Location via proxy:   [ UP ]  
[Report a bug]   [Manage cookies]                
ข้ามไปเนื้อหา

หม้อแกงลิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Nepenthes ampullaria)

หม้อแกงลิง
หม้อผุดของ Nepenthes ampullaria จากอุทยานแห่งชาติบาโก เกาะบอร์เนียว
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
อาณาจักร: พืช
Plantae
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
Tracheophytes
เคลด: พืชดอก
Angiosperms
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
Eudicots
อันดับ: คาร์เนชัน
Caryophyllales
วงศ์: หม้อข้าวหม้อแกงลิง
Nepenthaceae
สกุล: หม้อข้าวหม้อแกงลิง
Nepenthes
Jack (1835)
สปีชีส์: Nepenthes ampullaria
ชื่อทวินาม
Nepenthes ampullaria
Jack (1835)
ชื่อพ้อง

หม้อแกงลิง[2] (ชื่อวิทยาศาสตร์: Nepenthes ampullaria) เป็นพืชในสกุลหม้อข้าวหม้อแกงลิง ซึ่งมีการวิวัฒนาการแตกต่างจากชนิดอื่นในสกุลเดียวกันที่เป็นพืชกินสัตว์ (พืชกินเนื้อ) อย่างชัดเจน อาจเรียกหม้อแกงลิงได้ว่าเป็นพืชกินซากอินทรีย์จากเศษใบไม้ที่ร่วงลงสู่ภายในหม้อของมัน สามารถพบได้ในเกาะบอร์เนียว, หมู่เกาะมาลูกู, นิวกินี, มาเลเซียตะวันตก, สิงคโปร์, เกาะสุมาตรา และประเทศไทย[3][4][5][6][7]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

[แก้]
หม้อผุดของ N. ampullaria

หม้อแกงลิง (N. ampullaria) มีรูปทรงของหม้อที่เป็นเอกลักษณ์ และลักษณะการเติบโตของหม้อที่แตกต่าง ทำให้สามารถแยกออกจากหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดอื่นในสกุลได้โดยง่าย ฟรานซิส เออร์เนส ลอยด์ (Francis Ernest Lloyd) นักพฤกษศาสตร์ชาวสหรัฐ ได้แปลงานเขียนทางสัณฐานวิทยาของเกอเทอ (บันทึกลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของเกอเทอ) ของวิลเฮล์ม โทรลล์ (Wilhelm Troll) ปี 1932 เกี่ยวกับพืชชนิดนี้ไว้ดังนี้:[8]

"ฉันพบ N. ampullaria ท่ามกลางพืชหนองน้ำชนิดอื่น ๆ โดยบังเอิญบนเกาะซิเบรุต (Siberut) ทางชายฝั่งตะวันตกของสุมาตรา มันมีอยู่มากมายในทุก ๆ ที่ ทำให้ฉันไม่อาจละสายตาไปได้ มีหม้อของมันเรียงรายตลอดเถา เป็นกระจุกหนาแน่น ช่างน่าทึ่งนัก แม้แต่บนพื้นที่ปกคลุมไปด้วยมอสส์ก็ยังมีหม้อของมันผุดออกมา ช่างเป็นเหมือนผืนพรมที่น่าประทับใจไม่รู้ลืม"

หม้อแกงลิงเป็นไม้เลื้อย ลำต้นสีน้ำตาลอ่อนอาจเลื้อยได้สูงถึง 15 เมตร มีขนนุ่มสีน้ำตาลตามลำต้นและใบ เมื่อยังเล็กจะมีอยู่หนาแน่นและจะน้อยลงเมื่อโตขึ้น ใบเดี่ยวเป็นรูปรี สีเขียวยาว 25 เซนติเมตร กว้าง 6 เซนติเมตร เรียงตัวเป็นเกลียว ขอบใบเรียบ สายดิ่งยาวไม่เกิน 15 เซนติเมตร[9]

