Location via proxy:   [ UP ]  
[Report a bug]   [Manage cookies]                
ข้ามไปเนื้อหา

Nepenthes hurrelliana

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Nepenthes hurrelliana
หม้อบนของ Nepenthes hurrelliana
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: พืช (Plantae)
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
อันดับ: Caryophyllales
วงศ์: Nepenthaceae
สกุล: Nepenthes
สปีชีส์: N.  hurrelliana
ชื่อทวินาม
Nepenthes hurrelliana
Cheek & A.L.Lamb (2003)

Nepenthes hurrelliana (ได้ชื่อตามแอนดริว เฮอร์เรลล์ (Andrew Hurrell), นักพฤกษศาสตร์ ) เป็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่สูงจากเกาะบอร์เนียว พบได้ในตอนเหนือของรัฐซาราวัก, บรูไน และตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐซาบะฮ์ N. hurrelliana มีหม้อรูปกรวยสวยงาม มันอาจเป็นลูกผสมที่คาดว่าพัฒนาตัวมาจากพ่อแม่ดั้งเดิมคือ N. fusca และ N. veitchii มันมีขนน้ำตาลสนิมปกคลุมหนาแน่นตลอดทุกส่วนซึ่งน่าจะได้รับสืบทอดมาจาก N. veitchii

ประวัติทางพฤกษศาสตร์

[แก้]

N. hurrelliana เป็นที่รู้จักของนักพฤกษศาสตร์ก่อนที่มันจะถูกระบุเป็นชนิดเสียอีก ถึงแม้ว่ามันจะมีรูปร่างที่ต่างไปแต่บางคนได้ถือเอาว่ามันเป็นรูปแบบหนึ่งของ N. veitchii, ที่มีรูปแบบคล้าย N. maxima, หรือไม่ก็ยึดถือมันเป็นลูกผสมทางธรรมชาติไปเลย[1] ในปี ค.ศ. 1988 แอนเทีย ฟิลลิปซ์ (Anthea Phillipps) และ แอนโทนี แลมบ์ (Anthony Lamb) ได้ตีพิมพ์ภาพประกอบของตัวอย่าง N. hurrelliana จากภูเขามูรุดภายใต้ชื่อ "N. veitchii × N. fusca"[2] อย่างไรก็ตามเอกสารในปี ค.ศ. 1996 ที่ชื่อ Pitcher-Plants of Borneo (หม้อข้าวหม้อแกงลิงแห่งบอร์เนียว) มันกับถูกจัดเป็นชนิดที่ยังไม่มีการระบุ "Nepenthes sp."[1] อนุกรมวิธานของพืชนี้ถูกจัดเป็นชนิดที่ยังไม่มีการระบุ "Nepenthes sp. B" ในหนังสือของชาร์ลส์ คลาร์ก (Charles Clarke) ที่ชื่อ Nepenthes of Borneo (หม้อข้าวหม้อแกงลิงแห่งบอร์เนียว) (1997) [3] และหนังสือของฮิวโก สทีเนอร์ (Hugo Steiner) ที่ชื่อ Borneo: Its Mountains and Lowlands with their Pitcher Plants (บอร์เนียว:ภูเขาและที่ลุ่มกับหม้อข้าวหม้อแกงลิง) (2002) [4]

ใน "Nepenthes of Gunung Murud (หม้อข้าวหม้อแกงลิงแห่งภูเขามูรุด)" หัวข้อที่ถูกตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1996 ซึ่งเป็นเนื้อหาของ Carnivorous Plant Newsletter (จดหมายข่าวพืชกินสัตว์) ชอน เดอ วีตต์ (John De Witte) พรรณารูปร่างของลูกผสมว่า "เป็นไปได้มากที่จะเป็นลูกผสมระหว่าง N. veitchii และ N. stenophylla[a] หรือ N. fusca"[5] ตามเขียนถึงพืชชนิดนี้

