เอ็งเงิลแบร์ท ด็อลฟูส
เอ็งเงิลแบร์ท ด็อลฟูส | |
---|---|
Engelbert Dollfuß | |
ด็อลฟูสในเครื่องแบบทหาร | |
นายกรัฐมนตรีออสเตรีย | |
ดำรงตำแหน่ง 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1932 – 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1934 | |
ประธานาธิบดี | วิลเฮ็ล์ม มิคลัส |
รองนายกรัฐมนตรี | ฟรันทซ์ วิงค์เลอร์ เอมีล ไฟ แอ็นสท์ รือดีเกอร์ ชตาเริมแบร์ค |
ก่อนหน้า | คาร์ล บูเร็ช |
ถัดไป | ควร์ท ชุชนิค |
ผู้นำแนวร่วมปิตุภูมิ | |
ดำรงตำแหน่ง 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1933 – 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1934 | |
ก่อนหน้า | ก่อตั้งพรรค |
ถัดไป | แอ็นสท์ รือดีเกอร์ ชตาเริมแบร์ค |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ | |
ดำรงตำแหน่ง 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1932 – 10 กรกฎาคม ค.ศ. 1934 | |
ก่อนหน้า | คาร์ล บูเร็ช |
ถัดไป | ชเต็ฟฟัน เทาชิทซ์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเกษตรและการป่าไม้ | |
ดำรงตำแหน่ง 18 มีนาคม ค.ศ. 1931 – 25 มิถุนายน ค.ศ. 1934 | |
ก่อนหน้า | อันเดรอัส ทาเลอร์ |
ถัดไป | แอ็นสท์ รือดีเกอร์ ชตาเริมแบร์ค |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 04 ตุลาคม ค.ศ. 1892 เท็คซิง นีเดอร์เอิสเตอร์ไรช์ จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี |
เสียชีวิต | 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1934 เวียนนา สหพันธรัฐออสเตรีย | (41 ปี)
ลักษณะการเสียชีวิต | ถูกลอบสังหารด้วยปืน |
ที่ไว้ศพ | สุสานไฮท์ซิงเงอร์ เวียนนา ประเทศออสเตรีย |
พรรคการเมือง | แนวร่วมปิตุภูมิ (ค.ศ. 1933–1934) |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | พรรคสังคมคริสตชน (จนถึง ค.ศ. 1933) |
คู่สมรส | อัลวีเนอ กลีนเกอ |
บุตร | ฮันเนอร์ล เอวา รูดอล์ฟ |
บุพการี |
|
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยเวียนนา |
รัฐบาล | รัฐบาลด็อลฟูสชุด 1-2 |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี |
สังกัด | กองทัพออสเตรีย-ฮังการี |
ประจำการ | ค.ศ. 1914–1918 |
ยศ | โอเบอร์ล็อยท์นันท์ (Oberleutnant) |
หน่วย | ไคเซอร์ชึทเซิน (Kaiserschützen) |
ผ่านศึก | |
รางวัล | กางเขนคุณธรรมทหารชั้นที่ 3เหรียญคุณธรรมทหาร (2 ครั้ง)เหรียญกล้าหาญกางเขนคาร์ลทรุพเพิน (2 ครั้ง)เหรียญผู้บาดเจ็บ |
เอ็งเงิลแบร์ท ด็อลฟูส (เยอรมัน: Engelbert Dollfuß; 4 ตุลาคม ค.ศ. 1892 – 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1934) เป็นนักการเมืองฝ่ายขวาชาวออสเตรีย ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีออสเตรียในระหว่าง ค.ศ. 1932–1934 อันเป็นช่วงสมัยแห่งความวุ่นวายจากวิกฤตการณ์ทางการเมืองและสงครามกลางเมืองภายในประเทศ ทั้งยังเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเกษตรในหลายรัฐบาลตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1930 ในช่วงที่เขาสู่อำนาจ ด็อลฟูสได้กระทำการยุบรัฐสภาประชาธิปไตยและปกครองประเทศภายใต้อำนาจเผด็จการ เขาถึงแก่อสัญกรรมจากการลอบสังหารโดยนักการเมืองนาซีออสเตรียในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1934
