นกโมอา
นกโมอา ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยไมโอซีน – สมัยโฮโลซีน, 17–0.0006Ma | |
---|---|
โครงกระดูกโมอายักษ์เกาะเหนือ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอตา Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | สัตว์ปีก |
ชั้นฐาน: | Palaeognathae |
เคลด: | Notopalaeognathae |
อันดับ: | †Dinornithiformes Bonaparte, 1853[1] |
ชนิดต้นแบบ | |
†Dinornis novaezealandiae Owen, 1843 | |
กลุ่มย่อย | |
ดูข้อความ | |
ความหลากหลาย[2] | |
6 สกุล, 9 ชนิด | |
ชื่อพ้อง[3] | |
|
นกโมอา (อังกฤษ: moa) เป็นกลุ่มนกที่บินไม่ได้สูญพันธุ์แล้วที่เคยอาศัยอยู่ในประเทศนิวซีแลนด์[4]ในสมัยไพลสโตซีนตอนปลาย-สมัยโฮโลซีน มี 9 ชนิด (ใน 6 สกุล) โดย Dinornis robustus และ Dinornis novaezelandiae 2 ชนิดที่ใหญ่ที่สุด มีความสูงถึงประมาณ 3.6 เมตร (12 ฟุต) (ยืดคอแล้ว) และหนักประมาณ 230 กิโลกรัม (510 ปอนด์)[5] ส่วนนกโมอาพุ่มไม้ (Anomalopteryx didiformis) ชนิดที่เล็กที่สุด มีขนาดประมาณเท่ากับไก่งวง[6] ประชากรนกโมอาทั้งหมดในช่วงที่ชาวพอลินีเชียเข้าตั้งถิ่นฐานในนิวซีแลนด์ประมาณ ค.ศ. 1300 มีหลากหลาย ซึ่งอยู่ในช่วงระหว่าง 58,000[7] ถึงประมาณ 2.5 ล้านตัว[8]
นกโมอาเดิมจัดอยู่ในกลุ่ม ratite[4] อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาทางพันธุกรรมพบว่าญาติที่ใกล้ชิดที่สุดของนกโมอาคือ tinamou จากทวีปอเมริกาใต้ ซึ่งเคยเป็นกลุ่มพี่น้องกับ ratites.[9] นกโมอา 9 ชนิดบินไม่ได้ โดยเป็นสัตว์บนพื้นดินที่ใหญ่ที่สุดและเป็นสัตว์กินพืชชั้นสูงสุดในระบบนิเวศป่า ไม้พุ่ม และใต้เทือกเขาของนิวซีแลนด์ จนกระทั่งการเข้ามาของชาวมาวรี และพวกมันถูกล่าเฉพาะจากอินทรีฮาสท์ นกโมอาสูญพันธุ์หลังการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในนิวซีแลนด์ภายใน 100 ปี โดยหลักเนื่องจากการล่าสัตว์มากเกินไป[7]
รายละเอียด
[แก้]เดิมทีมีการจัดโครงกระดูกโมอาในแบบตั้งตรง เพื่อสร้างความสูงที่น่าประทับใจ แต่การวิเคราะห์ข้อต่อกระดูกสันหลังแสดงให้เห็นว่าพวกมันอาจยกศีรษะไปข้างหน้า[10] คล้ายกับนกกีวี กระดูกสันหลังติดอยู่ที่หลังศีรษะมากกว่าฐาน แสดงถึงการจัดตำแหน่งในแนวนอน สิ่งนี้จะทำให้พวกมันกินหญ้าบนพืชเตี้ย แล้วสามารถเงยหน้าขึ้น และเดินดูต้นไม้ได้เมื่อจำเป็น ส่งผลให้มีการพิจารณาความสูงของโมอาที่ใหญ่กว่าอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ศิลปะบนหินของชาวมาวรีแสดงภาพโมอาหรือนกคล้ายโมอา (น่าจะเป็นห่านหรือadzebill) ที่มีคอตั้งตรง แสดงว่าโมอาสามารถยกคอเกินกว่าทั้งสองแบบได้[11][12]
