฑ์แคนเทอร์เบอรี (ไครสต์เชิร์ช)
สถานะการอนุรักษ์

Extinct  (ประมาณ ค.ศ. 1400) (NZ TCS)[1]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์ปีก
อันดับ: เหยี่ยว
Accipitriformes
วงศ์: เหยี่ยวและนกอินทรี
Accipitridae
สกุล: Hieraaetus

(Haast, 1872)
สปีชีส์: Hieraaetus moorei
ชื่อทวินาม
Hieraaetus moorei
(Haast, 1872)
ชื่อพ้อง
  • Aquila moorei Haast, 1872
  • Harpagornis moorei Haast, 1872

อินทรีฮาสท์ (อังกฤษ: Haast's Eagle; ชื่อวิทยาศาสตร์: Hieraaetus moorei) คืออินทรีสายพันธุ์หนึ่งซึ่งสูญพันธุ์ไปแล้ว ครั้งหนึ่งมันเคยอาศัยอยู่ที่เกาะใต้ของนิวซีแลนด์ โดยทั่วไปยอมรับเป็นโปวาไกในตำนานมาวรี[2] เป็นสายพันธุ์อินทรีที่เชื่อกันว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่มีมา โดยมีน้ำหนักประมาณ 15 กิโลกรัม (33 ปอนด์) เมื่อเทียบกับ นกอินทรีฮาร์ปี (Harpia harpyja) ที่มีขขนาดใหญ่รองลงมาที่ 9 กิโลกรัม (20 ปอนด์)[3] ด้วยขนาดที่ใหญ่มากได้รับการอธิบายว่าเป็นผลจากการวิวัฒนาการต่อขนาดของเหยื่อที่เป็นนกโมอาบินไม่ได้ ซึ่งตัวที่มีขนาดใหญสุดสามารถมีน้ำหนักถึง 230 กิโลกรัม (510 ปอนด์)[4] อินทรีฮาสท์สูญพันธุ์ประมาณ ค.ศ. 1400 หลังการเข้ามาของชาวมาวรีที่ล่าเหยื่อโมอามากกว่ามัน[5]

รายละเอียด

[แก้]

อินทรีฮาสท์มีถิ่นกำเนิดในนิวซีแลนด์ ได้ชื่อว่าเป็นนกอินทรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก[6] โดยมันมีความยาวจากปลายปีกข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่งกว่า 10 ฟุต หรือสามเมตร น้ำหนักราว 15 -20 กิโลกรัม กรงเล็บของอินทรีฮาสท์มีขนาดพอ ๆ กับเล็บเสือโคร่ง จัดว่าเป็นนักล่าที่น่ากลัวที่สุดของนิวซีแลนด์ เนื่องจากนกอินทรีชนิดนี้อาศัยอยู่ในเกาะใต้ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยป่าหนาทึบ มันจึงมีปีกที่ค่อนข้างสั้นเมื่อเทียบตามสัดส่วนร่างกาย ทั้งนี้เพื่อให้เป็นประโยชน์ขณะที่บินล่าเหยื่อในป่า ช่วงปีกค่อนข้างสั้นและแผ่กว้างทำให้อินทรีฮาสท์ไม่ร่อนหาเหยื่อจากที่สูงเหมือนอย่างพวกแร้ง แต่มักจะบินไปตามแนวป่ามากกว่า[7][8]

เหยื่อสำคัญของอินทรีฮาสท์คือบรรดานกโมอาชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะนกโมอายักษ์ที่หนักกว่า 250 กิโลกรัม แม้ว่าโมอายักษ์จะใหญ่กว่าอินทรีฮาสท์หลายเท่า แต่มันก็ค่อนข้างเชื่องช้าและยังมีคอและศีรษะขนาดเล็กทำให้ง่ายต่อการโจมตี โดยอินทรีฮาสต์จะโฉบลงที่ลำคอหรือไม่ก็ศีรษะของเหยื่อ ก่อนใช้กรงเล็บสังหารเหยื่อของมัน เนื่องจากเหยื่อของมันมีขนาดใหญ่มาก อินทรีฮาสต์จึงมักกินเหยื่อที่พื้นและอยู่กับซากเป็นเวลาหลายวัน การที่อินทรีฮาสต์ล่าเหยื่อขนาดใหญ่อย่างนกโมอายักษ์ ก็เพราะว่าในนิวซีแลนด์ มันเป็นนักล่าที่ใหญ่ที่สุดของดินแดนแห่งนี้[9] ตามปกติสัตว์จำพวกเหยี่ยวและนกอินทรีจะล่าเหยื่อที่มีขนาดเล็กกว่าพวกมันเพื่อให้ง่ายต่อการนำขึ้นไปกินบนกิ่งไม้สูงทั้งนี้ เพื่อไม่ให้ถูกสัตว์นักล่าบนพื้นดินชนิดอื่นที่แข็งแรงกว่ามาแย่งเหยื่อไป แต่ในนิวซีแลนด์ไม่มีสัตว์นักล่าบนพื้นดิน ที่แข็งแกร่งกว่าอินทรีฮาสท์ ทำให้พวกมันสามารถกินเหยื่อบนพื้นดินได้โดยไม่ต้องกลัวถูกแย่งไป ไม่เคยมีชาวผิวขาวคนใดได้เห็น นกอินทรีฮาสท์ คงมีเพียงชาวมาวรีเท่านั้นที่เคยเห็นมัน

