ฟาโรห์โซเบกเนเฟรู
ฟาโรห์โซเบคเนเฟรู | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เนเฟรูโซเบค สเคมิโอฟริส จากกรีก: Σκεμίοφρις | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รูปสลักของฟาโรห์โซเบคเนเฟรู | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฟาโรห์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รัชกาล | 3 ปี, 10 เดือน, กับ 24 วัน ตามบันทึกพระนามแห่งตูรินในช่วงกลางศตวรรษที่ 18 ก่อนคริสตกาล[1][2] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | อเมนเอมฮัตที่ 4 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | โซเบคโฮเทปที่ 1 หรือ เวกาฟ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คู่เสกสมรส | อเมนเอมฮัตที่ 4? | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
พระราชบิดา | อเมนเอมฮัตที่ 3 | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สุสาน | พีระมิดแห่งมาซกูนาเหนือ? | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ที่สิบสอง |
โซเบคเนเฟรู หรือ เนเฟรูโซเบค (อียิปต์โบราณ: Sbk-nfrw) เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณพระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ที่สิบสองในช่วงสมัยราชอาณาจักรกลาง ซึ่งทรงเป็นสตรีเพศ พระองค์อาจเคยได้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ร่วมกับฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 4 มาก่อน ที่จะได้ครองพระราชบัลลังก์โดยสมบูรณ์ภายหลังจากการสวรรคตของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 4 ผู้ซึ่งเป็นพระเชษฐาและพระสวามีของพระองค์ ถึงแม้ว่าความสัมพันธ์ของทั้งสองพระองค์จะไม่ได้รับการยืนยัน แต่พระองค์กลับยืนยันความชอบธรรมบนพระราชบัลลังก์ผ่านพระราชบิดาของพระองค์ คือ ฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 3 มีพระสมัญญาว่า "นางเหยี่ยวผู้เป็นที่รักของเทพรา" รูปสลักบางชิ้นเป็นภาพนางสวมเครื่องแบบบุรุษบ้างก็เป็นเครื่องทรงแบบสตรี แต่ใช่ว่านางจะเป็นฟาโรห์หญิงเพียงคนเดียวในประวัติศาสตร์อียิปต์เพราะมีฟาโรห์สตรีอีกพระองค์ที่ทรงอำนาจที่ลือชื่อมากกว่าฟาโรห์โซเบกเนเฟรู นั่นคือ ฟาโรห์ฮัตเชปซุต จากบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูริน ได้บันทึกว่า พระองค์ทรงครองราชย์เป็นระยะเวลา 3 ปี 10 เดือน กับ 24 วัน
พระองค์ทรงมีพระนามแห่งฟาโรห์ครบทั้งห้าพระนาม ซึ่งทำให้พระองค์เองทรงแตกต่างจากผู้ปกครองหญิงพระองค์ก่อน ๆ พระองค์ยังเป็นผู้ปกครองคนแรกที่มีชื่อเกี่ยวข้องกับเทพเจ้าจระเข้พระนามว่า โซเบค มีหลักฐานชั้นต้นร่วมสมัยการครองราชย์ของพระองค์ที่ค่อนข้างน้อย มีรูปสลักที่หลงเหลือเพียงบางส่วน – รูปสลักหนึ่งมีพระพักตร์ของพระองค์ – พร้อมจารึกได้ถูกค้นพบ สันนิษฐานว่าพีระมิดแห่งมาซกูนาเหนือน่าจะถูกโปรดสร้างสำหรับพระองค์ แม้ว่าข้อสันนิษฐานนี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่โดยไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด แค่อนุสาวรีย์ถูกทิ้งไม่แล้วเสร็จ โดยมีเพียงโครงสร้างพื้นฐานที่เคยสร้างเสร็จ บันทึกปาปิรุสที่ค้นพบในเมืองฮาราเกห์ได้กล่าวถึงสถานที่ที่เรียกว่า เซเคม โซเบคเนเฟรู ซึ่งอาจหมายถึงพีระมิด รัชสมัยของพระองค์ปรากฏอยู่ในบันทึกพระนามกษัตริย์ต่าง ๆ หลายชิ้น
พระราชวงศ์
[แก้]ฟาโรห์โซเบคเนเฟรู เป็นพระราชธิดาของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 3[7][8] กับพระราชมารดาไม่ทราบพระนาม[9] โดยฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 3 มีพระมเหสีจำนวนสองพระองค์คือ พระนางอาอัต และพระมเหสีไม่ทราบพระนาม ซึ่งทั้งสองพระองค์ถูกฝังอยู่ในพีระมิดของพระสวามีที่ดาห์ชูร์ พระองค์มีพระราชธิดาอีกอย่างน้อยหนึ่งพระองค์ คือ เจ้าหญิงเนเฟรูพทาห์ ซึ่งถูกฝังไว้ที่พีระมิดแห่งที่สองของพระบิดาที่ฮาวารา