ในปี ค.ศ. 1999 บรูซ แซลมอน (Bruce Salmon) เสนอว่ามันอาจจะเป็นชนิดเดียวกันกับ N. mollis ที่ยังเป็นปริศนาที่มีเพียงตัวอย่างของหม้อเพียงหม้อเดียว[6] ข้อเสนอนี้ถูกคัดค้านโดยมาร์ติน ชีก (Martin Cheek) และแอนโทนี แลมบ์ ผู้ระบุบแจกแจงรูปแบบของ N. hurrelliana ในปี ค.ศ. 2003[7] ตัวอย่างต้นแบบ A.Lamb & Surat 145/99 เก็บมาจากภูเขาลุมมาร์กู (Lumarku) ในรัฐซาบะฮ์และเก็บรักษาไว้ที่หอพรรณไม้ของกรมป่าไม้ซานดากัน(Sandakan)[8]

N. hurrelliana ได้ชื่อตามแอนดริว เฮอร์เรลล์ ผู้ศึกษาต้นไม้บนภูเขา Murud ในปี ค.ศ. 1995[9] และเป็นเจ้าของพื้นที่สังเกตการณ์ที่แสดงว่าประชากรของมันโตอย่างอิสระภายใต้ตัวมันเอง ไม่เกี่ยวข้องกับหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดอื่นที่คาดว่าเป็นพ่อแม่ของมัน ด้วยเหตุนี้มันจึงถูกพิจารณาว่าเป็นชนิด[10]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

[แก้]

N. hurrelliana เป็นไม้เลื้อย มีรูปแบบต่างกันเล็กน้อยจากถิ่นที่อยู่ต่างกัน หม้อข้าวหม้อแกงลิงจากภูเขามูลู (Mulu) และอีกบางภูเขามีปล้องยาวถึง 10 ซม.[9]

หม้อล่าง

รูปแบบใบของหม้อข้าวหม้อแกงลิงจากภูเขาลุมมาร์กู ยาวถึง 24 ซม.และยาวไปเป็นปีกที่ก้านใบ แล้วโอบล้อมลำต้นประมาณครึ่งหนึ่งของเส้นรอบวงมีลักษณะเป็นครีบประมาณ 1 ซม.[9] ต้นไม้จากภูเขามูลูมีใบเป็นรูปหอกที่แคบกว่า ก้านใบมีปีกกว้างเป็นครีบไปจรดข้อ (ยาว ≤10 ซม.) [9]

หม้อล่างเป็นรูปไข่แคบจนถึงรูปกรวย มีขนาดใหญ่สูงถึง 30 ซม.[10] ฝาปิดเป็นทรงสามเหลี่ยมกว้าง ขอบเป็นคลื่น เพอริสโตมแผ่กว้างคอขอด (ยาว ≤9 ซม.) ที่ด้านหลังและกว้างประมาณ 7 ซม.[9]

หม้อบนเป็นรูปกรวยมากกว่าหม้อล่างแต่มีขนาดประมาณ 28.5 ซม.[1] ฝาปิดเป็นทรงสามเหลี่ยมแคบมาก ยาว 8 ซม.กว้าง 4.2 ซม.[1] มีฐานเป็นรูปหัวใจล้อมรอบด้วยสันรูปตะขอและมีรยางค์ยอดรูปเส้นด้ายยาว 5 มม. มีต่อมน้ำต้อยจำนวนมากใต้, ตามขอบและใกล้กับฐาน[9]

N. hurrelliana มีช่อดอกแบบช่อกระจะ[9] ก้านดอกย่อยมีใบประดับที่ฐานยาว 3 ถึง 4 มม.[6]

สิ่งปกคลุมสีนำตาลแดงที่มีอยู่อย่างหนานแน่นของ N. hurrelliana นั้นเป็นหนึ่งในลักษณะเด่นของหม้อข้าวหม้อแกงลิง หลายชนิด บนผิวบนของฝาหม้อมีขนสีสนิมขณะที่ผิวล่างมีตามขอบเท่านั้น เป็นสิ่งผิดปกติสำหรับ หม้อข้าวหม้อแกงลิง ปกติขนจะปรากฏบนผิวบนของแผ่นใบและบนสันต่อมของฝาหม้อ[9]