ภาพวาดนกอิทรียักษ์ฮาสท์กำลังล่านกโมอา

กระดูกของอินทรียักษ์ ถูกค้นพบครั้งแรกในปี 1871[10] ระหว่างการขุดค้นกระดูกนกโมอาที่บึงเกลมมาร์ก (Glemmark) ในแคนเทอร์บรี (Canterbury) จากนั้นได้มีการศึกษา และตั้งชื่อในปีต่อมา กระดูกของอินทรีฮาสท์ไม่ได้พบทั่วไป แต่มีอยู่เฉพาะในเกาะใต้ และทางตอนใต้ของเกาะเหนือของประเทศนิวซีแลนด์เท่านั้น[11]

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่านกอินทรีฮาสท์เป็นนกนักล่าที่น่ากลัวที่สุดของนิวซีแลนด์[12] พวกมันสามารถล่าเหยื่อขนาดใหญ่อย่างนกโมอาที่หนักกว่า 250 กิโลกรัมได้ โดยนกอินทรีฮาสท์จะใช้วิธีพุ่งเข้าชนเหยื่อ แรงปะทะของมันจะทำให้นกโมอาเสียหลักล้มลง จากนั้นมันจึงเล่นงานด้วยกรงเล็บ นอกจากนี้พวกมันก็อาจเล่นงานชาวพื้นเมืองเหมือนดังในตำนานก็ได้[13]

สูญพันธุ์

[แก้]

งานวิจัยหนึ่งประมาณการจำนวนประชากรอินทรีฮาสท์ไว้ที่ 3,000 ถึง 4,500 คู่[14] มนุษย์ที่ตั้งถิ่นฐานยุคแรกในนิวซีแลนด์ (บรรพบุรุษของชาวมาวรีเดินทางมาเมื่อประมาณ ค.ศ. 1280) ล่านกขนาดใหญ่ที่บินไม่ได้ ซึ่งรวมถึงโมอาทุกชนิด เป็นจำนวนมาก และทำให้พวกมันสูญพันธุ์เมื่อประมาณ ค.ศ. 1400[5] ทั้งอินทรีและชาวมาวรีน่าจะแข่งขันเพื่อหาอาหารชนิดเดียวกัน[15] อินทรีชนิดนี้พึงพานกที่บินไม่ได้ขนาดปานกลางและขนาดใหญ่อย่างมาก ซึ่งต่างจากมนุษย์ การสูญเสียเหยื่อหลักทำให้อินทรีฮาสท์สูญพันธุ์เมื่อช่วงเดียวกันโดยประมาณ[15]