ซึ่งเวลาต่อมาก็ทรงถูกย้ายพระศพไปอยู่ที่พีระมิดของพระองค์เอง[10] และดูเหมือนว่าเจ้าหญิงเนเฟรูพทาห์จะได้รับการดูแลเป็นอย่างดีในฐานะองค์รัชทายาทของโดยฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 3 เนื่องจากพบพระนามของพระองค์อยู่ในคาร์ทูช[11] หลักฐานการฝังพระศพของเจ้าหญิงอีกสามพระองค์คือ เจ้าหญิงฮาธอร์โฮเทป, เจ้าหญิงนุบโฮเทเพต และเจ้าหญิงซิตฮาธอร์ ซึ่งพบที่สถานที่ฝังพระศพที่ดาห์ชูร์ แต่ไม่ชัดเจนว่าเจ้าหญิงเหล่านี้เป็นพระราชธิดาของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 3 หรือไม่ เนื่องจากสถานที่ฝังพระศพแห่งนี้ใช้สำหรับฝังพระศพเชื้อพระวงศ์ตลอดช่วงการปกครองราชวงศ์ที่สิบสามแห่งอียิปต์[12]
และท้ายที่สุดองค์รัชทายาทของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 3 ก็คือ ฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 4 ซึ่งได้รับการยินยันแล้วว่าพระโอรสของพระนางเฮเทปติ ถึงแม้ว่าตำแหน่งของพระนางจะไม่มีการอ้างถึงว่าพระองค์เป็น "พระมเหสีแห่งกษัตริย์"[13] ความสัมพันธ์ระหว่างฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 4 กับฟาโรห์โซเบคเนเฟรูนั้นยังคงไม่ชัดเจนคลุมเครือ ตามที่งานเขียน แอจิปเทียกา ของนักประวัติศาสตร์โบราณนามว่า มาเนโท ได้ระบุว่าทั้งสองพระองค์ทรงเป็นพี่น้องร่วมสายเลือด[7] และตามคำกล่าวแก กัลเลนเดอร์ ที่ว่าทั้งพระองค์ทรงอภิเษกสมรมกันด้วย[14] แม้ว่าจะไม่มีการยืนยันเกี่ยวกับพระสมัญญาของฟาโรห์โซเบคเนเฟรูที่กล่าวถึง "พระมเหสีแห่งกษัตริย์" หรือ 'พระภคินีหรือพระขนิษฐาแห่งกษัตริย์'[9] การขึ้นสู่พระราชบัลลังก์ของพระองค์น่าจะมาจากสาเหตุที่ฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 4 ที่เสด็จสวรรคตโดยปราศจากองค์รัชทายาทชาย[7] อย่างไรก็ตาม ฟาโรห์สองพระองค์จากราชวงศ์ที่สิบสามคือ ฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 1 และฟาโรห์โซนเบฟ ได้รับการระบุว่าเป็นพระราชโอรสของพระองค์ โดยอาศัยพระนามร่วมกันว่า 'อเมนเอมฮัต'[15] ดังนั้น ฟาโรห์โซเบคเนเฟรู อาจจะทรงแย่งชิงพระราชบัลลังก์หลังจากการสวรรคตของพระสวามี โดยทรงมองว่าองค์ทายาทของพระองค์นั้นไม่ชอบด้วยกฏมณเฑียรบาล[16]
ฟาโรห์กษัตริยา
[แก้]พระองค์เป็นหนึ่งในสตรีเพียงไม่กี่คนที่สมาราถขึ้นมาปกครองอียิปต์[17][18] และเป็นพระองค์แรกที่ทรงมีพระนามแห่งฟาโรห์ครบทั้งห้าพระนาม ซึ่งทำให้พระองค์เองที่ทรงแตกต่างจากผู้ปกครองหญิงพระองค์ก่อน ๆ[7][19] พระองค์ยังเป็นผู้ปกครองคนแรกที่เกี่ยวข้องกับพระนามเทพเจ้าจระเข้ เทพโซเบค ซึ่งมีเอกลักษณ์ปรากฏทั้งในพระนามประสูติและพระนามครองพระราชบัลลังก์ของพระองค์[20] คารา คูนีย์ มองว่า อียิปต์โบราณนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในการอนุญาตให้สตรีมีอำนาจที่เป็นทางการและเด็ดขาด สตรีเหล่านั้นวางตัวว่าสตรีนั้นเป็นผู้ถูกยกขึ้นครองพระราชบัลลังก์ในช่วงวิกฤต เพื่อชี้นำอารยธรรมและรักษาระเบียบทางสังคม ถึงแม้ว่าเธอยังตั้งข้อสังเกตที่ว่า การยกระดับสู่อำนาจนี้อาจจะเป็นเรื่องหลอกลวง แต่การที่สตรีได้ครองพระราชบัลลังก์แทนผู้ปกครองที่เป็นบุรุษชั่วคราว การครองราชย์ของพวกนางมักจะตกเป็นเป้าหมายในการลบล้างโดยผู้สืบทอดในรุ่นต่อมา และโดยรวมแล้ว สังคมอียิปต์นั้นมักจะกดขี่ข่มเหงสตรี[21]
ในประวัติศาสตร์อียิปต์โบราณ มีหลักฐานบางอย่างเกี่ยวกับผู้ปกครองสตรีพระองค์อื่น ๆ อย่างในช่วงต้นประวัติศาสตร์ พระนางเมริตนิธจากราชวงศ์ที่หนึ่งได้รับการเสนอให้ปกครองอียิปต์ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของพระราชโอรส[22] ในช่วงราชวงศ์ที่ห้า พระนางเซตอิบฮอร์ อาจจะทรงครองราชย์เป็นฟาโรห์หญิง โดยพิจารณาจากลักษณะที่อนุสาวรีย์ของพระองค์เป็นเป้าหมายสำหรับการทำลาย[23] ผู้ปกครองสตรีอีกพระองค์คือ พระนางนิโตคริส ซึ่งทราบกันดีว่าพระองค์ขึ้นปกครองอียิปต์ในช่วงราชวงศ์ที่หก[24] ถึงแม้ว่าจะมีหลักฐานเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของพระองค์[23][25] และพระองค์ไม่ได้กล่าวถึงช่วงก่อนราชวงศ์ที่สิบแปดเลย[24] ทำให้ตำแหน่งฟาโรห์ของพระนางนิโตคริสอาจจะเป็นเพียงตำนานกรีกแทน[25] และพระนามนี้มีที่มาจากการแปลที่ไม่ถูกต้องของฟาโรห์นิตอิเกอร์ติ ซิพทาห์[26]