การจัดอันดับ
[แก้]อนุกรมวิธาน
[แก้]สกุลและชนิดที่ได้รับการยอมรับในปัจจุบัน มีดังนี้:[5]
- อันดับ †Dinornithiformes (Gadow 1893) Ridgway 1901 [Dinornithes Gadow 1893; Immanes Newton 1884] (นกโมอา)
- วงศ์ Dinornithidae Owen 1843 [Palapteryginae Bonaparte 1854; Palapterygidae Haast 1874; Dinornithnideae Stejneger 1884] (นกโมอายักษ์)
- สกุล Dinornis
- นกโมอายักษ์เกาะเหนือ, Dinornis novaezealandiae (North Island, New Zealand)
- นกโมอายักษ์เกาะใต้, Dinornis robustus (South Island, New Zealand)
- สกุล Dinornis
- วงศ์ Emeidae (Bonaparte 1854) [Emeinae Bonaparte 1854; Anomalopterygidae Oliver 1930; Anomalapteryginae Archey 1941] (นกโมอาน้อย)
- สกุล Anomalopteryx
- นกโมอาพุ่มไม้, Anomalopteryx didiformis (North and South Island, New Zealand)
- สกุล Emeus
- นกโมอาตะวันออก, Emeus crassus (South Island, New Zealand)
- สกุล Euryapteryx
- นกโมอาปากกว้าง, Euryapteryx curtus (North and South Island, New Zealand)
- สกุล Pachyornis
- นกโมอาตีนหนัก, Pachyornis elephantopus (South Island, New Zealand)
- Mantell's moa, Pachyornis geranoides (North Island, New Zealand)
- Crested moa, Pachyornis australis (South Island, New Zealand)[2]
- สกุล Anomalopteryx
- วงศ์ Megalapterygidae
- สกุล Megalapteryx
- นกโมอาที่ราบสูง, Megalapteryx didinus (South Island, New Zealand)
- สกุล Megalapteryx
- วงศ์ Dinornithidae Owen 1843 [Palapteryginae Bonaparte 1854; Palapterygidae Haast 1874; Dinornithnideae Stejneger 1884] (นกโมอายักษ์)
มีนกโมอาชนิดที่ไม่ได้รับการตั้งชื่อ 2 ชนิดจาก Saint Bathans Fauna.[13]
ลักษณะ
[แก้]นกโมอาเป็นนกที่มีขนาดใหญ่กว่านกปกติทั่วไป บินไม่ได้และมีรูปร่างคล้ายกับนกกระจอกเทศในปัจจุบันแต่ตัวใหญ่กว่า มีส่วนหัวที่ยาวกว่าเอาไว้กินพืชเตี้ย ๆ และตามต้นไม้สูง ๆ ขนาดและรูปร่างนกโมอานั้นเปลี่ยนไปตามสถานที่ต่าง ๆ เนื่องจากนกโมอาได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงทางด้านกายภาพมาโดยตลอดซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม
การเปล่งเสียง
[แก้]ถึงแม้ว่าจะไม่มีการอัดเสียงของนกโมอาไว้ แต่จากการศึกษาดูกระดูกส่วนหัวและลำคอของนกโมอา ได้ทำให้พอจะรู้ว่าเสียงของนกโมอาเป็นยังไง กล่องเสียงของนกโมอานั้นมีวงแหวนอยู่หลายวง ซึ่งมีชื่อว่า Tracheal rings วงแหวนหนึ่งอันนั้น พอคลี่ออกมาแล้วจะมีความยาวถึงประมาณ 1 เมตร เพราะวงแหวนตัวนี้ทำให้เสียงของนกโมอานั้นมีความใกล้เคียงกับหงส์, นกกระเรียน และ ไก่ขนดำจุดขาวในวงศ์ Numididae และนกกระทานิวกินี เสียงนกโมอาสามารถไปได้ไกลมาก
