Location via proxy:   [ UP ]  
[Report a bug]   [Manage cookies]                
ข้ามไปเนื้อหา

แมลงกระชอน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แมงกะชอน
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Arthropoda
ชั้น: Insecta
อันดับ: Orthoptera
อันดับย่อย: Ensifera
วงศ์ใหญ่: Grylloidea
วงศ์: Gryllotalpidae
Saussure, 1870
การแพร่กระจายของแมลงกระซอน

แมลงกระชอน (มักออกเสียงหรือสะกดเป็น "แมงกะชอน";[1][2] สุโขทัย:อีแหวก ไทยถิ่นเหนือ: แมงจอน; ไทยถิ่นอีสาน: แมงจีซอน, แมงอีซอน[1], แมงกีซอน[2]; เขมร: กระมล)[1] เป็นแมลงจำพวกหนึ่งในวงศ์ Gryllotalpidae มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับจิ้งหรีด ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในป่า พบในเขตเกษตรกรรมในประเทศไทยเพียงชนิดเดียวคือ Gryllotalpa orientalis ตัวยาวประมาณ 3 เซนติเมตร อกกว้าง 0.8 เซนติเมตร สีน้ำตาล ปีกบางใส บินได้ในระยะใกล้ ๆ เพียง 1–2 เมตร ขาคู่หน้าใช้ขุดดิน ปล้องสั้น ปล้องที่ 4 แบนคล้ายอุ้งมือ ส่วนขาคู่อื่น ๆ ใช้ในการวิ่ง กระโดดเหมือนแมลงทั่วไป ว่ายบนผิวน้ำและส่งเสียงร้องได้คล้ายจิ้งหรีด[2]

ส่วนใหญ่แมลงกระชอนอาศัยอยู่ใต้ดิน โดยขุดรูจากรังนอนไปหลายทิศทาง รังเป็นโพรงเท่าไข่ไก่ ลึกลงไป 5–10 เซนติเมตร วางไข่ในโพรงจนฟักเป็นตัว ใช้เวลาในการฟัก 10–21 วัน ตัวอ่อนเติบโตช้า บางชนิดใช้เวลาถึง 1 ปี จึงเป็นตัวเต็มวัย ชีวิตทั้งหมดอาศัยอยู่ใต้ดิน โดยจะออกมาเล่นไฟตอนกลางคืนเฉพาะเฉพาะเวลาผสมพันธุ์เท่านั้น กินสัตว์ต่าง ๆ ในดินเป็นอาหารและอาจทำลายรากพืช[3]

ขาคู่หน้าของแมลงกระชอน
วงชีวิตของแมลงกระชอน

แมลงกระชอน เป็นแมลงที่สามารถนำมารับประทานได้เหมือนกับจิ้งหรีด, ตั๊กแตน หรือหนอนไม้ไผ่บางชนิด โดยการจับนั้นนอกจากใช้วิธีการปล่อยน้ำลงพื้นที่นาแล้วใช้เท้าย่ำหรือเครื่องตัดหญ้าหรือรถไถแล้ว ปัจจุบันยังพัฒนาเป็นการใช้เสียงหลอกล่อด้วย[2][1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "สงกรานต์ ชาวบ้านบุรีรัมย์ แห่จับ'แมงกระชอน' กก.ละ100 สร้างรายได้". ไทยรัฐ. 2017-04-16. สืบค้นเมื่อ 2017-07-23.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 "อนุวัตจัดให้ : ตามหาแมงกระชอน จ.ศรีสะเกษ". ช่อง 7. 2017-04-24. สืบค้นเมื่อ 2017-07-23.[ลิงก์เสีย]
  3. สุธรรม อารีกุล. แมลงกระชอน ใน อนุกรมวิธานสัตว์ อักษร ก ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ. ราชบัณฑิตยสถาน. 2540 หน้า 51-52

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]