รัชสมัย
[แก้]พระราชอาณาจักรกลางกำลังเสื่อมอำนาจลง เมื่อฟาโรห์โซเบคเนเฟรูขึ้นมาปกครองต่อ[27] โดยความเจริญรุ่งเรืองจนถึงจุดสูงสุดของพระราชอาณาจักรกลางเกิดขึ้นในช่วงรัชสมัยของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 และฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 3[28][29] และฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3 ก็ทรงเป็นแบบโครงสำหรับตัวละครในตำนานเซซอสทริสที่มาเนโทและเฮโรโดตัสได้บรรยายไว้[30][31] พระองค์ได้ส่งคณะเดินทางทางทหารไปยังนิวเบียและดินแดนซีเรีย-ปาเลสไตน์[32][33] และสร้างพีระมิดอิฐโคลนสูง 60 เมตร (200 ฟุต) เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานของพระองค์[34] พระองค์ทรงครองราชย์เป็นระยะเวลา 39 ปี ตามหลักฐานจากจารึกในอไบดอส ซึ่งพระองค์ถูกฝังพระศพไว้[35] ในทางตรงกันข้าม ฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 3 ทรงขึ้นปกครองอียิปต์ในช่วงเวลาที่สงบสุข ซึ่งมีการสร้างสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ การพัฒนาในไฟยุม และการสำรวจเหมืองแร่จำนวนมาก[36][37] และรัชสมัยของพระองค์กินเวลาอย่างน้อย 45 ปี หรืออาจจะนานกว่านั้น[14] พระองค์โปรดให้สร้างพีระมิดจำนวนสองแห่งที่ดาห์ชูร์และฮาวารา[38] โดยนิโกลา กรีมัล ได้ตั้งข้อสังเกตว่า การครองราชย์ที่กินระยะเวลายาวนานดังกล่าวมีส่วนที่ทำให้ราชวงศ์ที่สิบสองสิ้นสุดลง แต่ไม่มีการล่มสลายอย่างในช่วงสิ้นสุดสมัยราชอาณาจักรเก่า[27] ฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 4 ทรงปกครองเป็นระยะเวลา 9 หรือ 10 ปี[39] เนื่องจากพบหลักฐานเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับรัชสมัยของพระองค์[14]
ด้วยสาเหตุนี้เองที่ฟาโรห์โซเบคเนเฟรูจึงได้ทรงขึ้นครองพระราชบัลลังก์[27] โดยพระองค์ทรงครองราชย์เป็นเวลาประมาณ 4 ปี แต่เช่นเดียวกับผู้ปกครองก่อนหน้าพระองค์ มีบันทึกที่ยังหลงเหลืออยู่เพียงไม่กี่บันทึก[40] การเสด็จสวรรคตของพระองค์ได้ทำให้การปกครองของราชวงศ์ที่สิบสองสิ้นสุดลง[41][42] และเริ่มต้นสมัยช่วงระหว่างกลางที่สอง ซึ่งกินระยะเวลาไปอีกสองศตวรรษ[43]
ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงที่นักไอยคุปต์วิทยาทราบเพียงเล็กน้อย เนื่องจากขาดหลักฐานอ้างอิงถึงผู้ปกครองในช่วงเวลานั้น[44] และฟาโรห์โซเบคโฮเทปที่ 1[45] หรือฟาโรห์เวกาฟ[46] ได้ขึ้นมาปกครองอียิปต์ต่อจากพระองค์ ซึ่งเป็นผู้ทรงสถาปนาราชวงศ์ที่สิบสามแห่่งอียิปต์ขึ้น[27] สตีเฟน ไควร์ค์ ได้เสนอความเห็นโดยพิจารณาจากจำนวนฟาโรห์และการปกครองในระยะเวลาที่สั้นว่า การสืบราชพระราชบัลลังก์ของฟาโรห์จากราชวงศ์ที่มีอำนาจมากที่สุดของอียิปต์ได้ขึ้นมาครองพระราชบัลลังก์[40][47] ฟาโรห์เหล่านั้นอาจจะรักษาเมืองอิตจ์-ทาวี ซึ่งเป็นศูนย์กลางการปกครองได้ตลอดช่วงราชวงศ์ที่สิบสาม[48][49] อย่างไรก็ตาม พระราชสถานะของฟาโรห์เหล่านั้นได้เสื่อมลงให้อยู่ในสถานะที่น้อยกว่าเมื่อก่อนมาก และอำนาจกลับอยู่ในกับขุนนางฝ่ายบริหาร[47][49] และเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า พระราชอาณาจักรอียิปต์ยังคงเป็นปึกแผ่นจนถึงช่วงปลายราชวงศ์[48] คิม รีฮอล์ตเชื่อว่า เมื่อฟาโรห์โซเบคเนเฟรูเสด็จสวรรคตลง ก็ได้มีการสถาปนาราชวงศ์ที่สิบสี่ขึ้นในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ ซึ่งมาเป็นฐานะคู่แข่งทางอำนาจของราชวงศ์ที่สิบสาม[50] โธมัส ชไนเดอร์ ได้โต้แย้งว่า หลักฐานสนับสนุนสำหรับข้อสมมติฐานนี้ยังน้อยเกินไป[51]
หลักฐานรับรอง
[แก้]หลักฐานชั้นต้นร่วมสมัย