ด็อลฟูสเกิดเมื่อ ค.ศ. 1892 เป็นบุตรชายของกรรมกรรายวัน[1] เขาเติบโตในครอบครัวชาวนาคาทอลิกที่ใช้ชีวิตตามวิถีดั้งเดิม และได้รับการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนสอนศาสนา ซึ่งส่งเสริมความศรัทธาต่อนิกายโรมันคาทอลิกของด็อลฟูสอย่างลึกซึ้ง[2] ในระดับอุดมศึกษา เขาเข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยเวียนนา ซึ่งทำให้ด็อลฟูสมีส่วนร่วมในองค์กรคาทอลิก[2] ใน ค.ศ. 1914 เขาเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในแนวรบอิตาลี และได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็นจำนวนมาก[2] ในสมัยระหว่างสงคราม ด็อลฟูสเริ่มได้รับอิทธิพลทางความคิดแบบอนุรักษนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ[1] และเมื่อเขาสำเร็จการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย เขาจึงเดินทางไปที่เยอรมนีเพื่อศึกษาการดําเนินงานของสหกรณ์การเกษตร และเข้าปฏิบัติงานในสหภาพชาวนาแห่งนีเดอร์เอิสเตอร์ไรช์ตั้งแต่ ค.ศ. 1922[1] จากนั้นด็อลฟูสจึงเข้าทำงานเป็นประธานสหพันธ์การรถไฟของรัฐ ซึ่งนับเป็นตำแหน่งระดับชาติครั้งแรกของเขา[3]
ด็อลฟูสมีความสัมพันธ์กับพรรคสังคมคริสตชนเพียงเล็กน้อย จากการที่เขาเป็นผู้เชี่ยวชาญประเด็นด้านการเกษตร มีความอุตสาหะ และด้วยทัศนคติที่เปิดกว้างของด็อลฟูส ทำให้เขาสามารถเข้าหานักการเมืองหลายฝ่ายได้อย่างสะดวก[4] และการขาดประสบการณ์ในตำแหน่งหัวหน้าบริษัทการรถไฟก่อนหน้านี้ ถือเป็นข้อได้เปรียบสำหรับเขาอย่างยิ่ง เนื่องจากทำให้เขาสามารถสร้างพันธมิตรของฝ่ายต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างการสนับสนุนของรัฐบาลได้[5]
ด็อลฟูสเข้ารับตำแหน่งหัวหน้ารัฐบาลในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1932 ท่ามกลางความไม่มั่นคงของพันธมิตรสังคมคริสตชน สันนิบาตกสิกรรม และกองกำลังฟาสซิสต์ไฮม์แวร์ ด้วยรัฐบาลของเขามีคะแนนเสียงนำหน้าฝ่ายค้านในรัฐสภาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น[6] ในช่วงก่อน ค.ศ. 1933 ด็อลฟูสถูกมองว่าเป็นหนึ่งในผู้นำที่มีความสายกลางที่สุด และการที่เขายินยอมเจรจากับฝ่ายค้านสังคมนิยมนั้นนำไปสู่การยุติระบบรัฐสภาประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นหลังสงครามยุติ[7] ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1933 ด็อลฟูสกระทำการยุบสภาล่างและเริ่มการปกครองประเทศโดยคำสั่ง[8] ด็อลฟูสกลายเป็นที่ถกเถียงกันอย่างมากในหมู่นักวิชาการ จากเหตุที่เขาขึ้นเป็นประธานพันธมิตรที่ไม่มั่นคงระหว่างฟาสซิสต์ เผด็จการ และประชาธิปไตย[9] เขามีความพยายามอย่างต่อเนื่องในการบรรลุข้อตกลงกับขบวนการชาติสังคมนิยม แต่ไม่ประสบความสําเร็จ[10]
รัฐบาลของเขาต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ออสเตรีย แต่ด็อสฟูสก็สามารถแก้ไขสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศให้กลับมาฟื้นตัวได้อย่างดี[10]
ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1934 มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นอย่างเป็นทางการของระบอบเผด็จการที่เรียกขานกันว่า "ลัทธิฟาสซิสต์ออสเตรีย"[8] ด็อลฟูสถึงแก่อสัญกรรมจากการลอบสังหารเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1934 ในระหว่างความพยายามรัฐประหารที่ล้มเหลวของขบวนการชาติสังคมนิยม ซึ่งทำให้ในภายหลัง ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจึงตกมาเป็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมควร์ท ชุชนิค[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Miller 1985, p. 18.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Miller 1985, p. 17.
- ↑ Edmondson 1978, p. 161.
- ↑ Rath 1998, p. 162.
- ↑ Rath 1998, p. 162-163.
- ↑ Bischof, Pelinka & Lassner 2003, p. 86.
- ↑ Bischof, Pelinka & Lassner 2003, p. 123.
- ↑ 8.0 8.1 Thorpe 2010, p. 320.
- ↑ Miller 1988, p. 405.
- ↑ 10.0 10.1 Edmondson 1978, p. 160.
- ↑ Bischof, Pelinka & Lassner 2003, p. 89.
บรรณานุกรม
[แก้]- Bischof, Günter J.; Pelinka, Anton; Lassner, Alexander (2003). The Dollfuss/Schuschnigg Era in Austria: A Reassessment (ภาษาอังกฤษ). Transaction Publishers. p. 321. ISBN 9781412821896.
