Location via proxy:   [ UP ]  
[Report a bug]   [Manage cookies]                
ข้ามไปเนื้อหา

ฟาโรห์เดดูโมสที่ 2

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ดเจดเนเฟอร์เร เดดูโมสที่ 2 (อังกฤษ: Dedumose II) เป็นฟาโรห์ชาวพื้นเมืองแห่งอียิปต์โบราณในสมัยช่วงระหว่างกลางครั้งที่ 2 ตามที่นักไอยคุปต์วิทยา คิม ริโฮลต์ และดาร์เรลล์ เบเกอร์ ระบุให้พระองค์เป็นผู้ปกครองแห่งธีบส์จากราชวงศ์ที่สิบหก[2][3] และอีกข้อสันนิษฐานหนึ่ง เยือร์เกิน ฟอน เบ็คเคอราธ โธมัส ชไนเดอร์ และเด็ตเลฟ แฟรงค์ ได้มองว่า พระองค์เป็นฟาโรห์จากราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์[4][5][6][7]

ข้อถกเถียงเรื่องช่วงเวลาแห่งรัชสมัย

[แก้]

วิลเลียมส์และคนอื่นๆ ระบุให้ฟาโรห์เดดูโมสที่ 2 เป็นฟาโรห์พระองค์สุดท้ายของราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์ ยังไม่ทราบช่วงเวลาแห่งรัชสมัยของพระองค์ที่แน่นอน แต่ตามตำแหน่งตามลำดับเวลาที่ยอมรับกันทั่วไป รัชสมัยของพระองค์อาจจะสิ้นสุดในราว 1,690 ปีก่อนคริสตกาล[8]

หลักฐานยืนยัน

[แก้]
ตราประทับแมลงสคารับที่ปรากฏพระนาม "ดเจดเนเฟอร์เร" ซึ่งฟลินเดอร์ส เพตรี อ้างว่าเป็นฟาโรห์เดดูโมสที่ 2[9]

หลักฐานยืนยันของพระองค์มาจากจารึกศิลาที่ค้นพบที่เมืองเกเบลีน ซึ่งปัจจุบันอยู่ในพิพิธภัณฑ์ไคโร (CG 20533)[10] ในจารึกศิลาดังกล่าว ฟาโรห์เดดูโมสที่ 2 ทรงอ้างพระองค์เองว่าได้รับการยกขึ้นเป็นให้ฟาโรห์ ซึ่งอาจบ่งบอกว่าพระองค์เป็นพระราชโอรสในฟาโรห์เดดูโมสที่ 1 ถึงแม้ว่าข้อความดังกล่าว อาจเป็นเพียงรูปแบบหนึ่งของกล่าวอ้างก็ตาม ลักษณะของข้อความบนจารึกศิลา อาจจะสะท้อนถึงสภาวะสงครามที่คงที่ในช่วงปีสุดท้ายของราชวงศ์ที่สิบหกแห่งอียิปต์ เมื่อชาวฮิกซอสเข้ามารุกรานของพระองค์:[11]

เทพเจ้าผู้ทรงประเสริฐ ผู้เป็นที่รักยิ่งแห่งธีบส์ ผู้ที่ถูกเลือกโดยเทพฮอรัส ผู้เพิ่ม[กองทัพ]ของพระองค์ ผู้ซึ่งทรงปรากฏเหมือนสายฟ้าของดวงอาทิตย์ ผู้ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นกษัตริย์แห่งดินแดนทั้งสอง ผู้ที่เป็นเจ้าแห่งการตะโกนร้อง

ลุดวิก โมเรนซ์เชื่อว่าข้อความดังกล่าวที่ตัดตอนมาข้างต้นจากจารึกศิลา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ผู้ที่ได้รับการยกย่องให้เป็นกษัตริย์" อาจจะยืนยันข้อคิดเห็นที่ขัดแย้งกันของเอดูอาร์ด เมเยอร์ที่ว่าฟาโรห์บางพระองค์ได้ทรงรับเลือกให้ขึ้นมาดำรงตำแหน่งประมุข[11]

ทิไมออสของโจเซฟัส

[แก้]