[แก้]มีแหล่งหลักฐานเพียงกลุ่มเล็ก ๆ เท่านั้นที่สามารถยืนยันการปกครองของโซเบคเนเฟรูในฐานะฟาโรห์แห่งอียิปต์[40] บันทึกจากเมืองคุมมา ซึ่งเป็นเมืองที่มีป้อมปราการในเขตดินแดนนิวเบีย ได้บันทึกระดับความสูงน้ำท่วมของแม่น้ำไนล์ที่ 1.83 ม. (6.0 ฟุต) ในช่วงปีที่ 3 แห่งการครองราชย์ของพระองค์[39][40] จารึกอื่นที่ค้นพบในทะเลทรายตะวันออกได้บันทึกว่า "ปีที่ 4 เดือนที่สองของฤดูกาลแห่งตลิ่งแม่น้ำไนล์"[52] ที่พิพิธภัณฑ์บริติชมีตราประทับทรงกระบอกอันวิจิตร ซึ่งปรากฏพระนามของพระองค์บนนั้น[40][53] เป็นตราประทับทำด้วยหินสบู่เคลือบและมีความยาว 4.42 ซม. (1.74 นิ้ว) และเส้นผ่านศูนย์กลางยาว 1.55 ซม. (0.61 นิ้ว)[54]
มีค้นพบรูปสลักไร้พระเศียรของฟาโรห์โซเบคเนเฟรูขนาดเล็ก[7][40][55]ที่สลักจากหินควอตซ์ก้อนเดียว ซึ่งเป็นรูปสลักที่พระองค์ทรงสวมชุดของสตรีและบุรุษรวมกัน พร้อมกับข้อความที่ว่า 'พระธิดาแห่งเทพเร(?), จากพระวรกายของพระองค์, โซเบคเนเฟรู, ขอให้พระองค์มีพระชนม์เหมือนดั่งเทำเทพเรชั่วกัลปวสาน'[40][55] บนพระวรกายของพระองค์มีจี้ห้อยตามแบบที่สวมใส่โดยฟาโรห์เซนุสเรตที่ 3[55] พบรูปสลักหินบะซอลต์สามรูปของฟาโรห์สตรีในเทล เอด-ดับ'อา[56] มีสองรูปสลักที่อยู่อิริยาบถท่าประทับนั่ง อีกรูปหนึ่งอยู่ในอิริยาบททรงนั่งคุกเข่า[57][58] และอีกรูปสลักหนึ่งเป็นรูปสลักที่พระองค์กำลังเหยียบย่ำเก้าคันธนู ซึ่งเป็นตัวแทนของการปราบปรามศัตรูของอียิปต์[7] รูปสลักทั้งสามรูปดูเหมือนจะมีขนาดเท่าของจริง[58] อีกหนึ่งรูปสลักที่มีพระเศียรของพระองค์เป็นที่ทราบ ซึ่งรูปสลักดังกล่าวถูกจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์อียิปต์แห่งเบอร์ลิน แต่สูญหายไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง การมีอยู่ของรูปสลักดังกล่าวได้รับการยืนยันด้วยภาพถ่ายและการหล่อปูนปลาสเตอร์ พอดีกับส่วนล่างของรูปสลักนั่งที่ค้นพบที่เซมนาซึ่งมีสัญลักษณ์คาร์ทูช smꜣ tꜣwy ที่ด้านข้างของพระราขบัลลังก์[59] ซึ่งรูปสลักสวนครึ่งล่างดังกล่าวได้ถูกจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์ในบอสตัน[60][61] มีรูปสลักทีพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิแทนในนิวยอร์กที่ได้สันนิษฐานว่าเป็นตัวแทนของฟาโรห์โซเบคเนเฟรู แม้ว่าข้อสันนิษฐานนี้จะไม่ได้รับการยืนยัน[60] รูปสลักที่ทำจากหินชีสต์ซึ่งเป็นรูปให้เห็นสตรีคนหนึ่งที่สวมวิกผมและสวมมงกุฎที่ประกอบด้วยงูเห่ายูเรอุสและนกแร้งสองตัวที่มีปีกที่กางออกซึ่งไม่ทราบความหมายของสัญลักษณ์ดังกล่าว และสวมเสื้อคลุม ḥb-sd[40][62] ฐานของรูปสลักอีกรูปที่มีพระนามของพระองค์และระบุว่าเป็นตัวแทนของพระราชธิดาแห่งกษัตริย์ถูกค้นพบในเมืองเกเซอร์ ถึงแม้ว่าจะหมายถึงพระราชธิดาของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 หรืออาจจะเป็นฟาโรห์โซเบคเนเฟรูก็ตาม[63][64] แต่สฟิงซ์จากหินบะซอลต์สีดำที่ไม่มีส่วนศีระษะซึ่งค้นพบโดย เอดูอาร์ด นาวิลล์ในคาทานา-กันตีร์ ซึ่งมีจารึกที่เสียหายที่ระบุถึงฟาโรห์โซเบคเนเฟรูอย่างไม่แน่ชัด[65]
มีหลักฐานว่า พระองค์ทรงโปรดให้สร้างสิ่งปลูกสร้างที่สร้างขึ้นในเฮราคลีโอโพลิส แมกนา และต่อเติมพีระมิดแห่งอเมนเอมฮัตที่ 3 ในฮาวารา[40] พระองค์ทรงโปรดให้จารึกข้อความไว้บนเสาหินแกรนิตสี่เสาที่พบในวิหารแห่งหนึ่งในคอม เอล-อาคาริบ ในขณะที่คานหินแกรนิตอีกสิบอันอาจมีอายุย้อนไปถึงในช่วงเวลาเดียวกัน[66] มีสิ่งปลูกสร้างที่ยิ่งใหญ่ของพระองค์ที่เชื่อมโยงเธอกับฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 3 มากกว่าฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 4 โดยสนับสนุนทฤษฎีที่ว่า พระองค์เป็นพระราชธิดาของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 3 และอาจจะเป็นเพียงพระภคินีหรือพระขนิษขาบุญธรรมของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 4 ซึ่งมีพระราชมารดาที่ไม่ใช่เชื้อพระวงศ์ แหล่งหลักฐานชั้นต้นร่วมสมัยจากรัชสมัยของพระองค์แสดงให้เห็นว่า ฟาโรห์โซเบคเนเฟรูมีพระสมัญญาเฉพาะ 'พระราชธิดาแห่งกษัตริย์' ซึ่งสนับสนุนข้อสมมติฐานนี้ต่อไป[63] ตัวอย่างของจารึกดังกล่าวมาจากบล็อกหินปูนของ 'เขาวงกต' ของพีระมิดที่ฮาวารา มันอ่านว่า 'ผู้ทรงที่รักของเทพี Dḥdḥt แลเทพ Nỉ-mꜣꜥt-rꜥ [อเมนเอมฮัตที่ 3] มอบให้ [... ] * พระธิดาแห่งเทพเร, โซเบคเนเฟรู, เจ้าแห่งเชเดต, มอบชีวิตทั้งหมด' จารึกยังเป็นเพียงการอ้างอิงถึงเทพี Dḥdḥt เท่านั้น[67][68] ในทางตรงกันข้าม พระนามของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 4 ก็ไม่ปรากฏที่ฮาวารา[69]
