โคดี โรดส์
โคดี โรดส์ | |
---|---|
เกิด | โคดี แกร์เรตต์ รันเนลส์ 30 มิถุนายน ค.ศ. 1985[1] Marietta, Georgia, U.S. |
คู่สมรส | Brandi Rhodes (สมรส 2013) |
บุตร | 1 |
บิดามารดา | Dusty Rhodes (พ่อ) |
ญาติ | Dustin Rhodes (พี่ชายต่างมารดา) Magnum T. A. (พ่ออุปถัมภ์) Fred Ottman (ลุง) Jerry Sags (ลุง) Scorpio Sky (ลูกพี่ลูกน้องโดยการแต่งงาน/ลูกพี่ลูกน้องในกฎหมาย) Terri Runnels (อดีตภรรยาของพี่ชายต่างมารดา) |
ชื่อบนสังเวียน | Cody[2] Cody R[3][4] Cody Rhodes Fuego 2[5] Stardust |
ส่วนสูง | 6 ฟุต 2 นิ้ว (188 เซนติเมตร)[6] |
น้ำหนัก | 220 ปอนด์ (100 กิโลกรัม)[6] |
มาจาก | Atlanta, Georgia, U.S.[7] Charlotte, North Carolina, U.S. "The Fifth Dimension"[6] Marietta, Georgia, U.S.[8] |
ฝึกหัดโดย | Al Snow Danny Davis Dusty Rhodes Randy Orton Ricky Morton Shawn Spears |
เปิดตัว | 16 มิถุนายน 2006[9] |
โคดี แกร์เรตต์ รันเนลส์ (Cody Garrett Runnels; 30 มิถุนายน ค.ศ. 1985)[10][11] เป็นนักมวยปล้ำอาชีพและนักแสดงชาวอเมริกันที่รู้จักดีในชื่อ โคดี โรดส์ (Cody Rhodes) เจ้าของฉายา ดิ อเมริกัน ไนท์แมร์ (The American Nightmare) เป็นนักมวยปล้ำรุ่นที่ 2 ของตระกูลโรดส์ ลูกชายของ"ดิ อเมริกัน ดรีม" ดัสตี โรดส์ และน้องชายของดัสติน โรดส์ ปัจจุบันเขาเซ็นสัญญากับ WWE เป็นแชมป์อันดิสพิวเต็ด WWE นอกจากนี้เขายังเป็นที่รู้จักจากช่วงเวลาที่ออลอีลิตเรสต์ลิง ซึ่งเขาเคยเป็นผู้บริหารของสมาคม และเป็นแชมป์ AEW TNT Championship ถึง 3 สมัย
ชีวิตวัยเยาว์
[แก้]โคดี แกร์เรตต์ รันเนลส์ เกิดเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 1985 เป็นบุตรของนักมวยปล้ำอาชีพที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง เวอร์จิล รันเนลส์ จูเนียร์ ซึ่งเป็นที่รู้จักในอาชีพในนาม ดัสตี โรดส์ และมิเชล รูบิโอ ภรรยาคนที่สองของเขา นอกจากดัสตินน้องชายต่างมารดาแล้ว เขายังมีน้องสาวต่างมารดาจากการแต่งงานครั้งแรกของพ่อของเขา และน้องสาวเลือดเต็มตัว Teil จาก Dusty Rhodes และ Michelle Rubio ภรรยาคนที่สองของเขา เมื่อตอนที่เขายังเป็นวัยรุ่น เขาเปลี่ยนชื่อตามกฎหมายของเขาเป็นรันเนลส์ โรดส์[12][13]
โรดส์เข้าเรียนที่ Lassiter High School และประสบความสำเร็จในอาชีพมวยปล้ำในโรงเรียนมัธยมปลาย[1] เขาได้อันดับที่หกในรุ่นน้ำหนัก 171 ปอนด์ (78 กก.) ในฐานะนักเรียนปีที่สอง[14] ในฐานะรุ่นน้อง เขาชนะการแข่งขันจอร์เจียสเตทด้วยน้ำหนัก 189 ปอนด์ (86 กก.) ในปี 2003 และชนะได้อีกครั้งในฐานะแชมป์ปีสุดท้ายของเขา[14] เขาวางแผนที่จะเล่นมวยปล้ำในระดับวิทยาลัยที่ Penn State University แต่ตัดสินใจเป็นนักมวยปล้ำอาชีพแทน[15] ในช่วงเวลาที่เขาอยู่ในโรงเรียนมัธยม โรดส์ยังทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสินในสมาคมมวยปล้ำ Turnbuckle Championship ของบิดาของเขาอีกด้วย[16] หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลาย โรดส์ได้เข้าเรียนในโรงเรียนการแสดง[17]
มวยปล้ำอาชีพ
[แก้]ช่วงแรกเริ่มและเนื้อเรื่องต่างๆ
[แก้]โคดีเริ่มอาชีพมวยปล้ำในสมาคม Ohio Valley Wrestling (OVW) ปี 2006[1][18][19] ได้ทั้งแชมป์เฮฟวี่เวท OVW[1][20], แชมป์เทเลวิชั่น OVW[1], แชมป์เซาต์เทิร์นแทกทีม OVW[21] และแชมป์ทริปเปิลคราวน์คนที่ 4 ของ OVW ก่อนจะเปิดตัวกับค่ายหลัก WWE ปีต่อมา[22] และได้รับรางวัลนักมวยปล้ำดาวรุ่งแห่งปี 2007 ได้คว้าแชมป์โลกแท็กทีมสมัยแรกคู่กับฮาร์ดคอร์ ฮอลลี[23] ก่อนจะเปลี่ยนคู่แท็กทีมเป็นเท็ด ดีบีอาซีโดยการหักหลังฮอลลีและนำตำแหน่งไปให้เท็ดตั้งชื่อทีมว่าไพรซ์เลส (Priceless)[24][25] ในปี 2009 โคดีกับเท็ดก็ได้ไปร่วมทีมกับแรนดี ออร์ตันกลายเป็นเดอะเลกาซี (The Legacy)[26][27] ช่วงต้นปี 2010 กลุ่มเลกาซีได้มีปัญหากัน[28][29] ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 26 กลุ่มเลกาซีเจอกันแบบสามเส้าโดยออร์ตันเป็นฝ่ายชนะยุติบทบาทกลุ่มลงหลังจากร่วมกลุ่มกันมายาวนานถึง 18 เดือน[30]
โคดีได้เปลี่ยนบทบาทใหม่โดยใช้ฉายา "แดชชิ่ง" โคดี โรดส์[31][32] ในไนท์ออฟแชมเปียนส์ (2010)ได้คว้าแชมป์แท็กทีม WWEร่วมกับดรูว์ แม็กอินไทร์ในชื่อทีม DashingOne[33][34][35] ก่อนจะเสียให้จอห์น ซีนาและเดวิด โอทังกาในแบรกกิ้ง ไรท์ส (2010)[36] จากการถูกเรย์ มิสเตริโอใส่ 619 จนดั้งหักในสแมคดาวน์เดือนมกราคมทำให้ถอนตัวจากรอยัลรัมเบิล (2011) รวมถึงอิลิมิเนชั่น แชมเบอร์ (2011)ที่ไม่ได้ลงแข่ง โคดีแค้นและทำร้ายเรย์[37][38][39] ต่อมาดัสตี โรดส์ พ่อของโคดีออกมาบอกให้โคดีขอโทษเรย์แล้วโคดีก็ขอโทษ จากนั้นเมื่อเรย์จะเดินกลับดัสตีก็ดึงมือเรย์ไว้แล้วโคดีก็เล่นงานเรย์ จับอัดใส่มอนิเตอร์แล้วถอดหน้ากากของเรย์ออก ต่อมาโคดีได้ล้อเลียนเรย์โดยการเปิดเพลงทำท่าเลียนแบบรวมถึงใส่หน้ากากที่ดึงมาจากเรย์อีกด้วย แล้วพูดท้าทายว่าจะต้องเจอกันในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 27 สุดท้ายโคดีเป็นฝ่ายชนะ[40] ในเอ็กซ์ตรีมรูลส์ (2011)แพ้ให้เรย์แบบจับกดที่ไหนก็ได้[41] ในสแมคดาวน์ 12 สิงหาคม 2011 โคดีสามารถคว้าแชมป์อินเตอร์คอนติเนนทัลสมัยแรกได้จากอีซีคีล แจ็กสัน[42] โคดีได้เปิดศึกกับบิ๊กโชว์โดยดึงมือบิ๊กโชว์ทำให้ตกรอบในแบทเทิลรอยัลหาผู้ท้าชิงแชมป์ WWE จากนั้นโคดีได้ทำคลิปล้อเลียนบิ๊กโชว์ โดยเอาภาพที่น่าอับอายของบิ๊กโชว์ในเรสเซิลเมเนียแต่ละปีมาล้อเลียน ทำให้บิ๊กโชว์แค้นมากจึงท้าชิงแชมป์อินเตอร์ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 28และโคดีก็เสียแชมป์[43] แต่ก็คว้าคืนมาได้แบบใช้โต๊ะในเอ็กซ์ตรีมรูลส์ (2012)[44] ก่อนจะเสียให้คริสเตียนในโอเวอร์เดอะลิมิต (2012)[45]