อาหาร
[แก้]ถึงแม้ว่าจะไม่มีใครเคยเห็นนกโมอาอย่างแท้จริง แต่โดยการวิเคราะห์จากซากฟอสซิลของนกโมอา ได้ทำให้รู้ว่ามันกินพืชส่วนใหญ่และกิ่งไม้เล็ก ๆ จากต้นไม้ที่ไม่สูงมาก ตรงปากของนกโมอานั้นแข็งแรงมากและถูกใช้เป็นอาวุธป้องกันตัวจากสัตว์อื่นได้
การขยายและสืบพันธุ์
[แก้]จากการศึกษากระดูกของนกโมอา ทำให้รู้ได้ว่านกโมอามีการเจริญเติบโตที่ยาวนานมาก มันใช้เวลาประมาณ 10 ปีเพื่อที่จะพัฒนาจากเป็นเด็กสู่ตัวผู้ใหญ่เต็มตัว
ไข่
[แก้]ชิ้นส่วนของไข่ ของนกโมอาถูกค้นพบอยู่เป็นประจำในแหล่งต่างๆที่ฟอสซิลถูกค้นพบและตามบริเวณทรายรอบๆชายฝั่งนิวซีแลนด์ในปัจจุบันมีไข่ที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ จัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ รอบ ๆ นิวซีแลนด์เป็นจำนวน 36 ใบ แต่ละอันมีขนาดที่แตกต่างกันไปตั้งแต่ 120 – 124 มิลลิเมตร ไปจนถึง 91 – 178 มิลลิเมตร เปลือกนอกของไข่จะมีเอกลักษณ์อยู่ที่มีรูเล็ก ๆ ไข่ส่วนใหญ่จะมีสีขาว แต่ยกเว้นชนิด Megalapteryx didinus จะมีไข่เป็นสีน้ำเงินรึเขียว
รัง
[แก้]ไม่มีหลักฐานที่บ่งบอกว่าโมอาเป็นนกที่อาศัยอยู่กันเป็นฝูง ส่วนใหญ่จะถูกพบเป็นย่อม ๆ ตามถ้ำต่าง ๆ การสำรวจถ้ำต่าง ๆ ในเกาะเหนือ รังของนกโมอานั้นส่วนใหญ่จะถูกกดลงไปในดิน ส่วนที่แห้งและนิ่มในเขตพื้นที่ตอนกลางโอตาโก ของเกาะใต้ อากาศค่อนข้างแห้งจึงทำให้ใบไม้และวัสดุต่าง ๆ ที่นกโมอาใช้ในการทำรัง ยังคงอยู่ในสภาพใกล้เคียงเดิม เมล็ดของต้นไม้ต่าง ๆ ที่ถูกพบตามแหล่งเหล่านี้เป็นหลักฐานได้ว่าส่วนใหญ่นกโมอาจะทำรังในช่วงฤดูร้อน
การสูญพันธุ์
[แก้]ศัตรูหลักของนกโมอาคือนกอินทรีฮาสท์จนกระทั่งมนุษย์ได้เข้ามาบนเกาะนิวซีแลนด์ ชาวมาวรีได้เริ่มเข้ามาในช่วง ค.ศ. 1300 และได้เริ่มการล่านกโมอาจนเริ่มสูญพันธุ์ ประมาณ ค.ศ. 1400 นกโมอาได้สูญพันธุ์ไปหมดแล้วรวมไปถึงนกอินทรีฮาสท์ซึ่งสูญพันธุ์ไปด้วยเนื่องจากไม่มีนกโมอาให้กิน
การสูญพันธุ์ของนกโมอานั้นเกิดขึ้นภายในไม่ถึง 100 ปี ซึ่งผิดไปจากการสันนิษฐานของนักวิทยาศาสตร์ในช่วงแรกที่บอกว่านกโมอาใช้เวลาหลายร้อยปีในการค่อย ๆ สูญพันธุ์ อย่างไรก็ตาม ในช่วงทศวรรษ 1800 มีการอ้างว่าพบเห็นนกโมอาในหลาย ๆ แถบของประเทศนิวซีแลนด์ แต่ไม่มีหลักฐานอะไรที่ชัดเจนที่บ่งบอกว่านกโมอายังมีชีวิตอยู่จริง ในยุคปัจจุบันมีรายงานการพบเห็นนกโมอาในแถบฟยอร์ดแลนด์ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะใต้ รวมถึงทางตอนเหนือของฟยอร์ดแลนด์ โดยบอกเล่ากันว่านกโมอาเป็นนกขนาดใหญ่ คอยาว