- Brook-Shepherd, Gordon (1961). Dollfuss (ภาษาอังกฤษ). Macmillan. p. 295. OCLC 1690703.
- Edmondson, Clifton Earl (1978). The Heimwehr and Austrian politics, 1918-1936 (ภาษาอังกฤษ). University of Georgia Press. p. 352. ISBN 9780820304373.
- Feldmana, Matthew; Turdaa, Marius (2007). "'Clerical Fascism' in Interwar Europe: An Introduction". Totalitarian Movements and Political Religions. 8 (2): 205-212.
- Gehl, Jurgen (1963). Austria, Germany, and the Anschluss, 1931-1938 (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press.
- Gulick, Charles Adams (1948). Austria from Habsburg to Hitler, volume 2 (ภาษาอังกฤษ). University of California Press. p. 1906. OCLC 312557122.
- Jackson, Gabriel (1985). "Fascismo y antifascismo, 1922-1939". Octubre 1934. Cincuenta años para la reflexión (ภาษาสเปน). Madrid: Gabriel Jackson and others. ISBN 84-323-0515-4.
- Kaiser, David E. (1980). Economic Diplomacy and the Origins of the Second World War (ภาษาอังกฤษ). Princeton University Press. ISBN 978-0691101019.
- Lassner, Alexander N. (2001). Peace at Hitler's price : Austria, the Great Powers, and the "Anschluss," 1932-1938 (วิทยานิพนธ์) (ภาษาอังกฤษ). Universidad de Ohio. OCLC 1154897644.
- Miller, James William (1985). Engelbert Dollfuss and Austrian Agriculture : An authoritarian Democrat and his policies (วิทยานิพนธ์) (ภาษาอังกฤษ). University of Minnesota. OCLC 638323462.
- Miller, James William (1988). ""Bauerndemokratie" in Practice: Dollfuß and the Austrian Agricultural Health Insurance System". German Studies Review. 11 (3): 405-421.
- Pauley, Bruce F. (1981). Hitler and the Forgotten Nazis: A History of Austrian National Socialism (ภาษาอังกฤษ). University of North Carolina Press. p. 292. ISBN 9780807814567.
- Pyraha, Robert (2007). "Enacting Encyclicals? Cultural Politics and 'Clerical Fascism' in Austria, 1933–1938". Totalitarian Movements and Political Religions. 8 (2): 369-382.
- Rath, R. John (1998). "The Dollfuß Ministry: The Democratic Prelude". Austrian History Yearbook. 29 (1): 161-194.
- Rath, R. John (1997). "The Molding of Engelbert Dollfuß as an Agrarian Reformer". Austrian History Yearbook. 28: 173-215.
- Rath, R. John (1996). "The Deterioration of Democracy in Austria, 1927–1932". Austrian History Yearbook. 26: 213-259. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2023-10-11.
- Rath, R. John (1999). "The Dollguß Ministry: The Intensification of Animosities and the Drift toward Authoritarianism". Austrian History Yearbook. 30: 65-101.
- Rath, R. John (2001). "The Dollfuß Ministry: The Demise of the Nationalrat". Austrian History Yearbook. 32: 125-147.
- Thorpe, Julie (2011). Pan-Germanism and the Austrofascist state, 1933–38 (ภาษาอังกฤษ). Manchester & New York: Manchester University Press. ISBN 978-0-7190-7967-2.
- Thorpe, Julie (2010). "Austrofascism: Revisiting the 'Authoritarian State' 40 Years On". Journal of Contemporary History. 45 (2): 315-343.
- Zuber, Frederick R. (1975). The watch on the Brenner : a study of Italian involvement in Austrian foreign and domestic affairs : 1928-1938 (pdf) (วิทยานิพนธ์) (ภาษาอังกฤษ). Rice University. OCLC 18458416.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Messner, Johannes (2004). Dollfuss: An Austrian Patriot. Norfolk, VA: Gates of Vienna Books. ISBN 9781932528367.
ก่อนหน้า | เอ็งเงิลแบร์ท ด็อลฟูส | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
คาร์ล บูเร็ช | นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย (20 พฤษภาคม ค.ศ. 1932 – 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1934) |
ตัวเอง (ในฐานะนายกรัฐมนตรีแห่งสหพันธรัฐออสเตรีย) | ||
ตัวเอง (ในฐานะนายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย) |
นายกรัฐมนตรีแห่งสหพันธรัฐออสเตรีย (1 พฤษภาคม ค.ศ. 1934 – 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1934) |
ควร์ท ชุชนิค | ||
สถาปนาตำแหน่ง | ผู้นำแนวร่วมปิตุภูมิ (20 พฤษภาคม ค.ศ. 1933 – 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1934) |
แอ็นสท์ รือดีเกอร์ ชตาเริมแบร์ค |