ช่อดอกเป็นแบบช่อแยกแขนงหนาแน่น ออกดอกช่วงเดือนตุลาคมถึงมกราคม ผล/ฝักเป็นวงรีหรือคล้ายแคบซูลและแตกเมื่อแก่ มันเป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงเพียงชนิดเดียวจากเกาะสุมาตราและคาบสมุทรมาลายูที่มีช่อดอกแบบช่อแยกแขนง[10]

หม้อแกงลิงเป็นหนึ่งในไม่กี่ชนิดที่มีหม้อผุด โดยหม้อผุดจะเกิดขึ้นบริเวณโคนต้นหรือไหล หม้อผุดนี้มีใบ (ฝา) ขนาดเล็กมากจนไม่สามารถสังเกตได้ชัดเจนหรือใบมีขนาดเล็กมาก หม้อมีลักษณะกลม มีขนาดสูง 7 เซนติเมตรขึ้นไป หม้อมีสีแดงหรือเขียวสีเดียวทั้งหม้อหรืออาจมีตั้งแต่หนึ่งสีขึ้นไป เช่น N. ampullaria จากเกาะสุมาตราและคาบสมุทรมาลายูส่วนมากมีหม้อสีเขียวหรือเขียวกระแดง ส่วนที่พบในแถบบอร์เนียวมีสีแดง และพบในนิวกินีมีหม้อขนาดใหญ่[9][10]

การกินเนื้อ

[แก้]
N. ampullaria มีการดัดแปลงที่เหมาะสมในการจับเศษใบไม้

จากหลักฐานการศึกษาพบว่าสารอาหารส่วนมากที่หม้อแกงลิง (N. ampullaria) ได้รับมาจากการย่อยเศษใบไม้ที่ตกลงสู่พื้นป่า ทำให้พืชชนิดนี้ไม่ใช่พืชกินเนื้อโดยตรงอย่างที่เข้าใจ ด้วยเหตุนี้สามารถจัดได้ว่า หม้อแกงลิงเป็นพืชกินซากอินทรีย์ ซึ่งจากการศึกษาพบว่าหม้อแกงลิง (N. ampullaria) เป็นเพียงหนึ่งในสองชนิดในสกุลหม้อข้าวหม้อแกงลิงเท่านั้นที่ไม่ใช่พืชกินเนื้อที่แท้จริง อีกชนิดคือ N. hemsleyana ซึ่งอาศัยสารอาหารจากการดักจับมูลค้างคาวจากการดัดแปลงหม้อของมันให้เป็นที่อยู่อาศัยของค้างคาวพันธุ์ที่มีขนาดเล็ก[11]

หม้อแกงลิง (N. ampullaria) มีการพัฒนาลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ซึ่งเป็นผลมาจากการดัดแปลงตัวเองเพื่อเพิ่มความสามารถในการดักจับเศษใบไม้ ได้แก่