มีความสูง 12 ฟุต มีขนสีสดใส ในปากเต็มไปด้วยฟันแหลมคม แต่ไม่มีปีก มีผู้อ้างว่าพบเห็นนกโมอาขณะที่กำลังปีนเขาอยู่ และได้ถ่ายรูปได้ แต่ทว่าเป็นรูปมัว ๆ และได้มีรายการโทรทัศน์ลงพื้นที่ไปตามหา พบรอยเท้าที่มีนิ้วเท้าสามนิ้วขนาดใหญ่ ซึ่งไม่ใช่รอยเท้าของนกแก้วคาคาโป นกแก้วขนาดใหญ่ที่บินไม่ได้และหากินในเวลากลางคืน เพราะมีขนาดใหญ่กว่า แต่ทว่าก็ไม่น่าจะใช่ของนกโมอา เพราะนิ้วเท้ากลางนั้นใหญ่ยาวกว่านิ้วอื่น[14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Brands, S. (2008)
- ↑ 2.0 2.1 Stephenson, Brent (2009)
- ↑ Brodkob, Pierce (1963). "Catalogue of fossil birds 1. Archaeopterygiformes through Ardeiformes". Biological Sciences, Bulletin of the Florida State Museum. 7 (4): 180–293. สืบค้นเมื่อ 30 December 2015.
- ↑ 4.0 4.1 OSNZ (2009)
- ↑ 5.0 5.1 Davies, S.J.J.F. (2003)
- ↑ "Little bush moa | New Zealand Birds Online". nzbirdsonline.org.nz. สืบค้นเมื่อ 24 July 2020.
- ↑ 7.0 7.1 Perry, George L.W.; Wheeler, Andrew B.; Wood, Jamie R.; Wilmshurst, Janet M. (1 December 2014). "A high-precision chronology for the rapid extinction of New Zealand moa (Aves, Dinornithiformes)". Quaternary Science Reviews. 105: 126–135. Bibcode:2014QSRv..105..126P. doi:10.1016/j.quascirev.2014.09.025. สืบค้นเมื่อ 22 December 2014.
- ↑ Latham, A. David M.; Latham, M. Cecilia; Wilmshurst, Janet M.; Forsyth, David M.; Gormley, Andrew M.; Pech, Roger P.; Perry, George L. W.; Wood, Jamie R. (March 2020). "A refined model of body mass and population density in flightless birds reconciles extreme bimodal population estimates for extinct moa". Ecography (ภาษาอังกฤษ). 43 (3): 353–364. doi:10.1111/ecog.04917. ISSN 0906-7590.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อPhillips
- ↑ Worthy & Holdaway (2002)
- ↑ Schoon, Theo. "Cave drawing of a moa". Te Ara Encyclopedia of New Zealand. Te Ara.
- ↑ "Te Manunui Rock Art Site". Heritage New Zealand.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อReferenceA
- ↑ ChannelHub (2016-05-01). "Destination Truth S03E15 Spirits of Easter Island & The Moa". Destination Truth. สืบค้นเมื่อ 2016-09-22.
บรรณานุกรม
[แก้]- Anderson, Atholl (1989). "On evidence for the survival of moa in European Fiordland" (PDF). New Zealand Journal of Ecology. 12 (Supplement): 39–44.