นิเวศวิทยา

[แก้]
หม้อบนในป่ามอสส์บนภูเขามูรุด

N. hurrelliana เป็นพืชถิ่นเดียวของบอร์เนียว สถานที่ที่มีการบันทึกว่าพบได้แก่ภูเขาทางเหนือของรัฐซาราวัก, ตะวันตกเฉียงใต้ของซาบะฮ์, และบรูไน[9] โดยเฉพาะที่ภูเขาลุมมาร์กู, ภูเขามูลู, ภูเขามูรุด, และภูเขาในเทือกเขาเมอลีกัน (Meligan) ใกล้กับรง ปาซีย์ (Long Pasia) (รวมถึงภูเขารีเมา (Rimau)) [9] มีการกระจายตัวที่ 1300 ถึง 2400 ม.จากระดับน้ำทะเล[9] บนภูเขามูรุด (2423 ม.) N. hurrelliana ที่อยู่บนยอดเขาหรือสันเขาที่สูงกว่า 2100 ม.นั้นหาได้ยากเพราะที่ความสูงขนาดนั้นจะทำให้มันแคระแกรน ประชากรที่อยู่บนสันเขาของภูเขาลุมมาร์กู (ประมาณ 1900 ม.) อยู่ที่ความสูงสูงกว่า 1620 ม.[9]

โดยทั่วไปถิ่นอาศัยของ N. hurrelliana คือป่ามอสส์สูงและแนวป่าดิบเขาที่ๆมันเติบโตคล้ายกาฝากสูงจากพื้น 10 ม.[9] มีการบันทึกว่าบนในสถานที่ๆปกคลุมด้วยมอสส์ในป่าสมบูรณ์ มีการพบบนพื้นดินบ้างแต่เป็นส่วนน้อย[9]

N. hurrelliana เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์บางชนิด อย่างที่เด่นๆก็มีกบทองขนาดเล็กที่อยู่ในสกุล Philautus พบในหม้อของ N. hurrelliana ที่อิงอาศัยบนต้นไม้บนภูเขาลุมมาร์กู[9]

จุดกำเนิดจากลูกผสม

[แก้]

N. hurrelliana มีหม้อที่มีลักษณะที่อยู่กึ่งกลางระหว่าง N. fusca และ N. veitchii ด้วยเหตุนี้จึงนำไปสู่การคาดเดาถึงเรื่องเชื้อสายของหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้ ซึ่งมีหลายคนที่คิดว่าเป็นไปได้ที่มันจะมีจุดกำเนิดจากลูกผสม

นักพฤษศาสตร์ที่ชื่อ ไคลฟ์ เอ. สเทซ (Clive A. Stace) เขียนไว้ว่า

ลูกผสมที่เสถียรเมื่อมันมีการพัฒนาการกระจายตัว, รูปร่างลักษณะ หรือพันธุกรรมของลักษณะจนห่างไกลที่จะเชื่อมโยงเข้ากับพ่อและแม่ของมัน, ... ถ้าลูกผสมกลายเป็นอิสระ, จำได้, สืบพันธุ์ด้วยตัวเอง, มันเป็น de facto คนละชนิดกัน[11]

ข้อความนี้สนับสนุนสถานะของ N. hurrelliana ให้เป็นชนิด ตั้งแต่ประชากรของมันมีความเสถียรภาพและมีสถานที่มากมายที่มันเจริญเติบโต[3] ยิ่งกว่านั้นไม่พบว่าหม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้มีการแพร่กระจายอยู่ที่เดียวกันกับชนิดที่คาดเดาว่าเป็นพ่อและแม่ของมัน[9] กรณีแบบนี้อาจเกิดโดยเฉพาะบางแห่ง ลูกผสมอาจมีการแข่งขันกับพ่อแม่และในตอนท้ายก็ซ้อนทับพ่อแม่สำเร็จ ถึงแม้ว่าอาจเป็นไปได้ที่มันจะกระจายตัวไปยังพื้นที่ใหม่ที่ๆไม่มีทั้งพ่อและแม่[3]