ในรอว์ (24 กันยายน 2012) โคดีกับแดเมียน แซนดาวได้มาลอบทำร้ายแดเนียล ไบรอันกับเคน หลังจากที่ไบรอันกับเคนได้ตั้งชื่อทีมเฮลโน แล้วก็ประกาศว่าพวกเขาคือทีมโรดส์สกอลาส์[46] และได้ชิงแชมป์แท็กทีมกับเฮลโนในเฮลอินเอเซล (2012)แต่ไม่สำเร็จ[47] ในมันนีอินเดอะแบงก์ (2013)โคดีได้ถูกแซนดาวหักหลังแย่งกระเป๋าสิทธิ์ชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวทไป ทำให้ทั้งคู่เป็นศัตรูกัน และโคดีได้กลายมาเป็นฝ่ายธรรมะ[48] ในสแมคดาวน์ (26 กรกฎาคม 2013) โคดีออกมาขโมยกระเป๋าของแซนดาว ก่อนที่โคดีโผล่มาทางจอยักษ์แล้วเอากระเป๋ามาล่อให้แซนดาวออกไปไล่จับโคดีที่นอกสนาม แต่โคดีก็โยนกระเป๋าลงทะเล แซนดาวว่ายน้ำไม่เป็นแต่ก็กระโดดลงน้ำไป สุดท้ายก็เก็บมาไม่ได้ กระเป๋าจมหายไปในทะเล ส่วนแซนดาวตะเกียกตะกายขึ้นฝั่งมา[49] ในรอว์ (5 สิงหาคม 2013) โคดีออกมาพร้อมกับกล่องใบหนึ่ง แล้วก็ล้วงเอากระเป๋าของแซนดาวที่ยังเปียกๆ และมีสาหร่ายติดอยู่ด้วย โคดีบอกแซนดาวว่าถ้าอยากได้ก็ออกมาเอาสิ แซนดาวออกมาแล้วก็อัดกันไปมาก่อนถูกโคดีถีบตกเวที โคดีเปิดกระเป๋าออกมาแล้วก็หยิบสัญญาชิงแชมป์ที่เปียกโชกออกมาเยาะเย้ย[50] ในสแมคดาวน์ (9 สิงหาคม 2013) แซนดาววิ่งออกมาพร้อมกับกระเป๋าใบใหม่เพื่อจะใช้สิทธิ์ชิงแชมป์โลกเฮฟวี่เวทแต่โคดีมากระโดดถีบและต่อด้วย CrossRhodes[51] ในซัมเมอร์สแลม (2013)เอาชนะแซนดาวไปได้จบเรื่องราว[52]
ร่วมทีมกับพี่ชาย
[แก้]ในรอว์ (2 กันยายน 2013) หลังจากที่แพ้แรนดี ออร์ตันนั้นส่งผลให้โคดีต้องถูกไล่ออกจาก WWE โดยคำสั่งของทริปเปิลเอช ประธาน COO[53] ซึ่งแท้จริงแล้วโคดีกำลังเตรียมตัวเข้าพิธีแต่งงานและไปฮันนีมูนกับแฟนสาวอย่าง แบรนดี รีด จึงสร้างเรื่องราวให้เขาถูกไล่ออกตามบท[54] ในรอว์ (30 กันยายน 2013) ทริปเปิลเอชกับสเตฟานี แม็กแมนออกมาที่เวทีและก็เชิญครอบครัวโรดส์ (ดัสตี, โคดี และโกลดัสต์) ให้ออกมาคุยกัน ทริปเปิลเอชบอกว่าเราให้โอกาสพวกนายแล้ว ให้โคดีเจอกับแรนดี ออร์ตันเพื่อรักษางานของโคดีแต่ก็แพ้ จากนั้นเราก็ให้โอกาสอีก ให้โกลดัสต์เจอกับออร์ตันแล้วก็แพ้อีก จากนั้นสเตฟานีก็ให้ดัสตีเลือกว่าจะให้ลูกคนไหนกลับเข้าทำงานแต่เขากลับบอกให้สเตฟานีไปลงนรกซะ ทริปเปิลเอชบอกจะให้โอกาสอีกครั้งให้โคดีกับโกลดัสต์เจอกับเซท รอลลินส์และโรแมน เรนส์ในแบทเทิลกราวด์ ถ้าชนะได้ก็จะให้กลับเข้าทำงานทั้งสองคน แต่ถ้าแพ้ทั้งคู่ก็จะไม่มีวันได้กลับมา WWE อีกตลอดกาล และดัสตีจะถูกไล่ออกจากตำแหน่งเทรนเนอร์ NXT ด้วย ดัสตีขอต่อรองว่าจะอยู่ที่มุมเวทีของลูกๆด้วย ซึ่งสเตฟานีก็ตกลง ครอบครัวโรดส์กำลังเดินกลับแต่ก็โดนเดอะชีลด์ ขึ้นมากระทืบจนนอนกองกันทุกคน ในแบทเทิลกราวด์โคดีและโกลดัสต์เป็นฝ่ายเอาชนะเดอะชีลด์ได้ทำให้ครอบครัวโรดส์ได้กลับมาทำงานใน WWE อีกครั้ง[55]
ในรอว์ (14 ตุลาคม 2013) โคดีและโกลดัสต์ได้คว้าแชมป์แท็กทีมจากรอลลินส์และเรนส์โดยการช่วยเหลือของบิ๊กโชว์[56] ในรอยัลรัมเบิล (2014)เสียแชมป์ให้เดอะนิวเอจเอาต์ลอวส์ (โรด ด็อกและบิลลี กัน) คืนเดียวกันโคดีได้เข้าร่วมรอยัลรัมเบิลออกมาเป็นลำดับที่4 แต่ไม่ได้เป็นผู้ชนะ ในรอว์ (3 กุมภาพันธ์ 2014) โคดีและโกลดัสต์ได้ชิงแชมป์กับนิวเอจเอาต์ลอวส์ในกรงเหล็ก แต่ก็ไม่สามารถคว้าแชมป์คืนได้[57] ในเพย์แบ็ค (2014) หลังจากโคดีและโกลดัสต์แพ้แมตช์แท็กทีม โคดีบอกให้โกลดัสต์ไปหาคู่แท็กทีมใหม่ ในรอว์ (16 มิถุนายน 2014) โคดีได้เปิดตัวในบทบาทใหม่ในนามสตาร์ดัสต์จับคู่กับโกลดัสต์[58] ในรอว์ (25 สิงหาคม 2014) โกลด์และสตาร์ดัสต์ได้เป็นฝ่ายอธรรมโดยเล่นงานดิอูโซส์ หลังจากไม่สามารถคว้าแชมป์แท็กทีมได้ ทำให้ทั้งคู่ไม่พอใจ ในไนท์ออฟแชมเปียนส์ (2014) โกลด์และสตาร์ดัสต์คว้าแชมป์แท็กทีมจากอูโซส์ได้สำเร็จ[59] ก่อนจะเสียแชมป์ให้เดอะมิซและแดเมียน มิซดาวในเซอร์ไวเวอร์ซีรีส์ (2014) ต่อมาได้ทะเลาะกับโกลดัสต์และเจอกันในฟาสต์เลน (2015)แต่สตาร์ดัสต์เป็นฝ่ายแพ้ ต่อมาได้มีเรื่องกับสตีเฟน อาเมล นักแสดงซีรีส์เรื่อง Arrow ทำให้เจอกันแบบแท็กทีมในซัมเมอร์สแลม (2015)โดยสตาร์ดัสต์จับคู่กับคิง บาร์เร็ตต์ แพ้ให้อาเมลจับคู่กับเนวิลล์[60] เขาได้ลาออกจาก WWE ในเดือนพฤษภาคม 2016[61][62][63][64][65][66]
สมาคมอิสระและ AEW