- Baker, Allan J.; Huynen, Leon J.; Haddrath, Oliver; Millar, Craig D.; Lambert, David M. (2005). "Reconstructing the tempo and mode of evolution in an extinct clade of birds with ancient DNA: The giant moas of New Zealand". PNAS. 102 (23): 8257–8262. Bibcode:2005PNAS..102.8257B. doi:10.1073/pnas.0409435102. PMC 1149408. PMID 15928096.
- Brands, Sheila (14 August 2008). "Systema Naturae 2000 / Classification, Order Dinornithiformes". Project: The Taxonomicon. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 March 2009. สืบค้นเมื่อ 4 February 2009.
- Buller, W.L. (1888). A history of the birds of New Zealand. London: Buller.
- Bunce, Michael; Worthy, Trevor; Ford, Tom; Hoppitt, Will; Willerslev, Eske; Drummond, Alexei; Cooper, Alan (2003). "Extreme reversed sexual size dimorphism in the extinct New Zealand moa Dinornis" (PDF). Nature. 425 (6954): 172–175. Bibcode:2003Natur.425..172B. doi:10.1038/nature01871. PMID 12968178. S2CID 1515413. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 28 January 2019.
- Burrows, C.; และคณะ (1981). "The diet of moas based on gizzard contents samples from Pyramid Valley, North Canterbury, and Scaifes Lagoon, Lake Wanaka, Otago". Records of the Canterbury Museum. 9: 309–336.
- Davies, S.J.J.F. (2003). "Moas". ใน Hutchins, Michael (บ.ก.). Grzimek's Animal Life Encyclopedia. Vol. 8 Birds I Tinamous and Ratites to Hoatzins (2 ed.). Farmington Hills, MI: Gale Group. pp. 95–98. ISBN 978-0-7876-5784-0.
- Dawkins, Richard (2004). A Pilgrimage to the Dawn of Life, The Ancestor's Tale. Boston: Houghton Mifflin. p. 292. ISBN 978-0-618-00583-3.
- Dieffenbach, E. (1843). Travels in New Zealand. Vol. II. London: John Murray. p. 195. ISBN 978-1-113-50843-0.
- Dutton, Dennis (1994). "Skeptics Meet Moa Spotters". New Zealand Skeptics Online. New Zealand: New Zealand Committee for the Scientific Investigation of Claims of the Paranormal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 March 2016. สืบค้นเมื่อ 14 February 2011.
- Forrest, R.M. (1987). "A partially mummified skeleton of Anomalopteryx didiformis from Southland". Journal of the Royal Society of New Zealand. 17 (4): 399–408. doi:10.1080/03036758.1987.10426481.
- Fuller, Errol (1987). Bunney, Sarah (บ.ก.). Extinct Birds. London, England: The Rainbird Publishing Group. ISBN 978-0-8160-1833-8.
- Gill, B.J. (2007). "Eggshell characteristics of moa eggs (Aves: Dinornithiformes)". Journal of the Royal Society of New Zealand. 37 (4): 139–150. doi:10.1080/03014220709510542. S2CID 85006853.
- Gould, Charles (1886). Mythical Monsters. W.H. Allen & Co.
- Hamilton, A. (1894). "On the feathers of a small species of moa (Megalapteryx didinus) found in a cave at the head of the Waikaia River, with a notice of a moa-hunters camping place on the Old Man Range". Transactions and Proceedings of the New Zealand Institute. 27: 232–238.
- Hartree, W.H. (1999). "A preliminary report on the nesting habits of moas in the East Coast of the North Island" (PDF). Notornis. 46 (4): 457–460. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-05-19. สืบค้นเมื่อ 2023-03-07.
- Bernard Heuvelmans (1959). On the Track of Unknown Animals (3rd [1995] ed.). London: Kegan Paul International Ltd. Chapter 10. ISBN 978-0710304988.
- Hill, H. (1913). "The Moa – Legendary, Historical and Geographical: Why and When the Moa disappeared". Transactions and Proceedings of the Royal Society of New Zealand. 46: 330.