หลักฐานทางประวัติศาสตร์
[แก้]พระองค์ถูกกล่าวถึงในบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งคาร์นักในส่วนแรก ๆ[70], บันทึกพระนามกษัตริย์แห่งซัคคารา[71] และบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูริน[40] แต่ไม่ได้ถูกบันทึกบนบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งอไบดอสอย่างเด่นชัด[72] นอกจากพระองค์แล้วยังมีพระนามของฟาโรห์จากสมัยช่วงระหว่างกลางที่หนึ่งและสอง และฟาโรห์จากสมัยอาร์มานาก็ไม่ได้ถูกบันทึกเช่นกัน ทั้งหมดนี้เป็นเครื่องบ่งชี้ว่ามีฟาโรห์พระองค์ใดบ้างที่ฟาโรห์รามเสสที่ 2 และฟาโรห์เซติที่ 1 ทรงมองว่าเป็นผู้ปกครองที่ถูกต้องและชอบธรรมของอียิปต์[72] ในบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูริน ได้ระบุว่า พระองค์ทรงครองราชย์เป็นระยะเวลา 3 ปี 10 เดือน กับ 24 วัน[39][73][74] มาเนโทกล่าวถึงพระองค์โดยมีพระนามว่าเป็น 'สเคมิโอฟริส' ซึ่งพระองค์ครองราชย์เป็นระยะเวลา 4 ปี[75]
อนุสรณ์สถานที่เกี่ยวข้องกับพิธีพระบรมศพ
[แก้]ยังไม่ได้รับการระบุที่ตั้งของหลุมฝังพระศพของฟาโรห์โซเบคเนเฟรูอย่างแน่ชัด โดยมีพีระมิดแห่งมาซกูนาเหนือถือเป็นอนุสรณ์สถานของพระองค์ อย่างไรก็ตาม ไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดที่จะยืนยันสถานที่ดังกล่าวนี้[76][77] และพีระมิดดังกล่าวอาจจะมีอายุย้อนไปจนถึงช่วงหนึ่งหลังจากสิ้นสุดราชวงศ์ที่สิบสอง[78] ซึ่งมีเพียงโครงสร้างพื้นฐานเท่านั้นที่เสร็จสมบูรณ์ การก่อสร้างโครงสร้างส่วนบนและวิหารที่ยิ่งใหญ่นั้นไม่เคยเริ่มต้นขึ้น ทางเดินของโครงสร้างพื้นฐานมีแผนที่ซับซ้อน บันไดทางลงใต้จากด้านตะวันออกของพีระมิดที่นำไปสู่ห้องสี่เหลี่ยมซึ่งเชื่อมต่อกับทางลาดถัดไปที่ทอดไปทางทิศตะวันตกไปยังประตูน้ำ ประตูทางเข้าประกอบด้วยบล็อกควอตซ์ขนาด 42,000 กิโลกรัม (93,000 ปอนด์) ที่ตั้งใจจะเลื่อนเข้าไปและปิดกั้นทางเดิน เมื่อเลยทางเดินผ่านไปอีกหลาย ๆ โค้งและช่องประตูเล็กๆ อีกอันที่สองก่อนจะสิ้นสุดที่ห้องโถง ทางใต้ของห้องนี้เป็นห้องฝังพระศพซึ่งเกือบทั้งหมดสลักจากหินควอทซ์ก้อนเดียว ซึ่งทำหน้าที่เป็นห้องสำหรับใส่โลงพระศพ ในช่องลึก มีวางฝาหินควอทไซต์ซึ่งจะถูกเลื่อนเข้าที่เหนือโลงพระศพแล้วล็อคเข้าที่โดยแผ่นหินที่กั้นไว้ ผู้ทำการก่อสร้างได้ทาสีแดงและเติมเส้นสีดำ ทางเดินที่นำไปสู่พีระมิดสร้างด้วยอิฐโคลน ซึ่งคนงานต้องเคยใช้ ถึงแม้ว่าสถานที่ฝังศพจะถูกสร้างขึ้น แต่ไม่มีการฝังพระศพเลย[77][78] สถานที่นี้เรียกว่า เซเคม โซเบคเนเฟรู ซึ่งถูกกล่าวถึงบนบันทึกกระดาษปาปิรัสที่พบในฮาราเกห์ ซึ่งอาจเป็นชื่อพีระมิดของพระองค์[79][80] บนจารึกจากที่ฝังศพจากอไบดอส ซึ่งขณะนี้อยู่ในมาร์แซย์ ได้มีการกล่าวถึงผู้ดูแลห้องเก็บของของฟาโรห์โซเบคเนเฟรูนามว่า เฮบิ ซึ่งจารึกขึ้นในช่วงสมัยราชวงศ์ที่สิบสาม และเป็นหลักฐานยืนยันถึงการบูชาพระศพอย่างต่อเนื่อง[81][82]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Schneider 2006, p. 174.
- ↑ Krauss & Warburton 2006, pp. 480 & 492.
- ↑ 3.0 3.1 Leprohon 2013, p. 60.
- ↑ Cooney 2018, p. 87.
- ↑ Cooney 2018, p. 88.
- ↑ The British Museum n.d., Description.
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 Gillam, Robyn (2001). "Sobekneferu". In Redford, Donald B. (ed.). The Oxford Encyclopedia of Ancient Egypt, Volume 3. Oxford: Oxford University Press. p. 301. ISBN 978-0-19-510234-5.
- ↑ Dodson, Aidan; Hilton, Dyan (2004). The Complete Royal Families of Ancient Egypt. London: Thames & Hudson. ISBN 0-500-05128-3., pp. 92 & 95.