[แก้]หลังออกจาก WWE โคดีได้เซ็นสัญญาปล้ำให้กับสมาคมอิสระทั่วไป[67][68][69][70][3][71] วันที่ 19 กรกฎาคม 2016 โคดีได้เซ็นสัญญากับริงออฟออเนอร์(ROH)[72] และเซ็นสัญญาสั้นๆกับTNA[73][4] วันที่ 10 ธันวาคม 2016 โคดีได้ร่วมปล้ำกับนิวเจแปนโปรเรสต์ลิง(NJPW) และใช้ฉายา "The American Nightmare"[74][75] ปี 2017 โคดีได้คว้าแชมป์โลก ROHสมัยแรกจากคริสโตเฟอร์ แดเนียลส์และเป็นแชมป์โลกเส้นแรกในอาชีพของเขา[76] วันที่ 1 กันยายน 2018 โคดีกับ The Young Bucks ได้ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดรายการเพย์เพอร์วิวศึก All In[77][78] และโคดีได้คว้าแชมป์โลกเฮฟวี่เวท NWAเป็นสมัยแรกจาก Nick Aldis ทำให้โคดีกับพ่อของเขา ดัสตี โรดส์ เป็นพ่อลูกคู่แรกที่ได้แชมป์โลก NWA[79] ในศึก Fighting Spirit Unleashed ของ NJPW โคดีก็ได้คว้าแชมป์ IWGP United States Championship จาก Juice Robinson เป็นแชมป์เส้นแรกในสมาคม NJPW[80] ในวันที่ 1 มกราคม 2019 โคดีได้เปิดตัวสมาคมใหม่ All Elite Wrestling (AEW) ซึ่งเขาร่วมกับ Matt และ Nick Jackson จะดำรงตำแหน่งรองประธานบริหาร[81] นอกจากนี้ยังได้เป็นแชมป์ TNT คนแรกของสมาคม[82][83][84] และลาออกจาก AEW ในเดือนกุมภาพันธ์ 2022[85]
กลับสู่ WWE
[แก้]ในเดือนมีนาคม 2022 มีรายงานว่าโคดีได้เซ็นสัญญากับ WWE[86] และในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 38 โคดีได้กลับสู่ WWE อีกครั้งในรอบ 6 ปีโดยเอาชนะเซท รอลลินส์ไปได้[87][88][89] และยังสามารถเอาชนะได้อีก 2 ครั้งทั้งในแบ็กแลช[90] และเฮลอินเอเซล[91] ก่อนจะพักการปล้ำหลายเดือนเพราะได้รับบาดเจ็บ[92] วันที่ 28 มกราคม 2023 โคดีได้กลับมาโดยเข้าร่วมแมตช์รอยัลรัมเบิลฝั่งชายเป็นคนที่ 30 และเป็นผู้ชนะคว้าสิทธิ์ชิงแชมป์โลกในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 39[93] แต่ก็ไม่สามารถคว้าแชมป์ได้จากการก่อกวนของโซโล ซิโกอา[94] หลังจากเมเนียโคดีได้เปิดศึกไตรภาคกับบร็อก เลสเนอร์[95] โดยโคดีชนะไปได้ในแบ็กแลช[96] และแพ้ในไนท์ออฟแชมเปียนส์จนเสมอกัน 1-1[97] ทำให้มีการตัดสินกันในซัมเมอร์สแลม และเป็นโคดีที่สามารถเอาชนะไปได้เป็นการสิ้นสุดเรื่องราว ในฟาสต์เลน 2023 ได้คว้าแชมป์แท็กทีมคู่กับเจย์ อูโซจากการเอาชนะเดอะ จัดจ์เมนท์ เดย์ (ฟิน บาเลอร์และแดเมียน พรีสต์)ได้สำเร็จ เป็นแชมป์เส้นแรกของโคดีตั้งแต่กลับมา WWE[98] แต่ก็เสียคืนหลังครองได้ 9 วัน[99]
ในศึกรอยัลรัมเบิล 2024 โคดีได้เป็นผู้ชนะแมตช์ 30 คนอีกครั้งโดยเหวี่ยงซีเอ็มพังก์ออกเป็นคนสุดท้าย ทำให้เป็นคนที่ 4 ที่ชนะรัมเบิล 2 ปีซ้อน โดยเป็นคนแรกที่ทำได้ในรอบ 26 ปี นับตั้งแต่ 1998[100][101] พร้อมประกาศเลือกชิงแชมป์กับโรแมน เรนส์อีกครั้งที่เรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 40[102] จนกระทั่งใน SmackDown 2 กุมภาพันธ์ โคดีบอกว่าจะไม่เจอเรนส์ในเมเนียจากนั้นเดอะร็อกก็ออกมาท้าเรนส์แทน โดยโคดีจับมือกับร็อกและลงจากเวทีไป[103][104][105] เหตุการณ์นี้ทำให้เกิดการความไม่พอใจจากแฟนๆ บนโซเชียลมีเดีย จากการที่ร็อกขัดขวางเรื่องราวระยะยาวของโคดีกับเรนส์[106] ในระหว่างงานสื่อเรสเซิลเมเนีย 40 คิกออฟ เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ซึ่ง ร็อก, เรนส์ และเซธ รอลลินส์ อยู่พร้อมหน้าเพื่อฟังการตัดสินใจของโคดี ในระหว่างที่เรนส์และร็อกตัดสินใจกันเองว่าพวกเขาจะเป็นคู่เอกของเมเนีย โคดีก็ออกมาบอกว่าเขาเท่านั้นทีมีสิทธิ์เลือกชิงแชมป์และประกาศเลือกเรนส์ หลังจากมีการพูดจาดูถูกครอบครัวของกันและกัน ร็อกบอกว่าตอนนี้เขามีปัญหากับโคดีก่อนตบหน้าโคดี[107] โคดีได้ขอท้าเจอร็อกแบบตัวต่อตัวแต่ร็อกปฏิเสธและเปลี่ยนเป็นแบบแท็กทีมโดยร็อกจับคู่กับเรนส์เจอกับโคดีคู่กับเซธในคู่เอกคืนแรกของเรสเซิลเมเนียโดยมีเงื่อนไขว่าหากฝั่งโคดีชนะกลุ่มบลัดไลน์จะถูกแบนข้างเวทีในแมตช์ชิงแชมป์คืนที่ 2 แต่ถ้าแพ้ฝั่งบลัดไลน์จะมีสิทธิ์เลือกกติกาในแมตช์ชิงแชมป์ และหากโคดีแพ้จะไม่มีโอกาศชิงแชมป์กับเรนส์อีกต่อไป ในเรสเซิลเมเนีย ครั้งที่ 40 คืนที่ 1 โคดีและเซธ รอลลินส์ แพ้ให้กับ เดอะร็อกและโรมัน เรนส์ ทำให้แมตช์โคดีและเรนส์ในคืนที่ 2 จะแข่งขันภายใต้กฎของบลัดไลน์ อย่างไรก็ตาม โคดีสามารถเอาชนะเรนส์ และคว้าตำแหน่งแชมป์อันดิสพิวเต็ด WWE ได้สำเร็จ นับว่าเป็นแชมป์โลกครั้งแรกของเขาภายใต้สมาคม WWE[108]
สื่ออื่นๆ
[แก้]ในเดือนกรกฎาคม 2009 โรดส์กลายเป็นหนึ่งในใบหน้าของยิลเลตต์ "Be a Superstar" แคมเปญโฆษณาพร้อมกับคริส เจริโคและจอห์น ซีนา[109][110] "Be a Superstar" เป็นแคมเปญแบบโต้ตอบสี่เดือนยาว ซึ่งเป็นจุดเด่นของนักมวยปล้ำในวิดีโอจำนวนมากการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ยิลเลตต์ฟิวชั่น[109] ในเดือนสิงหาคม 2009 โรดส์ได้ไปร่วมรายการ The Tonight Show with Conan O'Brien[111]
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]รันเนลส์ เป็นลูกชายของ "ดิอเมริกันดรีม" ดัสตี โรดส์ และน้องชายของดัสติน โรดส์ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในนาม โกลดัสต์ นอกจากนี้เขายังมีน้องสาวสองคน, ส่วนที่ Gergel และคริสตินเช่นเดียวกันซึ่งเป็นอดีตดัลลัสเคาบอยเชียร์ลีดเดอร์[112]