  • การเป็นพืชเพียงชนิดเดียวในสกุลที่ไม่มีเซลล์ "รูปจันทร์เสี้ยว" ที่บริเวณฝาหม้อซึ่งพัฒนาจากเซลล์ควบคุมปากใบ[12] ทำให้ฝาของหม้อนี้ไม่ปิดกักเหยื่อไว้ภายใน[8]
  • ฝาหม้อผิดรูป เล็กมาก และโค้งพับออกด้านนอก ซึ่งไม่บดบังเศษใบไม้แห้งที่ตกลงในหม้อ[10]
  • ต่อมน้ำต้อยซึ่งมีหน้าที่สำคัญในการล่อเหยื่อ มีจำนวนน้อยมาก บางครั้งไม่พบในฝาหม้อเลย[10]
  • ต่อมขอบของเพอริสโตมลดรูปลงมากเมื่อเทียบกับชนิดอื่น[10]
  • เป็นหม้อที่ผุดจากพื้นดิน ซึ่งภายในหม้อบริเวณที่มีต่อมแผ่ไปจนเกือบถึงเพอริสโตม ซึ่งทำให้พื้นผิวที่มันลื่นคล้ายขี้ผึ้งมีน้อยมากหรือไม่มีเลย[13][14][9] ซึ่งพื้นผิวมันลื่นนี้หน้าที่ให้เหยื่อลื่นและตกลงไปในน้ำย่อย[10] (การไม่มีผิวมันลื่นทำให้แมลงสามารถปีนกลับออกไปได้)
  • โครงสร้างของต้นพืชประกอบด้วยไหลใต้ดินและตะเกียงซึ่งเป็นเรื่องไม่ปกติของพืชในสกุลนี้ บ่อยครั้งจะพบหม้อของหม้อแกงลิงมีจำนวนมากปกคลุมไปทั่วพื้นดิน ซึ่งเป็นการช่วยขยายพื้นที่ในการดักจับใบไม้ที่ร่วงลงมา[10]
  • หม้อของ N. ampullaria ค่อนข้างจะมีอายุยืนยาว เป็นไปตามการสะสมสารอาหารอย่างช้า ๆ จากเศษพืชที่ใช้เวลามาก[10]
  • คาดว่าผู้อิงอาศัยอย่างลูกน้ำ มีส่วนในการช่วยย่อยสลายเศษใบไม้และแปลงเป็นไนโตรเจนให้กับพืชได้ง่ายขึ้น โดยวิธีของการขับถ่ายของแอมโมเนียไอออน รวมทั้งแบคทีเรียที่ย่อยเศษใบไม้จะสร้างแอมโมเนียไอออนออกมาเช่นกัน[10]

มีการแสดงให้เห็นว่าไอโซโทปเสถียรของไนโตรเจนจากใบไม้ (15N) ใน N. ampullaria ที่เติบใตภายใต้ร่มเงาของต้นไม้ในป่า (และมีเศษใบไม้กิ่งไม้บนพื้น) มีน้อยกว่าต้นไม้ที่ไม่ได้รับเศษใบไม้ กลับกันความเข้มข้นไนโตรเจนรวมกลับมีมากกว่าต้นไม้ที่โตในที่โล่งไม่ได้รับเศษใบไม้ มีการประมาณว่า N. ampullaria ที่โตในป่า 35.7% (±0.1%) ของสารอาหารไนโตรเจนได้มาจากเศษใบไม้เหล่านั้น[15]

ถิ่นอาศัย

[แก้]

N. ampullaria พบได้ตั้งแต่พื้นราบจนถึงระดับสูงจากระดับน้ำทะเล 2,100 เมตร[16] ในเขตร้อนชื้น ทั้งเขตหนองน้ำและป่าฝนเขตร้อน ในบอร์เนียวสามารถพบได้ในพื้นราบในป่าฝนเขตร้อนและป่าพรุ ที่ความสูงไม่เกิน 1000 เมตรจากระดับน้ำทะเล[9] ส่วนในสุมาตราและแหลมมลายู พบที่ระดับความสูงถึง 1,100 เมตรจากระดับน้ำทะเล ในป่าฝนเขตร้อน, ท้องทุ่ง, ป่าพรุ พบแม้กระทั่งในนาข้าว[10] และในนิวกินีพบในป่าสน, ป่าปลูก, ทุ่งหญ้า และป่าหญ้าหนองน้ำ[16]

อนุกรมวิธาน

[แก้]

ชื่อวิทยาศาสตร์ในส่วนการอธิบายลักษณะคือ ampulla มาจากภาษาละติน แปลว่า ขวดน้ำ ซึ่งทำให้ชื่อภาษาอังกฤษของหม้อแกงลิง คือ flask-shaped pitcher-plant (หม้อข้าวหม้อแกงลิงทรงขวด)[17] ซึ่งปรากฏในหนังสือ หม้อข้าวหม้อแกงลิงของบอร์เนียว (Pitcher-Plants of Borneo) ฉบับปี 1996 แต่ถูกยกเลิกไปในฉบับตีพิมพ์ครั้งที่สองในปี 2008[18]