N. murudensis เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่มีจุดกำเนิดจากลูกผสม[12][3]

ญาติใกล้ชิด

[แก้]
หม้อบนของ N. fusca ที่แสดงให้เห็นถึงฝาที่มีรูปร่างสามเหลี่ยมแคบและลักษณะเพอริสโตมที่โดดเด่น morphology
หม้อล่างทรงรูปไข่ของ N. veitchii ช่วยให้มันแตกต่างจาก N. hurrelliana

หม้อบนของ N. hurrelliana มีลักษณะคล้ายคลึงกับ N. fusca ซึ่งมีเพียงสองชนิดในบอร์เนียวเท่านั้นที่มีฝาหม้อเป็นสามเหลี่ยมแคบ สิ่งที่ต่างคือหม้อบนของ N. hurrelliana มีปากตามขวางยกชันยาวคอดไปที่ด้านหลังและมีขนหยาบแข็งใต้ฝา[9]

N. hurrelliana คล้ายกับ N. fusca จากทางตอนใต้ของเทือกเขาคร็อกเกอร์ (Crocker Range) ในรัฐซาบะฮ์เป็นพิเศษ คือมีเพอริสโตมกว้าง, คอคอดยาวกว่า และฝาหม้อเป็นสามเหลี่ยมมากกว่า N. fusca ในที่อื่นๆ[9] อย่างไรก็ตามเพอริสโตมก็ไม่ได้ถูกพัฒนามากเหมือนใน N. hurrelliana และไม่สิ่งปกคลุม ยิ่งกว่านั้น N. hurrelliana ยังมีต่อมน้ำต้อยบนผิวล่างของฝาหม้อ[9]

N. hurrelliana อาจมีการสับสนกับชนิดที่คาดว่าเป็นพ่อแม่คือ N. veitchii ทั้งสองชนิดโตในถิ่นอาศัยที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนและ N. hurrelliana มีหม้อเป็นรูปกรวยมากกว่าและมีจุดสีม่วงบนหม้อ ที่สำคัญ ทรงของฝาก็ต่างกัน[9]

นอกจากนี้ หม้อข้าวหม้อแกงลิงชนิดนี้ยังถูกนำไปเปรียบเทียบกับ N. maxima[1] ถึงแม้ว่า N. maxima จะเป็นที่รู้กันว่าไม่มีการพบในบอร์เนียว[3]

Nepenthes mollis

[แก้]

ใบสอบเรียวและสิ่งปกคลุมหนาแน่นของ N. hurrelliana เป็นสิ่งที่มีคล้ายกับ N. mollis และมันอาจเป็นสิ่งที่แสดงว่าหม้อข้าวหม้อแกงลิงทั้งสองชนิดเป็นชนิดเดียวกัน[6] บรูซ แซลมอนเขียนไว้ว่าตัวอย่างของ N. mollis ต่างจากรูปแบบของ N. hurrelliana จากภูเขาลุมมาร์กูตรงไม่มีใบประดับก้านดอกย่อยและมีฐานใบเป็นครีบ ปีกยาว 6 ซม. (ตรงข้ามกับ N. hurrelliana ที่มีเพียง 1-2 ซม.) [6]

ผู้เขียนบางคนพิจารณาข้อสันนิษฐานเหล่านี้เท่าๆกัน ทั้งสองชนิด"ค่อนข้างจะไม่น่าเป็นไปได้"ที่เป็นชนิดเดียวกัน[4] หมายเหตุบรรณาธิการโดย เจน สเชลาเลอร์ (Jan Schlauer) ในบทความของแซลมอน เตือนว่าตัวอย่างจากที่ตั้งแบบฉบับของ N. mollis ต้องมีการตรวจสอบก่อนรวมทั้งสองชนิดเข้าด้วยกัน:[6]