- ↑ 9.0 9.1 Zecchi, Marco (2010). Sobek of Shedet : The Crocodile God in the Fayyum in the Dynastic Period. Studi sull'antico Egitto. Todi: Tau Editrice. ISBN 978-88-6244-115-5., p. 84.
- ↑ Dodson, Aidan; Hilton, Dyan (2004). The Complete Royal Families of Ancient Egypt. London: Thames & Hudson. ISBN 0-500-05128-3., pp. 93, 95–96 & 99.
- ↑ Dodson, Aidan; Hilton, Dyan (2004). The Complete Royal Families of Ancient Egypt. London: Thames & Hudson. ISBN 0-500-05128-3., p. 98.
- ↑ Dodson, Aidan; Hilton, Dyan (2004). The Complete Royal Families of Ancient Egypt. London: Thames & Hudson. ISBN 0-500-05128-3., pp. 92, 95–98.
- ↑ Dodson, Aidan; Hilton, Dyan (2004). The Complete Royal Families of Ancient Egypt. London: Thames & Hudson. ISBN 0-500-05128-3., p. 95.
- ↑ 14.0 14.1 14.2 Callender, Gae (2003). "The Middle Kingdom Renaissance (c. 2055–1650 BC)". In Shaw, Ian (ed.). The Oxford History of Ancient Egypt. Oxford: Oxford University Press. pp. 137–171. ISBN 978-0-19-815034-3., p. 158.
- ↑ Dodson, Aidan; Hilton, Dyan (2004). The Complete Royal Families of Ancient Egypt. London: Thames & Hudson. ISBN 0-500-05128-3., pp. 102 & 104.
- ↑ Ryholt, Kim (1997). The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c. 1800-1550 B.C. Copenhagen: Museum Tusculanum Press., p. 294.
- ↑ Cooney, Kara (2018). When Women Ruled the World: Six Queens of Egypt. Washington, DC: National Geographic. ISBN 978-1-4262-1977-1., pp. 12 & 14.
- ↑ Wilkinson, Toby (2010). The Rise and Fall of Ancient Egypt. London: Bloomsbury. ISBN 978-1-4088-1002-6., pp. 128–129.
- ↑ Robins, Gay (2001). "Queens". In Redford, Donald B. (ed.). The Oxford Encyclopedia of Ancient Egypt, Volume 3. Oxford: Oxford University Press. pp. 105–109. ISBN 978-0-19-510234-5., p. 108.
- ↑ Zecchi, Marco (2010). Sobek of Shedet : The Crocodile God in the Fayyum in the Dynastic Period. Studi sull'antico Egitto. Todi: Tau Editrice. ISBN 978-88-6244-115-5., pp. 84–85.
- ↑ Cooney, Kara (2018). When Women Ruled the World: Six Queens of Egypt. Washington, DC: National Geographic. ISBN 978-1-4262-1977-1., p. 9–12.
- ↑ Cooney, Kara (2018). When Women Ruled the World: Six Queens of Egypt. Washington, DC: National Geographic. ISBN 978-1-4262-1977-1., p. 30.
- ↑ 23.0 23.1 Roth, Ann Macy (2005). "Models of Authority : Hatshepsut's Predecessors in Power". In Roehrig, Catharine (ed.). Hatshepsut From Queen to Pharaoh. New York: Metropolitan Museum of Art. ISBN 1-58839-173-6., p. 12.
- ↑ 24.0 24.1 Ryholt, Kim (2000). "The Late Old Kingdom in the Turin King-list and the Identity of Nitocris". Zeitschrift für Ägyptische Sprache und Altertumskunde. 127 (1): 87–119. doi:10.1524/zaes.2000.127.1.87. ISSN 0044-216X., p. 92.
- ↑ 25.0 25.1 Cooney, Kara (2018). When Women Ruled the World: Six Queens of Egypt. Washington, DC: National Geographic. ISBN 978-1-4262-1977-1., pp. 9–10.
- ↑ Ryholt, Kim (2000). "The Late Old Kingdom in the Turin King-list and the Identity of Nitocris". Zeitschrift für Ägyptische Sprache und Altertumskunde. 127 (1): 87–119. doi:10.1524/zaes.2000.127.1.87. ISSN 0044-216X., pp. 92–93.
- ↑ 27.0 27.1 27.2 27.3 Grimal, Nicolas (1992). A History of Ancient Egypt. Translated by Ian Shaw. Oxford: Blackwell Publishing. ISBN 978-0-631-19396-8., p. 171.
- ↑ Callender, Gae (2003). "The Middle Kingdom Renaissance (c. 2055–1650 BC)". In Shaw, Ian (ed.). The Oxford History of Ancient Egypt. Oxford: Oxford University Press. pp. 137–171. ISBN 978-0-19-815034-3., pp. 154–158.
- ↑ Grimal, Nicolas (1992). A History of Ancient Egypt. Translated by Ian Shaw. Oxford: Blackwell Publishing. ISBN 978-0-631-19396-8., pp. 166–170.
- ↑ Grimal, Nicolas (1992). A History of Ancient Egypt. Translated by Ian Shaw. Oxford: Blackwell Publishing. ISBN 978-0-631-19396-8., p. 166.
- ↑ Callender, Gae (2003). "The Middle Kingdom Renaissance (c. 2055–1650 BC)". In Shaw, Ian (ed.). The Oxford History of Ancient Egypt. Oxford: Oxford University Press. pp. 137–171. ISBN 978-0-19-815034-3., p. 154.
- ↑ Callender, Gae (2003). "The Middle Kingdom Renaissance (c. 2055–1650 BC)". In Shaw, Ian (ed.). The Oxford History of Ancient Egypt. Oxford: Oxford University Press. pp. 137–171. ISBN 978-0-19-815034-3., pp. 154–155.
- ↑ Grimal, Nicolas (1992). A History of Ancient Egypt. Translated by Ian Shaw. Oxford: Blackwell Publishing. ISBN 978-0-631-19396-8., p. 168.