- Holdaway, Richard; Jacomb, C. (2000). "Rapid Extinction of the Moas (Aves: Dinornithiformes): Model, Test, and Implications". Science. 287 (5461): 2250–2254. Bibcode:2000Sci...287.2250H. doi:10.1126/science.287.5461.2250. PMID 10731144.
- Holdaway, Richard; Worthy, Trevor (1997). "A reappraisal of the late Quaternary fossil vertebrates of Pyramid Valley Swamp, North Canterbury". New Zealand Journal of Zoology. 24: 69–121. doi:10.1080/03014223.1997.9518107.
- Horrocks, M.; และคณะ (2004). "Plant remains in coprolites: diet of a subalpine moa (Dinornithiformes) from southern New Zealand". Emu. 104 (2): 149–156. doi:10.1071/MU03019. S2CID 86345660.
- Hutton, F.W.; Coughtrey, M. (1874). "Notice of the Earnscleugh Cave". Transactions and Proceedings of the New Zealand Institute. 7: 138–144.
- Huynen, Leon; Gill, Brian J.; Millar, Craig D.; Lambert, David M. (30 August 2010). "Ancient DNA Reveals Extreme Egg Morphology and Nesting Behavior in New Zealand's Extinct Moa". Proceedings of the National Academy of Sciences. 107 (30): 16201–16206. Bibcode:2010PNAS..10716201H. doi:10.1073/pnas.0914096107. PMC 2941315. PMID 20805485.
- Huynen, Leon J.; Millar, Craig D.; Scofield, R.P.; Lambert, David M. (2003). "Nuclear DNA sequences detect species limits in ancient moa". Nature. 425 (6954): 175–178. Bibcode:2003Natur.425..175H. doi:10.1038/nature01838. PMID 12968179. S2CID 4413995.
- Laing, Doug (5 January 2008). "Birdman says moa surviving in the Bay". Hawkes Bay Today. APN News & Media Ltd. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 July 2011. สืบค้นเมื่อ 14 February 2011.
- Millener, P.R. (1982). "And then there were twelve: the taxonomic status of Anomalopteryx oweni (Aves: Dinornithidae)" (PDF). Notornis. 29 (1): 165–170. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-07-18. สืบค้นเมื่อ 2023-03-07.
- OSNZ (Jan 2009). "New Zealand Recognised Bird Names (NZRBN) database". Ornithological Society of New Zealand Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 April 2015. สืบค้นเมื่อ 14 February 2011.
- Owen, Richard (1879). Memoirs on the Extinct Wingless Birds of New Zealand, with an Appendix of Those of England, Australia, Newfoundland, Mauritius and Rodriguez. London: John van Voorst. hdl:2152/16251.
- Phillips, Matthew J.; Gibb, Gillian C.; Crimp, Elizabeth A.; Penny, David (2010). "Tinamous and Moa Flock Together: Mitochondrial Genome Sequence Analysis Reveals Independent Losses of Flight among Ratites". Systematic Biology. 59 (1): 90–107. doi:10.1093/sysbio/syp079. PMID 20525622.
- Polack, J.S. (1838). New Zealand: Being a Narrative of Travels and Adventures During a Residence in that Country Between the Years 1831 and 1837. Vol. I. London: Richard Bentley. pp. 303, 307.
- Purcell, Rosamond (1999). Swift as a Shadow. Mariner Books. p. 32. ISBN 978-0-395-89228-2.
- Stephenson, Brent (5 January 2009). "New Zealand Recognised Bird Names (NZRBN) database". New Zealand: Ornithological Society of New Zealand. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 April 2015. สืบค้นเมื่อ 10 May 2010.
- Turvey, Samuel T.; Green, Owen R.; Holdaway, Richard (2005). "Cortical growth marks reveal extended juvenile development in New Zealand moa". Nature. 435 (7044): 940–943. Bibcode:2005Natur.435..940T. doi:10.1038/nature03635. PMID 15959513. S2CID 4308841.
