เอเชียตะวันตกเฉียงใต้
พื้นที่ | 5,994,935 ตารางกิโลเมตร (2,314,657 ตารางไมล์)a |
---|---|
ประชากร | 313,450,000 คน (2018) (อันดับที่ 9)[1][2] |
ความหนาแน่น | 50.1 ตารางกิโลเมตร (19.3 ตารางไมล์) |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 9.063 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (2019)[3] |
จีดีพี (ราคาตลาด) | 3.383 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (2019)[3] |
จีดีพีต่อหัว | 10,793 ดอลลาร์สหรัฐ (2019; ในนาม)[3] 28,918 ดอลลาร์สหรัฐ (2019; พีพีพี)[3] |
เอชดีไอ | 0.699 (ปานกลาง) |
กลุ่มชาติพันธุ์ | เซมิติก, เตอร์กิก, อิหร่าน, อาร์มีเนีย, คอเคซัสเหนือ, จอร์เจีย, กรีก, อินโด-อารยัน, เป็นต้น |
ศาสนา | อิสลาม, คริสต์, ยูดาห์, บาไฮ, ดรูซ, ยาร์ซาน, ยาซิดี, โซโรอัสเตอร์, มันดาอี, ฮินดู, พุทธ เป็นต้น |
เดมะนิม | ชาวเอเชียตะวันตก |
ประเทศ |
3 บริเวณที่ไม่ได้รับการรับรอง |
ดินแดน | แอโครเทียรีและดิเคเลีย |
ภาษา | ภาษาราชการ ภาษาอื่น ๆ |
เขตเวลา | 5 เขตเวลา
|
โดเมนระดับบนสุด | .ae, .am, .az, .bh, .cy, .eg, .ge, .il, .iq, .ir, .jo, .kw, .lb, .om, .ps, .qa, .sa, .sy, .tr, .ye |
รหัสโทรศัพท์ | โซน 9 ยกเว้นอาร์มีเนีย, ไซปรัส (โซน 3) และไซนาย (โซน 2) |
เมืองใหญ่ | |
รหัส UN M49 | 145 – เอเชียตะวันตก142 – เอเชีย001 – โลก |
a พื้นที่และประชากรได้รวมคาบสมุทรไซนาย b ใน 100 อันดับแรกของเขตชุมชนเมืองของโลกโดยประชากร |
เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ (อังกฤษ: Southwest Asia) หรืออาจเรียกว่า เอเชียตะวันตก (West Asia, Western Asia) เป็นภูมิภาคตะวันตกสุดของทวีปเอเชีย ตามที่นักวิชาการส่วนใหญ่ หน่วยงานสหประชาชาติและสถาบันอื่น ๆ ให้คำนิยามไว้ว่า อนุภูมิภาคประกอบด้วยอานาโตเลีย คาบสมุทรอาหรับ อิหร่าน เมโสโปเตเมีย ที่ราบสูงอาร์มีเนีย ลิแวนต์ เกาะไซปรัส คาบสมุทรไซนาย และคอเคซัสใต้[4][5][6] ภูมิภาคนี้แยกจากทวีปแอฟริกาด้วยคอคอดสุเอซในอียิปต์ และแยกจากทวีปยุโรปด้วยเส้นทางน้ำในช่องแคบตุรกีและที่ราบลุ่มแม่น้ำของเกรตเตอร์คอเคซัส เอเชียกลางตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนเอเชียใต้ตั้งอยู่ทางตะวันออกของภูมิภาคนี้ ทะเล 12 แห่งที่อยู่ล้อมรอบภูมิภาคนี้ (ตามเข็มนาฬิกา) ได้แก่: ทะเลอีเจียน ทะเลมาร์มะรา ทะเลดำ ทะเลแคสเปียน อ่าวเปอร์เซีย อ่าวโอมาน ทะเลอาหรับ อ่าวเอเดน ทะเลแดง อ่าวอัลอะเกาะบะฮ์ อ่าวสุเอซ และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เอเชียตะวันตกเฉียงใต้มีคำจำกัดความคล้ายกับตะวันออกกลาง โดยตะวันออกกลางเป็นศัพท์ทางการเมืองที่มีการเปลี่ยนแปลงหลายครั้งขึ้นอยู่กับบริบททางการเมืองและประวัติศาสตร์ ในขณะที่เอเชียตะวันตกเฉียงใต้เป็นศัพท์ทางภูมิศาสตร์ที่มีความสอดคล้องกันมากกว่า ซึ่งไม่รวมพื้นที่อียิปต์ส่วนใหญ่และตุรกีตะวันตกเฉียงเหนือ และรวมคอเคซัสใต้
เอเชียตะวันตกเฉียงใต้มีพื้นที่ 5,994,935 ตารางกิโลเมตร (2,314,657 ตารางไมล์) กับประชากรประมาณ 313 ล้านคน[1][2] จากประเทศสมาชิกสหประชาชาติ 20 ประเทศที่อยู่ในพื้นที่ทั้งหมดหรือบางส่วน มี 13 ประเทศที่เป็นส่วนหนึ่งของโลกอาหรับ ประเทศที่มีประชากรมากที่สถดในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้คืออิหร่าน ตุรกี อิรัก ซาอุดีอาระเบีย และเยเมน
เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ในนิยามของ World Geographical Scheme for Recording Plant Distributions (WGSRPD) ไม่นับรวมคาบสมุทรอาหรับแต่รวมอัฟกานิสถาน[7] องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ไม่รวมอียิปต์แต่รวมอัฟกานิสถาน[8] และโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติไม่รวมไซปรัส อิสราเอล ตุรกี และอิหร่านเข้าในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้[9]
คำนิยาม
[แก้]คำว่า "เอเชียตะวันตก" มีการใช้ในเชิงปฏิบัติและไม่มีคำจำกัดความที่ "ถูกต้อง" หรือเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป คำจำกัดความทั่วไปของคำนี้ทับซ้อนกับคำจำกัดความของตะวันออกกลาง เมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก และตะวันออกใกล้ (ในอดีตเป็นที่คุ้นเคย แต่กลับถูกปฏิเสธในปัจจุบันอย่างกว้างขวาง) เกือบทั้งหมด ในคู่มือลักษณะเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิกกับThe World Economy: Historical Statistics (2003) ของแมดดิสันจากองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) นับเฉพาะบาห์เรน อิหร่าน อิรัก อิสราเอล จอร์แดน คูเวต เลบานอน โอมาน กาตาร์ ปาเลสไตน์ (ในตัวอย่างหลังเรียก เวสต์แบงก์และกาซา) ซาอุดีอาระเบีย ซีเรีย ตุรกี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเยเมนเป็นประเทศเอเชียตะวันตก[10][11] ในทางตรงกันข้าม องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UNIDO) ระบุไว้ในหนังสือประจำปี 2015 ว่ารวมอาร์มีเรียและอาเซอร์ไบจาน และไม่รวมอิสราเอล (ระบุไว้ใน อื่น ๆ) และตุรกี (ระบุไว้ใน ยุโรป)[12]
สำนักงานสถิติแห่งสหประชาชาติ (UNSD) ระบุต่างจาก UNIDO ตรงที่ไม่รวมอิหร่านในเอเชียตะวันตก และรวมตุรกี จอร์เจีย และไซปรัสเข้าในภูมิภาคนี้[13] ในกลุ่มยุโรปตะวันออกทางภูมิรัฐศาสตร์ของสหประชาชาติ อาร์มีเนียและจอร์เจียจัดให้อยู่ในยุโรปตะวันออก ส่วนไซปรัสและเทรซตะวันออกของตุรกีจัดให้อยู่ในยุโรปใต้ ทางยูเนสโกจัดให้สามประเทศนี้อยู่ในกลุ่มยุโรป
สมาชิกระดับชาติของหน่วยงานกำกับดูแลกีฬาแห่งเอเชียตะวันตกจำกัดเฉพาะบาห์เรน อิหร่าน อิรัก จอร์แดน คูเวต เลบานอน ซีเรีย โอมาน ปาเลสไตน์ กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเยเมน[14][15][16]
ประวัติ
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ศาสนา
[แก้]กลุ่มศาสนาหลัก 4 ศาสนา (ได้แก่ 2 ศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในโลก คือ ศาสนาคริสต์และอิสลาม บวกกับศาสนายูดาห์และดรูซ) มีต้นกำเนิดในเอเชียตะวันตก[18][19][20] ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในเอเชียตะวันตก แต่ความเชื่ออื่นๆ ที่มีต้นกำเนิดในบริเวณนี้อย่างศาสนายูดาห์และศาสนาคริสต์[21]ก็มีผู้นับถือเช่นกัน
นอกจากนี้ยังมีศาสนาชนกลุ่มน้อยที่สำคัญด้วย เช่น บาไฮ ยาร์ซาน ยาซิดี[22] โซโรอัสเตอร์ มันดาอี และชะบัก
-
อารามนักบุญแอนโทนีแห่ง Qozhaya ที่เลบานอน
-
ชาวยิวสวดมนต์ที่กำแพงประจิม
ข้อมูลสถิติ
[แก้]ประเทศกับธงชาติ | พื้นที่ (ตร.กม.) |
ประชากร[23] (พ.ศ. 2560) |
ความหนาแน่น (ต่อตร.กม.) |
เมืองหลวง | จีดีพีเฉลี่ย[24] (2012) |
ต่อหัว[25] (2012) |
สกุลเงิน | รัฐบาล | ภาษาราชการ |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อานาโตเลีย: | |||||||||
ตุรกี[หมายเหตุ 1] | 783,562 | 79,512,426 | 94.1 | อังการา | 788.042 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ | 10,523 ดอลลาร์สหรัฐ | ลีราตุรกี | สาธารณรัฐ ประธานาธิบดี | ตุรกี |
คาบสมุทรอาหรับ: | |||||||||
บาห์เรน | 780 | 1,425,171 | 1,646.1 | มานามา | 30.355 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ | 26,368 ดอลลาร์สหรัฐ | ดีนารบาห์เรน | ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ | อาหรับ |