- ↑ Callender, Gae (2003). "The Middle Kingdom Renaissance (c. 2055–1650 BC)". In Shaw, Ian (ed.). The Oxford History of Ancient Egypt. Oxford: Oxford University Press. pp. 137–171. ISBN 978-0-19-815034-3., p. 156.
- ↑ Schneider, Thomas (2006). "The Relative Chronology of the Middle Kingdom and the Hyksos Period (Dyns. 12-17)". In Hornung, Erik; Krauss, Rolf; Warburton, David (eds.). Ancient Egyptian Chronology. Leiden: Brill. pp. 168–196. ISBN 978-90-04-11385-5., p. 172.
- ↑ Callender, Gae (2003). "The Middle Kingdom Renaissance (c. 2055–1650 BC)". In Shaw, Ian (ed.). The Oxford History of Ancient Egypt. Oxford: Oxford University Press. pp. 137–171. ISBN 978-0-19-815034-3., pp. 156–157.
- ↑ Grimal, Nicolas (1992). A History of Ancient Egypt. Translated by Ian Shaw. Oxford: Blackwell Publishing. ISBN 978-0-631-19396-8., p. 170.
- ↑ Callender, Gae (2003). "The Middle Kingdom Renaissance (c. 2055–1650 BC)". In Shaw, Ian (ed.). The Oxford History of Ancient Egypt. Oxford: Oxford University Press. pp. 137–171. ISBN 978-0-19-815034-3., pp. 157–158.
- ↑ 39.0 39.1 39.2 Schneider, Thomas (2006). "The Relative Chronology of the Middle Kingdom and the Hyksos Period (Dyns. 12-17)". In Hornung, Erik; Krauss, Rolf; Warburton, David (eds.). Ancient Egyptian Chronology. Leiden: Brill. pp. 168–196. ISBN 978-90-04-11385-5., p. 173.
- ↑ 40.00 40.01 40.02 40.03 40.04 40.05 40.06 40.07 40.08 40.09 Callender, Gae (2003). "The Middle Kingdom Renaissance (c. 2055–1650 BC)". In Shaw, Ian (ed.). The Oxford History of Ancient Egypt. Oxford: Oxford University Press. pp. 137–171. ISBN 978-0-19-815034-3., p. 159.
- ↑ Gillam, Robyn (2001). "Sobekneferu". In Redford, Donald B. (ed.). The Oxford Encyclopedia of Ancient Egypt, Volume 3. Oxford: Oxford University Press. p. 301. ISBN 978-0-19-510234-5., p. 403.
- ↑ Simpson, William Kelly (2001). "Twelfth Dynasty". In Redford, Donald B. (ed.). The Oxford Encyclopedia of Ancient Egypt, Volume 3. Oxford: Oxford University Press. pp. 453–457. ISBN 978-0-19-510234-5., p. 456.
- ↑ Grimal, Nicolas (1992). A History of Ancient Egypt. Translated by Ian Shaw. Oxford: Blackwell Publishing. ISBN 978-0-631-19396-8., p. 182.
- ↑ Ryholt, Kim (1997). The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c. 1800-1550 B.C. Copenhagen: Museum Tusculanum Press. ISBN 87-7289-421-0., p. 2.
- ↑ Dodson, Aidan; Hilton, Dyan (2004). The Complete Royal Families of Ancient Egypt. London: Thames & Hudson. ISBN 0-500-05128-3., pp. 100&102.
- ↑ Callender, Gae (2003). "The Middle Kingdom Renaissance (c. 2055–1650 BC)". In Shaw, Ian (ed.). The Oxford History of Ancient Egypt. Oxford: Oxford University Press. pp. 137–171. ISBN 978-0-19-815034-3., pp. 159–160.
- ↑ 47.0 47.1 Wilkinson, Toby (2010). The Rise and Fall of Ancient Egypt. London: Bloomsbury. ISBN 978-1-4088-1002-6., p. 131.
- ↑ 48.0 48.1 Quirke, Stephen (2001). "Thirteenth Dynasty". In Redford, Donald B. (ed.). The Oxford Encyclopedia of Ancient Egypt, Volume 3. Oxford: Oxford University Press. pp. 394–398. ISBN 978-0-19-510234-5., p. 394.
- ↑ 49.0 49.1 Grimal, Nicolas (1992). A History of Ancient Egypt. Translated by Ian Shaw. Oxford: Blackwell Publishing. ISBN 978-0-631-19396-8., p. 183.
- ↑ Ryholt, Kim (1997). The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c. 1800-1550 B.C. Copenhagen: Museum Tusculanum Press. ISBN 87-7289-421-0., p. 75.
- ↑ Schneider, Thomas (2006). "The Relative Chronology of the Middle Kingdom and the Hyksos Period (Dyns. 12-17)". In Hornung, Erik; Krauss, Rolf; Warburton, David (eds.). Ancient Egyptian Chronology. Leiden: Brill. pp. 168–196. ISBN 978-90-04-11385-5., p. 177.
- ↑ Almásy, Adrienn; Kiss, Enikő (2010). "Catalogue by Adrienn Almásy and Enikő Kiss". In Luft, Ulrich; Adrienn, Almásy (eds.). Bi'r Minayh, Report on the Survey 1998-2004. Studia Aegyptiaca. Budapest: Archaeolingua. pp. 173–193. ISBN 978-9639911116., pp. 174–175.
- ↑ "EA16581". The British Museum. The British Museum. n.d. Retrieved 20 August 2021., description.
- ↑ "EA16581". The British Museum. The British Museum. n.d. Retrieved 20 August 2021., materials, technique & dimensions.
- ↑ 55.0 55.1 55.2 Berman, Lawrence; Letellier, Bernadette (1996). Pharaohs : Treasures of Egyptian Art from the Louvre. Oxford: Oxford University Press. ISBN 0-19-521235-5., pp. 46–47.
- ↑ Bietak, Manfred (1999). "Tell ed-Dab'a, Second Intermediate Period". In Bard, Kathryn (ed.). Encyclopedia of the archaeology of ancient Egypt. London; New York: Routledge. pp. 949–953. ISBN 978-0-203-98283-9., p. 950.