ในเดือนกันยายนปี 2013 เขาแต่งงานกับแบรนดี โรดส์ ที่ทำงานให้กับ WWE เป็นผู้ประกาศภายใต้ชื่อ อีเดน[113] เขามีเชื้อสายคิวบาบางส่วนผ่านตาทวดของเขา[114] ที่ 31 มีนาคมปี 2007 เขาและดัสตินพี่ชายแต่งตั้งให้พ่อของพวกเขาในหอเกียรติยศ WWE[115] เขาเป็นหลานชายของอดีตนักมวยปล้ำมืออาชีพเจอร์รี่โดและเฟร็ด Ottman และลูกบุญธรรมของแม็กนั่ม ทีเอ
รองเท้ามวยปล้ำที่โดดเด่นเป็นสัญลักษณ์ Triforce จากตำนาน Zelda ชุดของวิดีโอเกมที่เขาเป็นแฟน; เขาได้กล่าวว่าเขาไกล Link ที่ผ่านมารายปี[17][116] ธารายังเป็นแฟนหนังสือการ์ตูนและได้สวมใส่เกียร์มวยปล้ำแรงบันดาลใจจากเทวทูตและนายอุบาทว์ตัวละครจาก X-Men[117] เขาอ้างอิงปลายแดง และไซคลอปส์เป็นตัวละครที่เขาชื่นชอบพร้อมกับ Inhumans ส่วนตัวเขาเป็นเจ้าของตู้เกม 1992 X-Men เกมอาเขต[117]
ผลงานอื่นๆ
[แก้]Year | Title | Role | Notes |
---|---|---|---|
2016 | Scooby-Doo! and WWE: Curse of the Speed Demon | Stardust | [118] |
2017 | The Jetsons & WWE: Robo-WrestleMania! | [119] |
Year | Title | Role | Notes |
---|---|---|---|
2009 | The Tonight Show with Conan O'Brien | Himself | Episode: "Mike Tyson and Keith Berry" |
2010 | Warehouse 13 | Kurt Smoller | Season 2, episode 8: "Merge with Caution"[120] |
2011 | Food Network Challenge | Himself | Season 12, episode 11: "WWE Wrestling Cakes" |
2014 | Surprise Surprise | Episode: "Mothers Day Edition" | |
2016–2018 | Arrow[121] | Derek Sampson | 7 episodes Credited as Cody Runnels[122][123] |
2018 | WAGS Atlanta | Himself | |
2021–Present | Go-Big Show[124] | Judge | |
2021 | Rhodes to the Top[125] | Himself |
Year | Title | Role | Notes |
---|---|---|---|
2013–2015 | The JBL and Cole/Renee Show | Himself, Stardust | Series regular |
2015–2016 | Swerved | Himself, Stardust | Two episodes[126] |
2016–present | Being The Elite | Himself | Series regular[127] |
แชมป์และรางวัล
[แก้]มวยปล้ำสมัครเล่น
[แก้]- Georgia State Tournament
- Champion at 189 ปอนด์ (86 กิโลกรัม) weight class (2003, 2004)[1]
มวยปล้ำอาชีพ
[แก้]- All Elite Wrestling
- AEW TNT Championship (3 times, inaugural)[128][129]
- AEW Dynamite Award (1 time)
- Best Moment on the Mic (2021) – accepting Dog Collar match on AEW Dynamite (September 30)[130]
- Alpha-1 Wrestling
- A1 Tag Team Championship (1 time) – with Ethan Page[131]
- Bullet Proof Wrestling
- BPW Championship (1 time)[132]
- CBS Sports
- ESPN
- ESPY Award – Best WWE Moment (2022) – returning to WWE at WrestleMania 38[134]
- Male Wrestler of the Year (2023)[135]
- Global Force Wrestling
- National Wrestling Alliance
- New Japan Pro-Wrestling
- New York Post
- Match of the Year (2022) – vs. Seth "Freakin" Rollins at Hell in a Cell[139]
- Promo of the Year (2023) – shared with Sami Zayn on WWE Raw (February 13)[140]
- Northeast Wrestling
- Ohio Valley Wrestling
- Pro Wrestling Illustrated
- Match of the Year (2022) – vs. Seth "Freakin" Rollins at Hell in a Cell[143]
- Match of the Year (2019) – vs. Dustin Rhodes at Double or Nothing[144][145]
- Most Improved Wrestler of the Year (2008)[146]
- Ranked No. 1 of the top 500 singles wrestlers in the PWI 500 in 2024[147]
- Ring of Honor
- ROH World Championship (1 time)
- ROH World Six-Man Tag Team Championship (1 time) – with The Young Bucks
- ROH Year-End Award (2 times)
- Wrestler of the Year (2017)[148]
- Feud of the Year (2018) – vs. Kenny Omega[149]
- Sports Illustrated
- Men's Wrestler of the Year (2018)[150]
- Wrestler of the Year (2023)[151]
- What Culture Pro Wrestling
- WCPW Internet Championship (1 time)[152]
- Wrestling Observer Newsletter
- United States/Canada MVP (2023)[153]
- Worst Gimmick (2015) – as Stardust[154]
- WWE
- WWE Championship (1 time)
- WWE Universal Championship (1 time)[a]
- WWE Crown Jewel Championship (1 time, inaugural)
- WWE Intercontinental Championship (2 times)[155][156]
- WWE Raw Tag Team Championship (4 times) – with Drew McIntyre (1), Goldust (2) and Jey Uso (1)[157]
- WWE SmackDown Tag Team Championship (1 time) – with Jey Uso[b]
- World Tag Team Championship (3 times) – with Hardcore Holly (1) and Ted DiBiase (2)
- Men's Royal Rumble (2023, 2024)[158]
- 34th Triple Crown Champion
- Slammy Award (5 times)
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อtitle1
- ↑ Held with the Raw Tag Team Championship as the Undisputed WWE Tag Team Championship.