ความสัมพันธ์กับมนุษย์

[แก้]
โครงร่างอินทรีที่ Macraes Flat

มีบางคนเชื่อว่านกชนิดนี้ปรากฏในตำนานของชาวมาวรีหลายแห่งภายใต้ชื่อ โปวาไก, hokioi หรือ ฮากาไว[16] ข้อมูลที่เซอร์ จอร์จ เกรย์ ผู้ว่าการนิวซีแลนด์ยุคต้น ได้รับมา รายงานว่า Hokioi เป็นนกขนาดใหญ่สีดำ-ขาว ที่มีหน้าอกสีแดงและปลายปีกสีเหลือง-เขียว ในตำนานของชาวมาวรีบางเรื่อง Pouakai ฆ่ามนุษย์ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์หลายคนเชื่อว่าอาจมีความเป็นไปได้หากชื่อนี้เกี่ยวข้องกับนกอินทรี เนื่องด้วยขนาดและความแข็งแกร่งที่ใหญ่โตของนก[16] อย่างไรก็ตาม มีผู้โต้แย้งว่าตำนาน "hakawai" และ "hokioi" สื่อถึงนกปากซ่อม Coenocorypha นกชนิดหนึ่งที่สูญพันธุ์ในเกาะใต้[17]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Aquila moorei. NZTCS". nztcs.org.nz. สืบค้นเมื่อ 21 July 2023.
  2. Giant eagle (Aquila moorei), Haast's eagle, or Pouakai. Museum of New Zealand: Te Papa Tongarewa. Retrieved 27 October 2010.
  3. Knapp, Michael; Thomas, Jessica E.; Haile, James; Prost, Stefan; Ho, Simon Y.W.; Dussex, Nicolas; Cameron-Christie, Sophia; Kardailsky, Olga; Barnett, Ross; Bunce, Michael; Gilbert, M. Thomas P. (May 2019). "Mitogenomic evidence of close relationships between New Zealand's extinct giant raptors and small-sized Australian sister-taxa". Molecular Phylogenetics and Evolution (ภาษาอังกฤษ). 134: 122–128. doi:10.1016/j.ympev.2019.01.026. PMID 30753886. S2CID 73420145.
  4. Davies, S.J.J.F. (2003)
  5. 5.0 5.1 Perry, George L.W.; Wheeler, Andrew B.; Wood, Jamie R.; Wilmshurst, Janet M. (2014-12-01). "A high-precision chronology for the rapid extinction of New Zealand moa (Aves, Dinornithiformes)". Quaternary Science Reviews. 105: 126–135. Bibcode:2014QSRv..105..126P. doi:10.1016/j.quascirev.2014.09.025.
  6. Lerner, H. R., & Mindell, D. P. (2005). Phylogeny of eagles, Old World vultures, and other Accipitridae based on nuclear and mitochondrial DNA. Molecular phylogenetics and evolution, 37(2), 327-346.
  7. Ladyguin, Alexander (2000). The morphology of the bill apparatus in the Steller’s Sea Eagle. First Symposium on Steller’s and White-tailed Sea Eagles in East Asia pp. 1–10; Ueta, M. & McGrady, M.J. (eds.) Wild Bird Society of Japan
  8. Blas R. Tabaranza Jr. "Haribon – Ha ring mga Ibon, King of Birds". Haring Ibon’s Flight…. สืบค้นเมื่อ 2013. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. Lerner, H. R., & Mindell, D. P. (2005). Phylogeny of eagles, Old World vultures, and other Accipitridae based on nuclear and mitochondrial DNA. Molecular phylogenetics and evolution, 37(2), 327-346.
  10. Lerner, H. R., & Mindell, D. P. (2005). Phylogeny of eagles, Old World vultures, and other Accipitridae based on nuclear and mitochondrial DNA. Molecular phylogenetics and evolution, 37(2), 327-346.
  11. Bunce, M. (2005). "Ancient DNA Provides New Insights into the Evolutionary History of New Zealand's Extinct Giant Eagle". PLoS Biology. 3 (1): e9. doi:10.1371/journal.pbio.0030009. PMC 539324. PMID 15660162. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  12. Brathwaite, D. H. (December 1992). "Notes on the weight, flying ability, habitat, and prey of Haast's Eagle (Harpagornis moorei)" (PDF). Notornis. 39 (4): 239–247. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-19. สืบค้นเมื่อ 2013-09-07. Ornithology of the Southern Pacific
  13. Braithwaite, D.H. "NOTES ON THE WEIGHT, FLYING ABILITY, HABITAT, AND PREY OF HAAST'S EAGLE (Harpagornis moorei)" (PDF). Notornis, journal of the Ornithological Society of New Zealand (Inc.). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-01-19. สืบค้นเมื่อ 2013-03-28.
  14. Evans, Kate (November 2018). "Return of the Lost Birds". New Zealand Geographic (ภาษาอังกฤษ) (154): 30. ISSN 0113-9967.
  15. 15.0 15.1 Tennyson, A.; Martinson, P. (2006). Extinct Birds of New Zealand. Wellington, New Zealand: Te Papa Press. ISBN 978-0-909010-21-8.
  16. 16.0 16.1 Rodgers, Paul (14 September 2009). "Maori legend of man-eating bird is true". The Independent. สืบค้นเมื่อ 14 September 2009.
  17. Miskelly, C. M. (1987). "The identity of the hakawai" (PDF). Notornis. 34 (2): 95–116. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-09.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]