- ↑ Cooney, Kara (2018). When Women Ruled the World: Six Queens of Egypt. Washington, DC: National Geographic. ISBN 978-1-4262-1977-1., p. 338.
- ↑ 58.0 58.1 Habachi, Labib (1954). "Khatâ'na-Qantîr : Importance". Annales du Service des Antiquités de l'Égypte. Vol. 52. Le Caire: L'Institut Français d'Archéologie Orientale. pp. 443–559. OCLC 851266710., pp. 458–460.
- ↑ Fay, Biri; Freed, Rita; Schelper, Thomas; Seyfried, Friederike (2015). "Neferusobek Project: Part I". In Miniaci, Gianluci; Grajetzki, Wolfram (eds.). The World of Middle Kingdom Egypt (2000-1550 BC). Vol. I. London: Golden House Publications. pp. 89–91. ISBN 978-1906137434., pp. 89–91.
- ↑ 60.0 60.1 Cooney, Kara (2018). When Women Ruled the World: Six Queens of Egypt. Washington, DC: National Geographic. ISBN 978-1-4262-1977-1., p. 339.
- ↑ "Lower body fragment of a female statue seated on a throne". MFA. Museum of Fine Arts Boston. n.d. Retrieved 21 October 2021.
- ↑ "Statuette of a Late Middle Kingdom Queen". The MET. The Metropolitan Museum of Art. n.d. Retrieved 21 October 2021.
- ↑ 63.0 63.1 Ryholt, Kim (1997). The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c. 1800-1550 B.C. Copenhagen: Museum Tusculanum Press. ISBN 87-7289-421-0., p. 213.
- ↑ Weinstein, James (1974). "A Statuette of the Princess Sobeknefru at Tell Gezer". Bulletin of the American Schools of Oriental Research. 213: 49–57. doi:10.2307/1356083. ISSN 2161-8062., pp. 51–53.
- ↑ Naville, Édouard (1887). Goshen and The Shrine of Saft El-Henneh (1885). Memoir of the Egypt Exploration Fund. Vol. 5. London: Trübner & Co. OCLC 3737680., p. 21.
- ↑ Arnold, Dieter (1996). "Hypostyle Halls of the Old and Middle Kingdoms". In Der Manuelian, Peter (ed.). Studies in Honor of William Kelly Simpson. Vol. 1. Boston, MA: Museum of Fine Arts. pp. 38–54. ISBN 0-87846-390-9., p. 46.
- ↑ Uphill, Eric (2010). Pharaoh's Gateway to Eternity : The Hawara Labyrinth of Amenemhat III. London: Routledge. ISBN 978-0-7103-0627-2., p. 34.
- ↑ Petrie, Flinders (1890). Kahun, Gurob, and Hawara. London: Kegan Paul, Trench, Trübner, and Co. OCLC 247721143., p. Pl. XI.
- ↑ Zecchi, Marco (2010). Sobek of Shedet : The Crocodile God in the Fayyum in the Dynastic Period. Studi sull'antico Egitto. Todi: Tau Editrice. ISBN 978-88-6244-115-5., p. 85.
- ↑ "Chambre des Ancêtres". Louvre. Louvre. n.d. Retrieved 20 August 2021., Chambre des Ancêtres.
- ↑ Hawass, Zahi (2010). Inside the Egyptian Museum with Zahi Hawass. Cairo: American University in Cairo Press. ISBN 978-977-416-364-7., pp. 154–157.
- ↑ 72.0 72.1 "EA117". The British Museum. The British Museum. n.d. Retrieved 20 August 2021., curator's comments.
- ↑ Ryholt, Kim (1997). The Political Situation in Egypt during the Second Intermediate Period, c. 1800-1550 B.C. Copenhagen: Museum Tusculanum Press. ISBN 87-7289-421-0., p. 15.
- ↑ Malék, Jaromír (1982). "The Original Version of the Royal Canon of Turin". The Journal of Egyptian Archaeology. 68: 93–106. doi:10.2307/3821628. JSTOR 3821628., p. 97, fig. 2, col. 10, row. 2.
- ↑ Waddel, William Gillan; Manetho; Ptolemy (1964) [1940]. Page, Thomas Ethelbert; Capps, Edward; Rouse, William Henry Denham; Post, Levi Arnold; Warmington, Eric Herbert (eds.). Manetho with an English Translation. Cambridge, MA: Harvard University Press. OCLC 610359927., p. 69.
- ↑ Lehner, Mark (2008). The Complete Pyramids. New York: Thames & Hudson. ISBN 978-0-500-28547-3., p. 184.
- ↑ 77.0 77.1 Verner, Miroslav (2001). The Pyramids: The Mystery, Culture and Science of Egypt's Great Monuments. New York: Grove Press. ISBN 978-0-8021-1703-8., p. 433.
- ↑ 78.0 78.1 Lehner, Mark (2008). The Complete Pyramids. New York: Thames & Hudson. ISBN 978-0-500-28547-3., p. 185.
- ↑ Cooney, Kara (2018). When Women Ruled the World: Six Queens of Egypt. Washington, DC: National Geographic. ISBN 978-1-4262-1977-1., p. 96.
- ↑ "UC32778". UCL Museums & Collections. The Petrie Museum. n.d. Retrieved 5 September 2021
- ↑ Siesse, Julie (2019). La XIIIe Dynastie. Paris: Sorbonne Université Presses. ISBN 979-10-231-0567-4., p. 130.
- ↑ Ilin Tomich, Alexander (n.d.). "Hbjj on 'Persons and Names of the Middle Kingdom'". Johannes Gutenberg Universität Mainz. Johannes Gutenberg Universität Mainz. Retrieved 8 September 2021.
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
[แก้]- หนังสือพงศาวดารไอยคุปต์ ของ รัฐ มหาดเล็ก และทีมงานต่วย'ตูน สำนักพิมพ์ พี.วาทิน พับลิกชั่น จำกัด