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 Elliott, Brian. "Cody Rhodes". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 17, 2015. สืบค้นเมื่อ June 23, 2009.
- ↑ "Cody". Ring of Honor. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มิถุนายน 23, 2017. สืบค้นเมื่อ กรกฎาคม 15, 2017.
- ↑ 3.0 3.1 "2016 Battle of Los Angeles – Stage Two". Pro Wrestling Guerrilla. สืบค้นเมื่อ September 9, 2016.
- ↑ 4.0 4.1 Currier, Joseph (September 22, 2016). "Cody Rhodes to make TNA debut at Bound for Glory". Wrestling Observer Newsletter. สืบค้นเมื่อ September 23, 2016.
- ↑ "Resultados AEW Dark (30 de noviembre de 2021) | Adam Cole vs. Anthony Greene | Superluchas". Superluchas.com. December 1, 2021. สืบค้นเมื่อ February 20, 2022.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 "Cody Rhodes". WWE. สืบค้นเมื่อ April 27, 2010.
- ↑ @AEWonTNT (October 2, 2019). "Going to need new ears after this... worth it. #AEWDynamite @CodyRhodes @TheBrandiRhodes" (ทวีต). สืบค้นเมื่อ October 2, 2019 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ "Cody Rhodes bio". WWE. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 6, 2014. สืบค้นเมื่อ August 28, 2015.
- ↑ "Cody Rhodes". Cagematch.net. สืบค้นเมื่อ February 20, 2022.
- ↑ "The Bloodline, Cody Rhodes Picked First in 2023 WWE Draft". April 29, 2023.
- ↑ Otterson, Joe (2022-04-03). "Cody Rhodes Returns to WWE at WrestleMania 38, Says He Is 'Completely Different Individual'". Variety (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-04-03.
- ↑ Vliet, Chris Van (November 12, 2017). Cody Rhodes is making more money since leaving WWE, advice from his father and Goldust, Bullet Club. เหตุการณ์เกิดขึ้นที่ 7m 15s. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-17. สืบค้นเมื่อ November 15, 2017 – โดยทาง YouTube.
- ↑ @codyrhodes (February 2, 2018). "My legal last name is runnels rhodes...both. Do your research fuckface. (Been that way since I was 15" (ทวีต). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 26, 2018 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ 14.0 14.1 "Lassiter High School Wrestling Wall of Fame". Lassiter High School. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 6, 2007. สืบค้นเมื่อ October 29, 2007.
- ↑ Matsumoto, Jon (June 25, 2009). "WWE: Ted DiBiase, Cody Rhodes, Randy Orton wrestle at HP Pavilion Monday". San Jose Mercury News. สืบค้นเมื่อ July 6, 2009.
- ↑ Baines, Tim (August 7, 2009). "Rhodes bringing real Legacy to Calgary". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 29, 2014. สืบค้นเมื่อ August 8, 2009.
- ↑ 17.0 17.1 Robinson, Jon (April 13, 2009). "Cody Rhodes: Link to the Past". ESPN. สืบค้นเมื่อ April 15, 2009.
- ↑ "Ohio Valley Wrestling – November 08, 2006". Online World of Wrestling. November 8, 2006. สืบค้นเมื่อ March 17, 2008.
- ↑ "Ohio Valley Wrestling – November 22, 2006". Online World of Wrestling. November 22, 2006. สืบค้นเมื่อ June 23, 2009.
- ↑ 20.0 20.1 20.2 "OVW Heavyweight Championship". Ohio Valley Wrestling. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 5, 2011. สืบค้นเมื่อ April 3, 2011.
- ↑ 21.0 21.1 21.2 "OVW Southern Tag Team Championship". Ohio Valley Wrestling. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 5, 2011. สืบค้นเมื่อ April 3, 2011.
- ↑ Plummer, Dale (July 3, 2007). "Raw: Lashley rises to No. 1". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-07. สืบค้นเมื่อ July 6, 2009.
- ↑ "World Tag Team Championship – Cody Rhodes & Hardcore Holly". WWE. December 10, 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 27, 2007. สืบค้นเมื่อ March 6, 2009.
- ↑ "World Tag Team Championship – Ted DiBiase & Cody Rhodes". WWE. June 29, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-02. สืบค้นเมื่อ December 19, 2008.
- ↑ "World Tag Team Championship – Ted DiBiase & Cody Rhodes". WWE. August 11, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-12. สืบค้นเมื่อ August 13, 2008.
- ↑ Sitterson, Aubrey (December 8, 2008). "Slam, bam, thank you ma'am!". WWE. สืบค้นเมื่อ December 30, 2008.
- ↑ Bishop, Matt (December 8, 2008). "Raw: A night of Slammys, solid matches". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-10. สืบค้นเมื่อ December 30, 2008.
- ↑ Plummer, Dale (February 22, 2010). "Raw: Finding a Jewel on the Road to Wrestlemania". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-29. สืบค้นเมื่อ March 3, 2010.
- ↑ Plummer, Dale (March 1, 2010). "Raw: A bad trip on the Road to Wrestlemania". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-29. สืบค้นเมื่อ March 3, 2010.
- ↑ Martin, Adam (March 28, 2010). "Wrestlemania 26 Results – 3/28/10". WrestleView. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 1, 2010. สืบค้นเมื่อ March 29, 2010.
- ↑ Hillhouse, Dave (July 24, 2010). "Smackdown: On Removing Masks & Nose Hairs". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-17. สืบค้นเมื่อ August 17, 2010.
- ↑ Hillhouse, Dave (August 7, 2010). "Smackdown: The search for vengeance and championships". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-05. สืบค้นเมื่อ August 17, 2010.
- ↑ Caldwell, James (November 21, 2010). "Caldwell's WWE Survivor Series PPV results 11/21: Complete "virtual time" coverage of live PPV – Cena's decision, six title matches". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ June 4, 2011.
- ↑ Parks, Greg (November 19, 2010). "Parks' WWE SmackDown report 11/19: Ongoing "virtual time" coverage of the show, including Mysterio vs. Del Rio". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ June 4, 2011.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Tylwalk, Nick (September 20, 2010). "Few gimmicks, more title changes at Night of Champions". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-25. สืบค้นเมื่อ September 20, 2010.
- ↑ Caldwell, James (October 24, 2010). "Caldwell's WWE Bragging Rights PPV Results 10/24: Ongoing "virtual time" coverage of live PPV – Orton vs. Barrett, Kane vs. Taker, Raw vs. Smackdown". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ October 25, 2010.
- ↑ Hillhouse, Dave (January 22, 2011). "Smackdown: Run, Edge, run!". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-07. สืบค้นเมื่อ March 5, 2011.
- ↑ Singh, Singh (April 26, 2011). "Fightin' Fanboys: The Fall of Cody Rhodes". Marvel Entertainment. สืบค้นเมื่อ May 2, 2011.
- ↑ Hillhouse, Dave (February 26, 2011). "Smackdown: Some water is thicker than blood". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-06. สืบค้นเมื่อ March 5, 2011.
- ↑ Bishop, Matt (April 3, 2011). "The Rock costs Cena as The Miz retains at WrestleMania XXVII". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-19. สืบค้นเมื่อ April 4, 2011.
- ↑ Hillhouse, Dave (May 1, 2011). "Extreme Rules: Championship make-over edition". Slam! Sports. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-19. สืบค้นเมื่อ May 2, 2011.
- ↑ "WWE News: Smackdown spoilers 8/12 – Results & Notes from Tuesday's Smackdown TV taping leading to Summerslam". Pro Wrestling Torch. August 10, 2011. สืบค้นเมื่อ August 10, 2011.
