Location via proxy:   [ UP ]  
[Report a bug]   [Manage cookies]                
ข้ามไปเนื้อหา

เอนริเก อิเกลเซียส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอนริเก อิเกลเซียส
อิเกลเซียสสถะแสดงคอนเสิร์ตในปี 2011
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดเอนริเก มิเกล อิเกลเซียส เปรย์สเลร์
เกิด (1975-05-08) พฤษภาคม 8, 1975 (49 ปี)
มาดริด ประเทศสเปน
ที่เกิดไมแอมี รัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา
แนวเพลงป็อป, ลาติน , อาร์แอนด์บี , ป็อป-ลาติน
อาชีพนักร้อง-นักแต่งเพลง, นักแสดง, นายแบบ, โปรดิวเซอร์
ช่วงปี1995–ปัจจุบัน
ค่ายเพลงInterscope
เว็บไซต์enriqueiglesias.com

เอนริเก มิเกล อิเกลเซียส เปรย์สเลร์ (สเปน: Enrique Miguel Iglesias Preysler) เกิดเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2518กรุงมาดริด ประเทศสเปน เป็นนักร้อง-นักแต่งเพลง, นายแบบ และ นักแสดงชาวสเปน-ฟิลิปปินส์

ชีวิตด้านดนตรีของเอนริเกเริ่มต้นในเม็กซิโก เขาเซ็นสัญญากับค่ายเพลงอินดีชื่อว่า Fonovisa ซึ่งช่วยเหลือเขาให้กลายเป็นหนึ่งในศิลปินที่ได้รับความนิยมในลาตินอเมริกา และตลาดเพลงลาตินในสหรัฐอเมริกา เอนริเกเริ่มต้นการจำหน่ายอัลบั้มเป็นภาษาสเปนในปี พ.ศ. 2538 ต่อมาได้เซ็นสัญญากับค่ายยูนิเวอร์แซลมิวสิก หลังจากนั้นเขาก็ได้ออกอัลบั้มทั้งภาษาอังกฤษ และภาษาสเปน เอนริเกทำรายได้ให้แก่บริษัทยูนิเวอร์แซลมิวสิกกว่า 48 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

เอนริเกจำหน่ายอัลบั้มรวมแล้วกว่า 50 ล้านชุดทั่วโลก[1] เพลงของเขาขึ้นชาร์ตบิลบอร์ดในอันดับที่ 1 ถึง 2 เพลง และมีซิงเกิลภาษาสเปนอันดับ 1 ในชาร์ตเพลงลาตินของบิลบอร์ดกว่า 18 ซิงเกิล ปัจจุบันเอนริเกยังคงดำเนินงานด้านดนตรีอย่างสืบเนื่อง

ด้านชีวิตรักของเอนริเก เขาได้พบรักกับ แอนนา โครนิโคว่า อดีตนักเทนนิสสาวชาวรัสเซียชื่อดังในปี 2001 จนถึงปัจจุบัน มายาวนาน เขาและแฟนสาวแอนนาให้กำเนิดบุตรแฝดในเดือนธันวาคม 2017 และบุตรสาวเกิดเมื่อปี 2020 ทั้งคู่ไม่ได้จดลงทะเบียนสมรสแต่อย่างใด

  • นิโคลัส มานูเอล อิเกลเซียส (Nicholas Manuel Iglesias) (เกิดเมื่อปี 2017) (เป็นแฝดพี่ชาย)
  • ลูซี่ วาเลนติน่า อิเกลเซียส (Lucy Valentina Iglesias) (เกิดเมื่อปี 2017) (เป็นแฝดน้องสาว)
  • มาร์ช่า เอลิซาเบธ อิเกลเซียส (Marsha Elizabeth Iglesias) (เกิดเมื่อปี 2020)

ประวัติ

[แก้]
เอนริเก ที่มัชมิวสิก

เอนริเก เกิดเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 ที่กรุงมาดริด ประเทศสเปน[2] เป็นบุตรคนที่ 3 และเป็นบุตรคนสุดท้องของฆูลิโอ อิเกลเซียส นักร้องชาวสเปน และอิซาเบล เปรย์สเลร์ ผู้สื่อข่าวและพิธีกรชาวฟิลิปปินส์[3][4] บิดาของเขาเป็นชาวสเปนที่มีรกรากมาจากแคว้นกาลิเซีย[5] และอาจมีเชื้อสายยิวจากย่าของเขา[6] ภายหลังบิดาและมารดาของเอนริเกหย่ากันตั้งแต่ พ.ศ. 2521 และในปีต่อมา บิดาของเขาก็ย้ายไปอยู่ที่ไมแอมี รัฐฟลอริดา เพื่อดำเนินงานเพลงด้านดนตรีต่อ