ชื่ออื่น

[แก้]

หม้อแกงลิงยังมีชื่อพื้นเมืองอื่น ๆ คือ ช่อหม้อแกง (ปัตตานี), บลางอกึกอ (มลายู ปัตตานี), หม้อแกงค่าง (ปัตตานี) [19] อังกฤษ: Flask-Shaped Pitcher-Plant

หน่วยอนุกรมวิธานต่ำกว่าระดับชนิด

[แก้]

เมื่อเร็วๆนี้มีการบรรยายลักษณะความผันแปรของ N. ampullaria var. racemosa จากรัฐซาราวักว่ามันมีช่อดอกแบบกระจะ บี.เอช. แดนเซอร์ พิจารณาว่าความหลากหลายอื่น ๆ นั้นไม่สำคัญ[20] มีการแจกแจงไว้ดังนี้:[21]

  • N. ampullacea var. picta Hort.Parker ex Rafarin (1869)
  • N. ampullacea var. vittata Hort.Van Houtte ex Rafarin (1869)
  • N. ampullaria var. geelvinkiana Becc. (1886)
  • N. ampullaria var. guttata D.Moore (1872)[22]
  • N. ampullaria var. longicarpa Becc. (1886)
  • N. ampullaria var. microsepala Macfarl. (1911)
  • N. ampullaria var. papuana Becc. in sched. nom.nud.
  • N. ampullaria var. racemosa J.H.Adam & Wilcock (1990)
  • N. ampullaria var. viridis Hort. ex Teijsm. (1859)[23] nom.nud.
  • N. ampullaria var. vittata-major Mast. (1872)[24]

ลูกผสมทางธรรมชาติ

[แก้]
N. ampullariaแดง

เนื่องจากดอกของ N. ampullaria ที่บานในทุกๆปีมีช่วงเวลาบานหลายสัปดาห์ ทำให้มีโอกาสที่จะผสมข้ามชนิดสูง นี่คือลูกผสมตามธรรมชาติของ N. ampullaria ที่ถูกบันทึกไว้