- ↑ Caldwell, James. "CALDWELL'S WWE WRESTLEMANIA 28 PPV REPORT 4/1: Ongoing "virtual time" coverage of live PPV - Rock-Cena, Taker-Hunter, Punk-Jericho". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 2 April 2012.
- ↑ Caldwell, James (29 April 2012). "Caldwell's WWE Extreme Rules PPV Report 4/29: Ongoing "virtual time" coverage of live PPV - Brock-Cena, Punk-Jericho in Chicago". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 30 April 2012.
- ↑ Giannini, Alex (20 May 2012). "Christian def. Intercontinental Champion Cody Rhodes". WWE. สืบค้นเมื่อ 21 May 2012.
- ↑ Caldwell, James. "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 9/24: Complete "virtual-time" coverage of live Raw - Cena announcement, Lawler interview, latest on WWE Title picture". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ 30 September 2012.
- ↑ "Team Rhodes Scholars def. Hell No! By Disqualification". WWE. October 28, 2012. สืบค้นเมื่อ November 2, 2012.
- ↑ "CALDWELL'S WWE MITB PPV RESULTS 7/14 (Hour 1): Complete "virtual-time" coverage of World Title MITB ladder match, IC Title match, Divas Title match".
- ↑ "PARKS'S WWE SMACKDOWN REPORT 7/26: Ongoing "virtual time" coverage of Friday show, including Wyatt Family in-ring debut, Del Rio vs. RVD match".
- ↑ "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 8/5 (Hour 1): Bryan's "corporate make-over" kicks off Raw, Del Rio vs. RVD match, Ricardo returns & written off, Henry-Ryback match".
- ↑ "PARKS'S WWE SMACKDOWN REPORT 8/9: Ongoing "virtual time" coverage of Friday show, including Randy Orton vs. Rob Van Dam and an appearance by Brock Lesnar".
- ↑ "CALDWELL'S WWE SSLAM PPV RESULTS 8/18 (Hour 1): Ongoing "virtual-time" coverage of live PPV - World Title match, Ring of Fire match, clean-shaven Rhodes vs. Sandow, more".
- ↑ "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 9/2 (Hour 2): Orton vs. Rhodes career-threatening match, Prime Time Players, more".
- ↑ Francis, Nathan Cody Rhodes: WWE Star Getting Married, Taking A Break From The Ring The Inquisitor, September 3, 2013. Retrieved September 3, 2013.
- ↑ Asher, Matthew. "Battle may be over but WWE Battleground still leaves unresolved issues". SLAM! Wrestling. Canadian Online Explorer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-19. สืบค้นเมื่อ November 1, 2013.
- ↑ Trionfo, Richard. "WWE RAW REPORT: HAS THE CEREBRAL ASSASSIN BEEN OUTSMARTED?; ORTON UPS THE ANTE; STIPULATION FOR PUNK VS. RYBACK; AND MORE". PWInsider. สืบค้นเมื่อ October 16, 2013.
- ↑ "Cody Rhodes & Goldust vs. The New Age Outlaws - WWE Tag Title Steel Cage Match: Raw, Feb. 3, 2014", from WWE's channel ที่ยูทูบ
- ↑ http://www.wwe.com/shows/raw/2014-06-16/wwe-raw-results-26400632/page-9
- ↑ Caldwell, James (August 25, 2014). "CALDWELL'S WWE RAW RESULTS 8/25: Complete "virtual-time" coverage of Cena's Return, plus Hogan & Flair & HBK Forum, re-matches, re-matches, and more re-matches". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ August 25, 2014.
- ↑ Caldwell, James (August 23, 2015). "Caldwell's SummerSlam report 8/23: Ongoing "virtual-time" coverage of Lesnar vs. Taker, Title vs. Title, more big matches". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ August 23, 2015.
- ↑ Runnels, Cody. "(1/2) The past ten years have been quite the trek, but as of earlier today I have asked for my release from @WWE". twitter.com.
- ↑ "Cody Rhodes released". WWE. สืบค้นเมื่อ May 22, 2016.
- ↑ Runnels, Cody. "My one&only statement on the matter. No podcasts or tell-all nonsense. Thank you friends. (Part 1)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-28. สืบค้นเมื่อ 23 May 2016.
- ↑ Runnels, Cody. "My one&only statement on the matter. No podcasts or tell-all nonsense. Thank you friends. (Part 2)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-28. สืบค้นเมื่อ 23 May 2016.
- ↑ Caldwell, James (May 23, 2016). "Cody Rhodes Statement on WWE exit – why he left, the Moment of Clarity, broken Creative system, last conversation with Triple H, honoring Dusty, what's next?". pwtorch. สืบค้นเมื่อ May 23, 2010.
- ↑ "Cody Rhodes addresses his departure from WWE and his future". prowrestling.net. May 23, 2016. สืบค้นเมื่อ May 23, 2010.
- ↑ "Cody Rhodes to Wrestle at Evolve 66". 411MANIA. June 3, 2016. สืบค้นเมื่อ January 27, 2017.
- ↑ "Recent Undertaker Photo, Anniversary Of Dusty Rhodes' Passing, Cody Rhodes EVOLVE Opponent Revealed?". WrestlingInc.com. June 10, 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-11. สืบค้นเมื่อ January 27, 2017.
- ↑ "Cody Rhodes Set For More EVOLVE Shows". 411MANIA. June 6, 2016. สืบค้นเมื่อ January 27, 2017.
- ↑ Caldwell, James (June 6, 2016). "Cody Rhodes booked for PWG's Battle of Los Angeles tournament". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ June 19, 2016.
- ↑ Meltzer, Dave (September 4, 2016). "PWG Battle of Los Angeles night two results: A phenomenal night of action". Wrestling Observer Newsletter. สืบค้นเมื่อ September 4, 2016.
- ↑ Caldwell, James (July 20, 2016). "Official Announcement – Cody Rhodes to ROH's Final Battle PPV". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ September 4, 2016.
- ↑ Nason, Josh (September 5, 2016). "Cody Rhodes' wrestling future to include both TNA & ROH". Wrestling Observer Newsletter. สืบค้นเมื่อ September 5, 2016.
- ↑ 戦国炎舞 -Kizna- Presents World Tag League 2016. New Japan Pro Wrestling (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ December 10, 2016.
- ↑ Meltzer, Dave (December 9, 2016). "NJPW World Tag League finals live results: The winners are crowned". Wrestling Observer Newsletter. สืบค้นเมื่อ December 10, 2016.
- ↑ Meltzer, Dave; Currier, Joseph (June 23, 2017). "ROH Best in the World live results: Christopher Daniels vs. Cody". Wrestling Observer Newsletter. สืบค้นเมื่อ June 23, 2017.
- ↑ "All In (@ALL_IN_2018) | Twitter". twitter.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-05-13.
- ↑ "All In tickets sell out almost immediately after going on sale". WON/F4W - WWE news, Pro Wrestling News, WWE Results, UFC News, UFC results (ภาษาอังกฤษ). 2018-05-13. สืบค้นเมื่อ 2018-05-13.
- ↑ https://bleacherreport.com/articles/2792041-cody-rhodes-beats-nick-aldis-wins-nwa-worlds-heavyweight-title-at-all-in
- ↑ "WHERE AEW TALENTS STAND WITH NEW JAPAN PRO WRESTLING - PWInsider.com". pwinsider.com. สืบค้นเมื่อ February 19, 2019.
- ↑ Lambert, Jeremy (January 8, 2019). "Report: Cody And Young Bucks Have Five-Year Deals With AEW". Fightful. สืบค้นเมื่อ February 10, 2019.
- ↑ Powell, Jason (March 30, 2020). "AEW introducing the TNT Championship belt, winner to be crowned in a tournament". Pro Wrestling Dot Net. สืบค้นเมื่อ March 31, 2020.