คูเวต | 17,820 | 4,052,584 | 167.5 | คูเวตซิตี | 184.540 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ | 48,761 ดอลลาร์สหรัฐ | ดีนารคูเวต | ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ | อาหรับ |
โอมาน | 212,460 | 4,424,762 | 9.2 | มัสกัต | 78.290 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ | 25,356 ดอลลาร์สหรัฐ | ริยาลโอมาน | สมบูรณาญาสิทธิราชย์ | อาหรับ |
กาตาร์ | 11,437 | 2,569,804 | 123.2 | โดฮา | 192.402 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ | 104,756 ดอลลาร์สหรัฐ | ริยาลกาตาร์ | สมบูรณาญาสิทธิราชย์ | อาหรับ |
ซาอุดีอาระเบีย | 2,149,690 | 32,275,687 | 12 | รียาด | 733.956 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ | 25,139 ดอลลาร์สหรัฐ | ริยาลซาอุดี | สมบูรณาญาสิทธิราชย์ | อาหรับ |
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ | 82,880 | 9,269,612 | 97 | อาบูดาบี | 383.799 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ | 43,774 ดอลลาร์สหรัฐ | ดิรฮัมยูเออี | สหพันธรัฐ ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ | อาหรับ |
เยเมน | 527,970 | 27,584,213 | 44.7 | ซานา (รัฐบาลของฮูษี) เอเดน (ที่ตั้งรัฐบาล) |
35.05 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ | 1,354 ดอลลาร์สหรัฐ | ริยาลเยเมน | สาธารณรัฐ ประธานาธิบดีเฉพาะกาล | อาหรับ |
คอเคซัสใต้: | |||||||||
อับฮาเซีย (ไม่รับรอง) | 8,660 | 242,862 | 28 | ซูฮูมี | 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ | N/A | ลารีจอร์เจีย | สาธารณรัฐ ระบบกึ่งประธานาธิบดี | อับคัซ รัสเซีย |
อาร์มีเนีย | 29,800 | 2,924,816 | 108.4 | เยเรวาน | 9.950 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ | 3,033 ดอลลาร์สหรัฐ | ดรัมอาร์มีเรีย | สาธารณรัฐ ระบบกึ่งประธานาธิบดี | อาร์มีเนีย |
อาเซอร์ไบจาน | 86,600 | 9,725,376 | 105.8 | บากู | 68.700 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ | 7,439 ดอลลาร์สหรัฐ | มานัตอาเซอร์ไบจาน | สาธารณรัฐ ประธานาธิบดี | อาเซอร์ไบจาน |
จอร์เจีย | 69,700 | 3,925,405 | 68.1 | ทบิลีซี | 15.847 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ | 3,523 ดอลลาร์สหรัฐ | ลารีจอร์เจีย | สาธารณรัฐ ระบบกึ่งประธานาธิบดี | จอร์เจีย |
เซาท์ออสซีเชีย (ไม่รับรอง) | 3,900 | 53,532 | 13 | ซคินวาลี | 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ | N/A | ลารีจอร์เจีย | สาธารณรัฐ ระบบกึ่งประธานาธิบดี | ออสซีเชีย รัสเซีย |
พระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์: | |||||||||
อิรัก | 438,317 | 37,202,572 | 73.5 | แบกแดด | 216.044 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ | 6,410 ดอลลาร์สหรัฐ | ดีนารอิรัก | สาธารณรัฐระบบรัฐสภา | อาหรับ เคิร์ด |
อิสราเอล | 20,770 | 8,191,828 | 365.3 | เยรูซาเลม1 | 353.65 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ | 39,106 ดอลลาร์สหรัฐ | นิวเชเกลอิสราเอล | สาธารณรัฐระบบรัฐสภา | ฮีบรู |
จอร์แดน | 92,300 | 9,455,802 | 68.4 | อัมมาน | 30.98 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ | 4,843 ดอลลาร์สหรัฐ | ดีนารจอร์แดน | ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ | อาหรับ |