พระองค์อาจจะเชื่อมโยงกับทิไมออส[12][13] ซึ่งถูกกล่าวถึงโดยนักประวัติศาสตร์นามว่า โจเซฟัส ซึ่งอ้างมาจากมาเนโธ โดยอ้างถึงพระองค์ในฐานะฟาโรห์ในช่วงที่กองทัพของชาวเอเชียเข้ามาปกครองประเทศโดยปราศจากการต่อสู้[14]

วลีเกริ่นนำในคำพูดของมาเนโทของโจเซฟัสที่ว่า του Τιμαιος ονομα ดูจะผิดหลักไวยากรณ์และตามที่ เอ. ฟอน กุตช์มิด ได้ระะไว้ว่า คำภาษากรีก του Τιμαιος ([คำนำหน้านามแสดงความเป็นเจ้าของเฉพาะเจาะจง] ทิไมออส [คำที่เป็นประธานของประโยค]) มักจะรวมกันเป็นชื่อว่า Τουτιμαιος (ทุติไมออส) ในข้อโต้แย้งบางเบาการอ้างอิงของฟอน กุตช์มิด ซึ่งฟังดูเหมือนพระนาม ทุตเมส ซึ่งก็คือ ทุตโมส สิ่งนี้มีอิทธิพลต่อการทับศัพท์ของพระนาม เดดูโมส เป็น ดูดิโมส เพื่อเน้นย้ำความคล้ายคลึง แต่การทับศัพท์ดังกล่าวไม่ถูกต้องโดยการสะกดพระนามด้วยอักษรอียิปต์โบราณ อย่างไรก็ตาม พระองค์ทรงปกครองในฐานะฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่สิบสาม ซึ่งปกครองก่อนหน้าการเข้ามาของชาวฮิกซอส หรืออาจจะเป็นฟาโรห์ของราชวงศ์ที่สิบหก ซึ่งร่วมสมัยกับการเข้ามาของชาวฮิกซอสในยุคแรก และรูปแบบที่แท้จริงของ ทิไมออส ในต้นฉบับของโจเซฟัสยังคงเป็นตัวแทนพระนามของพระองค์อย่างมีเหตุผล คำแปลของโจเซฟัสของวิสตันเข้าใจวลีนี้ว่าหมายถึง “[มีกษัตริย์พระองค์หนึ่ง] ของเรา (του) ซึ่งมีชื่อว่าทิไมออส (Τιμαιος ονομα)” เอ. บูโลว์-จาคอบเซนได้เสนอความเห็นว่า อย่างไรก็ตาม วลีของโจเซฟัสอาจจะได้รับมาจาก ชุดของข้อผิดพลาดในการเขียน (ไม่มีการตรวจสอบ) จาก του πραγματος ("ของเรื่องนี้") และ ονομα ("นี่คือพระนาม" โดยทั่วไปจะไม่อยู่ในการแปล) เป็นการแปลหรืออธิบายข้อความในภายหลัง เนื่องจากข้อความต้นฉบับของโจเซฟัส ไม่ปรากฏพระนามของฟาโรห์เลย[2][15][16]

ทฤษฎีกระแสรอง

[แก้]

มีความพยายามในการตีความใหม่โดยนักประวัติศาสตร์ อิมมานูเอล เวลิคอฟสกี และนักอียิปต์วิทยา เดวิด โรห์ล เพื่อระบุว่า ฟาโรห์เดดูโมเซที่ 2 เป็นฟาโรห์แห่งการอพยพ ซึ่งอยู่ในช่วงเวลาที่เก่ากว่าฟาโรห์แห่งการอพยพในความเชื่อกระแสหลัก[17] โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรห์ลพยายามเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับประวัติศาสตร์อียิปต์โดยทำให้สมัยช่วงระหว่างกลางครั้งที่สามของอียิปต์สั้นลงเกือบ 300 ปี ผลที่ตามมาก็คือการเชื่อมโยงกับการเล่าเรื่องในพระคัมภีร์ไบเบิลเปลี่ยนไป ทำให้ฟาโรห์เดดูโมสเป็นฟาโรห์แห่งการอพยพ[18] อย่างไรก็ตาม ทฤษฎีของโรห์ลกลับล้มเหลวในการหาข้อสนับสนุนในหมู่นักวิชาการส่วนใหญ่ในสาขาของเขา[19]

ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึง 19 ฟรานซิส วิลฟอร์ดได้อ้างว่ามีรายงานกล่าวถึงเรื่องราวของโจเซฟัสในบทความอินเดียเกี่ยวกับนิทานอียิปต์ ซึ่งพระนามของฟาโรห์ที่ปรากฏ คือ ทาโมวัตสา[20]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Hans Ostenfeldt Lange (1863-1943); Maslahat al-Athar; Heinrich Schäfer, (1868-1957) : Catalogue General des Antiquites du Caire: Grab- und Denksteine des Mittleren Reichs im Museum von Kairo, Tafel XXXVIII, (1902) available copyright-free online, see CG 20533 p. 97 of the online reader
  2. 2.0 2.1 Ryholt, K. S. B. (1997). The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c. 1800 - 1550 BC. Copenhagen: Museum Tusculanum Press. ISBN 87-7289-421-0.
  3. Darrell D. Baker (2008). The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008
  4. Jürgen von Beckerath: Untersuchungen zur politischen Geschichte der Zweiten Zwischenzeit in Ägypten, Glückstadt, 1964
  5. Jürgen von Beckerath: Chronologie des pharaonischen Ägyptens, Münchner Ägyptologische Studien 46, Mainz am Rhein, 1997
  6. Thomas Schneider (2006). "Middle Kingdom and the Second Intermediate Period." In Ancient Egyptian Chronology, edited by Erik Hornung, Rolf Krauss, And David a. Warburton, see p. 187
  7. Detlef Franke (1994). Das Heiligtum des Heqaib auf Elephantine. Geschichte eines Provinzheiligtums im Mittleren Reich, Studien zur Archäologie und Geschichte Altägyptens. vol. 9. Heidelberger Orientverlag, Heidelberg, ISBN 3-927552-17-8 (Heidelberg, Universität, Habilitationsschrift, 1991), see p. 77-78
  8. Chris Bennett (2002) "A Genealogical Chronology of the Seventeenth Dynasty", Journal of the American Research Center in Egypt, Vol. 39 pp. 123-155
  9. Flinders Petrie: A History of Egypt - vol 1 - From the Earliest Times to the XVIth Dynasty (1897), p. 245, f. 148
  10. W. V. Davies (1982). "The Origin of the Blue Crown", The Journal of Egyptian Archaeology, Vol. 68, pp. 69-76
  11. 11.0 11.1 Ludwig Morenz and Lutz Popko: A companion to Ancient Egypt, vol 1, Alan B. Lloyd editor, Wiley-Blackwell, p. 106
  12. Grimal, Nicolas (1992). A History of Ancient Egypt. Oxford: Blackwell Books. ISBN 9780631174721., p. 185
  13. Hayes, William C. (1973). "Egypt: from the death of Ammenemes III to Seqenenre II". ใน Edwards, I.E.S. (บ.ก.). The Cambridge Ancient History (3rd ed.), vol. II, part 1. Cambridge University Press. pp. 42–76. ISBN 0-521-082307., p. 52
  14. Josephus, Flavius (2007). Against Apion – Translation and commentary by John M.G. Barclay. Leiden-Boston: Brill. ISBN 978-90-04-11791-4., I:75-77
  15. Wolfgang Helck, Eberhard Otto, Wolfhart Westendorf (1986), "Stele - Zypresse": Volume 6 of Lexikon der Ägyptologie, Otto Harrassowitz Verlag.
  16. Erik Hornung, Rolf Krauss & David Warburton (editors) (2006), Handbook of Ancient Egyptian Chronology (Handbook of Oriental Studies), Brill: p. 196, n.134
  17. Pharaohs and Kings by David M. Rohl (New York, 1995). ISBN 0-609-80130-9
  18. Rohl, David (1995). "Chapter 13". A Test of Time. Arrow. pp. 341–8. ISBN 0-09-941656-5.
  19. Chris Bennett (1996). "Temporal Fugues เก็บถาวร 2018-07-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน", Journal of Ancient and Medieval Studies XIII.
  20. Francis Wilford, On Egypt and the Nile from the ancient books of the Hindus, Asiatic Researches vol. III p. 437