ในปี พ.ศ. 2526 ฆูลิโอ อิเกลเซียส ปูกา ปู่ของเอนริเกถูกลักพาตัวโดยกลุ่มเอตา หลังจากนั้นเอนริเกและพี่ชายที่ชื่อฆูลิโอ อิเกลเซียส จูเนียร์ ก็ย้ายไปอาศัยอยู่กับบิดาที่ไมแอมี[7]

เอนริเกสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนฝึกหัด Gulliver ในปี พ.ศ. 2536 และเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยแห่งไมแอมี สาขาธุรกิจ แต่เขาได้พักการเรียนเพื่อดำเนินงานด้านดนตรีของเขา เอนริเกไม่ต้องการให้บิดาของเขารู้เรื่องของแผนการด้านดนตรีของเขา ดังนั้นเมื่อเขาส่งตัวอย่างเพลงของเขาให้กับค่ายเพลงต่างๆ เขาจะใช้ชื่อว่า Enrique Martinez ซึ่งเป็นชื่อจริงของเขาเอง ส่วนนามสกุลนั้นมาจาก Fernán Martínez ผู้จัดการส่วนตัวของเขา อนึ่ง เอนริเกไม่ต้องการให้นามสกุลที่มีชื่อเสียงของเขาช่วยเหลือเขาในงานด้านดนตรีด้วย เอนริเกเซ็นสัญญากับค่ายเพลงอินดีเล็กๆที่มีชื่อว่า Fonovisa เขาย้ายไปยังโทรอนโต ประเทศแคนาดาเป็นเวลา 6 เดือนเพื่อบันทึกเสียงอัลบั้มแรกของเขา

1999 เอนริเกพร้อมแล้วที่จะขยายตลาดของเขาออกไปมากกว่าในแถบลาติน ‘Enrique’ คืออัลบั้มภาษาอังกฤษชุดแรกและเป็นครั้งแรกกับค่ายInterscope อัลบั้มนี้มีเพลงฮิตอย่าง “Bailamos” (We Dance) , "Rhythm Divine," "Be With You," และ "Could I Have This Kiss Forever," ซึ่งร้องคู่กับวิทนีย์ ฮูสตัน ในอเมริกาอัลบั้มนี้ได้ 2 รางวัลทองคำขาว และเอนริเกได้โชว์ต่อหน้าฝูงชนเป็นล้านในช่วงพักครึ่งของซูเปอร์โบวล์ปี 2000 เอนริเกได้รับทั้งอัลบั้มทองคำและทองคำขาวใน 32 ประเทศและกลายเป็นนักร้องต่างชาติที่ทำยอดขายได้มากที่สุดตลอดกาลในอินเดีย

และแล้วก็มาถึงอัลบั้ม Escape ที่มีเพลงดัง “Hero” และ “Escape” ซึ่งทำให้เอนริเกกลายเป็นนักร้องดังในฝั่งยุโรปเมื่อทำยอดขายได้ถึง 10 ล้านก๊อปปี้ ทั้งตัวอัลบั้มเและซิงเกิลชื่อเดียวกันนั้นต่างขึ้นถึงอันดับ 1 ในอังกฤษ ปี2003 เขาได้มีอัลบั้มชุดที่ 7 (เมื่อนับรวมอัลบั้มภาษาสเปน) ชื่อ ‘7’ ออกมาและได้ตอกย้ำความเป็นศิลปินตัวจริงของผู้ชายคนนี้

อัลบั้มใหม่ล่าสุด Insomniac เอนริเกบอกพร้อมกับเสียงหัวเราะว่า “ผมไม่เคยกลุ้มใจมากมายเวลาทำอัลบั้ม มันเหมือนเป็นการเดินทางค้นหาจิตวิญญาณและค้นพบตัวเองสำหรับผม” “ผมจะไม่บอกว่านี่คืออัลบั้มที่ดีที่สุดที่ผมเคยทำมา หรือเป็นการทำงานที่ดีที่สุด หรือมีเพลงที่ดีที่สุด” เขาสรุป “สิ่งหนึ่งที่แน่นอนที่สุดสำหรับอัลบั้มนี้ก็คือ ผมได้ทุ่มทุกสิ่งทุกอย่างไปในการทำมัน ---ทั้งหัวใจและจิตวิญญาณ”