เลบานอน | 10,452 | 6,006,668 | 404 | เบรุต | 42.519 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ | 10,425 ดอลลาร์สหรัฐ | ปอนด์เลบานอน | สาธารณรัฐระบบรัฐสภา | อาหรับ |
ปาเลสไตน์[หมายเหตุ 2] | 6,220 | 4,790,705 | 667 | รอมัลลอฮ์2 | 6.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ | 1,600 ดอลลาร์สหรัฐ | ปอนด์อียิปต์, ดีนารจอร์แดน, นิวเชเกลอิสราเอล | สาธารณรัฐ ระบบกึ่งประธานาธิบดี | อาหรับ |
ซีเรีย | 185,180 | 18,430,453 | 118.3 | ดามัสกัส | N/A | N/A | ปอนด์ซีเรีย | สาธารณรัฐ ประธานาธิบดี | อาหรับ |
ที่ราบสูงอิหร่าน: | |||||||||
อิหร่าน | 1,648,195 | 80,277,428 | 45 | เตหะราน | 548.590 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ | 7,207 ดอลลาร์สหรัฐ | รียอลอิหร่าน | สาธารณรัฐอิสลาม | เปอร์เซีย |
ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน: | |||||||||
แอโครเทียรีและดิเคเลีย3 | 254 | 15,700 | N/A | อิพิสโกพี | N/A | N/A | ยูโร | ดินแดนในภาวะพึ่งพิงแบบเสนาธิปไตย ภายใต้ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ | อังกฤษ |
ไซปรัส | 9,250 | 1,170,125 | 117 | นิโคเซีย | 22.995 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ | 26,377 ดอลลาร์สหรัฐ | ยูโร | สาธารณรัฐ ประธานาธิบดี | กรีก ตุรกี |
นอร์เทิร์นไซปรัส (ไม่รับรอง) | 3,355 | 313,626 | 93 | นอร์ทนิโคเซีย | 4.032 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ | 15,109 ดอลลาร์สหรัฐ | ลีราตุรกี | สาธารณรัฐระบบกึ่งประธานาธิบดี | ตุรกี |
คาบสมุทรไซนาย: | |||||||||
อียิปต์[หมายเหตุ 3] | 60,000 | 95,688,681 | 82 | ไคโร | 262.26 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ | 3,179 ดอลลาร์สหรัฐ | ปอนด์อียิปต์ | สาธารณรัฐ ประธานาธิบดี | อาหรับ |
หมายเหตุ:
1 รอมัลลอฮ์คือที่ตั้งรัฐบาลจริง ส่วนเมืองหลวงของปาเลสไตน์ที่ประกาศไว้คือเยรูซาเลม ซึ่งมีสถานะพิพาท[note 1]
2 เยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงที่ผ่านการประกาศของอิสราเอลและเป็นที่ตั้งของคเนสเซต ศาลสูงอิสราเอล เป็นต้น เนื่องด้วยสถานะพิพาท ทำให้สถานทูตส่วนใหญ่ตั้งอยู่ที่เทลอาวีฟ[note 1]
3 ดินแดนโพ้นทะเลของบริเตน
แผนที่
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 เยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงตามกฎหมายอิสราเอลของอิสราเอลโดยนิตินัย และเป็นเมืองหลวงโดยพฤตินัยตามสถานที่ตั้งทำเนียบประธานาธิบดี หน่วยงานราชการ ศาลฎีกา และรัฐสภา (คเนสเซต) เยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงของรัฐปาเลสไตน์โดยนิตินัยตาม "2003 Amended Basic Law". 17 February 2008 แต่ไม่ใช่เมืองหลวงโดยพฤตินัย เนื่องจากฝ่ายรัฐบาลตั้งอยู่ที่รอมัลลอฮ์ สหประชาชาติและรัฐอธิปไตยส่วนใหญ่ไม่รับรองเยรูซาเลมเป็นเมืองหลวงโดยนิตินัยของรัฐใด ๆ ทั้งสิ้น ภายใต้สถานะของเยรูซาเล็มที่อยู่ระหว่างการเจรจาในอนาคตระหว่างอิสราเอลและองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ ทำให้ในทางปฏิบัติ ประเทศส่วนใหญ่ตั้งสถานทูตที่เทลอาวีฟและชานเมือง หรือบริเวณอื่นในชานเมือง เช่น Mevaseret Zion นอกพื้นที่เยรูซาเลม ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ CIA Factbook, "Map of Israel" (PDF) และสถานะเยรูซาเลม
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "World Population prospects – Population division". United Nations. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 February 2019. สืบค้นเมื่อ 16 July 2019.