อ้างอิง

[แก้]
  1. Clarke, C.M. (2018). "Nepenthes ampullaria". IUCN Red List of Threatened Species. 2018: e.T39640A143958546. doi:10.2305/IUCN.UK.2018-1.RLTS.T39640A143958546.en. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
  2. เต็ม สมิตินันทน์. 2523. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (ชื่อพฤกษศาสตร์-ชื่อพื้นเมือง). กรมป่าไม้ หน้า 379
  3. 3.0 3.1 3.2 McPherson, S.R. 2009. Pitcher Plants of the Old World. 2 volumes. Redfern Natural History Productions, Poole.
  4. (ในภาษาอิตาลี) Catalano, M. 2010. Nepenthes della Thailandia: Diario di viaggio. Prague.
  5. McPherson, S.R. & A. Robinson 2012. Field Guide to the Pitcher Plants of Peninsular Malaysia and Indochina. Redfern Natural History Productions, Poole.
  6. McPherson, S.R. & A. Robinson 2012. Field Guide to the Pitcher Plants of Australia and New Guinea. Redfern Natural History Productions, Poole.
  7. McPherson, S.R. & A. Robinson 2012. Field Guide to the Pitcher Plants of Sumatra and Java. Redfern Natural History Productions, Poole.
  8. 8.0 8.1 Lloyd, F.E. 1942. The Carnivorous Plants. Chronica Botanica 9. Ronald Press Company, New York, U.S.A. xvi + 352 pp.
  9. 9.00 9.01 9.02 9.03 9.04 9.05 9.06 9.07 9.08 9.09 Clarke, C.M. 1997. Nepenthes of Borneo. Natural History Publications (Borneo), Kota Kinabalu.
  10. 10.00 10.01 10.02 10.03 10.04 10.05 10.06 10.07 10.08 10.09 10.10 10.11 Clarke, C.M. 2001. Nepenthes of Sumatra and Peninsular Malaysia. Natural History Publications (Borneo), Kota Kinabalu.
  11. Gaume, Laurence; Bazile, Vincent; Huguin, Maïlis; Bonhomme, Vincent. "Different pitcher shapes and trapping syndromes explain resource partitioning in Nepenthes species". Ecology and Evolution (ภาษาอังกฤษ). 6 (5): 1378–1392. doi:10.1002/ece3.1920. ISSN 2045-7758. PMC 4739188. PMID 26865951.{{cite journal}}: CS1 maint: PMC format (ลิงก์)
  12. Pant, D.D. & S. Bhatnagar 1977. Morphological studies in Nepenthes (Nepenthaceae). Phytomorphology 27: 13-34.
  13. Macfarlane, J.M. 1893. Observations on pitchered insectivorous plants. Part II. Annals of Botany 7: 403-458.
  14. Jebb, M.H.P. 1991. An account of Nepenthes in New Guinea. Science in New Guinea 17 (1) : 7-54.
  15. Moran, J.A., C.M. Clarke & B.J. Hawkins 2003. From Carnivore to Detritivore? Isotopic Evidence for Leaf Litter Utilization by the Tropical Pitcher Plant Nepenthes ampullaria. International Journal of Plant Sciences 164: 635–639.
  16. 16.0 16.1 Jebb, M. & M. Cheek 1997. A Skeletal Revision of Nepenthes (Nepenthaceae). Blumea 42: 1-106.
  17. Phillipps, A. & A. Lamb 1996. Pitcher-Plants of Borneo. Natural History Publications (Borneo), Kota Kinabalu.
  18. Phillipps, A., A. Lamb & C.C. Lee 2008. Pitcher Plants of Borneo. Second Edition. Natural History Publications (Borneo), Kota Kinabalu.
  19. สำนักงานหอพรรณไม้. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ -- กรุงเทพมหานคร : กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, 2549
  20. Danser, B.H. 1928. The Nepenthaceae of the Netherlands Indies. Bulletin du Jardin Botanique de Buitenzorg, Série III, 9(3–4): 249–438.
  21. Schlauer, J. N.d. Nepenthes ampullaria เก็บถาวร 2020-08-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Carnivorous Plant Database.
  22. Moore, D. 1872. On the culture of Nepenthes at Glasnevin. The Gardeners' Chronicle and Agricultural Gazette 1872(11): 359–360.
  23. (ในภาษาฝรั่งเศส) Teysmann, M.J.E. 1859. Énumération des plantes envoyées de Java au jardin botanique de l'Université de Leide. Annales d'horticulture et de botanique, ou Flore des jardins du royaume des Pays-Bas, et histoire des plantes cultivées les plus intéressantes des possessions néerlandaises aux Indes orientales, de l'Amérique et du Japon 2: 133–142.
  24. Masters, M.T. 1872. The cultivated species of Nepenthes. The Gardeners' Chronicle and Agricultural Gazette 1872(16): 540–542.
  25. Scharmann, M. & T.U. Grafe 2013. Reinstatement of Nepenthes hemsleyana (Nepenthaceae), an endemic pitcher plant from Borneo, with a discussion of associated Nepenthes taxa. Blumea 58(1): 8–12. doi:10.3767/000651913X668465
  26. Yulita, K.S. & M. Mansur 2012. The occurrence of hybrid in Nepenthes hookeriana Lindl. from Central Kalimantan can be detected by RAPD and ISSR markers. HAYATI Journal of Biosciences 19(1): 18–24. doi:10.4308/hjb.19.1.18
  27. Lowrie, A. 1983. Sabah Nepenthes Expeditions 1982 & 1983. Carnivorous Plant Newsletter 12(4): 88–95.
  28. (ในภาษาอินโดนีเซีย) Akhriadi, P. 2007. Kajian taksonomi hibrid alami Nepenthes (Nepenthaceae) di Kerinci เก็บถาวร 3 มีนาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Working paper, Andalas University, Padang. Abstract เก็บถาวร 4 มีนาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]