รูปพรรณของตัวอย่างจากภูเขาลุมมาร์กูในส่วน N. mollis นั้น ควรจะพิสูจน์โดยเทียบเคียงกับหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่เชื่อถือได้จากภูเขาเกอมุล (Kemul) นอกจากจะทำอย่างนี้แล้ว ข้อมูลไม่สามารถยึดเอาตามการพรรณารูปแบบของ N. mollis โดยแดนเซอร์ แต่เดิมที่ตรวจทานว่าถูกต้องแล้วแต่เป็นการอ้างถึงหม้อข้าวหม้อแกงลิงบอร์เนียวเพียงอย่างเดียวเท่านั้นโดยไม่มีข้อสงสัย

ถ้า N. mollis และ N. hurrelliana เป็นชนิดเดียวกัน N. hurrelliana จะกลายเป็นชื่อพ้องเฮเทอโรไทปิกของต้นแบบ

ลูกผสมทางธรรมชาติ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Phillipps, A. & A. Lamb 1996. Pitcher-Plants of Borneo. Natural History Publications (Borneo) , Kota Kinabalu.
  2. Phillipps, A. & A. Lamb 1988. Pitcher-plants of East Malaysia and Brunei. Nature Malaysiana 13 (4) : 8–27.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Clarke, C.M. 1997. Nepenthes of Borneo. Natural History Publications (Borneo) , Kota Kinabalu.
  4. 4.0 4.1 Steiner, H. 2002. Borneo: Its Mountains and Lowlands with their Pitcher Plants. Toihaan Publishing Company, Kota Kinabalu.
  5. De Witte, J. 1996. Nepenthes of Gunung Murud.PDF (567 KiB) Carnivorous Plant Newsletter 25 (2) : 41–45.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 Salmon, B.[R.] 1999. Nepenthes mollis (Nepenthaceae) —Rediscovered?PDF (561 KiB) Carnivorous Plant Newsletter 28 (1) : 24–26.
  7. Cheek, M., M. Jebb, C.C. Lee, A. Lamb & A. Phillipps. 2003. Nepenthes hurrelliana (Nepenthaceae) , a New Species of Pitcher Plant from Borneo. Sabah Parks Nature Journal 6: 117–124.
  8. Schlauer, J. 2006. Nepenthes hurrelliana เก็บถาวร 2021-04-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Carnivorous Plant Database.
  9. 9.00 9.01 9.02 9.03 9.04 9.05 9.06 9.07 9.08 9.09 9.10 9.11 9.12 9.13 9.14 9.15 9.16 9.17 9.18 9.19 9.20 Phillips, A., A. Lamb & C.C. Lee 2008. Pitcher Plants of Borneo. Second Edition. Natural History Publications (Borneo) , Kota Kinabalu.
  10. 10.0 10.1 Clarke, C.M. & C.C. Lee 2004. Pitcher Plants of Sarawak. Natural History Publications (Borneo) , Kota Kinabalu.
  11. Stace, C.A. 1980. Plant Taxonomy and Biosystematics. Arnold, London.
  12. Jebb, M.H.P. & M.R. Cheek 1997. A Skeletal Revision of Nepenthes (Nepenthaceae). Blumea 42 (1) : 1–106.
  13. Lee, C.C. 2007. Re: lowii and hurrelliana of Mt. Murud เก็บถาวร 2007-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Carnivorous Plants in the tropics.
  • Cheek, M., M. Jebb, C.C. Lee, A. Lamb & A. Phillipps. 2003. Nepenthes hurrelliana (Nepenthaceae) , a New Species of Pitcher Plant from Borneo. Sabah Parks Nature Journal 6: 117-124.
  • Clarke, C.M. & C.C. Lee 2004. Pitcher Plants of Sarawak. Natural History Publications (Borneo) , Kota Kinabalu.
  • De Witte, J. 1996. Nepenthes of Gunung Murud.PDF (567 KiB) Carnivorous Plant Newsletter 25 (2) : 41–45.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]