การเดินทาง 3 ปีจึงเริ่มขึ้นจุดหมายไล่เรียงตั้งแต่ไมแอมี ลอสแอนเจลิส และสวีเดน โดยได้โปรดิวเซอร์อย่าง Sean Garret, Max Martin, Kristian Lundin, Mark Taylor&Paul Barry และ Anders Bagge “เมื่อผมเริ่มอัลบั้มนี้ ผมจะทำงานตอนกลางคืน แล้วก็นอนตอนกลางวัน ผมเป็นพวกบ้าพลังมาตลอดชีวิต แล้วคำว่า Insomniac (นอนไม่หลับ) ก็โผล่เข้ามาเป็นคำแรกเลยตอนที่คิดชื่ออัลบั้มนี้”

เพลงเด่นๆในอัลบั้มนี้ก็มีเพลงกลิ่นฮิบฮอบชื่อ “Push” ที่ได้ร่วมงานกับแรปเปอร์ Lil’ Wayne รวมทั้ง “Ring My Bell” เพลงที่เขาร่วมเขียนกับสองนักแต่งเพลงคนโปรดชาวสวีเดน Kristian Lundin ซึ่งSavan Kotecha ก็ได้มาแจมในเพลงนี้ด้วย “คุณรู้ไหมบางครั้งบางช่วงในชีวิตเมื่อคุณรู้สึกว่ามันผิดพลาดไปนิดหน่อย แล้วคุณก็บังเอิญค้นพบว่ามันมีบางอย่างเปลี่ยนคุณ นั้นแหละที่มันเกิดขึ้นกับเพลง “Ring My Bell” ความรู้สึกของเพลงนี้ทำให้ผมเปลี่ยนความคิดเรื่องที่ว่าอัลบั้มชุดนี้ควรออกมาเป็นอย่างไร” ตอนที่ทำเพลงนี้เขาได้ทดลองทำแบบฮิปฮอปสไตล์ ซึ่งเป็นเรื่องที่เขาไม่เคยชอบเลย แต่คราวนี้มันกับเป็นประสบการณ์ที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิง จริงๆแล้วมันไม่มีเพลงไหนในอัลบั้มนี้ที่เขาพยายามจะทำในสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนของเขา

อัลบั้ม Insomniac ประกอบไปด้วยเพลงภาษาอังกฤษ 12 เพลงและอีก 3 เพลงเป็นสเปน ความจริงแล้วเขาได้ทำเอาไว้อีก 20 เพลงในห้องอัดแต่ทั้งหมดนั้นถูกทิ้งไปเพราะเอนริเกคิดว่ามันยังไม่ได้มาตรฐานตามที่เขาต้องสำหรับอัลบั้มนี้ “ผมสามารถเอาเพลงพวกนั้นมาทำได้อีกอัลบั้มนึงเลยถ้าผมต้องการ แต่ผมคิดว่าคงไม่มีวันที่เพลงพวกนั้นจะได้ออกมาสู่โลกใบนี้แน่ ถ้าเราให้มันเป็นเพลงที่เรียกว่า บี-ไซด์ (เพลงแถม) มันก็ไม่น่าจะได้อยู่ในอัลบั้ม”

ในปี 2008 เอนริเก อิเกลเซียส ได้ร้องเพลงประจำการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2008 อย่างเป็นทางการ ที่ชื่อ Can You Hear Me แต่งโดย Steve Morales Frankie Strom และตัวเขาเอง โปรดิวซ์โดย Big Ben Diehl กับ Carlos Pacuar และอัดเสียงที่ Circles House Studio ที่ไมอามี่ [8]

อัลบั้ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Younger Iglesias says he's come a long way as performer". El Paso Times.[ลิงก์เสีย]
  2. "Enrique Iglesias". www.IMDb.com.
  3. "Filipino-Spanish Singer Enrique Iglesias - PinoyMusicChoice | Original Pilipino Music | OPM Hits | Philippines | Tagalog Song | Filipino Pop Culture". PinoyMusicChoice. 2011-08-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-25. สืบค้นเมื่อ 2011-12-05.
  4. "20 International Stars You Didn't Know Had Filipino Blood | Celebrities". FemaleNetwork.com. สืบค้นเมื่อ 2011-12-05.
  5. Blondy, Brian (2009-09-09). "Julio Iglesias charms in Tel Aviv". Jerusalem Post.
  6. Blondy, Brian (2009-09-09). "Julio Iglesias charms in Tel Aviv". Jerusalem Post. สืบค้นเมื่อ 7 March 2011. ---
  7. Levin, Jordan (November 23, 1997). "He Never Sang for His Father". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ December 2, 2009.
  8. Enrique ชวนคุณมันส์ไปกับ Euro2008 เก็บถาวร 2009-01-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน universalmusic.co.th

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]