- Vickers-Rich, P; Trusler, P; Rowley, MJ; Cooper, A; Chambers, GK; Bock, WJ; Millener, PR; Worthy, Trevor; Yaldwyn, JC (1995). "Morphology, myology, collagen and DNA of a mummified moa, Megalapteryx didinus (Aves: Dinornithiformes) from New Zealand" (PDF). Tuhinga: Records of the Museum of New Zealand Te Papa Tongarewa. 4: 1–26. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 22 May 2010.
- Wood, J.R. (2007). "Moa gizzard content analyses: further information on the diet of Dinornis robustus and Emeus crassus, and the first evidence for the diet of Pachyornis elephantopus (Aves: Dinornithiformes)". Records of the Canterbury Museum. 21: 27–39.
- Wood, J.R. (2008). "Moa (Aves: Dinornithiformes) nesting material from rockshelters in the semi-arid interior of South Island, New Zealand". Journal of the Royal Society of New Zealand. 38 (3): 115–129. doi:10.1080/03014220809510550. S2CID 129645654.
- Wood, J.R.; Worthy, Trevor; Rawlence, N.J.; Jones, S.M.; Read, S.E. (2008). "A deposition mechanism for Holocene miring bone deposits, South Island, New Zealand". Journal of Taphonomy. 6: 1–20. hdl:2440/62495.
- Worthy, Trevor (1989). "Mummified moa remains from Mt. Owen, northwest Nelson" (PDF). Notornis. 36: 36–38. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-12-13. สืบค้นเมื่อ 2023-03-07.
- Worthy, Trevor (1998a). "Quaternary fossil faunas of Otago, South Island, New Zealand". Journal of the Royal Society of New Zealand. 28 (3): 421–521. doi:10.1080/03014223.1998.9517573.
- Worthy, Trevor (1998b). "The Quaternary fossil avifauna of Southland, South Island, New Zealand". Journal of the Royal Society of New Zealand. 28 (4): 537–589. doi:10.1080/03014223.1998.9517575.
- Worthy, Trevor; Holdaway, Richard (1993). "Quaternary fossil faunas from caves in the Punakaiki area, West Coast, South Island, New Zealand". Journal of the Royal Society of New Zealand. 23 (3): 147–254. doi:10.1080/03036758.1993.10721222.
- Worthy, Trevor; Holdaway, Richard (1994). "Quaternary fossil faunas from caves in Takaka Valley and on Takaka Hill, northwest Nelson, South Island, New Zealand". Journal of the Royal Society of New Zealand. 24 (3): 297–391. doi:10.1080/03014223.1994.9517474.
- Worthy, Trevor; Holdaway, Richard (1995). "Quaternary fossil faunas from caves on Mt. Cookson, North Canterbury, South Island, New Zealand". Journal of the Royal Society of New Zealand. 25 (3): 333–370. doi:10.1080/03014223.1995.9517494.
- Worthy, Trevor; Holdaway, Richard (1996). "Quaternary fossil faunas, overlapping taphonomies, and paleofaunal reconstructions in North Canterbury, South Island, New Zealand". Journal of the Royal Society of New Zealand. 26 (3): 275–361. doi:10.1080/03014223.1996.9517514.
- Worthy, Trevor; Holdaway, Richard (2002). The Lost World of the Moa. Bloomington: Indiana University Press. ISBN 978-0-253-34034-4.
- Worthy, Trevor (Mar 2009). "A moa sighting?". Te Ara – the Encyclopedia of New Zealand. สืบค้นเมื่อ 14 February 2011.
- Yong, Ed (Mar 2010). "DNA from the Largest Bird Ever Sequenced from Fossil Eggshells". Discover Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-13. สืบค้นเมื่อ 14 February 2011.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- TerraNature list of New Zealand's extinct birds
- TerraNature page on Moa
- Tree of Life classification and references เก็บถาวร 2020-12-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Moa article in Te Ara – the Encyclopedia of New Zealand
- 3D model of a moa skull