ฟาโรห์เนเฟอร์เคาเร
ฟาโรห์เนเฟอร์เคาเร | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เนเฟอร์คาวเร, คา(บาว)? | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
คาร์ทูธของฟาโรห์เนเฟอร์เคาเร | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ฟาโรห์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รัชกาล | 4 ปี กับ 2 เดือน, ราว 2160 ปีก่อนคริสตกาล | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ก่อนหน้า | กาคาเร | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ถัดไป | คูวิฮาปิ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
| ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ที่แปดแห่งอียิปต์ |
เนเฟอร์เคาเร เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณในสมัยช่วงระหว่างกลางที่หนึ่ง ตามบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งอไบดอสและการตีความบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูรินครั้งล่าสุดโดยคิม รีฮอล์ต พระองค์เป็นฟาโรห์พระองค์ที่สิบห้าแห่งราชวงศ์ที่แปด[1] ความคิดเห็นนี้ร่วมกันโดยนักไอยคุปต์วิทยา เยอร์เกน ฟอน เบ็คเคอราท, ธอมัส ชไนเดอร์ และดาร์เรล เบเกอร์[2][3][4] ในฐานะฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่แปด ศูนย์กลางอำนาจของฟาโรห์เนเฟอร์เคาเรอยู่ที่เมมฟิส[5] และพระองค์อาจจะไม่ได้มีอำนาจครอบคลุมเหนืออียิปต์ทั้งหมด
หลักฐานรับรอง
[แก้]พระนามของฟาโรห์เนเฟอร์เคาเรปรากฏในรายการที่ 54 ของบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งอไบดอส ซึ่งเป็นบันทึกพระนามที่บันทึกขึ้นเมื่อประมาณ 900 ปีหลังจากสมัยช่วงระหว่างกลางที่หนึ่งในรัชสมัยของฟาโรห์เซติที่ 1 แต่พระนามของพระองค์ได้สูญหายไปจากบันทึกพระนามกษัตริย์ตูริน เนื่องจากมีส่วนที่เสียหายบริเวณคอลัมน์ที่ 5 บรรทัดที่ 11 ของบันทึกพระนามฯ ระยะเวลาแห่งการครองราชย์ของฟาโรห์เนเฟอร์เคาเรยังคงหลงเหลืออยู่ซึ่งบันทึกไว้เป็นระยะเวลา "4 ปี 2 เดือน 0 วัน"[1][4][6]
ฟาโรห์เนเฟอร์เคาเรยังเป็นที่ทราบจากจารึกร่วมสมัย บันทึกพระราชโองการที่ชำรุดโดยแตกออกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ซึ่งจารึกไว้บนแผ่นหินปูนที่เรียกว่าบันทึกพระราชโองการแห่งคอปโตส เฮช (Coptos Decree h) ซึ่งบันทึกพระราชโองการเกี่ยวกับเครื่องเซ่นไหว้สำหรับวิหารแห่งเทพมินที่คอปโตส[4] หนึ่งในสองฉบับที่มีอยู่ของบันทึกคำสั่งดังกล่าวนี้ถูกมอบให้กับพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิแทนโดยเอ็ดเวิร์ด ฮาร์คเนส ซึ่งปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในแกลเลอรี 103[7] บันทึกพระราชโองการได้บันทึกขึ้นในปีที่สี่แห่งการครองราชย์ของฟาโรห์เนเฟอร์เคาเร ซึ่งเป็นระยะเวลาการมีอยู่ที่นานที่สุดในบรรดาฟาโรห์แห่งราชวงศ์ที่แปด[8] เครื่องหมายแรกของพระนามฮอรัสฟาโรห์ปรากฏอย่างชัดเจน ในขณะที่มีการถกเถียงกันถึงสัญลักษณ์ที่สอง ฟอน เบ็คเคอราท ได้เสนอเพียงสัญลักษณ์แรกเท่านั้นและอ่านว่า คา[...] ขณะที่เบเกอร์และวิลเลียม ซี. ฮาเยสเสนอให้อ่านว่า คาบาว[2][4][8] บันทึกพระราชโองการนี้ส่งถึงเซไมย์ ผู้ว่าการอียิปต์ตอนบนในขณะนั้น และกำหนดให้มีการถวายเครื่องเซ่นไหว้ตามจำนวนที่กำหนดเป็นระยะ ๆ แก่เทพมิน และจากนั้นก็อาจจะมอบให้กับรูปสลักของฟาโรห์[8]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Kim Ryholt: The Late Old Kingdom in the Turin King-list and the Identity of Nitocris, Zeitschrift für ägyptische, 127, 2000, p. 99
- ↑ 2.0 2.1 Jürgen von Beckerath: Handbuch der ägyptischen Königsnamen. Deutscher Kunstverlag, München/ Berlin 1984, ISBN 3-422-00832-2, p. 59, 187.
- ↑ Thomas Schneider: Lexikon der Pharaonen. Albatros, Düsseldorf 2002, ISBN 3-491-96053-3, p. 174.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 Darrell D. Baker: The Encyclopedia of the Pharaohs: Volume I - Predynastic to the Twentieth Dynasty 3300–1069 BC, Stacey International, ISBN 978-1-905299-37-9, 2008, p. 272-273
- ↑ Ian Shaw: The Oxford History of Ancient Egypt, ISBN 978-0192804587
- ↑ Jürgen von Beckerath: The Date of the End of the Old Kingdom of Egypt, JNES 21 (1962), p.143
- ↑ The decree on the catalog of the MET
- ↑ 8.0 8.1 8.2 William C. Hayes: The Scepter of Egypt: A Background for the Study of the Egyptian Antiquities in The Metropolitan Museum of Art. Vol. 1, From the Earliest Times to the End of the Middle Kingdom , MetPublications, 1978, pp.136-138, available online