- ↑ 2.0 2.1 "Overall total population" (xlsx). United Nations. สืบค้นเมื่อ 16 July 2019.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 "World Economic Outlook Database". imf.org. IMF. Outlook Database, October 2020
- ↑ "Land Use Dynamics and Institutional Changes in West Asia" (PDF).
- ↑ "Western Asia". Library of Congress, Washington, D.C. 20540 USA. สืบค้นเมื่อ 2024-04-14.
- ↑ "World Geographical Scheme for Recording Plant Distributions" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-01-25.
- ↑ Brummitt, R. K. (2001). World Geographical Scheme for Recording Plant Distributions (PDF) (2nd ed.). International Working Group on Taxonomic Databases For Plant Sciences (TDWG). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-01-25. สืบค้นเมื่อ 2021-07-27.
- ↑ "Chapter 21. West Asia". www.fao.org. สืบค้นเมื่อ 2023-07-17.
- ↑ Environment, U. N. (2023-04-12). "West Asia". Ozonaction (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-12-12.
- ↑ Miller, David. "West Asia". National Geographic Style Manual. National Geographic Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-31. สืบค้นเมื่อ 2021-02-16.
- ↑ Maddison, Angus (2004). The World Economy: Historical Statistics. Development Centre Studies. Paris, France: Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD) (ตีพิมพ์ 2003). ISBN 978-92-64-10412-9. LCCN 2004371607. OCLC 53465560.
- ↑ United Nations Industrial Development Organization Vienna (UNIDO) (2005). International Yearbook of Industrial Statistics 2015. Cheltenham, UK: Edward Elgar Publishing. p. 14. ISBN 9781784715502.
- ↑ "Standard Country or Area Codes for Statistical Use". Millenniumindicators.un.org. สืบค้นเมื่อ 2012-08-25.
The UNSD notes that the "assignment of countries or areas to specific groupings is merely for statistical convenience and does not imply any assumption regarding political or other affiliation of countries or territories."
- ↑ "WABSF Member Countries". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-01. สืบค้นเมื่อ 2017-03-31.
- ↑ "The West Asian Games". Topend Sports.
- ↑ "WAFF Member Associations". The-Waff.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-08-01. สืบค้นเมื่อ 2017-03-31.
- ↑ "Religious Composition by Country, 2010–2050". www.pewforum.org. 2 April 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-21. สืบค้นเมื่อ 2020-10-18.
- ↑ "Middle East (region, Asia)". Britannica. สืบค้นเมื่อ 9 April 2012.
- ↑ MacQueen, Benjamin (2013). An Introduction to Middle East Politics: Continuity, Change, Conflict and Co-operation. SAGE. p. 5. ISBN 9781446289761.
The Middle East is the cradle of the three monotheistic faiths of Judaism, Christianity and Islam.
- ↑ Takacs, Sarolta (2015). The Modern World: Civilizations of Africa, Civilizations of Europe, Civilizations of the Americas, Civilizations of the Middle East and Southwest Asia, Civilizations of Asia and the Pacific. Routledge. p. 552. ISBN 9781317455721.
- ↑ Jenkins, Philip (2020). The Rowman & Littlefield Handbook of Christianity in the Middle East. Rowman & Littlefield. p. XLVIII. ISBN 9781538124185.
The Middle East still stands at the heart of the Christian world. After all, it is the birthplace, and the death place, of Christ, and the cradle of the Christian tradition.
- ↑ Fuccaro, Nelida (1999). The Other Kurds: Yazidis in Colonial Iraq. London & New York: I. B. Tauris. p. 9. ISBN 1860641709.
- ↑ "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 September 2017.
- ↑ "GDP". IMF. สืบค้นเมื่อ 2014-04-16.
- ↑ "GDP per capita". IMF. สืบค้นเมื่อ 2014-04-16.
ข้อมูล
[แก้]- Laing-Marshall, Andrea (2005). "Assyrians". Encyclopedia of the World's Minorities. Vol. 1. New York-London: Routledge. pp. 149–150. ISBN 978-1-135-19388-1.
อ่านเพิ่ม
[แก้]
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "หมายเหตุ" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="หมายเหตุ"/>
ที่สอดคล้องกัน