- ↑ Powell, Jason (October 7, 2020). "10/7 AEW Dynamite results: Barnett's live review of 30 years of Chris Jericho celebration, Brodie Lee vs. Cody in a dog collar match for the TNT Championship, Brian Cage vs. Will Hobbs, Chris Jericho and Jake Hager vs. Luther and Serpentico, Serena Deeb vs. Big Swole". Pro Wrestling Dot Net. สืบค้นเมื่อ October 8, 2020.
- ↑ McGuire, Colin (December 25, 2021). "12/25 AEW Rampage results: McGuire's live review of Sammy Guevara vs. Cody Rhodes for the TNT Championship, Hook vs. Bear Bronson, Leyla Hirsch vs. Kris Statlander, and Jungle Boy vs. Isiah Kassidy". Pro Wrestling Dot Net. สืบค้นเมื่อ December 25, 2021.
- ↑ Lambert, Jeremy (February 15, 2022). "Cody And Brandi Rhodes Moving On From AEW". Fightful. สืบค้นเมื่อ February 15, 2022.
- ↑ Johnson, Mike (March 18, 2022). "SPOILER: THE DEFINITIVE CODY RHODES UPDATE".
- ↑ Mohan, Sai (3 April 2022). "Cody Rhodes Talks His "Complex" WWE Contract, WWE Giving Him A Bus". Wrestling In. สืบค้นเมื่อ 3 April 2022.
- ↑ Otterson, Joe (2 April 2022). "Cody Rhodes Returns to WWE at WrestleMania 38, Says He Is 'Completely Different Individual'". Variety. สืบค้นเมื่อ 3 April 2022.
- ↑ Mahjouri, Shakiel. "WrestleMania 38: Cody Rhodes returns to WWE triumphantly as ex-AEW vice president beats Seth Rollins". CBS Sports. สืบค้นเมื่อ 3 April 2022.
- ↑ Powell, Jason (May 8, 2022). "WWE WrestleMania Backlash results: Powell's live review of Roman Reigns and The Usos vs. Drew McIntyre and RK-Bro, Charlotte Flair vs. Ronda Rousey in an I Quit match for the Smackdown Women's Title, Cody Rhodes vs. Seth Rollins, Edge vs. AJ Styles, Bobby Lashley vs. Omos, Happy Corbin vs. Madcap Moss". Pro Wrestling Dot Net. สืบค้นเมื่อ July 11, 2022.
- ↑ "Cody Rhodes plans to fight through the pain in tonight's Hell in a Cell Match against Seth "Freakin" Rollins". June 5, 2022.
- ↑ Renner, Ethan (June 10, 2022). "WWE announces Cody Rhodes to miss nine months after pectoral surgery". Wrestling Observer Newsletter. สืบค้นเมื่อ July 11, 2022.
- ↑ Woodward, Hamish (2023-01-29). "Cody Rhodes Returns To Win 2023 Royal Rumble - Atletifo" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2023-01-29.
- ↑ Powell, Jason (April 1, 2023). "WrestleMania 39 results: Powell's live review of night one with Jimmy Uso and Jey Uso vs. Kevin Owens and Sami Zayn for the Undisputed WWE Tag Team Titles, Charlotte Flair vs. Rhea Ripley for the Smackdown Women's Title, Austin Theory vs. John Cena for the U.S. Title, Rey Mysterio vs. Dominik Mysterio, Seth Rollins vs. Logan Paul". Pro Wrestling Dot Net. สืบค้นเมื่อ April 1, 2023.
- ↑ Brookhouse, Brent (April 3, 2023). "WWE Raw after WrestleMania results, recap, grades: Brock Lesnar turns on Cody Rhodes, shocking Roman Reigns". CBS Sports. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 4, 2023. สืบค้นเมื่อ April 16, 2023.
- ↑ Alfred Konuwa (May 6, 2023). "WWE Backlash 2023 Results: Cody Rhodes Bloodies And Beats Brock Lesnar". Forbes. สืบค้นเมื่อ May 6, 2023.
- ↑ Miller, Gregory (May 27, 2023). "Brock Lesnar def. Cody Rhodes". WWE. สืบค้นเมื่อ May 27, 2023.
- ↑ LeClair, Brandon (October 7, 2023). "LECLAIR'S WWE FASTLANE 2023 REPORT: Alt perspective, detailed coverage of Rollins vs. Nakamura, Cena & Knight vs. Bloodline, Sky vs. Flair vs. Asuka, more". Pro Wrestling Torch. สืบค้นเมื่อ October 7, 2023.
- ↑ Powell, Jason (October 16, 2023). "WWE Raw results (10/16): Powell's live review of the season premiere, Cody Rhodes and Jey Uso vs. Damian Priest and Finn Balor for the Undisputed WWE Tag Titles, Gunther vs. Bronson Reed for the IC Title". Pro Wrestling Dot Net. สืบค้นเมื่อ October 16, 2023.
- ↑ Mrosko, Geno (November 27, 2023). "Cody Rhodes is already declaring for the Royal Rumble in which he won". cagesideseats (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ November 27, 2023.
- ↑ "2024 WWE Royal Rumble results: Live updates, recap, grades, highlights, matches, card, start time". CBSSports.com (ภาษาอังกฤษ). 2024-01-28. สืบค้นเมื่อ 2024-01-28.
- ↑ Konuwa, Alfred. "WWE Royal Rumble 2024 Results: Cody Rhodes Wins The Royal Rumble Match". Forbes (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-01-28.
- ↑ "SmackDown results, Feb. 2, 2024: The Rock stood toe-to-toe with Roman Reigns as Cody Rhodes shunned The Tribal Chief!". WWE. สืบค้นเมื่อ February 3, 2024.
- ↑ Renner, Ethan (February 2, 2023). "The Rock vs. Roman Reigns to headline WWE WrestleMania 40: Cody Rhodes will not finish his story at this year's WrestleMania". f4wonline.com. สืบค้นเมื่อ February 3, 2024.
- ↑ O'Donoghue, Craig. "Cody Rhodes rules out challenging Roman Reigns at Wrestlemania as announcement for The Rock seems inevitable". The West Australian. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 3, 2024. สืบค้นเมื่อ February 3, 2024.
- ↑ Mendoza, Jordan (February 3, 2024). "The Rock could face Roman Reigns at WWE WrestleMania and fans aren't happy". USA Today. สืบค้นเมื่อ February 4, 2024.
- ↑ Powell, Jason (February 8, 2024). "WrestleMania XL Kickoff press conference live coverage: Cody Rhodes announces his decision, The Rock, Roman Reigns, Seth Rollins, Rhea Ripley, Bianca Belair, and Triple H appear". Pro Wrestling Dot Net. สืบค้นเมื่อ February 8, 2024.
- ↑ Rathi, Ishaan (2024-04-08). "Cody Rhodes Wins Undisputed WWE Championship In Match Filled with Surprises at WrestleMania 40 Sunday". Ringside News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
- ↑ 109.0 109.1 Lee, Richard (November 25, 2009). "WWE, Gillette team up in ring". Connecticut Post. สืบค้นเมื่อ December 14, 2010.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Excitement builds over Gillette Fusion's interactive campaign with WWE Superstars". WWE. July 27, 2009. สืบค้นเมื่อ August 31, 2009.
- ↑ Martin, Adam (August 27, 2009). "WWE stars on "The Tonight Show"". WrestleView. สืบค้นเมื่อ August 31, 2009.
- ↑ "Kickin' It Up With... Kristin Ditto". Dallas Cowboys Cheerleaders. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-28. สืบค้นเมื่อ June 27, 2009.
- ↑ Ocal, Arda. "WWE's Daniel Bryan and Brie Bella get engaged". The Baltimore Sun. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-25. สืบค้นเมื่อ December 2, 2013.
- ↑ "Dusty: Reflections of Wrestling's American Dream". 20 November 2013. สืบค้นเมื่อ 14 June 2015.
- ↑ McCoy, Dave (June 11, 2015). "WWE Hall of Fame Wrestler Dusty Rhodes Dies at 69". The Hollywood Reporter. สืบค้นเมื่อ August 28, 2015.
- ↑ Christensen, Matt (July 2008). "What's in Your Travel Bag?". WWE Magazine. p. 49.
- ↑ 117.0 117.1 Singh, Arune (June 30, 2009). "Fightin' Fanboys: WWE Superstar Cody Rhodes". Marvel Entertainment. สืบค้นเมื่อ July 6, 2009.
- ↑ Warner Bros. Home Entertainment (August 6, 2016). "Scooby-Doo and WWE: Curse of the Speed Demon – Skinny Man & Dead Meat". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-17. สืบค้นเมื่อ August 20, 2019 – โดยทาง YouTube.
- ↑ "Stardust Bot Voice – The Jetsons & WWE: Robo-WrestleMania!". Behind the Voice Actors. สืบค้นเมื่อ August 20, 2019.
- ↑ "Rhodes to appear on SyFy's Warehouse 13". May 26, 2010.
- ↑ Arrow (TV Series 2012–2020) - IMDb, สืบค้นเมื่อ 2021-12-31
- ↑ Matt Fowler (July 2, 2016). "Arrow: Cody Rhodes to Guest in Season 5". IGN.
- ↑ Johnson, Mike (October 4, 2016). "Official details for Cody Rhodes on 'Arrow'". Pro Wrestling Insider. สืบค้นเมื่อ October 4, 2016.
- ↑ Go-Big Show (Reality-TV), Propagate Content, Matador Content, 2021-01-07, สืบค้นเมื่อ 2021-12-31
- ↑ Rhodes to the Top, สืบค้นเมื่อ 2021-12-31
- ↑ "Swerved Season 2 episode details". WWE.com. สืบค้นเมื่อ August 20, 2019.
- ↑ "Being The Elite". สืบค้นเมื่อ January 13, 2018 – โดยทาง YouTube.
- ↑ "AEW TNT Championship". All Elite Wrestling. สืบค้นเมื่อ May 23, 2020.
- ↑ Kreikenbohm, Philip (May 23, 2020). "AEW TNT Title Tournament (2020)". Cagematch. สืบค้นเมื่อ September 3, 2020.
- ↑ Renner, Ethan (January 27, 2021). "AEW Awards report: Winners revealed, Shaq challenges Cody". Figure Four Online. สืบค้นเมื่อ January 27, 2021.
- ↑ "A1 Tag Team Championship". Cagematch. สืบค้นเมื่อ August 2, 2021.
- ↑ Bullet Proof Dojo [@bulletproofdojo] (April 23, 2017). "We crowned new champions tonight...Donovan Dijak claimed the Wrestlemerica Title & Cody Rhodes became the first eve…" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ 133.0 133.1 Campbell, Brian (December 24, 2019). "How Adam Cole went from main event substitute to clear choice for 2019 Wrestler of the Year". CBS Sports. สืบค้นเมื่อ December 24, 2019.
- ↑ Rose, Bryan (July 20, 2022). "Cody Rhodes' return wins Best WWE Moment ESPY Award". Figure Four Online. สืบค้นเมื่อ July 21, 2022.
- ↑ "Pro Wrestling 2023 awards: The best male and female wrestler, feud, faction, promo and more". ESPN. December 26, 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 28, 2023. สืบค้นเมื่อ December 29, 2023.
- ↑ "Daily Update: UFC Fight Night 101, D. Bryan responds to Cesaro, Dykstra fired". Wrestling Observer Newsletter. November 26, 2016. สืบค้นเมื่อ November 26, 2016.
- ↑ Cyrruer, Joseph (September 1, 2018). "Cody wins NWA Worlds Heavyweight Title at All In". Wrestling Observer Figure Four Online. สืบค้นเมื่อ September 2, 2018.
- ↑ "IWGP United States Championship History" (ภาษาญี่ปุ่น). New Japan Pro-Wrestling. June 5, 2019. สืบค้นเมื่อ June 5, 2019.
- ↑ Staszewski, Joseph (December 27, 2022). "The Post's 2022 pro wrestling awards". New York Post. สืบค้นเมื่อ December 30, 2022.
- ↑ Staszewski, Joseph (December 26, 2023). "The Post's 2023 pro wrestling awards". New York Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 27, 2023. สืบค้นเมื่อ December 29, 2023.
- ↑ "Cody Rhodes beats Mike Bennett to win the Northeast Wrestling title". Pro Wrestling Insider. March 19, 2017. สืบค้นเมื่อ March 19, 2017.
- ↑ 142.0 142.1 "OVW Television Championship". Ohio Valley Wrestling. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 5, 2011. สืบค้นเมื่อ April 3, 2011.
- ↑ "WWE Superstar wins PWI Match of the Year plaque for the second time in his career". Sportskeeda. January 17, 2023. สืบค้นเมื่อ January 29, 2023.
- ↑ "PWI Awards". Pro Wrestling Illustrated. Kappa Publishing Group. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 9, 2016. สืบค้นเมื่อ October 4, 2020.
- ↑ Pro Wrestling Illustrated [@OfficialPWI] (January 14, 2020). "PWI on Twitter" (ทวีต). สืบค้นเมื่อ October 4, 2020 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
- ↑ "PWI Awards". Pro Wrestling Illustrated. 30 (3): 66–67. 2009.
- ↑ Rift, Aaron (September 10, 2024). "Pro Wrestling Illustrated's top ten male wrestlers of 2024 revealed". NoDQ.com. สืบค้นเมื่อ September 10, 2024.
- ↑ "ROH Wrestler of the Year: Cody". Ring of Honor. January 11, 2018. สืบค้นเมื่อ January 11, 2018.
- ↑ "Feud of the Year: Cody vs. Kenyy Omega". Ring of Honor. January 9, 2019.
- ↑ "The top 10 men's wrestlers of 2018". SI.com. May 6, 2020.
- ↑ Barrasso, Justin (December 31, 2023). "Ranking The Top 10 Wrestlers of 2023". Sports Illustrated. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 1, 2024. สืบค้นเมื่อ January 1, 2024.
- ↑ "WCPW Internet Championship". What Culture Pro Wrestling. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 4, 2017. สืบค้นเมื่อ October 3, 2017.
- ↑ Meltzer, Dave (February 23, 2024). "February 26, 2024 Observer Newsletter: 2023 Observer Awards issue". Wrestling Observer Newsletter. สืบค้นเมื่อ February 23, 2024.
- ↑ Meltzer, Dave (January 25, 2016). "January 25, 2016 Wrestling Observer Newsletter: 2015 Observer Awards Issue". Wrestling Observer Newsletter. Campbell, California: 47. ISSN 1083-9593.
- ↑ "Intercontinental Championship – Cody Rhodes". WWE. August 12, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 5, 2015. สืบค้นเมื่อ December 11, 2011.
- ↑ "Intercontinental Championship – Cody Rhodes". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 6, 2015. สืบค้นเมื่อ January 10, 2020.
- ↑ "WWE Tag Team Championships – Drew McIntyre & "Dashing" Cody Rhodes". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 19, 2013.
- ↑ "Cody Rhodes won the 2023 Men's Royal Rumble Match to earn a World Title opportunity at WrestleMania". WWE. สืบค้นเมื่อ January 29, 2023.
- ↑ "2010 Slammy Award Winners". World Wrestling Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 1, 2012. สืบค้นเมื่อ December 13, 2010.
- ↑ "2013 Slammy Award winners". WWE. December 8, 2013. สืบค้นเมื่อ April 17, 2016.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Cody Rhodes
- โคดี โรดส์ ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส
- โคดี โรดส์ ที่ WWE.com